สวทช.
กพร. ผนึกกำลัง สวทช. ขับเคลื่อนอุตสาหกรรมพื้นฐานและเหมืองแร่ไทย สู่อุตสาหกรรม 4.0 กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ (กพร.) และ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ลงนามความร่วมมือ (MOU) เพื่อขยายผลและผลักดันการขับเคลื่อนอุตสาหกรรมพื้นฐานและอุตสาหกรรมเหมืองแร่ไทยสู่อุตสาหกรรม 4.0 พร้อมเผยผลสำเร็จการพัฒนาและยกระดับผู้ประกอบการประยุกต์ใช้เทคโนโลยี 4.0 เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและลดต้นทุน ตอบรับนโยบาย MIND ของ อก. โดยเฉพาะมิติที่ 1 “ความสำเร็จทางธุรกิจ” ซึ่งเน้นการยกระดับเทคโนโลยีสู่การผลิตสมัยใหม่ด้วยเทคโนโลยี 4.0 เมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน 2567 ณ ห้องแซฟไฟร์ ชั้น 2 โรงแรมเซ็นจูรี่ พาร์ค กรุงเทพฯ : ดร.อดิทัต วะสีนนท์ อธิบดีกรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ เปิดเผยภายหลังเป็นประธานเปิดงานสัมมนา “ขับเคลื่อนอุตสาหกรรมพื้นฐานก้าวสู่อุตสาหกรรม 4.0 ปีที่ 3” และ พิธีลงนามในบันทึกข้อตกลงความร่วมมือระหว่าง กพร. และ สวทช. โดยกล่าวว่า นับเป็นโอกาสอันดีที่ทั้ง 2 หน่วยงานได้ร่วมผนึกกำลังอย่างเป็นทางการในการขยายผลและผลักดันการขับเคลื่อนอุตสาหกรรมพื้นฐานและอุตสาหกรรมเหมืองแร่ไทยสู่อุตสาหกร
สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ เป็นองค์กรชั้นนำของประเทศในการพัฒนาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม ซึ่งเป็นพื้นฐานของการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ และการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชน ต้องการรับสมัคร ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ เพื่อเริ่มทำงานตั้งแต่วันที่ 27 สิงหาคม 2565 มีวาระอยู่ในตำแหน่งคราวละ 3 ปี สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ มีภารกิจในการสนับสนุนและดำเนินการวิจัยพัฒนาออกแบบและวิศวกรรมสนับสนุนการพัฒนากำลังคนด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สนับสนุนการถ่ายทอดเทคโนโลยีสู่ภาคการผลิตริเริ่มและสร้างความเข้มแข็งแก่โครงสร้างพื้นฐานด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ซึ่งมีความสำคัญอย่างสูงต่อความสามารถในการแข่งขันของประเทศ ผู้สมัครต้องมีคุณสมบัติดังนี้ มีสัญชาติไทย มีอายุไม่ต่ำกว่า 40 ปีบริบูรณ์ และมีสุขภาพสมบูรณ์แข็งแรง ดำรงตำแหน่งหรือเคยดำรงตำแหน่งทางบริหารอย่างใดอย่างหนึ่งหรือเทียบเท่าดังต่อไปนี้ ส่วนราชการ : รองอธิบดี หรือเทียบเท่าขึ้นไป รัฐวิสาหกิจ หน่วยงานอื่นของรัฐ : รองผู้บริหารสูงสุดขึ้นไป ภาคเอกชนที่มีธุรกิจเกี่ยวข้องกับเทค
สวทช. อว. เปิดจ้างงาน “สร้างงาน พัฒนาทักษะ ร่วมเป็นส่วนหนึ่งทีมทำงานวิจัยช่วยชาติ” ให้กับผู้ได้รับผลกระทบโควิด-19 จำนวน 1,974 อัตรา สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ร่วมผลักดันโครงการ “วิจัย 6 ภาค สร้างนวัตกรรม ส่งต่อความยั่งยืน” ระยะที่ 2 เพื่อช่วยเหลือประชาชนที่ว่างงานและได้รับผลกระทบจากโควิด-19 จำนวน 1,974 อัตรา ไม่จำกัดวุฒิการศึกษา เพื่อร่วมเป็นส่วนหนึ่งของการเป็นทีมทำงานวิจัยช่วยชาติ เรียนรู้เปิดรับประสบการณ์ใหม่ ส่งเสริมพัฒนาทักษะการถ่ายทอดองค์ความรู้ทั้งทางด้านวิชาการ ความรู้ความเชี่ยวชาญเฉพาะทาง นำไปสู่การแก้ไขปัญหาท้องถิ่นและชุมชนอย่างยั่งยืนต่อไป เปิดรับสมัครตั้งแต่วันที่ 19-24 มิถุนายน นี้เป็นต้นไป ดูรายละเอียดโครงการได้ที่ www.nstda.or.th/mhesi-covid19 (เว็บไซต์จะเปิดใช้งานและให้สมัครภายใน 19-24 มิ.ย. นี้เท่านั้น) หรือสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม โทร. 0 2564 7000 ต่อ 71115, 71128, 71139
สุดเจ๋ง! สวทช. – จุฬาฯ “Germ Saber Robot” หุ่นยนต์ฆ่าเชื้อก่อโรคโควิด-19 ด้วยแสงยูวี ภายใน 30 นาที โดยวางแผนนำร่องทดสอบการใช้งานที่สถานพยาบาลแห่งแรก คือ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์และหน่วยงานต่างๆ ต่อไป วันที่ 25 มี.ค. ดร.ศิวรักษ์ ศิวโมกษธรรม ผู้อำนวยการศูนย์เทคโนโลยีเพื่อความมั่นคงของประเทศและการประยุกต์เชิงพาณิชย์ (NSD) สวทช. เปิดเผยว่า หุ่นยนต์ฆ่าเชื้อไวรัสก่อโรคโควิด-19 ด้วยแสงยูวี หรือ “Germ Saber Robot” ที่พัฒนาขึ้นนี้ ประกอบด้วยหลอดยูวี-ซี ขนาดพลังงานรวม 300 วัตต์ พร้อมชุดควบคุมไฟ มีความพิเศษตรงที่สามารถบังคับให้ขับเคลื่อนไปยังจุดต่างๆ ผ่านอุปกรณ์ควบคุม “รีโมตคอนโทรล” เพื่อสั่งการให้หุ่นยนต์เดินหน้า ถอยหลัง เลี้ยวซ้าย เลี้ยวขวา และหมุนตัวแบบ 360 องศา เพื่อประสิทธิภาพในการฆ่าเชื้อโรคทุกสภาพพื้นที่ “รังสีอัลตราไวโอเล็ตหรือแสง UV เป็นสเปกตรัมของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าในช่วง 10 นาโนเมตรถึง 400 นาโนเมตร ซึ่งมีความถี่ที่สูงกว่าที่ตาเรามองเห็นได้ โดยหุ่นยนต์ “Germ Saber Robot” ที่พัฒนาขึ้นนี้ ใช้แสง UV-C (ความยาวคลื่นอยู่ในย่านความถี่ประมาณ 250 นาโนเมตร) เป็นแสง UV ที่มีประสิทธิภาพสูงในการกำจัดสิ่
“รถเข็นรักษ์โลก” ปฏิวัติ! วงการสตรีตฟู้ด หวังไทยขึ้นแท่น “มหาอำนาจทางอาหาร” เปิดตัวอย่างยิ่งใหญ่ โดยถือฤกษ์ “วันแห่งความรัก” ที่ผ่านมา ด้วยเหตุผล เป็นนวัตกรรม “รักษ์โลก” ที่มีความรักให้กับโลกใบนี้ ไม่น้อยกว่าใคร “รถเข็นรักษ์โลกเพื่อสตรีตฟู้ด” คือ นวัตกรรมที่เกริ่นถึง มี กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) โดยสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ หรือ สวทช. รับหน้าที่เป็น “หัวเรือใหญ่” “ข้อมูลในปี 2560 พบว่ามีธุรกิจร้านอาหารริมทาง หรือ Street Food ของไทยมากกว่า 103,000 ร้านทั่วประเทศ คิดเป็นมูลค่าตลาดสูงกว่า 270,000 ล้านบาทต่อปี และมีแนวโน้มว่าจะขยายตัวมากขึ้นทุกปี โดยปัจจุบันธุรกิจ สตรีตฟู้ดของไทยเติบโตอยู่ที่ร้อยละ 6 – 7 และมีแนวโน้มเติบโตขยายตัวถึงร้อยละ 10 จากการเข้ามาของนักท่องเที่ยวต่างชาติจำนวนมาก” ดร.สุวิทย์ เมษินทรีย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษาฯ ในฐานะประธานในพิธี เกริ่นนำอย่างนั้น ก่อนบอกต่อ สตรีตฟู้ด จะมีส่วนแบ่งการตลาดจากการท่องเที่ยว อยู่ที่ร้อยละ 10-20 ในอีก 5-10 ปีข้างหน้า ถือเป็นสัญญาณที่ดีในการผลักดันธุรกิจร้านอาหารริมทาง หรือ สต
ขอเชิญผู้ประกอบการเข้าร่วมสัมมนา พลิกความคิด…วัสดุเหลือใช้ สู่กำไรที่มองไม่เห็น สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ร่วมกับ สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) ขอเชิญผู้ประกอบการ เอสเอ็มอี และผู้สนใจ เข้าร่วมสัมมนา “พลิกความคิด…วัสดุเหลือใช้ สู่กำไรที่มองไม่เห็น (Innovative SMEs for Sustainable Economy in Waste Management)” เพื่อรับทราบความรู้ ประสบการณ์ ผลงานนวัตกรรมที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการและเพิ่มมูลค่ากากของเสีย โดยวิทยากรและนักวิจัย ที่มีประสบการณ์และความเชี่ยวชาญการบริหารจัดการและเพิ่มมูลค่ากากของเสีย พร้อมชมนิทรรศการผลงานวิจัยและสินค้านวัตกรรมจากกากของเสีย ในวันอังคารที่ 30 เมษายน 2562 ณ ห้องศาลาไทย โรงแรมแอมบาสเดอร์ กรุงเทพฯ สมัครเข้าร่วมงานได้ฟรี ! ไม่มีค่าใช้จ่าย ที่ http://www.smeknowledgecenter.com สอบถามเพิ่มเติมโทร. 061 159 6562 หรืออีเมล [email protected]
คุณชนากานต์ สันตยานนท์ ที่ปรึกษาอาวุโส โปรแกรมสนับสนุนการพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรม หรือ ไอแทป (ITAP) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) เผยว่า สวทช. โปรแกรม ITAP และสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) ร่วมกับ สมาคมธุรกิจไม้ จัดสัมมนา หัวข้อ “ตอบโจทย์ความคิด : ทำธุรกิจเชิงรุกยุคดิจิตอล” ภายใต้โครงการ “การปรับตัวเพื่อความอยู่รอดของ SMEs อุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์ไม้” โดยมีผู้ประกอบการอุตสาหกรรมไม้ และผู้สนใจเข้าร่วมรับฟังกว่า 50 ราย เพื่อยกระดับการแข่งขันของผู้ประกอบการอุตสาหกรรมผลิตไม้ ให้ได้รับการพัฒนาขีดความสามารถทันต่อสถานการณ์การทำธุรกิจยุคดิจิตอล คุณชนากานต์ กล่าวว่า โครงการนี้เกิดขึ้นเนื่องจากอุตสาหกรรมไม้ของไทยมีปัญหาหลายอย่างตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำ เพราะจากแต่ก่อนไทยส่งออกงานไม้ไปยังญี่ปุ่นและอเมริกา แต่ปัจจุบันไม่สามารถแข่งขันในเรื่องราคาได้เพราะมีคู่แข่งจากเวียดนามและจีน สวทช. จึงได้ทำโครงการนี้ขึ้น ตั้งแต่ปีนี้จนถึงปี 2561 โดยใช้งบประมาณ 10 ล้านบาท เพื่อพัฒนาอุตสาหกรรมไม้ของไทยให้แข่งขันได้ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องดีไซน์ คุณภาพ การทำวิจัยและพัฒนาร่วมกัน รว