ส่งออกข้าว
สมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย ปรับลดเป้าส่งออกข้าวปีนี้ลงไม่เกิน 9 ล้านตัน ชี้ ปัญหาภัยแล้งหากรุนแรง คาดจะกระทบผลผลิตในภาพรวม และมีโอกาสฉุดราคาข้าวหอมมะลิให้มีราคาสูงขึ้นเป็น 36,000 บาทต่อตัน ส่งผลกระทบการส่งออกข้าวในภาพรวมของไทยหืดขึ้นคอแข่งยากในตลาดโลก หั่นส่งออกข้าวปีนี้ไม่ถึง 9 ล้านตัน – นายเจริญ เหล่าธรรมทัศน์ นายกสมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย เปิดเผยสถานการณ์การส่งออกข้าวไทยเดือน มิ.ย. 2562 ว่า ไทยส่งออกข้าวปริมาณ 5.78 แสนตัน ต่ำสุดในรอบปีตั้งแต่ปี 2554 ซึ่งเป็นปีที่การส่งออกข้าวตกต่ำที่สุด ส่งผลให้ช่วงครึ่งแรกไทยสามารถส่งออกข้าวได้เพียง 4.36 ล้านตัน ลดลง 19.6% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ดังนั้น สมาคมจึงปรับลดคาดการณ์ส่งออกข้าวปี 2562 ลง จากเดิมตั้งเป้าไว้ที่ 9.5 ล้านตัน ลดเหลือไม่เกิน 9 ล้านตัน คิดเป็นมูลค่าประมาณ 4,700 ล้านเหรียญสหรัฐ ส่วนสถานการณ์ภัยแล้งในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ประเมินหากสถานการณ์ภัยแล้งปีนี้มีความรุนแรงคาดว่าจะกระทบต่อผลผลิตข้าวในภาพรวม ซึ่งกรณีร้ายแรงสุดหากฝนไม่ตกในเดือนส.ค. จะส่งผลกระทบต่อผลผลิตข้าวหอมมะลิลดลงเหลือ 4-4.5 ล้านตัน หรือหายออกจากตลาดประมาณ 40-50%
เรียน คุณหมอเกษตร ทองกวาว ที่นับถือ ผมอยากทราบว่า เพราะเหตุใด ญี่ปุ่นจึงสามารถปลูกข้าวได้สูงในระดับต้นๆ ของโลก ผมเคยอ่านหนังสือทำให้ทราบว่า ญี่ปุ่น เคยเป็นลูกค้านำเข้าข้าวจากไทยมาก่อน แต่ปัจจุบันเขาผลิตได้เกินความต้องการแล้ว ช่วยกรุณาอธิบายด้วยครับ ด้วยความเคารพอย่างสูง พิเชษฐ์ วิวัฒน์พงษ์ Photo by Behrouz MEHRI / AFP ตอบ คุณพิเชษฐ์ วิวัฒน์พงษ์ ญี่ปุ่น เร่งพัฒนาระบบการทำนาอย่างจริงจัง หลังจากสงครามโลกครั้งที่สองยุติลง ด้วยความช่วยเหลือจากสหรัฐอเมริกา ในธรรมชาติ ญี่ปุ่นตั้งอยู่ในเขตอบอุ่น ผลผลิตของพืชจะสูงกว่าในเขตร้อน สาเหตุจากอุณหภูมิกลางวันกับกลางคืนมีความแตกต่างกันหลายองศา ซึ่งในฤดูร้อนมีแสงแดดจ้า การสังเคราะห์แสงดำเนินไปเต็มประสิทธิภาพ การสะสมแป้งและน้ำตาลในอัตราที่สูง แต่พอตกกลางคืนอากาศเย็นลง การนำแป้งและน้ำตาลไปใช้ในกระบวนการหายใจจึงอยู่ในอัตราที่ต่ำ ส่งผลให้กระบวนการสะสมอาหารได้มากกว่าในเขตร้อนตามที่กล่าวมาแล้ว อีกปัจจัยหนึ่งรัฐบาลจัดสรรที่ดินให้เกษตรกรถือครองที่ดิน รายละ 1 เฮกเตอร์ หรือ 6.25 ไร่ เท่านั้น การทำนาของญี่ปุ่นจึงประณีตมากเป็นพิเศษ เนื่องจากญี่ปุ่นมีอากาศร้อน
ส่งออกข้าวเดือนก.พ. ลด สาเหตุราคาข้าวของไทยสูงกว่าประเทศคู่แข่งที่สำคัญโดยเฉพาะเวียดนามถึง 40-50 เหรียญสหรัฐ จึงทำให้ผู้ซื้อบางส่วนโดยเฉพาะในแถบเอเชีย เช่น ฟิลิปปินส์ มาเลเซีย หันไปซื้อข้าวจากเวียดนามมากขึ้น ส่งออกข้าวก.พ. วูบ 27.7% – นายเจริญ เหล่าธรรมทัศน์ นายกสมาคมผู้ส่งออกข้าว กล่าวว่า การส่งออกข้าวในเดือนก.พ. 2562 มีปริมาณ 687,560 ตัน มูลค่า 11,694 ล้านบาท โดยปริมาณส่งออกลดลง 27.7% และมูลค่าลดลง 23.5% เมื่อเทียบกับเดือนม.ค. 2562 ที่ส่งออกปริมาณ 951,700 ตัน มูลค่า 15,286 ล้านบาท เนื่องจากการส่งออกข้าวทุกชนิดมีปริมาณลดลงจากเดือนม.ค. โดยในเดือนก.พ. มีการส่งออกข้าวขาว 326,029 ตัน ลดลง 40.7% เมื่อเทียบกับเดือนก่อน โดยส่วนใหญ่ส่งไปยังประเทศฟิลิปปินส์ โมซัมบิก แองโกล่า แคเมอรูน เคนยา มาเลเซีย เป็นต้น ส่วนการส่งออกข้าวนึ่งมีปริมาณ 194,902 ตัน ลดลง 13.8% เมื่อเทียบกับเดือนก่อน โดยส่วนใหญ่ส่งไปยังตลาดในแอฟริกา เช่น เบนิน แอฟริกาใต้ เยเมน แคเมอรูน เป็นต้น ขณะที่การส่งออกข้าวหอมมะลิ (ต้นข้าว) มีปริมาณ 99,147 ตัน ลดลง 6.2% เมื่อเทียบกับเดือนก่อน โดยตลาดหลักยังคงเป็นประเทศสหรัฐอเมริกา ฮ่องกง แค
ส.ส่งออกข้าวมั่นใจ ปี′59 ส่งออกได้ 10 ล้านตัน ทะลุเป้าหมายที่วางไว้ 9.5 ล้านตัน ผลจากราคาข้าวหอมลงดันยอดส่งออกข้าวหอมมะลิมากขึ้น เผยเป้าส่งออกปี′60 ดีต่อเนื่องได้ 10 ล้านตัน ร.ต.ท. เจริญ เหล่าธรรมทัศน์ นายกสมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย กล่าวว่า การส่งออกข้าวในปี 2560 คาดการณ์ว่าการส่งออกข้าวไทยจะเกินจากเป้าหมายที่ตั้งไว้ 9.5 ล้านตัน อยู่ที่ 10 ล้านตัน ส่วนในปี 2559 คาดว่าจะส่งออกได้ 10 ล้านตัน เกินจากเป้าหมายที่วางไว้ 9.5 ล้านตัน หากการส่งออกข้าวในเดือนธันวาคม 2559 สามารถส่งออกข้าวเฉลี่ยอยู่ที่ 800,000 ตัน รวมกับยอดการส่งออกข้าว 11 เดือนแรกของปีเฉลี่ยมากกว่า 9 ล้านตันแล้ว “เหตุที่การส่งออกสูงกว่าเป้าหมาย เป็นผลจากการส่งออกข้าวหอมมะลิเพิ่มถึง 20% ในเดือนที่ผ่านมาอยู่ที่ 1.2 แสนตัน จากปกติ 90,000 ตัน จึงมีความมั่นใจว่าการส่งออกทั้งปีของไทยส่งออกจะได้ 10 ล้านตัน ส่วนจะกลับมาเป็นอันดับ 1 ของการส่งออกข้าวของโลกอาจจะต้องติดตามการส่งออกข้าวของอินเดียเป็นปัจจัยสำคัญ” สำหรับการส่งออกข้าวหอมมะลิที่ปรับเพิ่มขึ้นนั้น เป็นผลมาจาการความต้องการข้าวในตลาดที่ช่วงต้นปีเป็นช่วงตรุษจีน ทำให้ผู้นำเข้