สจล.
ผู้เชี่ยวชาญ สจล. แนะ คุมเข้มธุรกิจอาหาร ย้ำ กระบวนการผลิตอาหารกระป๋องในไทย ปลอดภัยไร้โควิด-19 ช่วงการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 สิ่งสำคัญที่มีการพูดถึงน้อย คือการคุมเข้มธุรกิจอาหารในเรื่องของความปลอดภัยของอาหาร ทั้งยังเกิดเหตุการณ์การแพร่ระบาดระลอกใหม่หนักที่โรงงานผลิตอาหารกระป๋องในจังหวัดสมุทรสาคร ในช่วงเดือนมกราคมที่ผ่านมา ซึ่งพบผู้ติดเชื้อเป็นแรงงานในโรงงานกว่าหลายร้อยคน สร้างความไม่เชื่อมั่นในความสะอาด และความปลอดภัยของอาหารในพื้นที่เสี่ยงและอาหารประเภทที่บรรจุอยู่ในกระป๋องที่ออกขายในตลาด ซึ่งในขณะนี้ ได้มีประกาศจากกระทรวงสาธารณสุขว่า ตลาดในพื้นที่ดังกล่าวกำลังจะเปิดอีกครั้ง หลังปิดทำความสะอาดฆ่าเชื้อเป็นระยะเวลาร่วมเดือน รศ.ดร.ประพันธ์ ปิ่นศิโรดม คณบดี คณะอุตสาหกรรมอาหาร สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) กล่าวว่า ประชาชนอาจเป็นกังวลหรือสงสัยว่า การรับประทานอาหารจะเป็นแหล่งแพร่เชื้อไวรัสโควิด-19 หรือไม่ แต่แท้จริงแล้วอาหารไม่สามารถเป็นแหล่งพาหะได้ เนื่องจากเชื้อไวรัสโควิด-19 หากมีการปนเปื้อนในอาหาร เชื้อไวรัสจะไม่สามารถเพิ่มจำนวนได้ และเมื่อถึงเวลาหนึ่งจะตายเองใ
สจล. ส่งนวัตกรรมตู้ตรวจเชื้อโควิด-19 ให้โรงพยาบาลทั่วประเทศกว่า 200 แห่ง เมื่อวันที่ 23 เม.ย. สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) โดย ศูนย์รวมนวัตกรรม KMITL GO FIGHT COVID-19 ปล่อยคาราวานส่งมอบตู้ตรวจเชื้อโควิด-19 (Swab Test) แบบความดันลบ และแบบความดันบวก จำนวนกว่า 130 ตู้ โดยเตรียมส่งล็อตแรกในวันที่ 23 เมษายน 2563 จำนวน 50 ตู้ พร้อมขนทัพนวัตกรรมการแพทย์สู้โควิด-19 อาทิ เครื่องช่วยหายใจอัตโนมัติ หุ่นยนต์ฆ่าเชื้อโควิด และหุ่นยนต์ขนส่งเวชภัณฑ์ ฯลฯ เตรียมส่งมอบให้แก่โรงพยาบาลทั่วประเทศกว่า 200 แห่ง ศ.ดร.สุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์ อธิการบดีสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) กล่าวว่า จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 สจล. โดย ศูนย์รวมนวัตกรรม KMITL GO FIGHT COVID-19 ได้เดินหน้าพัฒนานวัตกรรมอย่างต่อเนื่อง เพื่อช่วยบุคลากรทางการแพทย์ซึ่งเปรียบเสมือนนักรบแนวหน้า ในการปฏิบัติหน้าที่ได้อย่างปลอดภัย ตลอดเวลาที่ผ่านมา ทีมนักวิจัยและพัฒนานวัตกรรม สจล. ได้รวมพลังกันพัฒนาต้นแบบนวัตกรรม พร้อมนำเสนอแก่ทีมแพทย์ เพื่อรับฟังเสียงตอบรับ และนำมาปรับปรุง ต่อยอดเป็นผลงานน
“ตะเกียบกินได้” ผลิตจากแป้งข้าวโพด-แป้งถั่วเหลือง ไอเดียลดขยะ สุดเจ๋ง! จากเด็ก สจล. ตะเกียบกินได้ – “เส้นทางเศรษฐีออนไลน์” มีโอกาสได้ไปเดินเล่นที่งาน “KMITL Engineering Project Day 2019” งานแสดงผลงานวิจัย และนวัตกรรมสิ่งประดิษฐ์ ของนักศึกษา คณะวิศวกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) เดินชมผลงานของน้องๆ ไปเรื่อย ก็ไปเจอเข้ากับบู๊ธหนึ่ง มีผัดมาม่าวางอยู่ในจานสีน้ำตาลอมเหลือง แถมมีตะเกียบที่หนากว่าปกติวางพร้อม ดูไปดูมาก็น่าจะเป็นจานที่สามารถย่อยสลายได้ทั่วไป ที่ร้านค้าต่างๆ ในสมัยนี้หันมาใช้กันเยอะแยะ สายตาบังเอิญเหลือบไปเห็นวิดีโอที่เล่นอยู่ กำลังนำเสนอวิธีการใช้ตะเกียบอยู่ ซึ่งตะเกียบนั้นสามารถทานได้ ด้วยความไม่เคยเห็น จึงเข้าไปพูดคุยกับน้องๆ ที่ยืนนิ่งจ้องมาทางเรา กับท่าทางที่ยิ้มแย้มพร้อมตอบคำถามเราทุกเมื่อ นายปวัชร เพ็งสุขแสง, นายรชานนท์ แซ่ตั้ง และ นางสาวสกุลรญา สินถิรมั่น นักศึกษาชั้นปีที่ 4 คณะวิศวกรรมศาสตร์ ภาควิชาวิศวกรรมอาหาร สจล. ผู้คิดค้น “ตะเกียบชีวภาพรับประทานได้” น้องๆ ได้ร่วมกันเล่าให้ฟัง ถึงที่มาที่ไปของนวัตกรรมตะเกียบทานได้นี้ว่า ปัจจุ