สมรสเท่าเทียม
ทั่วโลกจับตา! Squid Game 2 ทำไมประเทศไทยถึงเป็นหมุดหมายใหม่ของความเท่าเทียมทางเพศ ประเทศไทยเป็นหนึ่งในประเทศแรกๆ ในเอเชียที่มีการผลักดันกฎหมายสมรสเท่าเทียมอย่างจริงจัง โดยในปีที่ผ่านมาร่างพระราชบัญญัติ “สมรสเท่าเทียม” ได้ผ่านความเห็นชอบจากสภาผู้แทนราษฎร ซึ่งเป็นก้าวสำคัญในการยอมรับสิทธิของทุกคน ไม่ว่าจะเป็นเพศใดก็ตาม โดยจะมีผลบังคับใช้ในวันที่ 22 มกราคม 2568 เป็นต้นไป แสดงให้เห็นถึงความตั้งใจของประเทศไทยที่จะสร้างสังคมที่ทุกคนมีสิทธิและโอกาสอย่างเท่าเทียม นี่คือสัญญาณที่ทำให้ผู้คนจากทั่วโลก โดยเฉพาะกลุ่ม LGBTQ+ มองประเทศไทยว่าเป็นสถานที่ที่พวกเขาสามารถใช้ชีวิตได้อย่างสบายใจและได้รับการยอมรับ ล่าสุดในซีรีส์ยอดนิยมของเกาหลี อย่าง “Squid Game 2 เล่นลุ้นตาย” ที่เริ่มฉายผ่านสตรีมมิงของ Netflix ไปเมื่อวันที่ 26 ธันวาคมที่ผ่านมา ในเนื้อหามีตัวละครหนึ่งกล่าวถึงประเทศไทย ว่าเป็นที่ที่เขาอยากมาอยู่ เพราะที่นี่เปิดกว้างและยอมรับความหลากหลายทางเพศอย่างแท้จริง ซึ่งที่เกาหลีอาจจะยังไม่ค่อยยอมรับในเรื่องเพศที่สาม เท่าที่ไทย มีผู้เล่นรายหนึ่งถามกับฮยอนจูว่า “คุณคิดว่าจะเอาเงินที่ได้จากเกมนี้ไปท
ประเทศไทยมี สมรสเท่าเทียม! ธุรกิจอะไรบ้าง เตรียมปัง มีโอกาสเติบโต รับอานิสงส์ หลังกฎหมายสมรสเท่าเทียม ได้รับมติเห็นชอบไปเมื่อวันที่ 18 มิถุนายน ที่ผ่านมา ซึ่งจะมีผลบังคับใช้ภายใน 120 วัน นับเป็นเรื่องราวน่ายินดีที่เกิดขึ้นในเดือนไพรด์ และกลุ่มผู้มีความหลากหลายทางเพศ (LGBTQIAN+) โดยไทยถือเป็นประเทศแรกในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และประเทศที่ 3 ของเอเชีย ที่มีกฎหมายสมรสเท่าเทียม ความสำคัญของกฎหมายสมรสเท่าเทียม จะเปิดโอกาสให้ LGBTQIAN+ มีสิทธิขั้นพื้นฐานในหลากหลายด้าน ไม่ว่าจะเป็น สิทธิการหมั้น แต่งงาน และหย่าร้าง, สิทธิในการเป็นผู้ปกครองของบุตรบุญธรรมร่วมกัน, สิทธิในการดูแลชีวิตของคู่สมรสตามกฎหมาย, สิทธิในการรับมรดกจากคู่สมรส และสิทธิในการจัดการทรัพย์สินหรือสินสมรสร่วมกัน รวมไปถึงสิทธิในการกู้ร่วม เพื่อซื้ออสังหาริมทรัพย์ในฐานะคู่สมรสได้ นอกจากนี้ ยังก่อให้เกิดประโยชน์ทางธุรกิจ โดยสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า (สนค.) กระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยผลการศึกษาของสถาบันด้านการวิจัย The William Institute ในสหรัฐฯ พบว่า หลังสหรัฐฯ บังคับใช้กฎหมายสมรสเท่าเทียมทั่วประเทศ ช่วงปี 2558-2562 สามารถช่วยกระ
Pride Month ความหลากหลายไม่ใช่แค่เพศ แต่ควรยอมรับในทุกสิ่งที่เป็น เดือนมิถุนายนของทุกปีในทั่วทุกมุมโลก จะเห็นกิจกรรมเฉลิมฉลองหลากหลายรูปแบบในเรื่องราวของเดือนที่มีชื่อว่า Pride Month หรือ เทศกาลไพรด์ เพื่อเป็นการเคลื่อนไหว สนับสนุนสิทธิความเท่าเทียมในด้านต่างๆ ของ LGBTQIAN+ บรรยากาศทุกพื้นที่จะสดใสไปด้วยสีสัน การตกแต่งประดับธงสีรุ้ง สัญลักษณ์ของความหลากหลายทางเพศ ความเท่าเทียมของทุกเพศ เรียกได้ว่าเป็นเดือนแห่งความภาคภูมิใจของพวกเขา LGBTQIAN+ สารรังสิตฉบับนี้จะพามาพบกับมุมมองและการนิยามคำว่า “หลากหลาย” ของพวกเขา นักศึกษา และศิษย์เก่า RSU LGBTQIAN+ ลูกปัด-ปุริมปรัชญ์ ไชยะคำ ศิษย์เก่าวิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยรังสิต (ผู้บริหาร “หมู่บ้านช้าง พัทยา” และ “มองช้างคาเฟ่”) “Pride month เป็นเดือนแห่งคำว่า เสรีเพศ เพื่อให้ทุกคนในโลกเข้าใจเกี่ยวกับความหลากหลายทางเพศมากขึ้นว่าในธรรมชาตินั้น สร้างทุกอย่างได้หลากหลายเสมอ และความเป็นมนุษย์นั้นไม่ได้มีเพียงชายแท้ หญิงแท้ ที่อยู่ร่วมกันเท่านั้น หากเปรียบเป็นสี คงไม่ดีแน่ถ้าโลกนี้มีแค่สีดำหรือสีขาว แต่ความหลากหลายของสีมากกว่าที่ทำให้โลกสดใส เพื่อปรับสม