สตาร์ตอัพ
สตาร์ตอัพไทย ไม่ง่ายจะสำเร็จทุกราย ปัญหาท้าทาย คือ เงินและการลงทุน นายใบน้อย สุวรรณชาตรี อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม กล่าวว่า วิสาหกิจเริ่มต้น หรือ สตาร์ตอัพ (Startup) ถือเป็นอีกหนึ่งกลุ่มธุรกิจที่เป็นแรงขับเคลื่อนที่สำคัญของเศรษฐกิจฐานนวัตกรรม และกำลังได้รับความสนใจอย่างมาก อย่างไรก็ตาม การเกิดขึ้นและการเติบโตของสตาร์ตอัพไทย ยังอยู่ในช่วงระยะเริ่มต้น และไม่ใช่เรื่องง่ายที่จะเกิดความสำเร็จในทุกราย เนื่องด้วยยังขาดอีกหลายปัจจัยที่จะทำให้ธุรกิจเติบโตได้อย่างเต็มที่ โดยเฉพาะปัจจัย ที่สำคัญเรื่อง “เงินทุนและการลงทุน” จากกลุ่มธุรกิจต่างๆ เนื่องด้วยความไม่แน่นอนทางเศรษฐกิจ รวมถึงความน่าสนใจของผลิตภัณฑ์และบริการที่มีความคุ้มค่าต่อการลงทุน สิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นความท้าทายของธุรกิจสตาร์ตอัพที่ต้องแก้ไขและผลักดันให้เกิดขึ้นอย่างเร่งด่วนที่สุด โดยที่ผ่านมา กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม หรือ ดีพร้อม ได้เดินหน้าส่งเสริมและสนับสนุนกลุ่มสตาร์ตอัพให้เติบโตด้วยกระบวนการทางธุรกิจที่เข้มข้นภายใต้นโยบาย “ดีพร้อมโต โตได้ โตไว โตไกล โตให้ยั่งยืน” ซึ่งหนึ่งในนั้น คือ โตได้ (Start) ที่เน้นการส่งเสริมและพัฒนาให้ผู้ประกอ
เริ่มต้นธุรกิจไม่ยาก มีพาร์ตเนอร์ 2 คน จดทะเบียนตั้งบริษัท ‘สตาร์ตอัพ’ ได้แล้ว วันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2566 นางสาวไตรศุลี ไตรสรณกุล รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า รัฐบาลได้ดำเนินการปรับปรุงกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการลดขั้นตอน เพื่ออำนวยความสะดวกในการประกอบธุรกิจและทยอยมีผลบังคับใช้อย่างต่อเนื่อง โดยล่าสุดพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ฉบับที่ 23) พ.ศ. 2565 ซึ่งมีสาระสำคัญในการแก้ไขกฎหมายว่าด้วยหุ้นส่วนบริษัทได้เริ่มมีผลบังคับ โดยผลทางกฎหมายจะเอื้อให้เกิดการก่อตั้งธุรกิจง่ายขึ้น ลดค่าใช้จ่ายและต้นทุนในการดำเนินงาน สนับสนุนให้ภาคธุรกิจเป็นกลไกสำคัญสนับสนุนต่อการเติบโตของเศรษฐกิจในระยะยาว สำหรับ พ.ร.บ. แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ฉบับที่ 23) ได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา มีผลบังคับตั้งแต่วันที่ 7 ก.พ. 66 เป็นต้นมา ได้มีการปรับปรุงแก้ไขในหลายประเด็น อาทิ การลดจำนวนขั้นต่ำของผู้เริ่มก่อตั้งบริษัทเป็น 2 คน จากเดิมที่กำหนดขั้นต่ำไว้ที่ 3 คน ซึ่งเกณฑ์ในเรื่องนี้จะทำให้มีการจัดตั้งธุรกิจได้ง่าย เอื้อต่อการเกิดธุรกิจขนาดเล็กหรือวิสาหกิจ
ครีมปิดผมขาว จากใบเทียนกิ่ง คุณสมบัติสุดเจ๋ง ฝีมือนักพฤกษศาสตร์ไทย วิชาพฤกษศาสตร์ ในโลกยุคใหม่ ไม่ใช่การเรียนรู้เพียงเพื่อค้นพบพืชชนิดใหม่ แต่คือ “ประตู” สู่การบูรณาการองค์ความรู้เรื่องพืชเพื่อประโยชน์สู่โลกกว้าง เสริมด้วยทักษะเตรียมพร้อมสู่การเป็นผู้ประกอบการแห่งโลกในศตวรรษที่ 21 ผศ.ดร.วิษุวัต สงนวล อาจารย์ประจำภาควิชาพฤกษศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวในฐานะหนึ่งในผู้ริเริ่ม “Plantbiz” ซึ่งเป็นโครงการใหม่ที่จัดตั้งขึ้นเพื่อบ่มเพาะนักพฤกษศาสตร์รุ่นใหม่ โดยเสริมทักษะพื้นฐานการเป็นผู้ประกอบการให้กับนักศึกษา สู่การนำองค์ความรู้ด้านพฤกษศาสตร์ไปบูรณาการให้เกิดประโยชน์ต่อไปในวงกว้าง ด้วยความเชื่อมั่นในศักยภาพของนักศึกษาภาควิชาพฤกษศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ทางภาควิชาฯ ได้เปิดโอกาสให้นักศึกษาเข้าร่วมโครงการ “Plantbiz” เพื่อสร้างสรรค์นวัตกรรม ก่อนนำไปต่อยอดสู่เชิงพาณิชย์ ผ่านการเชื่อมโยงโดย หน่วย Green Solution for Future Living ของภาควิชาฯ หนึ่งในผลงานที่ มหาวิทยาลัยมหิดล ภาคภูมิใจในฐานะ “ปัญญาของแผ่นดิน” ได้แก่ นวัตกรร
หนุนใช้พลังงานสะอาด ดันสตาร์ตอัพสร้างนวัตกรรม ช่วยอุตสาหกรรมไทย คุณนพเดช กรรณสูต รองกรรมการผู้จัดการใหญ่อาวุโส สายงานการลงทุน นวัตกรรม และความยั่งยืน บริษัท บี.กริม เพาเวอร์ จำกัด (มหาชน) ผู้นำการผลิตไฟฟ้าของภูมิภาคอาเซียน เผยว่า บี.กริม เพาเวอร์ ตระหนักดีว่าภาวะโลกร้อนจากการเกิดก๊าซเรือนกระจกกำลังเป็นความเสี่ยงของทุกประเทศทั่วโลก จึงมุ่งสร้างนวัตกรรมและเทคโนโลยีดิจิทัลที่เกี่ยวข้องกับพลังงาน เพื่อสนับสนุนการใช้พลังงานสะอาด และทำให้เกิดการใช้พลังงานอย่างยั่งยืน โดยบริษัทวางนโยบายที่จะลดการปล่อยคาร์บอน ก้าวสู่องค์กรที่ปล่อยคาร์บอนเป็นศูนย์ หรือ Net-Zero Carbon Emission ในปี 2050 (พ.ศ. 2593) สอดคล้องกับภาพรวมในปัจจุบันของทิศทางพลังงานโลก ที่ต่างมุ่งไปสู่การใช้พลังงานสะอาดและพลังงานทดแทน ร่วมมือกันลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเป็นศูนย์ (Net-Zero) ตามวาระการประชุมระดับโลก COP26 บี.กริม เพาเวอร์ เดินหน้าสู่เป้าหมายองค์กรปล่อยคาร์บอนเป็นศูนย์ โดยจะดำเนินการภายใต้กรอบที่สำคัญ 3 ด้าน ได้แก่ 1. มุ่งผลิตไฟฟ้าพลังงานสะอาด และการใช้พลังงานทดแทน อาทิ โรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์แบบเชื่อมต่อสายส่ง (Solar Ro
หุ่นยนต์ดมกลิ่น ผลงานสร้างสรรค์ จากงานวิจัยคุณภาพ ต่อยอดสู่ธุรกิจสตาร์ตอัพ บนเส้นทางสู่การเป็นประเทศนวัตกรรม จำเป็นต้องมีตัวชี้วัดเพื่อแสดงทิศทางและเป้าหมายที่ชัดเจน และคงต้องฝากอนาคตของประเทศไทยไว้ที่เยาวชนคนรุ่นใหม่ ซึ่งจะเป็นเหมือนนักวิ่งถือคบเพลิงนำสู่เส้นชัยต่อไป แต่กว่าจะไปถึงจุดนั้นได้ จำเป็นต้องผ่านการบ่มเพาะเคี่ยวกรำให้พร้อมตั้งแต่จุดสตาร์ตจนถึงเส้นชัย เช่นเดียวกับเส้นทางสู่การเป็น “สตาร์ตอัพ” หรือการเริ่มต้นธุรกิจที่มีการออกแบบโดยใช้เทคโนโลยีเป็นตัวขับเคลื่อน จำเป็นต้องมีการบ่มเพาะตั้งแต่เริ่มต้น ไปจนสามารถออกสู่ตลาดได้จริง ศ.ดร.นพ.ภัทรชัย กีรติสิน ผู้อำนวยการสถาบันบริหารจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรม (iNT) มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวว่า การวางโครงสร้างพื้นฐานเรื่องงานวิจัยที่เข้มแข็ง เหมือนการตอกเสาเข็มไว้อย่างแน่นหนา หลังจากนั้นจึงเริ่มสร้างหลังคาขึ้นมาได้ ซึ่งจะสร้างไม่ได้เลยถ้ารากฐานไม่เข้มแข็ง ที่ผ่านมา มหาวิทยาลัยมหิดล มีความเข้มแข็งเรื่องงานวิจัยแล้ว ก้าวต่อไป คือ ทำอย่างไรให้งานวิจัยเป็นที่ปรากฏในสายตาของประชาชน โดยอาศัยกลไกการบ่มเพาะความรู้ที่เราได้รับมาไปพัฒนาตาม
กรุงศรี ฟินโนเวต เปิดกองทุนสตาร์ตอัพครั้งแรกในไทย “ฟินโนเวนเจอร์ ฟันด์ I” วันที่ 26 ส.ค. 2564 นายแซม ตันสกุล กรรมการผู้จัดการ บริษัท กรุงศรี ฟินโนเวต จำกัด กล่าวว่า พัฒนาการของสตาร์ตอัพในประเทศไทยเริ่มต้นมาตั้งแต่ประมาณปี 2558 โดย กรุงศรี ฟินโนเวต ได้คลุกคลีกับการเติบโตของสตาร์ตอัพมาตั้งแต่ต้น ตั้งแต่ยุคแรกเริ่ม 1.0 หลายองค์กรที่ต้องการเดินหน้าองค์กรเข้าสู่นวัตกรรมจะจัดทำโครงการบ่มเพาะสตาร์ตอัพ เพื่อให้ได้เริ่มสัมผัสการทำงานแบบสตาร์ตอัพ จากนั้นพัฒนาไปสู่ยุค 2.0 ที่เน้นการลงทุนในสตาร์ตอัพและการร่วมเป็นพันธมิตรกับสตาร์ตอัพในการพัฒนานวัตกรรมต่อยอดธุรกิจต่างๆ กรุงศรี ฟินโนเวต ทำให้กรุงศรีกลายเป็นธนาคารที่ทำงานร่วมกับสตาร์ตอัพมากที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ทำงานร่วมกับสตาร์ตอัพกว่า 63 บริษัท กว่า 106 โปรเจ็กต์ และส่งเสริมการทำงานด้านดิจิทัลของกรุงศรีและบริษัทในเครือถึง 37 หน่วยธุรกิจ วันนี้ กรุงศรี ฟินโนเวต กำลังเดินหน้าสู่ยุค 3.0 ที่พร้อมจะนำความเชี่ยวชาญของเราต่อยอดไปสู่การลงทุนในระดับกองทุน เพื่อที่จะสร้างโอกาสการเติบโตให้กับสตาร์ตอัพที่มีศักยภาพ ในขณะเดียวกัน ก็สร้างผลตอบแทนและการเติ
ชิงทุน ต่อยอดธุรกิจสตาร์ตอัพ Mahidol Youth Startup Fund 2021 ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี (2561-2580) ได้กำหนดให้ นวัตกรรม เป็นฟันเฟืองสำคัญในการพัฒนาประเทศ ซึ่งเยาวชนคนรุ่นใหม่จะเป็นความหวัง และกำลังสำคัญที่จะขับเคลื่อนประเทศให้มุ่งสู่เป้าหมายของการเป็น ประเทศแห่งนวัตกรรมได้ต่อไป นับตั้งแต่มหาวิทยาลัยมหิดล โดย สถาบันบริหารจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรม (iNT) ผ่านการรับรองเป็น เครือข่ายร่วมพัฒนาผู้ประกอบการ อย่างเป็นทางการ จาก กองทุนพัฒนาผู้ประกอบการเทคโนโลยีและนวัตกรรม (TED FELLOW) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ไม่ได้มีบทบาท แต่เพียงการส่งเสริมการทำธุรกิจสตาร์ตอัพภายในมหาวิทยาลัย แต่ขยายผลกว้างไกลไปถึงระดับประเทศ ในฐานะที่ปรึกษา และบ่มเพาะสู่การเป็นผู้ประกอบการที่มีศักยภาพในการริเริ่มและพัฒนาธุรกิจบนพื้นฐานของเทคโนโลยีและนวัตกรรม โดยได้มีการเปิดโอกาสให้เยาวชนคนรุ่นใหม่จากทั่วประเทศได้เข้าร่วมโครงการ “Mahidol Youth Startup Fund” เสนอไอเดียชิงทุนเพื่อนำไปต่อยอดตามแผนธุรกิจสตาร์ตอัพที่มุ่งหวังตั้งใจ สำหรับโครงการ “Mahidol Youth Startup Fund 2021” ในปีนี้
สตาร์ตอัพน้องใหม่ ‘FOB’ บริการนำสินค้าราคามิตรภาพของ 5 หนุ่มเจนวาย “เส้นทางเศรษฐี” พามารู้จักกับธุรกิจสตาร์ทอัพน้องใหม่ “FOB Check Price” (เอฟโอบี เช็ก ไพรซ์) บริษัทนำเข้าสินค้าในราคาที่เป็นมิตร ที่ได้รับความนิยมมากที่สุด โดยผู้ขายจะรับผิดชอบในส่วนของค่าใช้จ่ายทุกอย่างก่อนขนส่ง แต่เมื่อสินค้าออกจากท่าเรือหรือเครื่องบินแล้ว ผู้ซื้อจะต้องเป็นผู้รับผิดชอบเองจนกว่าสินค้าจะถึงที่หมาย เป็นการรวมทีมกันระหว่าง 5 หนุ่มเจนวาย วัย 25 คุณหมี – สุวิจักขณ์ สำราญสุขรัตน์ , คุณแหม่ม – สุรกฤษณ์ เหล็กกล้า , คุณโอ่ง – พันธุ์ณรงค์ ศรีนะภาพรรณ , คุณหมิง – ณรงค์ทัศน์ ธัญญเวทย์ และ คุณโด้ – วิรัชญ์ วิทยานุวัตร จุดเริ่มต้นของเอฟโอบี เกิดขึ้นหลังเรียนจบ ทั้ง 5 หนุ่ม ได้รวมทีมแข่งขันในโครงการ แนวคิดแบบจำลองทางธุรกิจสู่การพัฒนาธุรกิจใหม่ (Business Model Innovation) จนได้รับเงินสนับสนุนมาจำนวนหนึ่ง ด้วยความที่คุณโอ่งเคยทำงานออฟฟิศ และได้รับฟังคำแนะนำจาก คุณราเมศวร์ ศิลปพรหม (ผู้อำนวยการศูนย์กลางนวัตกรรมแห่งจุฬาฯ) ว่า “บริษัทที่ดีที่สุดในโลก คือ บริษัทที่เราเป็นเจ้าของและสร้างมันตามเป้าหมายของเราเอง” ท
ไฮฟ์สเตอร์ hivesters เชื่อมโยงนักท่องเที่ยวทั่วโลกมาไทย รายได้คืนสู่สังคม 2 สาวทายาทธุรกิจ “รุ้งทองทัวร์” ไอเดียดีสร้างกิจกรรมสุดสร้างสรรค์ที่เชื่อมโยงนักท่องเที่ยว มาพบกับ “โลเคิล ฮีโร” และ “โลเคิล โลเคชั่น” หรือผู้ที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านในแต่ละท้องถิ่น ทั้งอาหาร งานหัตถกรรม งานฝีมือ งานศิลปะ ผ่านรูปแบบกิจกรรม ซึ่งนักท่องเที่ยวจะได้สัมผัสประสบการณ์ตรงกับคนท้องถิ่น เป็นแนวทางหนึ่งในการอนุรักษ์วัฒนธรรมที่กำลังจะสูญหายไปและกระจายรายได้ให้กับคนในชุมชน โดยมีจุดยืนทำเพื่อสังคม คุณอชิรญา และคุณชญานิศ ธรรมปริพัตรา สองสาวคนเก่ง จากการจัดประกวดโครงการ Booking Booster 2018 ในการนำเสนอแผนธุรกิจของสตาร์ตอัพและกิจการเพื่อสังคมจากผู้ประกอบการทั่วโลก เพื่อชิงเงินทุนรวมมูลค่ากว่า 2 ล้านยูโรในช่วงต้นปีที่ผ่านมา ผลปรากฏว่า “ไฮฟ์สเตอร์” (HiveSters) สตาร์ตอัพที่ทำธุรกิจด้านการท่องเที่ยวระดับชุมชนของประเทศไทย ได้รับการคัดเลือกติด 1 ใน 10 อันดับของบริษัทสตาร์ตอัพจาก 100 ผู้ประกอบการทั่วโลก จะได้เข้ารับการอบรมเชิงปฏิบัติการที่เน้นการลงมือปฏิบัติจริง ณ กรุงอัมสเตอร์ดัม ประเทศเนเธอร์แลนด์ เป็นระยะเวลา 3 สั
สมาคมนิสิตเก่าจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์ จับมือ ศูนย์กลางนวัตกรรมแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เปิดตัวโครงการจุฬาฯ เพื่อความเป็นเลิศของไทย (CUTE) พร้อมให้การสนับสนุนเงินลงทุน คำแนะนำกับผู้ประกอบการธุรกิจ สตาร์ตอัพที่มีนวัตกรรม คุณเทวินทร์ วงศ์วานิช นายกสมาคมนิสิตเก่าจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์ (สนจ.) เปิดเผยว่า เนื่องในวาระ 100 ปี ของการสถาปนาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ที่มีบทบาทต่อการพัฒนาสังคมไทยต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน สนจ. โดยความร่วมมือกับศูนย์กลางนวัตกรรมแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (CU Innovation Hub) ได้จัดตั้งโครงการจุฬาฯ เพื่อความเป็นเลิศของไทย หรือ Chulalongkorn University for Thailand Excellence (CUTE) ทั้งนี้ ถือเป็นครั้งแรกของการผนึกกำลังกันของนิสิตเก่าจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและเครือข่าย ที่มีจิตอาสาจะเป็นพี่เลี้ยง (Mentor)และผู้ร่วมลงทุน (Investor) ให้การสนับสนุนธุรกิจที่มีเทคโนโลยีนวัตกรรมในทุกรูปแบบ เพื่อให้ผู้ประกอบการ รวมถึงสตาร์ตอัพ พัฒนาศักยภาพ ประสบความสำเร็จ สามารถแข่งขันได้ทั้งในและต่างประเทศ สำหรับการให้คำแนะนำกับผู้ประกอบการและสตาร์ตอัพ จะม