ส่งออกไทย
สงครามรัสเซีย-ยูเครน ฉุดส่งออก รถยนต์ไทย ปี 65 คาด ติดลบ 6-11% ศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาดว่า ปริมาณการส่งออกรถยนต์ไทยในปี 2565 นี้มีแนวโน้มลดลงมาอยู่ระหว่าง 850,000 ถึง 900,000 คัน หรือ -6.0% ถึง -11.0% (YoY) โดยโอกาสที่จะช่วยพยุงตัวเลขส่งออกในปีนี้ ขึ้นอยู่กับสถานการณ์สงครามรัสเซีย-ยูเครน และความรวดเร็วที่มาตรการคว่ำบาตรต่างๆ จะยุติลง รวมถึงค่ายรถหน้าใหม่ในไทยอย่างจีนจะสามารถส่งออกตามแผนที่เคยวางไว้หรือไม่ อยากให้ตามมาวิเคราะห์ด้วยกัน ดังนี้ สงครามรัสเซีย-ยูเครน ได้สร้างผลกระทบต่ออุตสาหกรรมรถยนต์โลกเป็นวงกว้าง ทั้งจากการซ้ำเติมปัญหาการขาดแคลนชิ้นส่วนรถยนต์ที่มีอยู่เดิม จากการที่รัสเซียและยูเครนเป็นผู้ผลิตวัตถุดิบหลายตัวสำหรับการผลิตชิปอิเล็กทรอนิกส์และแบตเตอรี่รถยนต์ไฟฟ้า แต่หลังจากที่รัสเซียโดนคว่ำบาตร และได้มีการตอบโต้ด้วยการงดส่งออกสินค้าต่างๆ โดยเฉพาะสินค้าโภคภัณฑ์อย่างน้ำมัน ก๊าซธรรมชาติ แร่ต่างๆ และสินค้าเกษตรหลายรายการ ทำให้หลายประเทศทั่วโลกเกิดปัญหาเงินเฟ้อสูงขึ้น ส่งผลให้กำลังซื้อผู้บริโภคลดลง และสินค้ารถยนต์ก็จัดอยู่ในกลุ่มสินค้าฟุ่มเฟือยราคาสูงจึงเป็นสินค้ากลุ่มแรกๆ ที่จะได้รับ
เปิดตัวเลขส่งออก เดือน ก.ค. แรงทุบสถิติ 11 ปี คาดปี 64 ขยายตัว 12.4% ตัวเลขการส่งออกไทยเดือน ก.ค. ยังคงขยายตัวแข็งแกร่งต่อเนื่องที่ 20.27% จากช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ซึ่งสูงสุดในรอบ 11 ปี และสูงกว่าตลาดคาดการณ์ที่ 19.7% โดยใน 7 เดือนแรกของปี 64 ตัวเลขส่งออกไทยขยายตัว 16.2% ซึ่งเป็นไปในทิศทางเดียวกับตลาดในภูมิภาค แต่ระดับของการเติบโตยังคงต่ำกว่าประเทศอื่นๆ ที่ขยายตัวมากกว่า 20% ทั้งนี้ เมื่อหักสินค้าเกี่ยวเนื่องกับน้ำมัน ทองคำ และอาวุธยุทธปัจจัย การส่งออกใน 7 เดือนแรกของปีขยายตัวได้ที่ 21.47% สะท้อนภาคเศรษฐกิจจริงที่เติบโตอย่างชัดเจน ทั้งนี้ กิจกรรมทางเศรษฐกิจของหลายประเทศคู่ค้าสำคัญของไทยที่กลับสู่ภาวะปกติจากอัตราการฉีดวัคซีนที่รวดเร็วหนุนให้การส่งออกของไทยในเดือน ก.ค. เติบโตแข็งแกร่งในเกือบทุกตลาด โดยเฉพาะการส่งออกไปสหรัฐฯ (+22.2%) และสหภาพยุโรป 28 (+20.4%) สำหรับในฝั่งเอเชีย การส่งออกไปจีนขยายตัวถึง 41.0% และการส่งออกไปญี่ปุ่นขยายตัวที่ 23.3% เมื่อพิจารณารายสินค้าพบว่า สินค้าส่งออกหลักยังคงเป็นสินค้าที่เกี่ยวข้องกับภาคเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตร เช่น ผัก ผลไม้สด แช่เย็น แช่แข็ง กระป๋องแ
EXIM BANK เสริมวัคซีน 4 เข็ม ให้นักรบส่งออกไทย โดยเฉพาะ SMEs วันที่ 13 ส.ค. 2564 ดร.กีรติ รัชโน อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ และกรรมการ ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย (EXIM BANK) กล่าวเปิดงาน “EXIM One Solution Forum” ในหัวข้อ “วัคซีนประกันการส่งออก (Export Credit Insurance : ECI) ส่งออกมั่นใจ ยังไงก็ไม่โดนเท” ว่า ในครึ่งหลังของปี 2564 ภาคการส่งออกไทยคือพระเอกขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทย หน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชนต้องร่วมมือกันส่งเสริมผู้ส่งออกไทย ทั้งเรื่องการตลาด การเสริมความรู้ โดยเฉพาะ SMEs ซึ่งมีฐานทุนน้อยและเปราะบางต่อความเสี่ยงทางธุรกิจมากกว่า ประกอบกับโควิด-19 ส่งผลกระทบให้หลายกิจการทั่วโลกประสบปัญหาขาดสภาพคล่อง หากผู้ส่งออกไทยค้าขายกับคู่ค้าเหล่านี้ ก็มีความเสี่ยงที่จะไม่ได้รับชำระเงินค่าสินค้า “ประกันการส่งออก” จึงเป็นเครื่องมือบริหารความเสี่ยงทางการค้าระหว่างประเทศ เพื่อคุ้มครองผู้ส่งออกจากการไม่ได้รับชำระเงินค่าสินค้าจนขาดสภาพคล่องธุรกิจ หรืออาจถึงขั้นต้องปิดกิจการ ดร.รักษ์ วรกิจโภคาทร กรรมการผู้จัดการ EXIM BANK กล่าวว่า ในปีนี้เครื่องยนต์ที่น่าจะทำงานได้ด
“จุรินทร์” เผย ส่งออก มิ.ย. ทำ “นิวไฮ ใหม่” ในรอบ 11 ปี +43.82% เร่งเครื่องครึ่งปีหลัง จัดหนักกว่า 130 กิจกรรม ทำยอดขายล่วงหน้าแล้วกว่า 20,000 ล้านบาท วันที่ 23 ก.ค. 2564 นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ กล่าวว่า ตัวเลขการส่งออกเดือนมิถุนายน 2564 มูลค่าการส่งออกในเดือนมิถุนายน มีมูลค่า 23,699.43 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือคิดเป็นเงินไทย 738,135.34 ล้านบาท ขยายตัวมากถึง 43.82% ซึ่งถือว่าเป็นนิวไฮใหม่ ที่สูงสุดในรอบ 11 ปี สินค้าสำคัญที่มีอัตราการขยายตัวสูง 1. ผลไม้ ขยายตัว 185.10% 2. อัญมณีและเครื่องประดับ ด้วยมูลค่าขยายตัว 90.48% 3. รถยนต์และอุปกรณ์ชิ้นส่วนยานยนต์ ขยายตัว 78.5% 4. เครื่องจักรกล ขยายตัว 73.13% และ 5. เคมีภัณฑ์ ขยายตัว 59.82% เป็นต้น สำหรับผลไม้ที่ขยายตัวสูงสุดถึง 185.10% เป็น ทุเรียน ขยายตัวถึง 172% มังคุด ขยายตัว 488.26% เป็นต้น ในหมวดสินค้าต่างๆ นั้นสินค้าด้านการเกษตรยังมีอัตราการขยายตัวที่สูงมากถึง 59.8% และมีอัตราการขยายตัวสูงสุดในรอบ 10 ปี สามารถทำรายได้เข้าประเทศถึง 71,473.5 ล้านบาท ถือเป็นการขยา
รู้หรือไม่ สินค้าไทยชนิดใด ขนส่งผ่านคลองสุเอซ เส้นทางลัด เชื่อมเอเชียกับยุโรป อย่างที่ทราบกันดีว่า เส้นทางขนส่งสินค้าผ่านคลองสุเอซ เป็นเส้นทางลัดในการขนส่งสินค้าระหว่างฝั่งเอเชียกับยุโรป ช่วยทั้งประหยัดต้นทุนค่าน้ำมัน และย่นย่อระยะเวลาการขนส่งระหว่างสองภูมิภาค ซึ่งสถานการณ์เรือขนส่งสินค้า Ever Given ที่ติดขวางอยู่ที่คลองสุเอซย่อมมีผลต่อการค้าโลก แม้ ณ ตอนนี้ จะเริ่มกลับมาลอยลำได้แล้ว ตลาดยุโรป เป็นตลาดส่งออกหลักของไทยที่ใช้เส้นทางผ่านคลองสุเอซ ปัจจุบันไทยส่งสินค้าไปยุโรปปีละไม่น้อยกว่า 2 หมื่นล้านดอลลาร์ สัดส่วนประมาณ 9% ของการส่งออกทั้งหมดของไทย และเป็นตลาดส่งออกหลักอันดับ 4 ของไทย เป็นรองเพียงสหรัฐฯ จีน และญี่ปุ่น ตามลำดับ โดยในแต่ละเดือน สินค้าไทยส่งไปมีมูลค่าประมาณ 1,500-2,000 ล้านดอลลาร์ โดยมีประเภทสินค้าส่งออกที่ส่งไปยุโรปผ่านเส้นทางการค้าที่สำคัญแห่งหนึ่งของโลก ดังนี้ – สินค้าอาหารสด ที่อ่อนไหวต่อระยะเวลาขนส่ง มีเพียงไก่แปรรูปของไทย ที่ส่งออกในรูปแช่เย็นแช่แข็งและพึ่งพาตลาดยุโรปอย่างมากถึง 30% ของการส่งออกไก่แปรรูปทั้งหมดของไทย ในแต่ละเดือนมีมูลค่าส่งออกไปยุโรปราว 50 ล้าน
วิกฤตโควิด-19…บททดสอบภูมิต้านทานการส่งออกของไทย ผ่านมาแล้วครึ่งทางสำหรับปี 2563 ที่เต็มไปด้วยความยากลำบากสำหรับผู้ประกอบการไทยหลังต้องเผชิญกับสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ที่ฉุดรั้งให้เศรษฐกิจโลกและเศรษฐกิจไทยปีนี้มีแนวโน้ม หดตัวสูงสุดในรอบหลายทศวรรรษ แม้ล่าสุดสถานการณ์การแพร่ระบาดในประเทศไทยจะสามารถควบคุมได้ดีจากความร่วมมือของทุกภาคส่วน ส่งผลให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจและอุปสงค์ในประเทศโดยเฉพาะการบริโภคเริ่มมีสัญญาณกระเตื้องขึ้น แต่สถานการณ์ในหลายประเทศทั่วโลกที่ยังวิกฤตจากจำนวนผู้ป่วยใหม่รายวันที่ทำสถิติสูงสุด ส่งผลให้อุปสงค์จากต่างประเทศที่เคยเป็นเส้นเลือดใหญ่ในการหล่อเลี้ยงเศรษฐกิจไทยยังอยู่ในภาวะอ่อนแรงลงต่อเนื่อง สะท้อนได้จากมูลค่าส่งออกล่าสุดในเดือนพฤษภาคม 2563 ที่หดตัวถึง 22.5% ต่ำสุดในรอบกว่า 10 ปี ผลักดันให้การส่งออก 5 เดือนแรกปี 2563 หดตัว 3.7% ทั้งนี้ หากพิจารณาจากตัวเลขส่งออกในช่วง 3 ปีที่ผ่านมาและ 5 เดือนแรกปี 2563 ที่โควิด-19 ระบาดอย่างหนัก สามารถแบ่งกลุ่มสินค้าส่งออกของไทยได้ “5 กลุ่มอาการ” ดังนี้ กลุ่มแข็งแรง มีภูมิต้านทานสูง คือ กลุ่มสินค้าที่การส่งออกขยายตัวได้ดีต่อเนื
มหาวิทยาลัยหอการค้าไทยคาดส่งออกไทยปี’62 หดตัว -0.64% ติดลบในรอบ 4 ปี พิษสงครามการค้า คาดส่งออกปี’62 หดตัวรอบ4ปี – นายอัทธ์ พิศาลวานิช ผู้อำนวยการศูนย์ศึกษาการค้าระหว่างประเทศ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย กล่าวว่า ศูนย์ได้ทำการวิเคราะห์ทิศทางการส่งออกไทยปี 2562 และการส่งออกไทยครึ่งหลังของปี 2562 โดยคาดว่ามูลค่าการส่งออกทั้งปี 2562 ของไทย จะมีมูลค่าเท่ากับ 251,338 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือหดตัว -0.64% ซึ่งเป็นการหดตัวครั้งแรกในรอบ 4 ปี อย่างไรก็ตาม ในครึ่งหลังของปี 2562 คาดว่ามูลค่าการส่งออกจะสามารถขยายตัวได้ 1.6% มีมูลค่าการส่งออกเท่ากับ 128,367 ล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยหากจะให้การส่งออกในปีนี้ไม่ติดลบหรือเติบโตในระดับ 0% นั้นจะต้องทำให้มูลค่าการส่งออกของไทยที่เหลือแต่ละเดือนมีมูลค่าไม่ต่ำกว่า 21,664 ล้านดอลลาร์สหรัฐหรือประมาณ 670,000 ล้านบาท คิดเป็น 2.9% ต่อเดือน อย่างไรก็ตาม การส่งออกของไทยในช่วงครึ่งหลังของปี 2562 ยังคงมีปัจจัยเสี่ยงและประเด็นที่ต้องติดตาม เช่น ทิศทางเศรษฐกิจโลกที่มีแนวโน้มชะลอลงจากสงครามการค้าจีนและสหรัฐที่ยังยืดเยื้อ ด้านค่าเงินบาทที่มีแนวโน้มแข็งค่าขึ้นต่อเนื่อง คาดเคลื่อนไหวอย