สวนยาง
พี่น้องสวนยางฟังทางนี้ ธ.ก.ส. เปิดหลักเกณฑ์ จ่ายเงินประกันรายได้ฯ ระยะที่ 2 เมื่อวันที่ 11 ธ.ค. นายกษาปณ์ เงินรวง รองผู้จัดการธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) เปิดเผยว่า ตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 3 พฤศจิกายน 2563 ซึ่งเสนอโดยกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และมติคณะกรรมการ ธ.ก.ส. เมื่อวันที่ 26 พฤศจิกายน 2563 เห็นชอบให้ ธ.ก.ส. ดำเนินโครงการประกันรายได้เกษตรกรชาวสวนยาง ระยะที่ 2 เพื่อให้เกษตรกรชาวสวนยางมีรายได้ที่แน่นอนจากการประกันรายได้ ช่วยบรรเทาความเดือดร้อนจากปัญหาราคายางตกต่ำ อันเนื่องมาจากภาวะเศรษฐกิจถดถอยจากวิกฤตการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 และสร้างความมั่นคงในอาชีพ เป้าหมายเกษตรกร 1.83 ล้านราย พื้นที่สวนยางกว่า 18.28 ล้านไร่ วงเงินงบประมาณ 9,717 ล้านบาท โดยประกันรายได้ตามการผลิตแต่ละประเภท ได้แก่ ยางพาราแผ่นดิบคุณภาพดี ประกันราคา 60 บาท/กิโลกรัม น้ำยางสด (DRC 100%) ประกันราคา 57 บาท/กิโลกรัม และยางก้อนถ้วย (DRC 50%) ประกันราคา 23 บาท/กิโลกรัม กำหนดระยะเวลาประกันรายได้เป็นระยะเวลา 6 เดือน (เดือนตุลาคม 2563 – มีนาคม 2564) โดยเมื่อวันที่ 10 ธันวาคม 2563 ธ.ก.ส. ได้เริ่มโอ
ต.ค.นี้ ชาวสวนยาง เตรียมเฮ รมว.เกษตรฯ เล็งชงประกันรายได้สวนยาง เฟส 2 เว็บไซต์ ประชาชาติธุรกิจออนไลน์ รายงานข่าว นายเฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยภายหลังพิธีเปิดงานกิจกรรม กยท. สัญจร พบปะเกษตรกร สถาบันเกษตรกร และผู้ประกอบกิจการยาง ณ การยางแห่งประเทศไทยเขตภาคใต้ตอนกลาง จังหวัดนครศรีธรรมราช ว่า สถานการณ์ราคายางตกต่ำอย่างต่อเนื่อง ประกอบกับสถานการณ์การระบาดของเชื้อไวรัส COVID-19 ซึ่งส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจโลก ไทยเป็นประเทศที่ยังคงรักษาสถานะผู้นำการผลิตและผู้ส่งออกยางอันดับหนึ่งของโลก มีศักยภาพในการแข่งขันด้านยางพาราในระดับโลกและมีส่วนสำคัญในการพัฒนาคุณภาพชีวิตเกษตรกรให้สูงขึ้น ตลอดจนช่วยสนับสนุนการจ้างงานในภาคอุตสาหกรรมยางและเป็นสินค้าหลักที่ทำรายได้เข้าสู่ประเทศ ดังนั้น แนวคิด Rubber Valley ในพื้นที่จังหวัดภาคใต้ของประเทศไทยโดยเฉพาะจังหวัดนครศรีธรรมราช มีองค์ประกอบค่อนข้างสมบูรณ์ โดยมีพื้นที่ปลูกยาง จำนวน 1,766,025 ไร่ เกษตรกรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพชาวสวนยาง มีตลาดกลางยางพาราในการประมูลซื้อขายยางพาราอยู่ในพื้นที่ ที่เป็นศูนย์กลางการคมนาคมทางการค้าที่สำคัญของภาคใต้
แก้ราคายางตกต่ำ!! ดึง18สหกรณ์สวนยาง รวบรวมเพื่อส่งออกแสนตัน นายเชิดชัย พรหมแก้ว รองอธิบดีกรมส่งเสริมสหกรณ์ กล่าวระหว่างการประชุมชี้แจงโครงการบริหารจัดการรักษาเสถียรภาพราคายางพาราของสถาบันเกษตรกร โดยมีตัวแทนสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรที่ดำเนินธุรกิจรวบรวมยางพาราและมีศักยภาพในการส่งออก 18 แห่ง จาก 12 จังหวัด เข้าร่วมประชุม ที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ว่า นโยบายการรักษาเสถียรภาพราคายางพาราของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ จะมุ่งเน้นสนับสนุนให้สถาบันเกษตรกรเป็นกลไกในการขับเคลื่อน การแก้ไขยางพารา โดยคัดเลือกสหกรณ์ 18 แห่ง ที่มีความพร้อมและมีศักยภาพในการรวบรวมและแปรรูปยางพารา ทำหน้าที่เป็นแม่ข่ายในการรวบรวมยางพาราจากสหกรณ์เครือข่ายอีก 154 แห่ง ปริมาณ 100,000 ตัน เพื่อดึงปริมาณยางพาราในประเทศส่งออกไปจำหน่ายยังต่างประเทศ ซึ่งจะช่วยรักษาเสถียรภาพราคายางพาราให้กับเกษตรกร นายเชิดชัย กล่าวว่า มติคณะรัฐมนตรี (ครม.) เมื่อวันที่ 4 ธันวาคมที่ผ่านมา สนับสนุนสินเชื่อเพื่อเสริมสภาพคล่องให้สถาบันเกษตรกร วงเงิน 5,000 ล้านบาท ผ่าน ธ.ก.ส.อัตราดอกเบี้ย 4% โดยสถาบันเกษตรกรจ่ายดอกเบี้ย 1% และรัฐบาลชดเชยดอกเบี้ย 3% ชำระคืนภายใน 1
อำเภอบันนังสตา เป็นอำเภอหนึ่งที่เป็นเส้นทางเชื่อมต่อจากตัวอำเภอเมืองยะลาตามเส้นทางลงไปสู่อำเภอเบตง จังหวัดยะลา ใต้สุดแดนสยาม อันเป็นพื้นที่ที่มีความอุดมสมบูรณ์สูง แต่แม้อำเภอบันนังสตาจะไม่ได้ถูกจดจำว่ามีการเกษตรชนิดใดโดดเด่นเป็นหลัก แต่เมื่อถึงฤดูที่ทุเรียนให้ผลผลิต ก็มีทุเรียนหมอนทองจำนวนไม่น้อยที่ออกจากพื้นที่นี้ไป คุณอาลี บือแน ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน หมู่ที่ 2 ตำบลตาเนาะปูเต๊ะ อำเภอบันนังสตา จังหวัดยะลา พาเราเข้าพื้นที่ไปดูแปลงทุเรียนหมอนทอง ที่ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านเองการันตีว่า หมู่ที่ 2 เป็นแปลงปลูกทุเรียนหมอนทองแปลงใหญ่ที่สุดของอำเภอบันนังสตา คุณอาลี บอกว่า เดิมชาวบ้านส่วนใหญ่ปลูกยางพารา มีอาชีพกรีดยางขาย เป็นหลัก แต่เมื่อราคายางตกต่ำ ชาวบ้านหลายรายคิดเปลี่ยนอาชีพ ที่มองเห็นช่องทางของรายได้ขณะนั้นคือ การปลูกทุเรียน เพราะไม่มีปีใดที่ทุเรียนราคาถูก ทำให้มีเกษตรกรจำนวน 114 ราย โค่นยางพาราและปลูกทุเรียนหมอนทอง เฉลี่ยมีพื้นที่ปลูกทุเรียนหมอนทอง ประมาณ 5 ไร่ ต่อราย รวมกลุ่มเป็นเกษตรแปลงใหญ่ โดยในจำนวนนี้ มีเกษตรกรคุณภาพ 13 ราย การรวมกลุ่มเป็นเกษตรแปลงใหญ่ ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านระบุว่า เพราะช่วยให
วันที่ 23 มกราคม 2560 จากภาวะน้ำท่วมถึง 2 ครั้งในจังหวัดตรัง ช่วงเดือนธันวาคม 2559 และเดือนมกราคม 2560 ซึ่งกินระยะเวลายาวนานมากว่า 1 เดือน และอาจจะมีครั้งที่ 3 อีกครั้ง รวมทั้งยังคงมีฝนตกลงมาอย่างต่อเนื่อง และมีคำเตือนจากกรมอุตุนิยมวิทยามาเป็นระยะๆ นั้น ได้สร้างผลกระทบให้กับเกษตรกรชาวสวนยางเป็นอย่างมาก เนื่องจากขณะนี้สวนหลายแห่งยังคงมีน้ำท่วมขัง ส่งผลให้ไม่สามารถกรีดยางได้ ส่วนสวนอีกหลายแห่งที่แม้น้ำจะแห้งไปแล้ว กลับเจอฝนตกในช่วงดึก หรือช่วงเช้า จนไม่อาจจะกรีดยางได้เช่นกัน นางพันวิรา วงศ์มาลามาศ ชาวบ้านหมู่ 9 ตำบลคลองปาง อำเภอรัษฎา จังหวัดตรัง กล่าวว่า ฝนที่ตกลงมาบ่อยครั้งในระยะนี้ ทั้งที่ปกติทุกปีจะแล้งไปนานแล้ว ทำให้เกษตรกรในพื้นที่ต่างๆ ได้รับความเดือดร้อนอย่างหนัก เนื่องจากไม่สามารถกรีดยางได้ตามปกติ และไม่มีเงินไปใช้จ่าย ต่อให้ยางปรับราคาขึ้นไปถึงกิโลกรัมละ 100 บาท ก็ไม่มีผลอะไร เพราะทุกวันนี้ยังคงมีฝนตกจนน้ำท่วมมา 3 รอบแล้ว เฉพาะครอบครัวของตนต้องขาดรายได้ไปวันละประมาณ 1,000 บาท และไม่รู้จะหันหน้าไปพึ่งใครในยามทุกข์ร้อนเช่นนี้ นายบุญเจือ สมทิพย์ เกษตรและสหกรณ์จังหวัดตรัง กล่าวว่า จ
เวลา 15.30 น. วันที่ 23 กันยายน 2559 ร.ต.อ.ยอดคม อินไข ร้อยเวรสภ.เมืองตราด ได้รับแจ้งจากนางอรอุมา หรพมภิราช อายุ 43 ปี เจ้าของบ้านเลขที่ 282 ม.7 ต.วังกระแจะ อ.เมือง จ.ตราด ถูกคนร้ายงัดบ้านขโมยทรัพย์สินหลายรายการ เมื่อไปถึงที่เกิดเหตุนางอรอุมา ได้ชี้จุดให้กับเจ้าหน้าที่ตำรวจดูจุดที่คนร้ายใช้เลื่อยตัดเหล็ก ตัดกุญแจที่ห้องประตูบ้านไว้จนขาด และร่องรอยงัดประตูห้องนอน โดยพบว่ามีทรัพย์หลายรายการที่ถูกขโมยไป เช่น ที่นอน ตู้เย็น โทรทัศน์ ถังแก็ส พัดลม และอื่น ๆ อีกหลายรายการ รวมมูลค่ากว่า 50,000 บาท โดยเฉพาะที่นอนและตู้เย็น ที่เพิ่งซื้อมาได้เพียง 2 เดือน เท่านั้น จากนั้นเจ้าหน้าที่ตำรวจได้ลงบันทึกที่เกิดเหตุไว้เป็นหลักฐาน นางอรอุมา กล่าวว่า ตนเองเป็นลูกจ้างกรีดยางของ นายภูษิต อินทสุวรรณ ส.อบจ.ตราด โดยบ้านที่ถูกงัดเป็นบ้านพักระหว่างเดินทางมากรีดยางพารา ซึ่งบ้านที่แท้จริงอยู่ในต.ห้วงน้ำขาว และเมื่อปิดหน้ายางตนเองก็จะกลับบ้าน ซึ่งครั้งนี้กลับบ้านไปได้ประมาณ 10 วัน และกลับมาอีกครั้ง เพื่อเตรียมจะกรีดยางและเมื่อมาถึงหน้าบ้านถึงกับตกใจ เมื่อพบว่ากุญแจถูกตัดออก และทรัพย์สินภายในบ้านถูกคนร้ายขนขโมยออกไ