ศรีสะเกษ
เผยเคล็ดลับความสำเร็จ 32 ปี “สีเขียวแจ่วฮ้อน” ร้านอาหารดังศรีสะเกษสุดยอดความร่อย “สีเขียวแจ่วฮ้อน” ดีกรีเป็นถึงร้านอาหารเจ้าดังของจังหวัดศรีสะเกษ มี คุณพวงแก้ว อาชวินรุจิรดา หรือ “ป้าเขียว” วัย 64 ปี เป็นเจ้าของร้านอาหารอีสานพื้นเมืองแห่งนี้ ป้าเขียว เล่าให้ฟังว่า ร้านสีเขียว เปิดมาได้ 32 ปี ชื่อร้านมาจากชื่อของป้าเขียวที่เป็นคนผิวคล้ำ เมื่อก่อนมีอาชีพเป็นครูสอนวิชาคณิตศาสตร์ให้เด็กประถมฯ แต่ทำได้หนึ่งปีลาออก เพราะรู้สึกว่าทำแล้วไม่ใช่ ออกมาเปิดร้านรับซักรีด ขายของชำ แต่เป็นอาชีพที่ทำแล้วเหงา จึงมีพี่ที่นับถือ มาชวนทำแจ่วฮ้อนเนื้อ ขายอยู่ 2 ปี จึงรู้ว่าลูกค้าไม่ได้นิยมทานเนื้อกันมากเท่าไหร่ เลยเพิ่มรายการอาหารอีสานเมนูอื่นๆเข้ามา สูตรอาหารทั้งหมดเป็นสูตรของป้าเขียว ผลตอบรับที่ได้ค่อนข้างดี นางพวงแก้ว อาชวินรุจิรดา หรือป้าเขียว วัย 64 ปี แน่นอนว่าการทำอะไรก็แล้วแต่ ย่อมมีอุปสรรค การทำร้านอาหารเช่นกัน ป้าเขียว เล่าให้ฟังว่า ตั้งแต่ทำร้านอาหารมา ไม่เคยมองว่าร้านอื่นเป็นคู่แข่งเลย คู่แข่งที่แท้จริง คือ ตัวเองกับปัญหาเล็กน้อยของลูกน้องในครัว ว่าวันนี้ลูกน้องมาครบไหม ถ้าไม่ครบต้องลงครัวเอง ม
พาไปรู้จักทุเรียนมาเลเซียพันธุ์เหมาซานหวาง ปลูกกันมากในอำเภอเบตง จังหวัดยะลา และจังหวัดจันทบุรี ว่ากันว่าปลูกง่ายกว่าหมอนทอง รสชาติดี เนื้อเนียนนุ่ม เหนียว หวาน กลิ่นหอม เนื้อเยอะ เม็ดลีบ ปลูก 90 วันเก็บขายได้เลย อาชีพเกษตรกรรมยุคนี้ ไม่มีอะไรร้อนแรงเท่าการทำสวนทุเรียน 2-3 ปีมานี้ ต่างชาติโดยเฉพาะจีน นำเข้าทุเรียนจากไทย ทำให้ผลผลิตในประเทศมีบริโภคน้อยลง ราคาที่เกษตรกรขายได้จากสวนจึงสูงที่สุดเป็นประวัติการณ์ เดิมทีมีความเข้าใจว่าทุเรียนปลูกได้ดีเฉพาะแห่ง เช่น ภาคใต้ ภาคกลางบางจังหวัด รวมทั้งภาคตะวันออก แต่เนื่องจากการสื่อสารทันสมัย เทคโนโลยีก้าวหน้า ทุเรียนได้กระจายไปหลายๆ จังหวัด เมื่อก่อนอาจจะมีคำถามว่า “จังหวัดไหนปลูกทุเรียนได้บ้าง” แต่ทุกวันนี้ คำถาม อาจจะเปลี่ยนเป็น “จังหวัดไหนไม่ปลูกทุเรียนบ้าง” อีสานที่ว่าแล้งปลูกทุเรียนได้ดีที่ ศรีสะเกษ อุบลราชธานี บุรีรัมย์ ชัยภูมิ นครราชสีมา จังหวัดอื่นๆ ไม่น่าเชื่อว่าจะปลูกได้ แต่ก็ปลูกมีผลผลิต เช่น สุรินทร์ กาฬสินธุ์ เลย เหมาซานหวาง ทุเรียนมาแรง ทุเรียนยอดฮิต ที่นิยมปลูกกันในบ้านเรา เห็นจะได้แก่ หมอนทอง อื่นๆ มี ชะนี ก้านยาว กระดุม พวงมณี
กรอบนอกนุ่มใน เป็นเนื้อทุเรียนภูเขาไฟ ที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะถิ่น แห่งเดียวในพื้นที่จังหวัดศรีสะเกษ ทำไมถึงเป็นเช่นนั้น ก็เพราะว่าพื้นที่ปลูกอยู่ในเขตภูเขาไฟที่ดับมอดไปนานแล้ว คงเหลือไว้ด้วยแร่ธาตุอาหารที่ส่งผลให้การปลูกและผลิตทุเรียนได้เนื้อกรอบนอกนุ่มใน หอม หวานมันกลมกล่อม เป็นที่ชื่นชอบของผู้บริโภค ที่ส่งผลให้เกษตรกรสามารถยกระดับรายได้นำไปสู่การมีวิถีครอบครัวที่มั่นคงยั่งยืน กรอบนอกนุ่มในทุเรียนภูเขาไฟหอมหวานมัน คุณอนุวัฒน์ คำล้าน นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรชำนาญการ สำนักงานเกษตรจังหวัดศรีสะเกษ เล่าให้ฟังว่า ประชากรส่วนใหญ่ของจังหวัดศรีสะเกษ ประกอบอาชีพเกษตรกรรม มีพื้นที่การเกษตรราว 4 ล้านกว่าไร่ เป็นพื้นที่เพื่อการทำนา ทำไร่ เลี้ยงสัตว์ หรือทำประมง ไม้ผลเป็นพืชเศรษฐกิจสำคัญ มีการปลูกและผลิตไม้ผลเชิงการค้า 7,123 ไร่ เกษตรกร 1,309 ครัวเรือน ไม้ผลที่ปลูก ได้แก่ ทุเรียน ลำไย ลองกอง มังคุด หรือเงาะ เนื้อทุเรียนภูเขาไฟสีเหลืองทองหอมที่ชวนชิม สำหรับแหล่งปลูกและผลิตทุเรียนได้ดีมีคุณภาพอยู่ในพื้นที่อำเภอกันทรลักษ์ ศรีรัตนะ ขุนหาญ และอำเภอภูสิงห์ เป็นพื้นที่ภูเขาไฟเก่าที่มอดดับไปนานแล้ว ในดินจึ
ศรีสะเกษ ชาวนาเปิดท้ายขายข้าวสารราคาถูกไม่ง้อพ่อค้าคนกลาง ขณะที่ชาวนาหมู่บ้านเดียวกันเตรียมขนข้าวสารขึ้นรถปิคอัพออกมาขายตามข้างถนนและปั้มน้ำมัน เมื่อเวลา 13.55 น. วันที่ 5 พ.ย. 59 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ที่บริเวณข้างถนนด้านหน้า ร.ร.อนุบาลดำรงราชานุสรณ์ อ.กันทรลักษ์ จ.ศรีสะเกษ ได้มี นายดำรง ยอมฉิมมา อายุ 53 ปี อยู่ชาว หมู่ 2 บ้านหนองหว้าน้อย ต.หนองหว้า อ.เบญจลักษณ์ จ.ศรีสะเกษ มีอาชีพเป็นทำนา ได้นำเอาข้าวสารบรรจุในกระสอบปุ๋ยซึ่งเป็นข้าวหอมมะลิใหม่ บรรทุกบนรถปิคอัพมาจอดเปิดกระบะท้ายรถเพื่อที่จะขายข้าวสารให้กับประชาชนที่เดินทางสัญจรไปมา โดยมีการเขียนป้ายแบบง่ายๆติดข้างรถว่า ข้าวใหม่หอมมะลิ และข้าวสารหอมมะลิ เพื่อเป็นการประกาศให้ประชาชนที่ผ่านไปมาทราบว่า มีการขายข้าวสารหอมมะลิบนรถปิคอัพคนนี้ และปรากฏว่า มีประชาชนพากันมาซื้อข้าวสารหอมมะลิไปหุงรับประทานภายในครอบครัวอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากว่าราคาข้าวหอมมะลิจะมีราคาถูกกว่าท้องตลาดมาก โดยมีราคาเพียง กก.ละ 30 บาทเท่านั้น นายดำรง ยอมฉิมมา อายุ 53 ปี กล่าวว่า ก่อนหน้านี้ตนมีอาชีพขายต้นไม้ และต่อมาได้หันกลับมาทำนาที่บ้านเกิดที่ อ.เบญจลักษ์ ซึ่งปีนี้ป
ปกติแล้วกิ้งกือเป็นสัตว์ที่คนทั่วไปทั้งหญิงชาย ต่างพากันเกลียดกลัว โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้หญิงจะเกลียดและขยะแขยงกิ้งกือเป็นอย่างมาก แต่ว่าที่บ้านเลขที่ 435/12 ถนนกลางเมือง ตำบลเมืองเหนือ อำเภอเมือง จังหวัดศรีสะเกษ ซึ่งเป็นบ้านของ นายศิวาวุธ หรือ แมน ช่างเพชร อายุ 25ปี ได้มีการเพาะเลี้ยงกิ้งกือไว้จำนวนมากกว่า 400 ตัว โดยกิ้งกือขนาดต่าง ๆ ทั้งเล็กใหญ่พากันไต่ยั๊วะเยี๊ยะอยู่ในกะละมังสำหรับเลี้ยงกิ้งกือ ซึ่งนายศิวาวุธ ได้นำเอาเศษผักและใบไม้แห้งมาเป็นอาหารเลี้ยงกิ้งกืออย่างดี และกิ้งกือแต่ละตัวก็กำลังอยู่ในวัยเจริญพันธุ์ มีการขยายพันธุ์อย่างต่อเนื่อง นายศิวาวุธ หรือ แมน ช่างเพชร อายุ 25ปี หนุ่มศรีสะเกษ ที่ประกอบอาชีพแปลกที่สุดในโลก กล่าวว่า ตนเพิ่งเรียนจบชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ของศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนจังหวัดศรีสะเกษ ได้เกิดมีความคิดอยากทำอาชีพเกษตรกรรม ดังนั้น จึงได้ทำการศึกษาค้นคว้าหาความรู้ โดยพบว่า มีการทำวิจัยในการเลี้ยงกิ้งกือเพื่อนำมูลกิ้งกือมาทำปุ๋ยอินทรีย์ ตนจึงได้เกิดแนวความคิดที่จะเลี้ยงกิ้งกือขึ้นมา โดยเริ่มแรกจะเลี้ยงกิ้งกือเพียงประมาณ 30 ตัวเท่านั้น เนื่องจากว่า หากิ้งกือได้ค่อน