สมาคมธนาคารไทย
ไม่ตกเป็นเหยื่อมิจฉาชีพ แนะ 10 แนวทาง ทำธุรกรรมออนไลน์ให้ปลอดภัย วันที่ 1 พ.ย. 2564 นายผยง ศรีวณิช ประธานสมาคมธนาคารไทย เปิดเผยว่า จากกรณีการตัดเงินที่ผิดปกติผ่านบัตรเดบิต บัตรเครดิตของลูกค้า โดยเกิดจากกลุ่มมิจฉาชีพสุ่มข้อมูลบัตรและนำไปสวมรอยทำธุรกรรมผ่านร้านค้าออนไลน์ต่างประเทศที่ไม่มีระบบยืนยันตัวตนก่อนทำรายการนั้น สมาคมธนาคารไทยร่วมกับ สำนักงานระบบการชำระเงิน ศูนย์ประสานงานความมั่นคงปลอดภัยเทคโนโลยีสารสนเทศภาคการธนาคาร (TB-CERT) ชมรมธุรกิจบัตรเครดิตและชมรมตรวจสอบและป้องกันการทุจริตภายใต้สมาคมธนาคารไทย ได้ร่วมกันแก้ไขปัญหาและวางมาตรการป้องกันปัญหาเชิงรุก พร้อมให้ความรู้ความเข้าใจกับประชาชนถึงภัยทางไซเบอร์อย่างต่อเนื่อง อย่างไรก็ตาม ยังมีกลุ่มมิจฉาชีพพยายามแสวงหาวิธีการต่างๆ มาหลอกลวงประชาชน ผ่านช่องทางออนไลน์ ทั้ง SMS E-mail Facebook Line และเว็บไซต์ปลอม สมาคมฯ จึงได้รวบรวมแนวทางการทำธุรกรรมการเงินออนไลน์ที่จะช่วยให้ทำธุรกรรมอย่างปลอดภัย เพื่อให้ลูกค้าสามารถทำธุรกรรมการเงินได้อย่างมั่นใจ ดังนี้ ทำธุรกรรมการเงินออนไลน์กับร้านค้าออนไลน์ที่น่าเชื่อถือ พยายามหลีกเลี่ยงการทำธุรกรรมการเ
สมาคมธนาคารไทย แจงกรณีตัดเงินผิดปกติ คืนเงิน 30 ล้านบาท เข้าลูกค้าบัตรเดบิตแล้ว วันที่ 26 ต.ค. 2564 นายผยง ศรีวณิช ประธานสมาคมธนาคารไทย เปิดเผยว่า จากกรณีการตัดเงินที่ผิดปกติผ่านบัตรเครดิตและบัตรเดบิตของลูกค้า โดยเกิดจากมิจฉาชีพสุ่มข้อมูลบัตรและนำไปสวมรอยทำธุรกรรมผ่านร้านค้าออนไลน์ต่างประเทศที่ไม่มีระบบให้ทำการยืนยันก่อนทำรายการ เช่น การใช้ One Time Password (OTP) ซึ่งเกิดขึ้นระหว่างวันที่ 1-17 ตุลาคม 2564 ที่ผ่านมา จำนวนรวม 10,700 ใบนั้น ทุกธนาคารได้ดำเนินการคืนเงินเข้าบัญชีของลูกค้าเรียบร้อยแล้ว สำหรับบัตรเดบิตจำนวน 4,800 ใบ จำนวนเงิน 30 ล้านบาท หากมีรายการตกหล่นขอให้ลูกค้าติดต่อธนาคารเจ้าของบัตรโดยตรง สำหรับบัตรเครดิต 5,900 ใบ จำนวน 100 ล้านบาท ธนาคารได้ดำเนินการตั้งพักยอด และยกเลิกรายการ โดยลูกค้าไม่ต้องชำระเงินตามยอดเรียกเก็บที่ผิดปกติและไม่มีการคิดดอกเบี้ย นอกจากนี้ หากมีธุรกรรมผิดปกติ ซึ่งทำรายการผ่านบัตรเดบิตออนไลน์โดยร้านค้าที่ไม่มี OTP เข้ามาในรูปแบบเดียวกันหลังวันที่ 17 ตุลาคม 2564 เมื่อได้รับแจ้งแล้วพบว่า ลูกค้าไม่มีส่วนเกี่ยวข้องในการทำรายการ ธนาคารจะพิจารณาคืนเงินภายใน 5
ธปท.- สมาคมธนาคารไทย เปิด 4 มาตรการป้องกัน-แก้ปัญหา ลูกค้าโดนดูดเงิน ตามที่ ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) และ สมาคมธนาคารไทย ได้ชี้แจงกรณีการตัดเงินที่ผิดปกติ ผ่านบัตรเครดิตและบัตรเดบิตของลูกค้าจำนวนมาก เมื่อวันที่ 17 ตุลาคม ที่ผ่านมา ว่ามิได้เกิดจากการรั่วไหลของข้อมูลจากระบบธนาคาร โดยสาเหตุสำคัญเกิดจากการที่มิจฉาชีพสุ่มข้อมูลบัตรและนำไปสวมรอยทำธุรกรรมผ่านร้านค้าออนไลน์ต่างประเทศ ที่ไม่มีการใช้ One Time Password (OTP) โดยตั้งแต่ต้นเดือนตุลาคม มีบัตรที่มีการใช้งานผิดปกติจากเหตุข้างต้นจำนวน 10,700 ใบ โดยในช่วงสุดสัปดาห์ที่ผ่านมา เป็นรายการใช้จากบัตรเดบิตเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งการใช้งานส่วนใหญ่มีจำนวนเงินต่อรายการต่ำ เช่น 1 ดอลลาร์ สรอ. และมีการใช้เป็นจำนวนหลายๆ ครั้ง ทั้งนี้ ธนาคารมีระบบตรวจจับธุรกรรมที่ผิดปกติ โดยแต่ละธนาคารจะกำหนดเพดานและเงื่อนไขการใช้งานของบัตรตามลักษณะประเภทร้านค้าและประเภทสินค้าแตกต่างกันไป นอกจากนี้ ธปท. และ สมาคมธนาคารไทย ได้ร่วมกันกำหนดมาตรการเพิ่มเติม เพื่อป้องกันและแก้ปัญหา ดังนี้ ยกระดับความเข้มข้นในการตรวจจับธุรกรรมที่ผิดปกติ ให้ครอบคลุมทั้งธุรกรรมที่มีจำนวนเงินต่ำแล
ธปท.- สมาคมธนาคารไทย ปรับมาตรการช่วยเหลือลูกหนี้อย่างยั่งยืน ให้สอดคล้องกับสถานการณ์และรายได้ลูกหนี้ จากสถานการณ์การกลายพันธุ์ของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) ส่งผลให้การแพร่ระบาดมีความไม่แน่นอนสูง และมีแนวโน้มยืดเยื้อและผันผวนกว่าที่คาด กระทบต่อเศรษฐกิจไทยรุนแรงขึ้น แต่ละภาคเศรษฐกิจมีการฟื้นตัวช้าออกไปและไม่เท่าเทียมกัน ดังนั้น การแก้ไขปัญหาหนี้ระยะสั้นแบบเดิม เช่น การพักชำระหนี้เป็นครั้งคราว หรือปรับโครงสร้างหนี้แบบระยะสั้น จึงไม่ตอบโจทย์ที่จะทำให้ทุกฝ่ายผ่านวิกฤตนี้ไปได้ ในการนี้ ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) และสมาคมธนาคารไทย เห็นร่วมกันในการผลักดันมาตรการในการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ให้ลูกหนี้ที่ได้รับผลกระทบอย่างยั่งยืนในระยะยาว โดยให้สอดคล้องกับคาดการณ์รายได้ของลูกหนี้ เช่น ในช่วงที่รายได้ของลูกหนี้ยังไม่กลับมาและอาจต้องใช้เวลานานในการฟื้นตัว ภาระการชำระหนี้ของลูกหนี้ก็ควรอยู่ในระยะต่ำ แล้วค่อยๆ ทยอยปรับเพิ่มขึ้นในระยะถัดไป แต่ไม่ใช่การเลื่อนหรือพักชำระหนี้เป็นการชั่วคราว ซึ่งแนวทางการช่วยเหลือเป็นไปตามแถลงข่าว ธปท. เรื่อง มาตรการเพิ่มเติมเพื่อส่งเสริมการช่วยเหลือลูกหนี้ที่ได้รับผล
สมาคมธนาคารไทย ยกระดับแผน BCP รับมือวิกฤต เร่งเดินหน้าช่วยลูกค้า แนะทำธุรกรรมผ่านอิเล็กทรอนิกส์ สมาคมธนาคารไทยและธนาคารสมาชิก เดินหน้าช่วยเหลือลูกค้าทุกกลุ่ม ช่วงเดือนกรกฎาคม 2563 มีลูกค้าสินเชื่อขนาดใหญ่ SMEs และรายย่อย ขอรับความช่วยเหลือสูงสุด 6 ล้านบัญชี วงเงิน 4.25 ล้านล้านบาท เผยที่ผ่านมา มีลูกค้าบางส่วนออกจากมาตรการเนื่องจากกลับมาชำระหนี้ได้ ล่าสุด มีลูกค้าอยู่ภายใต้การให้ความช่วยเหลือ 1.89 ล้านบัญชี วงเงินรวมกว่า 2 ล้านล้านบาท ยกระดับแผน BCP รับมือโควิด-19 ระลอกใหม่ เพื่อให้บริการลูกค้าได้อย่างต่อเนื่อง พร้อมปฏิบัติตามมาตรการของภาครัฐอย่างเคร่งครัด แนะทำธุรกรรมผ่านช่องทางอิเล็กทรอนิกส์ ลดความเสี่ยงการระบาด นายผยง ศรีวณิช ประธานสมาคมธนาคารไทย เปิดเผยว่า ตั้งแต่เกิดวิกฤตโควิด-19 ธนาคารสมาชิกได้ให้ความช่วยเหลือลูกค้าทุกกลุ่มอย่างต่อเนื่อง ตามมาตรการปรับโครงสร้างหนี้ธนาคารแห่งประเทศไทย โดยในเดือนกรกฎาคม 2563 มีลูกค้าขอรับความช่วยเหลือสูงสุดจำนวน 6 ล้านบัญชี วงเงินความช่วยเหลือรวม 4.25 ล้านล้านบาท เป็นวงเงินสินเชื่อธุรกิจขนาดใหญ่ 8 แสนล้านบาท ลูกค้า SMEs 1.8 ล้านล้านบาท และลูกค้ารา
ธนาคารพาณิชย์-ธนาคารเฉพาะกิจของรัฐ เตรียมเปิดให้บริการตามปกติตั้งแต่ 30 มี.ค. 63 งดรับการเปิดบัญชี-ผูกพร้อมเพย์ที่สาขา ช่วง 30-31 มี.ค. เลี่ยงแพร่ระบาดโรคโควิด-19 ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) สมาคมธนาคารไทย สมาคมธนาคารนานาชาติ และสมาคมสถาบันการเงินของรัฐ ขอแจ้งว่า ตั้งแต่วันพรุ่งนี้ (30 มีนาคม 2563) ธนาคารพาณิชย์และธนาคารเฉพาะกิจของรัฐ รวมถึงธนาคารออมสินที่ได้ประกาศปิดทำการไปก่อนหน้านี้ พร้อมเปิดให้บริการตามปกติ แต่งดให้บริการเปิดบัญชีใหม่ และบริการผูกพร้อมเพย์ที่สาขา ในระหว่างวันที่ 30-31 มีนาคม 2563 แต่สามารถดำเนินการผ่านช่องทางอิเล็กทรอนิกส์และออนไลน์ เพื่อให้สอดคล้องกับมาตรการของศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน (ศอฉ.) ที่ได้ขอความร่วมมือให้ยกเว้นกิจกรรมที่จะก่อให้เกิดการเดินทางหรือเคลื่อนย้ายประชาชนจำนวนมากมารวมตัวกัน เพื่อไม่ให้การแพร่ระบาดขยายไปในวงกว้างและเป็นการรับผิดชอบต่อสังคมโดยรวม ทั้งนี้ ทุกธนาคารยังคงให้ความสำคัญต่อสวัสดิภาพและความปลอดภัยของลูกค้า พนักงาน และสาธารณชน และขอแนะนำให้ลูกค้าเลือกเปิดบัญชี ผูกพร้อมเพย์ และทำธุรกรรมทางการเงินผ่านช่องทางอิเล็กทรอนิกส์และออนไลน์ข