สุรินทร์
พาไปรู้จักทุเรียนมาเลเซียพันธุ์เหมาซานหวาง ปลูกกันมากในอำเภอเบตง จังหวัดยะลา และจังหวัดจันทบุรี ว่ากันว่าปลูกง่ายกว่าหมอนทอง รสชาติดี เนื้อเนียนนุ่ม เหนียว หวาน กลิ่นหอม เนื้อเยอะ เม็ดลีบ ปลูก 90 วันเก็บขายได้เลย อาชีพเกษตรกรรมยุคนี้ ไม่มีอะไรร้อนแรงเท่าการทำสวนทุเรียน 2-3 ปีมานี้ ต่างชาติโดยเฉพาะจีน นำเข้าทุเรียนจากไทย ทำให้ผลผลิตในประเทศมีบริโภคน้อยลง ราคาที่เกษตรกรขายได้จากสวนจึงสูงที่สุดเป็นประวัติการณ์ เดิมทีมีความเข้าใจว่าทุเรียนปลูกได้ดีเฉพาะแห่ง เช่น ภาคใต้ ภาคกลางบางจังหวัด รวมทั้งภาคตะวันออก แต่เนื่องจากการสื่อสารทันสมัย เทคโนโลยีก้าวหน้า ทุเรียนได้กระจายไปหลายๆ จังหวัด เมื่อก่อนอาจจะมีคำถามว่า “จังหวัดไหนปลูกทุเรียนได้บ้าง” แต่ทุกวันนี้ คำถาม อาจจะเปลี่ยนเป็น “จังหวัดไหนไม่ปลูกทุเรียนบ้าง” อีสานที่ว่าแล้งปลูกทุเรียนได้ดีที่ ศรีสะเกษ อุบลราชธานี บุรีรัมย์ ชัยภูมิ นครราชสีมา จังหวัดอื่นๆ ไม่น่าเชื่อว่าจะปลูกได้ แต่ก็ปลูกมีผลผลิต เช่น สุรินทร์ กาฬสินธุ์ เลย เหมาซานหวาง ทุเรียนมาแรง ทุเรียนยอดฮิต ที่นิยมปลูกกันในบ้านเรา เห็นจะได้แก่ หมอนทอง อื่นๆ มี ชะนี ก้านยาว กระดุม พวงมณี
เปิดใจ อดีตผกก.สืบสุรินทร์ โพสต์บอกเพื่อน ขอลาออกไปดูแลแม่ เปิดใจ อดีตผกก.สืบสุรินทร์ จากกรณี พ.ต.อ.จเร สุปิรยะ โพสต์บอกเพื่อนข้าราชตำรวจทางเพจเฟซบุ๊ก ว่าขอลาออกจากตำแหน่งผู้กำกับการสืบสวนตำรวจภูธรจังหวัดสุรินทร์ เพราะเลือกไปดูแลแม่ที่แก่มีอายุมากแล้ว ปรากฏว่าโพสต์ดังกล่าวได้รับคำชื่นชมและคอมเมนต์จำนวนมาก ส่วนใหญ่ชื่นชมในความเป็นลูกกตัญญู ทดแทนบุญคุณ และเป็นบุคคลหาได้ยากในปัจจุบัน ต่อมาผู้สื่อข่าวติดต่อสัมภาษณ์ พ.ต.อ.จเร สุปิรยะ ทางโทรศัพท์ เจ้าตัวเล่าว่า ตั้งใจเขียนโพสต์ลาเพื่อนข้าราชการตำรวจในจังหวัดสุรินทร์ ด้วยกันให้รับทราบ เพราะว่าไม่ได้บอกกล่าวด้วยวาจา ไม่คิดว่าจะมีคนสนใจและเข้ามาแชร์โพสต์ของตนเองออกไปเป็นจำนวนมาก นอกจากนี้ยังมีเพื่อนๆ และคนที่รู้จักกันเคารพนับถือโทร.มาให้กำลังใจเป็นจำนวนมากตลอดทั้งวัน จริงๆ แล้วตนเองตั้งใจจะลาออกจากราชการมานานเหมือนกัน เพราะว่าแม่อายุมากแล้ว 89 ปี ป่วยชราภาพ ไม่มีใครดูแล พี่ชายก็มีงานทำมีธุระ ไม่ค่อยได้มีเวลาให้เต็มที่ ส่วนตนเอง นานๆ ครั้งจะลางานมาดูแลแม่ และต้องใช้เวลาหลายวัน จึงคิดอยู่นานกว่าจะตัดสินใจลาออกจากราชการ เพราะเหลือเวลาราชการอยู่อ
“ข้าวเม่า” เป็นขนมหวานประเภทหนึ่งของคนไทย ที่ทำกินตามช่วงฤดูกาล อันเกิดจากภูมิปัญญาดั้งเดิมของเกษตรกรชาวนาตั้งแต่รุ่นโบราณที่นำข้าวเหนียวที่มีรวงแก่ใกล้จะสุกเก็บเกี่ยวได้ ที่เรียกว่า ข้าวระยะพลับพลึง มาแช่น้ำ คั่ว ตำ แล้วนำมาคลุกมะพร้าว น้ำตาล โรยเกลือ ใช้ทานเป็นขนมหวาน ความจริงแล้วข้าวที่นำมาทำข้าวเม่ามีทั้งข้าวเหนียว ข้าวเจ้า และข้าวเหนียวดำ แล้วที่นิยมมากที่สุดคือข้าวเม่า ข้าวเหนียว ซึ่งยังแบ่งได้เป็น 3 แบบคือ ข้าวฮาง หรือข้าวเม่าอ่อนทำจากเมล็ดข้าวสีเขียวจัด, ข้าวเม่าแบบเขียวอ่อน ทำจากข้าวห่ามที่เปลือกเป็นสีเขียวเข้ม และข้าวเม่าขาวนวล ทำจากข้าวเกือบแก่ เปลือกเขียวอมน้ำตาล การแปรรูปจากข้าวเพื่อเป็นขนมข้าวเม่านั้น คนโบราณดัดแปลงได้หลายวิธี อาจจะทำเป็นข้าวเม่าคลุก ข้าวเม่าบด ข้าวเม่าหมี่ ข้าวเม่าทอด ฯลฯ ทั้งนี้อาจขึ้นอยู่กับความต่างกันในวิถีชีวิต ขนบธรรมเนียม หรือส่วนผสมการปรุงของแต่ละภูมิภาคท้องถิ่นไป ที่จังหวัดสุรินทร์ คนที่นั่นส่วนใหญ่ปลูกข้าวหอมมะลิไว้กินและขายเป็นหลัก ส่วนข้าวเหนียวก็นิยมปลูกเอาไว้กินและทำขนม อย่างข้าวเม่าด้วย ซึ่งเดิมมักทำกินในครัวเรือน ต่อมามีการพัฒนามาเป็นอาชี
เมื่อวันที่ 18 พฤศจิกายน นายอรรถพร สิงหวิชัย ผู้ว่าราชการจังหวัดสุรินทร์ เปิดเผยว่า ทางจังหวัดได้ ร่วมกับองค์การบริหารส่วนจังหวัดสุรินทร์ หน่วยงานภาครัฐ/เอกชน แลการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) กำหนดจัดกิจกรรม“รวมช้าง รวมใจ ไว้อาลัยพ่อหลวง” และกิจกรรมทำความดีเพื่อพ่อ (จัดอาหารเลี้ยงช้าง) ขึ้น ระหว่างวันที่ 18-20 พฤศจิกายน ที่บริเวณอนุสาวรีย์พระยาสุรินทร์ภัคดีศรีณรงค์จางวาง และสนามแสดงช้างจังหวัดสุรินทร์ เพื่อแสดงถึงความรัก ความอาลัย และสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณเป็นล้นพ้น และแสดงความกตัญญูที่มีต่อ พระบาทสมเด็จ พระปรมินทร มหาภูมิพลอดุลเดชฯ พระผู้เปี่ยมล้นด้วยเมตตา และความห่วงใยต่อพสกนิกรชาวไทยตลอดระยะเวลา 70ปี สำหรับวันที่ 18 พฤศจิกายน จัดขบวนต้อนรับช้างและเลี้ยงอาหารช้าง 160 เชือก และขบวนช้าง และประชาชนชาวสุรินทร์ “ร้อยดวงใจ ไว้อาลัยพ่อหลวง” โดยการตั้งขบวนคำพ่อสอน จำนวน 9 ขบวน ตั้งแต่เวลา 07.00 น. จากบริเวณหลังสถานีรถไฟสุรินทร์ ถึงบริเวณอนุสาวรีย์พระยาสุรินทร์ภัคดีศรีณรงค์จางวาง วันที่ 19-20 พฤศจิกายน จัดกิจกรรม “รวมช้าง รวมใจ ไว้อาลัยพ่อหลวง”ตั้งแต่เวลา 08.00 น. โดยมีองก์กา
นายอรรถพร สิงหวิชัย ผู้ว่าราชการจังหวัดสุรินทร์ เปิดเผยว่า ทางจังหวัดได้ ร่วมกับองค์การบริหารส่วนจังหวัดสุรินทร์ หน่วยงานภาครัฐ/เอกชน แลการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) กำหนดจัดกิจกรรม“รวมช้าง รวมใจ ไว้อาลัยพ่อหลวง” และกิจกรรมทำความดีเพื่อพ่อ(จัดอาหารเลี้ยงช้าง)ขึ้น ระหว่างวันที่ 17-20 พฤศจิกายน ที่บริเวณอนุสาวรีย์พระยาสุรินทร์ภัคดีศรีณรงค์จางวาง และสนามแสดงช้างจังหวัดสุรินทร์ เพื่อแสดงถึงความรัก ความอาลัย และสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณเป็นล้นพ้น และแสดงความกตัญญูที่มีต่อพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลเดชฯ พระผู้เปี่ยมล้นด้วยเมตตา และความห่วงใยต่อพสกนิกรชาวไทยตลอดระยะเวลา 70ปี สำหรับกิจกรรมครั้งนี้ เริ่มจากวันที่ 17 พฤศจิกายน จัดโต๊ะอาหารให้ช้าง ตั้งแต่เวลา 08.30น. ที่บริเวณอนุสาวรีย์พระยาสุรินทร์ภัคดีศรีณรงค์จางวาง และ จัดกิจกรรม “รวมช้าง รวมใจ ไว้อาลัยพ่อหลวง” เป็นการซ้อมเหมือนจริง (ซ้อมใหญ่) ตั้งแต่เวลา 08.00 น ที่สนามแสดงช้างจังหวัดสุรินทร์ วันที่ 18 พฤศจิกายน จัดขบวนต้อนรับช้างและเลี้ยงอาหารช้าง 160 เชือก และขบวนช้าง และประชาชนชาวสุรินทร์ “ร้อยดวงใจ ไว้อาลัยพ่อหลวง” โด
ชาวบ้าน-ทหาร ร่วมลงแขกเกี่ยวข้าวนาหนุ่มสุรินทร์ 16 ไร่ ที่ประกาศบริจาคส่งไปท้องสนามหลวงเพื่อหุงเลี้ยงประชาชนที่ไปสักการะพระบรมศพได้รับประทาน ทหารหน่วยพัฒนาการเคลื่อนที่ 54 นำทหารมาช่วยพร้อมขนไปตาก และสีนำ ขณะที่ชาวบ้านช่วยบริจาคข้าวเปลือกเพิ่มอีก รวมแล้วได้ข้าวกว่า 15 ตัน ถวายเป็นพระราชกุศลแด่ในหลวง ร.9 คาดแล้วเสร็จสัปดาห์หน้า กรณีนายสราวุธ อินทร์แพง อายุ 38 ปี บ้านเลขที่ 170 หมู่ 1 บ้านตาอ็อง ต.ตาอ็อง อ.เมือง จ.สุรินทร์ หนุ่มวัย 38 เจ้าของแปลงนาข้าวหอมมะลิ จำนวน 16 ไร่ ที่ประกาศมอบข้าวเปลือกหอมมะลิอินทรีย์ 16 ไร่ ประมาณ 10 ตัน บริจาคให้กับโรงทานที่ท้องสนามหลวง ถวายเป็นพระราชกุศลแด่ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช แต่ขาดเพียงกำลังคนที่จะมาร่วมเก็บเกี่ยวข้าว ตากข้าว โรงสีข้าว รถบรรทุกที่จะนำข้าวไปยังท้องสนามหลวง ตามที่เสนอข่าวไปแล้วนั้น อ่านข่าว หนุ่มสุรินทร์ขอมอบข้าวเปลือกหอมมะลิ 10 ตันให้โรงทานสนามหลวงถวายเป็นพระราชกุศล (คลิป) ความคืบหน้า เมื่อเวลา 10.00 น. วันที่ 6 พ.ย. พ.อ.เจษฎา ศรีหมอก ผู้บังคับหน่วยพัฒนาการเคลื่อนที่ 54 สำนักงานพัฒนาภาค 5 หน่วยบัญชาการทหารพัฒนา กองบัญชาการ
วันที่ 29 ต.ค. ผู้สื่อข่าวรายงานว่า จากกรณีที่เป็นที่วิพากษ์วิจารณ์อย่างกว้างขวาง ภายหลังราคาข้าวเปลือกตกต่ำอยู่ที่กิโลกรัมละ 5-6 บาท โรงสีจะรับซื้อข้าวเปลือกความชื้นไม่เกินร้อยละ 30 เฉลี่ยอยู่ที่ตันละ 6,000 กว่าบาท ส่วนข้าวเปลือกที่เปียกน้ำหรือปลอมปน ราคาจะอยู่ที่ตันละ 5,000 กว่าบาท ทำให้ชาวนาหลายคนจำเป็นต้องนำออกไปขาย เพื่อหาเงินมาใช้หนี้ครัวเรือน สร้างความเดือดร้อนให้กับชาวนาเป็นจำนวนมาก ก่อนมีคนนำไปล้อเลียนในโลกออนไลน์ทำนองว่า เรามาถึงจุดที่บะหมี่กึ่งสำเร็จรูปมีราคาแพงกว่าข้าวแล้ว จากสถานการณ์ที่เกิดขึ้น ทำให้นายเมธา ขอชัย ปลัด อบต.สะกาด อ.สังขะ จ.สุรินทร์ เร่งระดมความคิดเห็นจากกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ผู้นำชุมชน และคนหนุ่มสาว ในพื้นที่ เพื่อหาทางออกร่วมกันอย่างสร้างสรรค์ ได้ข้อสรุปว่า งดขายข้าวเปลือกให้กับโรงสีหรือพ่อค้าคนกลาง หันมาลงหุ้นรวมกลุ่มกันสีข้าวจากโรงสีชุมชนขนาดกลาง และนำไปขายกันเอง โดย อบต.ประกันราคาให้ กก. ละ 20 บาท ชาวบ้านขายนำไปขาย กก.ละ 27 บาท (มารับข้าวเอง) เป็นข้าวถุงขนาด 5 ก.ก. และขนาด 48 กก. ใช้ชื่อว่า “สะกาด ขวัญข้าว” สนับสนุนชาวนาโดยองค์การบริหารส่วนตำบลสะกาด อ.สังข
ชาวบ้านสุดทนถนน ประชด ปลูกต้นไม้ จับปลา พร้อมนำดอกไม้ ธูป-เทียน มาจุดกราบไหว้ กลางถนน เพื่อบอกเจ้าที่เจ้าทาง และภูตผี ปีศาจ รวมทั้งชาวบ้านที่เสียชีวิตจากการใช้ถนนเส้นนี้ ได้ช่วยไปเข้าฝันดลใจให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เร่งแก้ปัญหาให้ชาวบ้าน และบนหัวหมูอีก 100 หัว หากได้ถนนลาดยาง เมื่อวันที่ 8 ตุลาคม ผู้สื่อข่าวประจำ จ.สุรินทร์ ได้รับร้องเรียนการจากชาวบ้านสำโรง ต.หนองบัวทอง อ.รัตนบุรี จ.สุรินทร์ ว่า ถนนสาย ต.ไผ่ – ต.หนองบัวทอง อ.รัตนบุรี จ.สุรินทร์ ระยะทางประมาณ 7 กม. ซึ่งเป็นถนนดินลูกรังผสมหินคลุก มีสภาพเป็นหลุมเป็นบ่อมานานกว่า 10 ปี ยังไม่มีหน่วยงานไหนออกไปแก้ไข เคยร้องไปยัง นายก อบต.หนองบัวทอง หลายครั้งก็ยังเงียบเหมือนเดิม วอนสื่อลงพื้นที่นำเสนอข่าวจี้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งแก้ปัญหา ผู้สื่อข่าวรุดลงพื้นที่ สำรวจ ถนนสาย ต.ไผ่ – ต.หนองบัวทอง อ.รัตนบุรี จ.สุรินทร์ ตลอดระยะทางกว่า 7 กม. พบว่าถนน เป็นหลุมเป็นบ่อเหมือนโลกพระจันทร์ มีน้ำท่วมขัง บางจุดเป็นดินโคลน ขนาดรถขับเคลื่อนสี่ล้อ ยังสัญจรไปมาลำบาก ขณะที่กลุ่มชาวบ้านต่างพากันประชดโดยการนำต้นไม้มาปลูกกลางถนน เอาสุ่มมาวิ่งไล่จับปลาในแอ่งน้
วันที่ 27 กันยายน ผู้สื่อข่าวรายงานถึง บรรยากาศช่วงวัน “แซนโฎนตา” หรือ “สารทเขมร” พบว่าประชาชนชาว จ.สุรินทร์ เชื้อสายเขมร ต่างออกมาเดินจับจ่ายซื้อข้าวของกันเป็นจำนวนมาก ส่งผลให้บริเวณหน้าตลาดสดเทศบาลเมืองสุรินทร์ สภาพการจราจรคับคั่งเป็นอย่างมาก เนื่องจากเป็นวันจับจ่ายซื้อของสำหรับเซ่นไหว้ โดยเฉพาะชาวสุรินทร์ เชื้อสายเขมร ที่เดินทางไปทำงานต่างถิ่นทั่วประเทศ และต่างประเทศ จะเดินทางกลับบ้าน และจับจ่ายซื้อ กระยาสารท ขนมนางเล็ด ขนมเทียน ข้าวต้มมัด ทั้งไส้กล้วย และไส้หมู เพื่อเป็นของเซ่นไหว้บรรพบุรุษ ทำให้เงินสะพัดเป็นอย่างมาก คุณยายนิด สมพลจิตร อายุ 63 ปี ชาวบ้าน ม.4 ต.สำโรง อ.เมือง จ.สุรินทร์ กล่าวว่า มาซื้อของสำหรับแซนโฎนตา ขนม นมเนย และผลไม้แทบทุกอย่าง ไก่ หมู และอื่นๆอีกมากมาย ที่ขาดไม่ได้คือ กระยาสารท นางเล็ด เพื่อเป็นของเซ่นไหว้บรรพบุรุษ ตนเตรียมเงินมาจับจ่ายประมาณ 4,000-5,000 บาท ซื้อข้าวสารเหนียว ข้าวสารเจ้า เอาไปห่อข้าวต้มกล้วย ทำเป็นประจำทุกๆปี ถือเป็นประเพณีสำคัญของคนสุรินทร์ เชื้อสายเขมร ที่สืบต่อกันมาหลายชั่วอายุคนแล้ว ปีนี้ พิธีแซนโฎนตา ตรงกับวันที่ 30 ก.ย. 59 ส่วนวันที่ 28