สวก
รอบรู้งานวิจัย…ไข่ผำ กับ สวก. นวัตกรรมอาหารสุดยอดโปรตีนโลก เลี้ยงง่าย รายได้ดี อาหารแห่งอนาคต (Future Food) แนวคิดอุตสาหกรรมอาหารโลกที่หลากหลาย ทั้งรูปลักษณ์และกระบวนการผลิต มุ่งเน้นความเหมาะสมกับโลกในระยะข้างหน้า โดยเฉพาะด้านสิ่งแวดล้อม ทั้งการลดภาวะโลกร้อนและการสร้างระบบอาหารยั่งยืน สู่ความสำคัญด้านสุขภาพและภูมิคุ้มกัน รวมไปถึงการปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตความต้องการไปตามวัยของผู้บริโภค ที่ล้วนส่งผลต่อการดําเนินธุรกิจในห่วงโซ่อุปทานอาหารและอาหารแห่งอนาคต สํานักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (องค์การมหาชน) (สวก.) ยังคงเดินหน้าพัฒนางานวิจัย ขานรับนโยบายรัฐบาล สร้างนวัตกรรมอาหารอนาคต ปฏิรูปภาคการเกษตรด้วยพืชเศรษฐกิจชนิดใหม่ สร้างรายได้แบบยั่งยืน สนับสนุนทุนวิจัยเพื่อการพัฒนาผลิตภัณฑ์จาก ไข่ผํา หรือ คาเวียร์ มรกต ตอบโจทย์กระแสคนรักสุขภาพทั่วโลก และเพื่อสร้างการรับรู้ไปยังเกษตรกร ประชาชนทั่วไปที่สนใจ รวมถึงผู้ที่กําลังมองหาทางเลือกใหม่ในการสร้างรายได้หลัก หรือรายได้เสริม มาสู่การจัดกิจกรรม รอบรู้งานวิจัยกับ สวก. ภายใต้การเสวนาหัวข้อ “ไข่ผำ นวัตกรรมอาหารสุดยอดโปรตีนโลก เลี้ยงง่าย รายได้ดี” ณ โ
สวก. เร่งให้ทุน มุ่งยกระดับการเกษตรไทยด้วยงานวิจัย เน้นเพิ่มรายได้จริง เพื่อช่วยพัฒนาภาคการเกษตรและสร้างเศรษฐกิจฐานรากแบบยั่งยืน สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (องค์การมหาชน) หรือ สวก. เดินหน้าสนับสนุนทุนวิจัยด้านการเกษตร เพื่อยกระดับและสร้างผลกระทบที่ชัดเจนให้กับภาคการเกษตรของประเทศ เน้นการส่งเสริมและขับเคลื่อนการนำผลงานวิจัยและนวัตกรรมไปใช้ประโยชน์ (Research Utilization; RU) เพิ่มมากขึ้น ควบคู่ไปกับการพัฒนาประเทศ ในมิติด้านนโยบาย ด้านเศรษฐกิจ ด้านสังคมและสิ่งแวดล้อม ซึ่งเป็นหนึ่งในจุดประสงค์หลักของนโยบายแผนงานด้านวิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม พ.ศ. 2566-2570 ที่มุ่งเน้นการเร่งรัด ผลักดันการใช้ประโยชน์อย่างเต็มที่ได้จากผลงานวิจัย องค์ความรู้ เทคโนโลยี และนวัตกรรม รวมทั้งการต่อยอดและขยายผลการใช้ประโยชน์ในวงกว้าง งานวิจัย สวก. มุ่งเป้าตอบโจทย์และขับเคลื่อนภาคเกษตรของไทยใน 3 กลุ่มหลักด้วยกันคือ 1. BCG โดยพัฒนาเทคโนโลยีและกระบวนการผลิต เพื่อสร้างความยั่งยืน, เพิ่มรายได้ให้กับประเทศโดยให้ความสำคัญตลอดห่วงโซ่การผลิต เน้นตลาดนำการผลิต 2. เศรษฐกิจฐานราก เพื่อยกระดับ Smart Farming การสร้างความเข
สวก. นำร่องราชบุรีต้นแบบ ขับเคลื่อนโครงการ Sandbox ควบคุมโรคและฟื้นฟูฟาร์มสุกร พัฒนาเศรษฐกิจยั่งยืนให้เกษตรกร สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (องค์การมหาชน) หรือ สวก. ผลักดัน โครงการ Sandbox ในการวางระบบการควบคุมโรคและฟื้นฟูฟาร์มสุกร ที่ได้รับผลกระทบจากโรคปากและเท้าเปื่อย และโรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกร นำร่องพื้นที่จังหวัดราชบุรีเป็นเมืองต้นแบบ มุ่งเน้นพัฒนาเศรษฐกิจและความมั่นคงทางอาหาร ด้วยนโยบาย BCG MODEL พร้อมเป็นตัวอย่างการสร้างอาชีพ สร้างรายได้ โดยประยุกต์ใช้หลักการ คอมพาร์ตเมนต์ในพื้นที่ต้นแบบเพื่อเลี้ยงสุกรให้ปลอดโรค ทดสอบวัคซีนและชุดตรวจสอบโรคที่พัฒนาขึ้นจากงานวิจัยของ สวก. เป็นเครื่องมือเฝ้าระวัง และควบคุมป้องกันโรค จากผลการศึกษาความเป็นไปได้ในการจัดตั้งเขตคอมพาร์ตเมนต์การเลี้ยงสุกรปลอดโรคปากและเท้าเปื่อย ซึ่งได้รับงบประมาณจาก สวก. เมื่อปี 2561 พบว่ามีความเป็นไปได้สูงที่จะจัดตั้งคอมพาร์ตเมนต์เพื่อเลี้ยงสุกรปลอดโรคปากและเท้าเปื่อยในประเทศไทย แต่ต้องเริ่มทำในระดับเล็ก อาทิ Integrated compartment หรือ Partially Integrated/ Single Compartment และต้องควบคุมปัจจัยเสี่ยงต่างๆ อย่างเคร่งครั
สวก. สนับสนุนโคนมไทย ไปไกลตลาดโลก ด้วยเทคโนโลยีจีโนม สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (องค์การมหาชน) หรือ สวก. จับมือ สำนักเทคโนโลยีชีวภาพการผลิตปศุสัตว์ กรมปศุสัตว์ ศึกษางานวิจัย “การประเมินพันธุกรรมจีโนม เพื่อการปรับปรุงพันธุ์โคนม ทรอปิคอลโฮลสไตน์ในประเทศไทย” โดยมีการวิเคราะห์ความแตกต่างทางพันธุกรรมในระดับจีโนม (SNP) สู่การปรับปรุงพันธุ์โคนมไทย พัฒนาอุตสาหกรรม พร้อมผลักดันให้ไปไกลในตลาดโลก ดร.สุวิทย์ ชัยเกียรติยศ ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (องค์การมหาชน) หรือ สวก. กล่าวว่า “เราให้ความสำคัญในการเร่งพัฒนาศักยภาพทางพันธุกรรม ของโคนมพันธุ์ทรอปิคอลโฮลสไตน์ของไทย จึงร่วมกันกับกรมปศุสัตว์ ศึกษางานวิจัย “การประเมินพันธุกรรมจีโนม เพื่อการปรับปรุงพันธุ์โคนมทรอปิคอลโฮลสไตน์ในประเทศไทย” เป็นการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน ให้แก่เกษตรกรผู้เลี้ยงโคนมของไทย และเตรียมผลักดันให้เป็นศูนย์กลางการพัฒนาพันธุ์เพื่อการส่งออกและศูนย์ประเมินพันธุกรรมโคนมของอาเซียนในอนาคตอันใกล้นี้ รวมถึงร่วมมือกับมหาวิทยาลัยขอนแก่น จัดทำโครงการเพื่อศึกษาวิจัยพัฒนาโมเดล และวิธีการทำนายความสามารถทางพันธุกรรมของสัต
สวก. ขับเคลื่อน FFC Thailand เพิ่มมูลค่าสินค้าเกษตร-อาหารของประเทศ สู่การบริโภคเพื่อสุขภาพที่ยั่งยืน สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (องค์การมหาชน) หรือ สวก. ในฐานะหน่วยงานบริหารจัดการทุนวิจัย ภายใต้งบประมาณด้านวิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม (ววน.) ปีงบประมาณ 2564 แผนงานวิจัยความมั่นคงด้านอาหารและโภชนาการของประเทศไทย เดินหน้าขับเคลื่อนนโยบาย เพื่อเพิ่มมูลค่าสินค้าเกษตรและอาหารของประเทศ ด้วย FFC Thailand หรือ Foods with Function Claims ระบบทางเลือกของการรับรองการกล่าวอ้างเชิงหน้าที่ด้วยตนเองในสินค้าเกษตร และผลิตภัณฑ์อาหารแปรรูป เพื่อก้าวไปสู่บทบาทหนึ่งในผู้ผลิตอาหารในตลาดโลก ดร.สุวิทย์ ชัยเกียรติยศ ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (องค์การมหาชน) กล่าวถึงความสำคัญของ FFC Thailand และแนวทางการขับเคลื่อน รวมทั้งการรับรอง FFC และประโยชน์ที่จะได้รับว่า “FFC Thailand หรือ Foods with Function Claims คือ ระบบการรับรองปริมาณสารสำคัญที่ส่งผลดีต่อสุขภาพ ซึ่งจะเป็นระบบการรับรองได้ทั้งในผลผลิตทางการเกษตรและผลิตภัณฑ์อาหารแปรรูป ถ้าจะให้อธิบายง่ายๆ FFC Thailand คือ ระบบรับรองการกล่าวอ้างเชิงสุ
สวก.หนุน ‘คาร์บอนเครดิต’ สร้างโอกาสเศรษฐกิจ ลดมลพิษอย่างยั่งยืน สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (องค์การมหาชน) สวก. ร่วมกับ องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) อบก. และ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ผลักดัน โครงการการลดก๊าซเรือนกระจกในภาคการเกษตร (คาร์บอนเครดิต) โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อแสดงเจตจำนงขององค์กรในการขับเคลื่อน สร้างกลไกสำคัญการลดก๊าซเรือนกระจกภาคการเกษตรของประเทศไทย สนับสนุนทุนวิจัยที่พัฒนาและผลักดันการสร้างกระบวนการลดก๊าซเรือนกระจก เพื่อให้เกษตรกรนำองค์ความรู้ไปใช้ประโยชน์ในภาคการเกษตรได้อย่างมีประสิทธิภาพ สู่การสร้างรายได้ให้ชุมชนในอนาคต พร้อมเชื่อมโยงหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน ร่วมเป็นเครือข่ายสร้างความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อมร่วมกัน ลดปัญหาก๊าซเรือนกระจกในประเทศไทยและลดภาวะโลกร้อน และสร้างโอกาสการแข่งขันให้กับเกษตรกรไทยกับธุรกิจอาหารในเวทีโลก การปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่มีอยู่ทั่วโลก รวม 48.94 พันล้านตันคาร์บอนไดออกไซด์ สำหรับประเทศไทย มีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกรวม 354.4 ล้านตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่าในปี พ.ศ. 2559 ประเทศไทยปล่อยก๊าซเรือนกระจกประมาณร้อยละ 0.9 ของโลก ซึ่ง
สวก. โชว์สุดยอดงานวิจัยพร้อมใช้ ขับเคลื่อนภาคการเกษตร สู่การทำเกษตรอัจฉริยะ ดร.สุวิทย์ ชัยเกียรติยศ ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร กล่าวว่า สวก. เป็นหน่วยงานบริหารจัดการทุนวิจัยด้านการเกษตรของประเทศ โดยเน้นการสนับสนุนทุนวิจัย ที่จะก่อให้เกิดประโยชน์เพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศ เป็นไปตามเป้าหมาย และตัวชี้วัด (OKR) ระดับประเทศ ตามนโยบายและยุทธศาสตร์การอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อววน.) ในโปรแกรมที่ 7 โจทย์ท้าทายด้านทรัพยากร สิ่งแวดล้อม และการเกษตร และโปรแกรมที่ 10 ยกระดับความสามารถการแข่งขันและวางรากฐานทางเศรษฐกิจ โดยกรอบการวิจัยภายใต้แผนงาน Smart farming เป็นการส่งเสริมและสนับสนุนงบประมาณด้านการวิจัยและพัฒนา เพื่อยังคงรักษาโอกาส และความสามารถในการแข่งขันสินค้าเกษตรของประเทศไทย โดยใช้เกษตรสมัยใหม่ หรือ เกษตรอัจฉริยะ (Smart Farming หรือ Intelligent Farming) เป็นการทำเกษตรโดยการใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมที่ทันสมัย ที่มีความแม่นยำสูง เข้ามาช่วยในการทำงาน ตั้งแต่การปรับปรุงพันธุ์ ไปจนถึงกระบวนการแปรรูป ซึ่งที่ผ่านมา สวก. ได้สนับสนุนทุนวิจัยในด้านที่เกี่ยวข้องกับ Sm
งานวิจัยพร้อมใช้ ก่อให้เกิดผลกระทบทางเศรษฐกิจหมุนเวียน 500 ล้านบาท ดร.สุวิทย์ ชัยเกียรติยศ ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร กล่าวว่า สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (องค์การมหาชน) หรือ สวก.เป็นหน่วยงานบริหารจัดการทุนวิจัยด้านการเกษตรของประเทศ โดยเน้นการสนับสนุนทุนวิจัยที่จะก่อให้เกิดประโยชน์เพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศ เป็นไปตามเป้าหมาย และตัวชี้วัด (OKR) ระดับประเทศตามนโยบายและยุทธศาสตร์การอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อววน.) ในโปรแกรมที่ 7 โจทย์ท้าทายด้านทรัพยากร สิ่งแวดล้อม และการเกษตร และโปรแกรมที่ 10 ยกระดับความสามารถการแข่งขันและวางรากฐานทางเศรษฐกิจ โดยกรอบ การวิจัยภายใต้แผนงาน Smart farming เป็นการส่งเสริมและสนับสนุนงบประมาณด้านการวิจัย และพัฒนา เพื่อยังคงรักษาโอกาส และความสามารถในการแข่งขันสินค้าเกษตรของประเทศไทย โดยใช้เกษตรสมัยใหม่ หรือเกษตรอัจฉริยะ (Smart Farming หรือ Intelligent Farming) เป็นการทำเกษตรโดยการใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมที่ทันสมัย ที่มีความแม่นยำสูง เข้ามาช่วยในการทำงาน ตั้งแต่การปรับปรุงพันธุ์ ไปจนถึงกระบวนการแปรรูป ที่ผ่านมา สวก. ได้สนับสน