ศูนย์วิจัยกสิกรไทย
คนไทยชอบทำหน้า! โดยเฉพาะ ‘ตา-จมูก-หน้าอก-ฉีดโบทอกซ์’ แต่หมอศัลย์ไทยมีแค่ 500 คน ขณะที่เกาหลีใต้มีกว่า 2,700 คน ที่น่าสนใจคือ LGBTQIA+ Gen Z และผู้ชาย กลายเป็นลูกค้ากลุ่มใหม่ที่เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาดว่า ในปี 2568 มูลค่าตลาดธุรกิจศัลยกรรมและเสริมความงามของไทย จะอยู่ที่ 76,500 ล้านบาท โต 2.8% เมื่อเทียบกับปีก่อน จากจำนวนการใช้บริการ รวมถึงอัตราค่ารักษา และบริการที่เพิ่มขึ้น อย่างไรก็ดี ด้วยภาวะเศรษฐกิจ กำลังซื้อและการแข่งขันในตลาดที่รุนแรง ส่งผลให้อัตราการเติบโตในปีนี้ใกล้เคียงกับปีก่อน แต่ไม่ได้เร่งตัวเช่นในอดีต โดยคาดว่า สัดส่วนมูลค่าตลาดของกลุ่มคลินิกจะอยู่ที่ 85% ลดลงจากปี 2564 ที่ 90% เป็นผลมาจากการแข่งขันด้านราคาที่รุนแรง ขณะที่กลุ่มโรงพยาบาลมีสัดส่วนเพิ่มขึ้นมา อยู่ที่ 15% จากจำนวนลูกค้าชาวต่างชาติที่เพิ่มขึ้น รวมถึงจุดแข็งด้านมาตรฐานการรักษา และความมีชื่อเสียงของศัลยแพทย์ ปัจจุบันคนรุ่นใหม่เปิดกว้างและกล้าทำศัลยกรรมมากขึ้น สะท้อนจาก ปี 2566 สัดส่วนการทำศัลยกรรมแบบผ่าตัดอยู่ที่ 79% เพิ่มขึ้นจาก 75% ในปี 2562 ส่วนหนึ่งมาจากเทคโนโลยีการรักษาที่ทันสมัย มีความปลอดภัยแล
ตลาดแรงงานเปลี่ยน! คนไทยตื่นตัวสมัครเรียนออนไลน์ Reskill- Upskill เสริมทักษะดิจิทัล เติบโตกว่า 50% พบหลักสูตรยอดนิยมคือ AI หรือ ปัญญาประดิษฐ์ ศูนย์วิจัยกสิกรไทย เผยว่า ตำแหน่งงานในไทยกำลังจะเปลี่ยนไป ความต้องการผู้เชี่ยวชาญทักษะด้านดิจิทัลและเทคโนโลยีมีมากขึ้น ทำให้คนไทยหันมาเรียนคอร์สออนไลน์เพื่อ Upskill/Reskill เฉลี่ยเติบโตกว่า 50% 3 อันดับสาขาอาชีพที่มีแนวโน้มความต้องการในตลาดแรงงานสูง ผู้เชี่ยวชาญด้านปัญญาประดิษฐ์ หรือ AI ผู้เชี่ยวชาญด้านความยั่งยืน ผู้เชี่ยวชาญการวิเคราะห์ข้อมูล แนวโน้มตำแหน่งงานในภาคการผลิตและบริการ ภาคอุตสาหกรรม ได้แก่ วิศวกรหุ่นยนต์ วิศวกรไฟฟ้า ผู้ควบคุมอุปกรณ์การเกษตร วิศวกรทางการเงิน นักเทคนิคการแพทย์ และผู้เชี่ยวชาญอีคอมเมิร์ซ ภาคบริการ ได้แก่ วิศวกรทางการเงิน นักเทคนิคการแพทย์ และผู้เชี่ยวชาญด้านอีคอมเมิร์ซ นอกจากนี้ ผลสำรวจทักษะและความพร้อมเยาวชนและประชากรวัยแรงงานในประเทศไทย ยังชี้ให้เห็นว่า เยาวชนไทยและประชากรวัยแรงงานไทยกว่า 74.1% มีทักษะดิจิทัลที่ต่ำกว่าเกณฑ์ โดยพบว่า คนไทยเรียนคอร์สออนไลน์เพื่อเพิ่มทักษะทางดิจิทัลและนวัตกรรมด้านเทคโนโลยี (Upskill/Res
ศูนย์วิจัยกสิกรไทย เปิด 10 ธุรกิจดาวรุ่ง-ดาวร่วง ปี 2568 ก่อนเข้าสู่ปี 2568 อย่างเป็นทางการ ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ได้เปิดเผย 10 ธุรกิจดาวรุ่ง-ดาวร่วง ปี 2568 สำหรับ “ธุรกิจดาวรุ่ง” ประกอบด้วย 1. ธุรกิจอาหารและเครื่องดื่ม มูลค่าตลาดเติบโต 5-7% จากเทรนด์รักสุขภาพและสังคมสูงวัย 2. การแพทย์และความงาม เติบโตจากเทรนด์ใส่ใจสุขภาพ ที่หนุนค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพเพิ่มขึ้น 4-6% ต่อปี 3. ธุรกิจท่องเที่ยวหรือฮีลใจ เช่น สัตว์เลี้ยง คอนเสิร์ต มูเตลู หมูเด้ง หมีเนย มูลค่าตลาดอาหารสัตว์เลี้ยงเติบโต 10-15% ตามจำนวนสัตว์เลี้ยงที่เพิ่มขึ้น 4. สินค้าและบริการเกี่ยวกับเด็ก ตลาดสินค้าเด็กเติบโต 4% จากพ่อแม่ที่ต้องการสินค้ามีคุณภาพและปลอดภัย 5. ธุรกิจกรีนหรือปล่อยคาร์บอนต่ำ 58% ของผู้บริโภค เต็มใจจ่ายสินค้าหรือบริการกรีนเพิ่มขึ้นจากราคาสินค้าปกติ สำหรับ “ธุรกิจดาวร่วง” ประกอบด้วย 1. ธุรกิจผลิตสินค้าแฟชั่น เฟอร์นิเจอร์ของตกแต่ง มียอดขายเติบโตชะลอจากกำลังซื้อเปราะบางและแข่งกับสินค้านำเข้า 2. ธุรกิจดีลเลอร์รถยนต์สันดาป การเปลี่ยนผ่านสู่ EV มากขึ้น กดดันยอดขายรถยนต์สันดาป 3. ธุรกิจอสังหาร
ธุรกิจร้านอาหาร ปี 67 ยังเติบโต แต่แข่งขันดุเดือด ยอดปิดตัวพุ่ง 51.9% ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ได้เปิดเผยข้อมูลว่า ในปี 2567 ธุรกิจร้านอาหารยังเติบโต เพราะได้รับปัจจัยสำคัญมาจากการฟื้นตัวของภาคท่องเที่ยว แต่การแข่งขันที่สูงทำให้ร้านอาหารปิดตัวเร่งขึ้น ขณะที่การเปิดตัวใหม่ลดลง โดยในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2567 ธุรกิจการบริการด้านอาหารและภัตตาคาร ติด 5 อันดับแรก การจดทะเบียนธุรกิจใหม่ ซึ่งลดลง 1% เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า ขณะเดียวกัน ธุรกิจการบริการด้านอาหารและภัตตาคาร ติด 5 อันดับแรก การจดทะเบียนยกเลิกธุรกิจ ซึ่งเพิ่มขึ้น 51.9% เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า ศูนย์วิจัยกสิกรไทย เปิดเผยข้อมูลเพิ่มเติมว่า ธุรกิจร้านอาหารได้รับความสนใจจากชาวต่างชาติเข้ามาลงทุนมากขึ้น โดยจำแนกตามสัญชาติดังนี้ ไทย มูลค่าการลงทุน 7,745 ล้านบาท จีน มูลค่าการลงทุน 416 ล้านบาท ญี่ปุ่น มูลค่าการลงทุน 219 ล้านบาท อินเดีย มูลค่าการลงทุน 190 ล้านบาท ฝรั่งเศส มูลค่าการลงทุน 190 ล้านบาท เกาหลีใต้ มูลค่าการลงทุน 101 ล้านบาท อย่างไรก็ตาม ศูนย์วิจัยกสิกรไทย สรุปว่า นอกจากประเด็นการแข่งขันที่สูง ธุรกิจยังมีเรื่องของต้นทุนที่สูงขึ้น ประกอบก
ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ประเมินว่า เศรษฐกิจไทยปี 2567 อาจขยายตัวในกรอบ 3.1-3.6% โดยมีแรงขับเคลื่อนจากการฟื้นตัวต่อเนื่องของภาคการท่องเที่ยว การใช้จ่ายของภาครัฐ มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจในประเทศ ส่วนการส่งออกอาจพลิกเป็นบวกได้ ขณะที่ ต้นทุนธุรกิจยังมีแนวโน้มทรงตัวสูง ทั้งจากราคาน้ำมันและค่าไฟฟ้าที่เพิ่มขึ้น ค่าจ้างที่ขยับตามการปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ อัตราดอกเบี้ยในประเทศที่ทรงตัวสูงต่อเนื่อง ตลอดจนการเตรียมการรับมือกับกฎระเบียบด้านสิ่งแวดล้อมที่มีแนวโน้มเข้มงวดมากขึ้นทั้งในและต่างประเทศ สำหรับ 3 ธุรกิจรุ่ง ได้แก่ ท่องเที่ยวสุขภาพ-การแพทย์ทางไกล ธุรกิจปล่อยคาร์บอนต่ำ ตู้กดสินค้าอัตโนมัติ 1. การท่องเที่ยวสุขภาพ คาดรายได้จากคนไข้ Medical Tourism เติบโต 8-10% ในปี 2567 สอดคล้องไปกับการฟื้นตัวต่อเนื่องของตลาดต่างชาติเที่ยวไทยและการเดินทางระหว่างประเทศ นอกจากนี้ การแพทย์ทางไกล (Telehealth) ก็คาดว่าจะเติบโตสูงราว 17% ต่อปี4 สอดคล้องไปกับการพัฒนาระบบเทคโนโลยีในการให้บริการด้านสาธารณสุข และค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพของคนไทยที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นตามการก้าวเข้าสู่สังคมสูงอายุเต็มรูปแบบในปี 2572 2. ธุรกิจปล่อยคาร์
ภัยแล้ง จากเอลนีโญ ความท้าทายเศรษฐกิจครึ่งปีหลัง 2566 กระทบหลายอุตสาหกรรม หนึ่งความท้าทายของเศรษฐกิจไทยในปี 2566 คือ การที่ประเทศไทยและทั่วโลก กำลังเผชิญกับสภาวะโลกร้อน หรือ Climate Change ที่ส่งผลให้เกิดปรากฏการณ์เอลนีโญ โดยประเทศไทยได้เริ่มเข้าสู่ปรากฏการณ์เอลนีโญแล้วตั้งแต่เดือนพฤษภาคม 2566 ที่ผ่านมา ซึ่ง ณ ขณะนี้ยังไม่สามารถคาดการณ์ได้ว่าจะเกิดขึ้นต่อเนื่องจนถึงเมื่อไหร่ แต่สิ่งที่ประเทศไทยกำลังจะเผชิญในอนาคตอันใกล้ คือ เรื่องของภัยแล้ง ที่อาจจะรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ จากข้อมูล ณ ขณะนี้ ปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้ำที่ประสบกับสถานการณ์น้ำที่อยู่ในเกณฑ์น้อย หรือน้อยจนเข้าขั้น ได้แก่ ภาคกลาง และภาคตะวันออก ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ได้ประเมินผลกระทบในขั้นแรก คาดว่าจะกระทบต่อผลผลิตทางการเกษตรอาจคิดเป็นมูลค่าราว 4.8 หมื่นล้านบาทในปี 2566 ส่วนผลกระทบต่อภาคอุตสาหกรรม หลักๆ จะกระทบกับอุตสาหกรรมอโลหะ เช่น แก้ว กระเบื้อง และซีเมนต์ ขณะที่อุตสาหกรรมที่จะได้รับผลกระทบอีก 2 อุตสาหกรรม ได้แก่ อุตสาหกรรมแปรรูปผลิตภัณฑ์เกษตรหรืออาหาร และอุตสาหกรรมสิ่งทอ ซึ่งถ้าหากประเทศไทย เผชิญภาวะขาดแคลนน้ำรุนแรง รัฐบาลอาจจะต้องพ
คนไข้ต่างชาติทยอยกลับมาใช้บริการ ดันรายได้ ธุรกิจโรงพยาบาลเอกชน ปี 66 กลับสู่ฐานเดิมก่อนโควิด ศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาดว่า ปี 66 รายได้ของโรงพยาบาลเอกชนที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ น่าจะขยายตัว 3.7% (YoY) ซึ่งเป็นทิศทางที่ชะลอลงจากปี 65 จากกลุ่มคนไข้โควิดที่ลดลง โดยคาดว่าหลังจากนี้ รายได้ของธุรกิจโรงพยาบาลเอกชนน่าจะทยอยปรับเข้าสู่ฐานเดิมก่อนโควิด เนื่องจากคนไข้ต่างชาติทยอยกลับมาตามการฟื้นตัวของภาคการท่องเที่ยว โดยเฉพาะตลาดคนไข้หลักอย่างตะวันออกกลาง ที่คาดว่าจะเข้ามาใช้บริการจำนวนมากในช่วงครึ่งปีหลัง นอกจากนี้ ยังมีกลุ่มคนไข้ต่างชาติ CLMV (กัมพูชา สปป.ลาว เมียนมา และเวียดนาม) รวมถึงคนไข้ไทย ทั้งกลุ่มประกันสังคมและกลุ่มคนไข้ทั่วไป ที่คาดว่าจะกลับมาใช้บริการเพิ่มขึ้นด้วย อย่างไรก็ตาม แม้ว่าปี 66 รายได้ของโรงพยาบาลเอกชนจะยังคงเติบโต แต่กำไรของธุรกิจยังเผชิญแรงกดดันจากหลายปัจจัย ซึ่งนอกจากฐานที่สูงในปีก่อน สะท้อนได้จากไตรมาสแรกของปี 66 ธุรกิจมีกำไรลดลง 42% (YoY) จากกลุ่มคนไข้โควิดที่ลดลง ในช่วงที่เหลือของปีนี้ กำไรของธุรกิจโรงพยาบาลเอกชนยังถูกกดดันจากต้นทุนในการดำเนินธุรกิจที่ยังสูง ไม่ว่าจะ
ส่องแนวโน้ม เศรษฐกิจไทย ปี 66 ยังเผชิญหลายโจทย์รุมเร้า คาดโต 3.2% วันที่ 19 ธันวาคม 2565 นางสาวณัฐพร ตรีรัตน์ศิริกุล รองกรรมการผู้จัดการ บริษัท ศูนย์วิจัยกสิกรไทย จำกัด เปิดเผยว่า แนวโน้มที่เศรษฐกิจโลกจะชะลอตัวลงอย่างมีนัยสำคัญในปี 2566 จะกดดันการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทย โดยเศรษฐกิจสหรัฐฯ และยูโรโซนมีแนวโน้มที่จะไม่เติบโต เป็นผลจากการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายเพื่อควบคุมเงินเฟ้อ นอกจากนี้ ยังมีผลกระทบจากวิกฤตพลังงานในยุโรปด้วย ในขณะที่ แนวโน้มที่จีนจะเปิดประเทศในช่วงไตรมาสที่ 2 ปี 2566 มีมากขึ้น แต่ก็ยังต้องติดตามสถานการณ์ในจีนหลังจากนี้ ทั้งจำนวนผู้ป่วย ผู้เสียชีวิต และความเพียงพอของระบบสาธารณสุข เนื่องจากยังมีความเป็นไปได้ที่จีนจะเผชิญการแพร่ระบาดระลอกใหม่ ซึ่งอาจจะมีผลกระทบต่อเนื่องมายังกิจกรรมทางเศรษฐกิจจีน ดังนั้น ศูนย์วิจัยกสิกรไทยยังคงมีมุมมองที่ระมัดระวังต่อสถานการณ์การเปิดประเทศของจีนดังกล่าว โดยยังคงจำนวนนักท่องเที่ยวที่ 22 ล้านคน และการขยายตัวทางเศรษฐกิจไทยในปี 2566 ไว้ที่ร้อยละ 3.2 ส่วนแนวโน้มดอกเบี้ยนั้น มองว่าเฟดคงจะขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายต่อเนื่องในช่วงไตรมาสแรกของปี 2566
ปี 66 การท่องเที่ยวกลับมา ส่อง โรงแรมและที่พัก กลุ่มไหนฟื้นตัวได้ดี ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ประเมินว่า ในปี 2566 รายได้ของธุรกิจโรงแรมและที่พักน่าจะเติบโตต่อเนื่อง จากภาคการท่องเที่ยวที่คาดว่าจะปรับตัวดีขึ้น ทั้งตลาดคนไทยเดินทางท่องเที่ยวในประเทศ และโดยเฉพาะชาวต่างชาติที่คาดว่าในปี 2566 นักท่องเที่ยวต่างชาติเที่ยวไทย จะฟื้นตัวได้เกือบเท่าตัวจากปี 2565 ซึ่งจะเป็นแรงบวกสำคัญของธุรกิจ เช่นเดียวกับกิจกรรมการจัดงานอีเวนต์ การจัดประชุมสัมมนาน่าจะทยอยเพิ่มมากขึ้นจากปี 2565 แต่การฟื้นตัวของธุรกิจโรงแรมและที่พักยังเปราะบางและไม่ทั่วถึง เนื่องจากมองไปในระยะข้างหน้าต่อจากนี้ธุรกิจยังต้องเผชิญกับโจทย์ที่ท้าทายมากขึ้น จากตลาดนักท่องเที่ยวที่ยังมีความไม่แน่นอนและสภาพแวดล้อมการทำธุรกิจ อาทิ ความเสี่ยงโรคโควิดยังคงอยู่ ทำให้ยังเป็นข้อจำกัดในการเดินทางท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวบางกลุ่ม ความเสี่ยงจากเศรษฐกิจหลักของโลกเข้าสู่ภาวะถดถอย เนื่องจากขณะนี้หลายประเทศทั่วโลกกำลังเผชิญกับหลากหลายปัจจัยลบทั้งปัญหาเงินเฟ้อที่สูง ราคาพลังงานที่ยังมีแนวโน้มผันผวนและปรับตัวขึ้นอีก ขณะเดียวกัน สถานการณ์ระหว่างรัสเซียและยูเค
น้ำท่วม ฤดูฝนนี้ ข้าวนาปี คาดเสียหายกว่า 3 พันล้านบาท ภาวะน้ำท่วมในหลายภูมิภาคของไทยที่กำลังเกิดขึ้นในขณะนี้ ส่งผลกระทบต่อผลผลิตพืชเกษตรฤดูฝนอย่างข้าวนาปี เนื่องจากเป็นช่วงที่ผลผลิตข้าวนาปีกำลังทยอยออกสู่ตลาด โดยเฉพาะในภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคเหนือ ซึ่งมีผลผลิตข้าวหอมมะลิจำนวนมาก และเป็นพื้นที่ที่พายุเข้าสู่ประเทศไทยจึงมีฝนตกหนัก ศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาด มูลค่าความเสียหายของข้าวนาปีจากน้ำท่วมในช่วงเดือนส.ค.-ต.ค. 2565 น่าจะอยู่ที่ราว 2,900-3,100 ล้านบาท และอาจดันราคาข้าวเฉลี่ยในช่วงนี้ให้ประคองตัวในระดับสูงที่ราว 10,000-11,000 บาทต่อตัน ทั้งนี้ เดือนต.ค. 2565 ไทยน่าจะยังได้รับอิทธิพลจากพายุเขตร้อนอยู่ ดังนั้น ยังต้องจับตาระดับความรุนแรง/จำนวนลูกของพายุ ซึ่งหากมีความรุนแรงเพิ่มจนทำให้พื้นที่ข้าวนาปีได้รับความเสียหายเป็นวงกว้างขึ้น ก็อาจทำให้มูลค่าความเสียหายสูงกว่ากรอบบนที่ประเมินไว้เบื้องต้น ศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาด ปี 2565 ภาพรวมผลผลิตข้าวรวมทั้งปีอยู่ที่ราว 31.2-32.2 ล้านตัน ใกล้เคียงกับปีก่อนที่ราว 31.7 ล้านตัน โดยเป็นผลผลิตข้าวนาปี 24-25 ล้านตัน ลดลง 5.3-9.1% (YoY) และผลผลิตข้าวนาปรั