วิศวะ
วิศวะจุฬาฯ ผนึกพลังภาครัฐและเอกชน นำร่องโครงการติดตั้งเซ็นเซอร์ตรวจวัดปริมาณ PM2.5 ทั่วกรุงเทพฯ และปริมณฑลในระยะแรกจำนวน 30 จุด เดินหน้าเก็บและวิเคราะห์ข้อมูล นำสู่แนวทางการแก้ไขปัญหาเพื่อสุขภาพของคนไทย ศาสตราจารย์ ดร.สุพจน์ เตชวรสินสกุล คณบดี คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เปิดเผยว่า จากปัญหามลภาวะฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM2.5 นับวันยิ่งทวีความรุนแรงเพิ่มมากขึ้น และมีแนวโน้มอยู่ในระดับที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพของคนไทย ด้วยเหตุดังกล่าว คณะวิศวะจุฬาฯ จึงได้จัดตั้งคณะทำงานที่เชี่ยวชาญด้านสิ่งแวดล้อม พัฒนานวัตกรรมเทคโนโลยีเซ็นเซอร์ตรวจวัดปริมาณ PM2.5 ที่เริ่มดำเนินการแล้วในปีที่ผ่านมา และมีประสิทธิภาพในการตรวจวัดสภาพอากาศและจัดเก็บข้อมูลเป็นที่น่าพอใจ ซึ่งเป็นประโยชน์อย่างมากในการศึกษาวิจัย เพื่อหาต้นตอสาเหตุปัญหา จึงได้เริ่มโครงการในระยะที่ 2 ภายใต้ความร่วมมือจากหลายภาคส่วน เพื่อขยายการจัดเก็บข้อมูลสภาพอากาศให้ขยายวงกว้างยิ่งขึ้น “คณะวิศวะจุฬาฯ จัดทำโครงการดังกล่าวขึ้น เพื่อพัฒนาระบบการจัดเก็บข้อมูลสภาพอากาศ นำมาใช้ประโยชน์ด้านการวิจัย ผนึกพลังพันธมิตรเพิ่มพื้นที่การติดตั้งเซ็นเซอร์เพิ่ม
วิทยาลัยเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มจพ.พร้อมผลิตวิศวะ ตอบโจทย์อุตสาหกรรมไทย 4.0 วิทยาลัยเทคโนโลยีอุตสาหกรรม (วทอ.) มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ (มจพ.) มีหลักสูตรอยู่ด้วยกัน 3 ระดับคือ ระดับ ปวช. ระดับปริญญาตรี และระดับบัณฑิตศึกษา มีจำนวนนักศึกษา ปวช. จำนวน 1,800 คน ระดับปริญญาตรีและบัณฑิตศึกษารวมกันประมาณ 5,000 คน โดยทั้งคณะมีนักศึกษารวมกันทั้งหมดประมาณ 6,000 – 7,000 คน วิทยาลัยเทคโนโลยีอุตสาหกรรมมีจุดแข็งที่เก่าแก่มาอย่างยาวนาน คือ ความเป็นผู้ที่เชี่ยวชาญด้านวิศวกรรมมากที่สุด สามารถผลิตบุคลากรให้เข้าสู่อุตสาหกรรมได้มากที่สุดของประเทศไทย โดยเมื่อเข้าสู่อาชีพการทำงานนักศึกษาสามารถปฏิบัติงานได้ทันที คุณเจตน์ บุญญดิเรก (เจตน์) คณะวิทยาลัยเทคโนโลยีอุตสาหกรรม สาขาเทคโนโลยีวิศวกรรมไฟฟ้า ปริญญาตรี ต่อเนื่อง ปีที่ 2 มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ เล่าว่า “ผมได้เรียนพื้นฐานทั่วไปเกี่ยวกับไฟฟ้า แต่สาขาของผมจะเรียนเจาะลึกไปในเรื่องของการนำเอาอิเล็กทรอนิกส์กำลังมาใช้ควบคุมระบบไฟฟ้าขนาดใหญ่ ปัจจุบันมีสมาร์ตโฟนที่มีความบางขึ้นขนาดเล็กลงมาจากอิเล็กทรอนิกส์ โดยเราจะลดขนาดอุปกรณ์อิเล