สินค้าจีน
LINE ประเทศไทย ชี้ หนี้ครัวเรือน สินค้าจีนทะลัก คือ ปัจจัยเสี่ยงของทุกธุรกิจ จากการจัดงาน THAILAND NOW & NEXT: Thriving through The Economic Instability สัมมนาธุรกิจครั้งใหญ่แห่งปี ของ LINE ประเทศไทย คุณรัฐธีร์ ฉัตรดำรงค์ศักดิ์ รองประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายการพาณิชย์ LINE ประเทศไทย กล่าวว่า หลายปีที่ผ่านมา GDP ของไทยเติบโตแบบผันผวนจากทั้งปัจจัยภายในและภายนอกประเทศ ถึงแม้ในปี 2024 นี้ คาดว่าจะมีการฟื้นตัวด้วยอัตราการเติบโตประมาณ 2.3% ถึง 2.6% จากแรงสนับสนุนของภาคการท่องเที่ยวและการบริโภคในประเทศที่แข็งแกร่งขึ้น หากแต่หนี้ครัวเรือนที่มีสัดส่วนสูงถึงกว่า 90% รวมถึงปัจจัยลบภายนอกประเทศ ไม่ว่าจะเป็นความตึงเครียดทางภูมิรัฐศาสตร์ระดับโลก และการทะลักเข้ามาของสินค้าจีนในภูมิภาคอาเซียน ยังเป็นปัจจัยเสี่ยงที่น่ากังวล เหตุการณ์ที่กำลังเกิดขึ้นทั้งหลายเหล่านี้ ชี้ว่าประเทศไทยรวมถึงธุรกิจต่างๆ กำลังเผชิญกับความไม่แน่นอนทางเศรษฐกิจทั้งระดับมหภาคและจุลภาค LINE ในฐานะผู้นำแพลตฟอร์มดิจิทัลเพื่อธุรกิจของคนไทย จึงได้จัดงาน THAILAND NOW & NEXT: Thriving through The Economic Instability ชวนผู้เชี่ยวชาญร
เคาะ 5 มาตรการ สกัด สินค้าจีน นำเข้าไม่ได้มาตรฐาน พาณิชย์เร่งช่วยเหลือ SMEs ไทย วันที่ 28 สิงหาคม 2567 นายภูมิธรรม เวชยชัย รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ แถลงหลังเป็นประธานการประชุม ร่วมกับ นายนภินทร ศรีสรรพางค์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ และผู้บริหารระดับสูงจาก 28 หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อแก้ปัญหาสินค้านำเข้าสู่ตลาดที่ไม่ได้มาตรฐานและราคาต่ำ ในการป้องกันและกำกับดูแลทั้งสินค้าและธุรกิจที่ไม่ถูกต้องตามกฎหมาย ควบคู่กับการเพิ่มความสามารถในการแข่งขันให้กับผู้ประกอบการ SMEs และ E-Commerce ไทย ปรับตัวได้ในโลกการค้ายุคใหม่ นายภูมิธรรม เปิดเผยว่า การหารือในวันนี้ เป็นการติดตามการดำเนินการของหน่วยงานภาครัฐตามมติ ครม. ที่ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง กำหนดมาตรการ/แนวทางในการแก้ไขปัญหา และปกป้องผลประโยชน์ของผู้ผลิตและผู้ประกอบการในทุกมิติ เช่น ตรวจสอบความถูกต้องของการจดทะเบียนการค้าและใบอนุญาตต่างๆ ในการดำเนินธุรกิจของต่างชาติ ตรวจสอบคุณภาพสินค้าจากต่างประเทศให้เป็นไปตามมาตรฐานได้รับการรับรองจากหน่วยงานของไทย ตรวจสอบใบอนุญาตนำเข้าสินค้าจากต่างประเทศ และการชำระอากรขาเข้าของผู้ปร
สำรวจสำเพ็ง! ในวันที่ ผปก.ไทย นั่งเหงา ทุนจีนล้น ค่าเช่าที่พุ่งกระฉูด 2 แสนต่อเดือน เจ๊งระนาว ตลาดสำเพ็ง แหล่งซื้อขายสินค้ายอดนิยมของเหล่านักช้อปอีกที่หนึ่ง ไม่ว่าจะเป็นผ้า กิ๊ฟต์ช็อป ตุ๊กตาต่างๆ นึกที่ไหนไม่ออกก็ต้องมุ่งหน้าไปที่นี่ แต่ล่าสุดที่ไปเดินตลาดสำเพ็ง มีความรู้สึกว่า บรรยากาศเปลี่ยนไปจากแต่ก่อนมาก เพราะเหล่าพ่อค้าแม่ขายส่วนใหญ่ไม่ใช่คนไทยอีกต่อไป แต่จะเป็นกลุ่มนักลงทุนต่างชาติ (จีน) เข้ามาเป็นเจ้าของกิจการซะส่วนใหญ่ ดังนั้น เส้นทางเศรษฐีออนไลน์ จึงถือโอกาสเข้าไปพูดคุยกับผู้ประกอบการไทย ถึงประเด็นที่ทุนจีนเข้ามาลงทุนว่าได้รับผลกระทบอะไรบ้างหรือไม่ หรืออยากให้มีการปรับเปลี่ยน แก้ไขตรงไหนบ้าง อาจเป็นเสียงสะท้อนเล็กๆ ที่คิดว่าอยากจะให้เกิดการเปลี่ยนแปลงขึ้น พี่จีนมา พาค่าที่ปั่นป่วน! เจ้าของธุรกิจร้านผ้าในตลาดสำเพ็งรายหนึ่ง พูดคุยกับผู้สื่อข่าวว่า หลังจากที่ทุนจีนเข้ามาลงทุนมากขึ้น ทำให้ได้รับผลกระทบหลายด้าน ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของการแย่งส่วนแบ่งทางการตลาด การมาทำให้ราคาค่าเช่าที่ในตลาดสำเพ็งสูงขึ้นจนเห็นได้ชัด “คนจีนบ้านเขาเหมือนเก่าไปใหม่มา เช่าไม่ไหวเขาก็ไป แต่คนไทยอย่างเราที
ผัก ผลไม้จีน ทะลักเต็มตลาดสดโคราช! ราคาถูกกว่าไทยเท่าตัว มีการแพ็กอย่างดี สีสันสวยงาม เกษตรกรไทยได้รับผลกระทบเต็มๆ วันที่ 14 ส.ค. 67 ผู้สื่อข่าวลงพื้นที่สำรวจโซนขายผัก ผลไม้ ภายใน ตลาดสดแม่กิมเฮง อ.เมือง จ.นครราชสีมา พบว่ามีการนำผักและผลไม้จากจีนมาขายกันอย่างคึกคัก โดยแหล่งข่าว ระบุว่า ในส่วนของผลไม้ที่สั่งมาจากประเทศจีน จะสั่งมาจากฝั่ง สปป.ลาว ซึ่งมีการส่งมาทางรถไฟความเร็วสูง และขนถ่ายสินค้าผ่านชายแดนส่งเข้ามาในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ใช้เวลาเพียงแค่ 1 วัน ก็จะได้รับสินค้าแล้ว ซึ่งผลไม้ที่สั่งเข้ามาจากจีนจะมีการแพ็กใส่ลังพร้อมแผงพลาสติกกันกระแทกอย่างดี ทำให้ไม่ได้รับความเสียหาย และคุณภาพรวมทั้งสีสันของผลไม้จากจีน จะสวยงามกว่าของไทย อีกทั้งยังมีราคาถูกกว่าของไทยเท่าตัวอีกด้วย โดยผลไม้ที่ได้รับความนิยมสั่งเข้ามาขายในตลาดแห่งนี้ ก็จะมีหลายชนิด อาทิ แอปเปิ้ล, องุ่น, สาลี่ และส้ม เป็นต้น ซึ่งจะได้รับความนิยมจากลูกค้าที่ต้องนำไปจัดเป็นเครื่องเซ่นไหว้ในงานพิธีกรรมต่างๆ ที่ต้องการความสวยงามของผลไม้ ขณะที่แผงผักสด ก็มีผักสดจากจีนเข้ามาวางขายปะปนกับผักสดของไทยอยู่หลายชนิดเช่นกัน โดยเฉพาะ บ
สินค้าจีนทะลักไม่หยุด “TEMU” อีคอมเมิร์ซ บุกไทย ชูสินค้าราคาหลักสิบ ส่งฟรี ส่วนลด 90% สะเทือนวงการอีคอมเมิร์ซไทย เมื่อ TEMU (ทีมู่) แพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซน้องใหม่จากประเทศจีน ในเครือ “Pinduoduo” เข้ามาเปิดตัวอย่างเป็นทางการในประเทศไทย ทำให้ไทยกลายเป็นประเทศที่ 3 ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่ TEMU เข้ามาตีตลาด หลังจากบุกตลาดสหรัฐอเมริกา เมื่อปี 2565 ตามด้วยฟิลิปปินส์และมาเลเซีย เมื่อปี 2566 จุดเด่นของแพลตฟอร์ม TEMU คือ การเชื่อมโยงผู้บริโภคกับพันธมิตรสินค้า ผู้ผลิตและแบรนด์หลายล้านรายการ จึงทำให้สามารถขายสินค้าราคาเข้าถึงง่าย ตั้งแต่หลักสิบบาท อีกทั้งยังมีการจัดโปรโมชันเอาใจผู้บริโภคหลังเปิดตัวอย่างเป็นทางการ ด้วยส่วนลดสูงสุด 90% นอกจากนี้ ยังมีประเภทสินค้าให้เลือกซื้อหลากหลาย ใน 33 หมวดหมู่หลัก ไม่ว่าจะเป็น บ้านและห้องครัว เสื้อผ้าสตรี เสื้อผ้าผู้ชาย จิวเวลรี่และเครื่องประดับ ความงามและสุขภาพ ยานยนต์ แฟชั่นเด็ก ศิลปะและงานฝีมือ เครื่องใช้ไฟฟ้า สมาร์ทโฮม เครื่องดนตรี เป็นต้น และมีบริการหลังการขายที่ตอบโจทย์ผู้บริโภค เช่น การจัดส่งฟรีทุกการสั่งซื้อ โดยความร่วมมือกับ J&T Express การคืนสิ
แข่งราคาจีน ไม่ไหว SMEs ไทย ต้องสู้ด้วย คุณภาพ วอนรัฐ ช่วยเสริม 4 ทาง จากกรณี สำนักวิจัย ธนาคาร ซีไอเอ็มบี ไทย ออกมาเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับ เศรษฐกิจไทยไตรมาส 3 มี 4 ปัจจัยเสี่ยงหลัก เรียกย่อๆ ว่า GERM ซึ่งประกอบด้วย G – Geo-politics – ความขัดแย้งทางภูมิรัฐศาสตร์กำลังป่วนโลก E – Elections – การเลือกตั้งในหลายประเทศที่อาจเปลี่ยนขั้วการเมือง R- Interest Rate – อัตราดอกเบี้ยทรงตัวในระดับสูงและลากยาว M – Manufacturing – ภาคการผลิตอาจหดตัวต่อเนื่อง โดยข้อมูลตอนหนึ่งจากสำนักวิจัยดังกล่าว ระบุชัด จากการที่จีน ยังคงระดับการผลิตสินค้าเพื่อรักษาระดับการจ้างงานและการเติบโตทางเศรษฐกิจ แม้อุปสงค์ในประเทศชะลอและเผชิญสงครามการค้ากับชาติตะวันตก ซึ่งที่จริงจีน น่าจะผลิตลดลง แต่กลับนำผลผลิตส่วนเกินมาระบายในตลาดอาเซียน โดยเฉพาะไทย หากเป็นเช่นนี้ต่อเนื่อง ภาคการผลิตของไทย โดยเฉพาะโรงงานในกลุ่ม SMEs ที่ขาดความสามารถในการแข่งขันอาจต้องปิดตัวลง จนกระทบการจ้างงานและการบริโภคของคนไทยอีกทอดหนึ่ง ซึ่งหวังว่ารัฐบาลไทย จะมีความชัดเจนในการแก้ปัญหาสินค้าจีนที่ทะลักเข้ามา และเร่งให้ SMEs ไทย ปรับตัวได้ในไม่ช้า อ่านเรื่
สินค้าจีนทะลัก กระทบ SMEs หนัก ถึงขั้นปิดโรงงาน หวัง “เศรษฐา” เร่งแก้ปัญหา ดร.อมรเทพ จาวะลา ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ ผู้บริหารสำนักวิจัย ธนาคาร ซีไอเอ็มบี ไทย เปิดเผยว่า เศรษฐกิจไทยไตรมาส 3 มี 4 ปัจจัยเสี่ยงหลัก เรียกย่อๆ ว่า GERM G – Geo-politics – ความขัดแย้งทางภูมิรัฐศาสตร์กำลังป่วนโลก กระทบความเชื่อมั่นนักลงทุน ต้นทุนขนส่งสินค้าทางเรือจะสูงขึ้น โดยเฉพาะราคาน้ำมันดิบที่เป็นต้นทุนสำคัญในภาคการผลิตและขนส่ง ราคาน้ำมันดิบเบรนท์ที่เคยคาดการณ์ 82 ดอลลาร์ต่อบาร์เรลอาจปรับขึ้นไปทะลุ 100 ดอลลาร์ต่อบาร์เรลได้ หากสถานการณ์เลวร้ายและกระทบผู้ผลิตน้ำมันรายใหญ่ อย่าง ซาอุดีอาระเบีย และอิหร่าน รวมทั้งความขัดแย้งในยูเครนที่อาจยืดเยื้อและรุนแรงจนกระทบอุปทานน้ำมันของรัสเซีย ตลอดจนความขัดแย้งระหว่างจีนและไต้หวัน หรือเกาหลีเหนือและเกาหลีใต้ที่อาจกระทบห่วงโซ่อุปทานภาคการผลิตจนทำให้ราคาสินค้าบางประเภทโดยเฉพาะกลุ่มอิเล็กทรอนิกส์ปรับพุ่งขึ้นได้ E – Elections – การเลือกตั้งในหลายประเทศที่อาจเปลี่ยนขั้วการเมือง การเลือกตั้งแม้เป็นเรื่องปกติในระบอบประชาธิปไตยที่ประชาชนมีส่วนร่วมในการเลือกตัวแทนไปบริ
ทำไมสินค้าจีนถึงกลายเป็นเจ้าตลาดในไทย สร้างผลกระทบต่อ SMEs อย่างไรบ้าง? ใครที่เป็นขาช้อป ช้อปปิ้งออนไลน์อยู่เป็นประจำ น่าจะเคยเห็นสินค้าราคา 1 บาท เช่น ทิชชู ขนม ของแห้ง ล่อตาล่อใจให้เรากดซื้ออยู่บ่อยครั้ง สินค้าเหล่านี้ล้วนแล้วทะลักมาจากประเทศจีนข้ามประเทศมาขายกันแบบถูกๆ ใช้ราคาเป็นจุดดึงดูดให้เกิดการสั่งซื้อได้อย่างรวดเร็ว ถ้ามองกันแบบผ่านๆ อาจไม่ได้รู้สึกว่าเป็นปัญหา แต่ถ้ามองโดยภาพรวมแล้ว การทะลักเข้ามาของสินค้าจีน กำลังสร้างผลกระทบให้กับผู้ประกอบการไทยอย่างไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ และอาจหนักหน่วงถึงขั้นปิดกิจการก็เกิดขึ้นกันมาแล้ว โดยก่อนอื่นเราลองมาดูตัวเลขที่น่าสนใจจากกระทรวงพาณิชย์ที่ได้ออกมาเปิดเผยว่า ปี 2566 ที่ผ่านมา ประเทศไทยขาดดุลการค้ากับจีนสูงถึง 3.6 หมื่นล้านดอลลาร์ หรือตีเป็นเงินไทยก็ประมาณ 1.3 ล้านล้านบาท ซึ่งเป็นตัวเลขที่สูงสุดเป็นประวัติการณ์ สูงกว่าปี 2564 ที่มีมูลค่าการขาดดุลอยู่ที่ 2.9 หมื่นล้านดอลลาร์ หรือสูงขึ้น 24% เป็นการแสดงให้เห็นว่าแนวโน้มในการขาดดุลจะสูงขึ้นเรื่อยๆ ผู้ประกอบการชาวไทยจึงสมควรที่จะตระหนักรู้ และรีบหาทางแก้ไขให้กับธุรกิจของตนเองก่อนที่จะสายเกิ
ผู้ประกอบการไทยไหวไหม เปิดลิสต์ 5 กลุ่มสินค้าจีนทะลักเข้าไทยมากสุด แถมบางรายการมีราคาถูกกว่า ศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาดว่า ยอดขายค้าปลีกปี 2567 เติบโตชะลอตัวลงจากปีก่อน หรืออยู่ที่ราว 3.0% (YoY) มีมูลค่าประมาณ 4.1 ล้านล้านบาท โดยยังคงมีแรงหนุนมาจากการใช้จ่ายของนักท่องเที่ยวต่างชาติ ประกอบกับผลของราคาสินค้าบางรายการ โดยเฉพาะราคาสินค้าอาหารและของใช้ส่วนตัวที่น่าจะยังปรับเพิ่มขึ้น ซึ่งจากการสำรวจผู้ประกอบการค้าปลีก พบว่า กว่า 60% ของธุรกิจมีแนวโน้มที่จะปรับขึ้นราคาสินค้าในอีก 3 เดือนข้างหน้า (การสำรวจ Retailer Sentiment Index : RSI เดือนมกราคม 2567 ของสมาคมผู้ค้าปลีกไทยและธนาคารแห่งประเทศไทย) อย่างไรก็ตาม แม้ยอดขายค้าปลีกในไทยเติบโต แต่ผู้ผลิตสินค้าไทยต้องแข่งขันรุนแรงกับสินค้านำเข้า โดยเฉพาะจากจีนที่เข้ามาตีตลาดในไทย ซึ่งในปี 2566 ไทยนำเข้าสินค้าอุปโภคบริโภคจากจีนมูลค่า 469,521 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 2.8% (YoY) หรือมีสัดส่วนราว 41% ของการนำเข้าสินค้าอุปโภคบริโภคทั้งหมด โดยสินค้าที่จีนเข้ามาตีตลาดส่วนใหญ่มีทั้งกลุ่มที่เป็นของกินและของใช้ในชีวิตประจำวัน เช่น เครื่องใช้ไฟฟ้า มีสัดส่วนมูลค่าประมาณ 43
สินค้าจีนทะลักเข้าไทย ขาดดุลพุ่ง รัฐเคาะมาตรการช่วยแฟรนไชส์ – SMEs หาทำเลค้าขาย ราคาพิเศษ เปรียบเทียบดุลการค้าระหว่างไทย-จีน ปี 2553 จนถึงปัจจุบัน ไทยขาดดุลการค้าให้กับจีนอย่างต่อเนื่อง และเมื่อปี 2566 ไทยขาดดุลถึง 1,272,234 ล้านบาท ชี้ให้เห็นว่าไทยมีการนำเข้าสินค้าจากจีนมากกว่าส่งออก และยังมีจำนวนเพิ่มขึ้นจึงต้องเร่งแก้ไขปัญหานี้ ล่าสุดคณะอนุกรรมการส่งเสริมและยกระดับ SMEs เคาะ 2 มาตรการเร่งด่วน วันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2567 สืบเนื่องเมื่อวันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2567 ที่ผ่านมา นายนภินทร ศรีสรรพางค์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ ได้ประชุมคณะอนุกรรมการส่งเสริมและยกระดับ SMEs ร่วมกับสมาพันธ์เอสเอ็มอีไทย เครือข่ายธุรกิจบิสคลับประเทศไทย รวมถึงผู้แทนภาครัฐและเอกชน ในการแก้ปัญหาสินค้าจีนทะลัก พร้อมได้เคาะ 2 มาตรการเร่งด่วนช่วยเหลือ นายนภินทร ศรีสรรพางค์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ ได้ระบุ ผลการประชุมเบื้องต้น นอกจากติดตามมาตรการ 9 ด้านที่ได้ดำเนินการไปก่อนหน้านี้ เพื่อผลักดันให้ GDP SMEs ในประเทศ ขยับจาก 35.2% เป็น 40% ภายในปี 2570 และคณะอนุกรรมการส่งเสริมและยกระดับ SMEs ยังมีมติเคาะ 2