สถาบันอาหาร
AWC ผนึก สถาบันอาหาร สนับสนุนผู้ประกอบการไทยเข้าร่วมโครงการ “Phenix” สร้างพื้นที่ส่งเสริมนวัตกรรม สนับสนุนประเทศไทยสู่ศูนย์กลางด้านอาหารของโลก เตรียมเปิด “Phenix” ให้ “อร่อยฟินบินได้” กันอย่างจุใจ 26 มิถุนายนนี้ ดร.ศุภวรรณ ตีระรัตน์ ผู้อำนวยการสถาบันอาหาร หรือ NFI กล่าวว่า “สถาบันอาหารยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ได้เข้าร่วมเป็นพันธมิตรกับ AWC ในโครงการ Phenix ซึ่งเป็นโครงการที่มีแนวคิดใหม่ในการสนับสนุนประเทศไทยเป็นศูนย์กลางด้านอาหารของโลก เรามั่นใจว่าโครงการนี้จะเป็นเวทีให้ผู้ประกอบการด้านอาหารไทยได้แสดงศักยภาพ สร้างสรรค์นวัตกรรมและสร้างการเติบโตสู่ตลาดโลก โดยความร่วมมือครั้งนี้สอดคล้องกับพันธกิจของสถาบันอาหารที่มุ่งแนะแนวทางให้กับภาครัฐและเอกชนในการผลักดันประเทศไทยสู่การเป็นศูนย์กลางการบริการอุตสาหกรรมอาหาร โดยทางสถาบันอาหารจะเข้ามาร่วมจัดตั้งศูนย์บริการเพื่อให้คำปรึกษาและบริการแก่ผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมอาหารอย่างครบวงจร และร่วมจัดตั้งพื้นที่ร้านค้าและ ShareShop เพื่อแสดงสินค้าของเครือข่ายผู้ประกอบการของสถาบันฯ ภายในโครงการ Phenix สร้างสรรค์เป็นช่องทางในการนำเสนอและจำหน่ายผลิตภัณฑ์ไปยังเครื
สภาหอการค้าฯ สภาอุตสาหกรรมฯ และสถาบันอาหาร เผยข้อมูลภาพรวมอุตสาหกรรมอาหารของไทยปี 2561 และแนวโน้มปี 2562 มีตัวแทนหลักของทั้ง 3 องค์กร ประกอบด้วย นายพจน์ อร่ามวัฒนานนท์ รองประธานกรรมการสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย นายวิศิษฐ์ ลิ้มลือชา ประธานกลุ่มอุตสาหกรรมอาหาร สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และนายยงวุฒิ เสาวพฤกษ์ ผู้อำนวยการสถาบันอาหาร กระทรวงอุตสาหกรรม ร่วมให้รายละเอียดสถานการณ์ที่เกิดขึ้น นายยงวุฒิ เสาวพฤกษ์ ผู้อำนวยการสถาบันอาหาร กล่าวว่า ในการประสานความร่วมมือของ 3 องค์กร ในส่วนของสถาบันอาหารจะทำหน้าที่รวบรวมข้อมูลจากทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องภายใต้การดำเนินงานของ ศูนย์อัจฉริยะเพื่ออุตสาหกรรมอาหาร หรือ Food Intelligence Center โดยมีสภาหอการค้าฯ และสภาอุตสาหกรรมฯ ร่วมบูรณาการข้อมูล พบว่า การส่งออกอาหารของไทยปี 2561 มีมูลค่า 1,031,956 ล้านบาท หรือมูลค่า 32,190 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.6 และร้อยละ 7.3 ในรูปเงินบาทและดอลล่าร์สหรัฐตามลำดับ ขณะที่การนำเข้ามีมูลค่า 385,499 ล้านบาท หรือมูลค่า 11,937 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.2 และร้อยละ 6.2 ในรูปเงินบาทและดอลล่าร
กรมการพัฒนาชุมชน ผนึกสถาบันอาหาร ยกระดับมาตรฐาน OTOP เป็น “สินค้าปลอดภัย” นายนิสิต จันทร์สมวงศ์ อธิบดีกรมการพัฒนาชุมชน กล่าวในกิจกรรมยกระดับมาตรฐานผลิตภัณฑ์ OTOP กลุ่มผลิตภัณฑ์สุขภาพและความงาม” (ประเภทอาหาร เครื่องดื่ม และสมุนไพรที่ไม่ใช่อาหาร) และการประชุมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง “การพัฒนาและยกระดับมาตรฐานผลิตภัณฑ์ OTOP” ว่า เป็นกิจกรรมภายใต้โครงการท่องเที่ยวชุมชน OTOP นวัตวิถี ที่กรมการพัฒนาชุมชน ร่วมกับสถาบันอาหารจัดขึ้น เพื่อแนะนำองค์ความรู้ให้กับผู้ประกอบการ หวังยกระดับและสร้างมาตรฐาน “สินค้าปลอดภัย” เพิ่มอายุการเก็บรักษา ขยายโอกาสทางการตลาดให้กับกลุ่มผู้ประกอบการปรับตัวสู่การพัฒนา (กลุ่ม D) เฉพาะกลุ่มผลิตภัณฑ์สุขภาพและความงาม (ประเภทอาหาร เครื่องดื่ม และสมุนไพรที่ไม่ใช่อาหาร) ทั่วประเทศไม่น้อยกว่า 10,000 ราย จำนวน 10,000 ผลิตภัณฑ์ ใช้ระยะเวลาดำเนินงานรวม 5 เดือน “ปัจจุบันมีกลุ่มผู้ประกอบการ OTOP กลุ่ม D จำนวนสินค้าสูงถึง 64,570 ผลิตภัณฑ์ ส่วนใหญ่เป็นกลุ่มที่มีภูมิปัญญา มีสัญลักษณ์ประจำท้องถิ่น ถือว่าเป็นต้นทุนที่ควรนำมาส่งเสริม นอกจากจะช่วยขยายฐานลูกค้าก่อให้เกิดรายได้แ
สถาบันอาหาร ชี้เป้าตลาดอาหารออร์แกนิก แนะ SMEs ลุยธุรกิจสุขภาพ รับกระแสตลาดโลก ตลาดอาหารออร์แกนิก ส่วนใหญ่อยู่ในยุโรป(65%) รองลงมาได้แก่ อเมริกาเหนือ(16%) เอเชียแปซิฟิก(13%) ละตินอเมริกา(4%) แอฟริกาและตะวันออกกลาง(2%) สถาบันอาหาร ชี้ช่อง SMEs รุกตลาดอาหารออร์แกนิกจริงจัง แนวโน้มกระแสตอบรับจากผู้บริโภคทั่วโลกดีที่สุดในบรรดากลุ่มอาหารอนาคตหรือ Future Food เผยเติบโตสูงสุดเฉลี่ยร้อยละ 13 ต่อปี ทั่วโลกมีผลิตภัณฑ์วางจำหน่ายมากสุดถึง 23,590 รายการในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา ยุโรปเป็นตลาดใหญ่ที่สุดครองสัดส่วนร้อยละ 65 รองลงมาคือ อเมริกาเหนือร้อยละ 16 ส่วนจีนและญี่ปุ่นตลาดมีกำลังซื้อสูงเช่นกัน แนะสินค้าออร์แกนิกไทยที่มีโอกาสขยายการส่งออก ได้แก่ ข้าวสารบรรจุถุง ผลิตภัณฑ์นม เครื่องดื่มธัญพืช เครื่องปรุงรส และน้ำมันมะพร้าว เป็นต้น คุณยงวุฒิ เสาวพฤกษ์ ผู้อำนวยการสถาบันอาหาร กระทรวงอุตสาหกรรม เผยข้อมูล แนวโน้มตลาดอาหารอนาคต หรือ Future Food ในตลาดโลก พบว่า อาหารออร์แกนิกหรือเกษตรอินทรีย์ เป็นตลาดที่มีศักยภาพมากที่สุดเนื่องจากมีอัตราการเติบโตที่รวดเร็วและมีจำนวนผลิตภัณฑ์ใหม่ที่ออกสู่ตลาดมากที่สุดเมื่อเทีย