สถาปนิก
ขายเกี๊ยวซ่า บนรถมอไซค์ จ๊อบเสริมหลังเลิกงาน ของสถาปนิก ได้ค่าขนมวันละ 700 การมองหาอาชีพเสริม ไม่ใช่เรื่องไกลตัวอีกต่อไปในยุคเศรษฐกิจแบบนี้ ยิ่งค่าครองชีพสูง ข้าวของขึ้นราคามนุษย์เงินเดือนอย่างเรายิ่งเหนื่อยหนัก ต้องแบกรับภาระค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นทุกวัน ไม่สอดคล้องกับเงินในบัญชีเอาเสียเลย ลองมาดูไอเดียสร้างอาชีพเสริมทำง่าย ลงทุนน้อยของ สถาปนิกสาวหล่อ วัย 28 ปี คุณกบ-หทัยชนก ขจรกุลธุวพล ที่เปลี่ยนรถมอเตอร์ไซค์คู่ใจ เป็นร้านขายเกี๊ยวซ่า ด้วยเงินทุนเพียง 5,000 บาท ออกตระเวนขายช่วงเย็นหลังเลิกงาน ไม่กี่ชั่วโมงได้เงินค่าขนม 700 บาท คุณกบย้ายจากจังหวัดอุบลฯ มาทำงานสถาปนิกในจังหวัดเลยนาน 3 ปี มีเงินเดือนประจำไว้ใช้จ่ายเหมือนมนุษย์เงินเดือนทั่วไป แต่ก็ไม่เพียงพอเพราะค่าครองชีพสูง อีกทั้งยังมีภาระผ่อนรถ ค่าเช่าห้อง จึงหันมาทำอาชีพเสริม เปิดร้านขายเกี๊ยวซ่าบนรถมอเตอร์ไซค์คู่ใจในช่วงเย็น เลือกขายเกี๊ยวซ่า เพราะเป็นเมนูที่คุณกบและเพื่อนๆ ทำกินกันประจำ แค่นำสูตรมาปรับปรุงเพิ่มให้ได้รสชาติตามต้องการ ไส้แน่นจุกๆ ใส่เนื้อหมู 70% กุยช่าย กะหล่ำปลี ขิง กระเทียมอีก 30% ทานแล้วจะไม่ได้กลิ่นผัก เพราะมีเคล
จากพนักงานบริษัท สู่ ผู้รับเหมาก่อสร้างร้านเซเว่นฯ เลี้ยงคนงาน 70 ชีวิต ให้กินดีอยู่ดี ธุรกิจรับเหมาก่อสร้าง นับเป็นอีกหนึ่งธุรกิจที่สามารถกระจายรายได้ สู่ชนชั้นแรงงานรากหญ้าได้อย่างเข้าถึง ดั่งเช่น บริษัท เก่ง เอ็นจิเนียริ่ง จำกัด ที่เป็นผู้รับเหมาก่อสร้าง ร้านเซเว่นอีเลฟเว่น มานานกว่า 3 ปี ที่สร้างงานและกระจายรายได้ให้คนงานมานับ 70 ชีวิต กินดีอยู่ดี มีอาชีพสุจริตเลี้ยงครอบครัว แถมทุกคนไม่ตกงานช่วงโควิด-19 โดยเบื้องหลังความสำเร็จทั้งหมดนี้ มาจาก คุณรุ่งโรจน์ ผลจันทร์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท เก่ง เอ็นจิเนียริ่ง คุณรุ่งโรจน์ เล่าให้ฟังว่า หลังจบการศึกษาระดับปริญญาตรี สาขาวิชาวิศวกรรมโยธา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร ได้เข้าเก็บเกี่ยวประสบการณ์งานก่อสร้าง ด้วยการเป็นพนักงานบริษัทตลอด 9 ปี นับตั้งแต่ คุมไซต์งาน อยู่โกดังสินค้า จากนั้นในปี 2559 ได้รวบรวมความกล้า พาตัวเองขึ้นมาเป็น เจ้าของกิจการผู้รับเหมารายย่อย จดทะเบียนรูปแบบ บริษัท เก่ง เอ็นจิเนียริ่ง จำกัด ด้วยทุนจดทะเบียน 3 ล้านบาท ตั้งอยู่ที่ เลขที่ 9/206 หมู่ 5 ตำบลพันท้ายนรสิงห์ อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรสาคร กระทั่งพบจุดเปลี่ยนของชีวิ
6 เรื่องควรรู้! โอกาสรอดของอาชีพ “สถาปนิก” ในยุค “น่าเป็นห่วง” สถาปนิก เป็นอาชีพที่ไม่ต่างจากอาชีพอื่นๆ ที่เป็นได้ทั้งพนักงานกินเงินเดือน freelance รับงานอิสระ เปิดบริษัทตัวเอง หรือร่วมงาน project base จะประสบผลสำเร็จในสายอาชีพหรือจะล้มเหลวในยุค Disruption และ COVID-19 นี้ นอกจากสถาบันการศึกษาในฐานะผู้สอน ผู้ให้ความรู้ต้องปรับตัวแล้ว เหนือสิ่งอื่นใดคือจำเป็นต้องปลูกฝังให้ผู้เรียนมีความรู้นอกเหนือจากที่เรียนมา แล้วความรู้ ที่ควรจะมีติดตัวสำหรับเหล่าว่าที่สถาปนิกในอนาคตควรจะเป็นแบบไหน หรือต้องเพิ่มเติมองค์ความรู้อะไรเพื่อออกไปเผชิญโลกภายนอก จึงอยากแนะนำให้เพิ่มเติมสิ่งเหล่านี้ 1.เข้าใจธุรกิจ สถาปนิกหลายคนมีความสามารถ ฝีมือดี ผลงานเด่น มีความตั้งใจสูง บางคนยิ่งทำยิ่งเจ็บตัว ไม่คุ้มเมื่อเทียบกับความทุ่มเทจนต้องออกมาทำอาชีพเสริมหรือจำใจเปลี่ยนสายงานที่รายได้ดีกว่า ทีนี้ลองคิดวิเคราะห์ต้นทุนการออกแบบว่า ความคิดและเวลาการลงทุน คือ สถานที่ เครื่องมือ และ เงินเดือนพนักงาน ถ้ารู้จักสร้างสมดุลยภาพของ time cost manpower ได้ มีผลงานดีถือว่าเป็นอาชีพที่ผลตอบแทนสูงเลยทีเดียว 2.ทำในสิ่งที่ตัวเองถนัด ส
สาวสถาปนิก โชว์ไอเดีย “กระเป๋าสานเตยปาหนัน” งานหัตถกรรมไทย ใช้วัสดุธรรมชาติจากชุมชุน “เส้นทางเศรษฐีออนไลน์” พามารู้จักกับธุรกิจของสาวร่างเล็ก คุณฟ้า – ปวีณะ ศิริวัฒน์ชัยพร อายุ 32 ปี เจ้าของแบรนด์ “Prodpran Craft” (โปรดปราน คราฟต์) สินค้าทำมือที่กำลังได้รับความนิยมในหมู่คนรักงานศิลป์ เธอจบการศึกษาจากคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ สาขาออกแบบภายใน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มาโดยตรง และกำลังมุ่งมั่นศึกษาต่อปริญญาโทในขณะนี้ หลังเรียนจบคุณฟ้าเข้าทำงานที่บริษัทออกแบบตกแต่งภายใน และได้เป็นส่วนหนึ่งในโครงการที่ทำร่วมกับโรงพยาบาลราชพฤกษ์ จังหวัดขอนแก่น เป็นการออกแบบตกแต่งโรงพยาบาลภายใต้คอนเซ็ปต์สะท้อนความเป็นพื้นถิ่น แต่การทำงานออฟฟิศทำให้ทางทีมไม่มีเวลาติดต่อซื้อขายกับชาวบ้านโดยตรง รวมถึงมีความไม่แน่นอนของเวลาและคุณภาพอีกด้วย จึงเกิดความคิดว่า ถ้าหากมีตัวกลางมาช่วยขยายโอกาสทางการตลาดให้กับชุมชนสินค้าคงขายได้ง่ายยิ่งขึ้นทั้งยังสร้างมูลค่าเพิ่ม จึงตัดสินใจลาออกจากงานออฟฟิศ เปิดธุรกิจด้านนี้อย่างจริงจัง เริ่มศึกษาค้นคว้าข้อมูล เก็บภาพ หาแหล่งงานฝีมือในประเทศไทยโดยการเดินทางไปยังสถานที่ต่างๆ ทำให้พบกับช่างฝีมือ