หนังสือ
ไทยประกันชีวิต Read For Life ส่งมอบความรู้สู่ชุมชน ปีที่ 2 คัดหนังสือเด็ด จาก สนพ.มติชน ส่งมอบชุมชน ยกระดับคุณภาพชีวิตคนไทย เมื่อวันที่ 18 เมษายน 2566 ที่อาคารสำนักงาน บริษัท มติชน จำกัด (มหาชน) ได้มีพิธีส่งมอบหนังสือ แก่โครงการ “ไทยประกันชีวิต Read For Life ส่งมอบความรู้สู่ชุมชน” ปี 2566 เพื่อนำไปมอบให้แก่ชุมชนในพื้นที่ใกล้เคียงสาขา 60 แห่งทั่วประเทศ โดยมี นางสาวปานบัว บุนปาน กรรมการผู้จัดการ บริษัท มติชน จำกัด (มหาชน) และ คณะทีมผู้บริหาร ประกอบด้วย นายสุริวงค์ เอื้อปฏิภาน รองกรรมการผู้จัดการระบบสื่อออนไลน์ และ บรรณาธิการ นสพ.ข่าวสด นางสาวสุดารัตน์ วันเพ็ญ รองกรรมการผู้จัดการสายการตลาดและโฆษณา นายศรวิษฐ์ บุญเกื้อ ผู้อำนวยการใหญ่ฝ่ายโฆษณา นายจำลอง ดอกปิก บรรณาธิการ นสพ.มติชน นางสาวดิษนีย์ นาคเจริญ บรรณาธิการ นสพ.ประชาชาติธุรกิจ นายสุวพงศ์ จั่นฝังเพ็ชร บรรณาธิการ นิตยสารมติชนสุดสัปดาห์ นายชลิต กิติญาณทรัพย์ ประธานที่ปรึกษาและรักษาการกรรมการผู้จัดการ บริษัท งานดี จำกัด ได้ร่วมส่งมอบหนังสือเล่ม (Pocket Book) และนิตยสาร ซึ่งจัดซื้อเป็นมูลค่ารวม 800,000 บาท ให้ นายไชย ไชยวรรณ กรรมการและประธ
“หรีดหนังสือ” โครงการส่งต่อโอกาส คนเป็นได้อ่าน คนตายได้บุญ ทุกวันนี้ ยังมีเด็กด้อยโอกาส หรือคนยากไร้ที่อยากได้รับการสนับสนุน ไม่ใช่แค่ปัจจัย 4 ที่ยังต้องการ แต่คนเหล่านี้ยังต้องการโอกาสทางการศึกษา หรือหนังสือดีๆ สักเล่มไว้อ่านเป็นแรงบันดาลใจให้กับตัวเอง โชคดีไม่น้อยที่ยังมีคนหยิบยื่นโอกาสผ่านหลายช่องทาง “โครงการหรีดหนังสือ” เป็นหนึ่งในโอกาสที่เด็กๆ จะได้อ่านหนังสือ คุณเด่นชัย บูรณเกียรติศักดิ์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท สองขุน จำกัด และเจ้าของร้านดอกไม้ Le bouquet2u (เลอบูเก้ทูยู) เล่าด้วยน้ำเสียงเป็นกันเองว่า หรีดหนังสือเป็นความตั้งใจของตนกับภรรยาที่เริ่มคิดค้นกันมานาน 3-4 ปี กระทั่งมีโครงการในโลกออนไลน์ซึ่งตรงกับแนวคิดของตัวเอง จึงลงชื่อร่วมโครงการ จนเวลาผ่านไป 2 ปี ถึงมีคนติดต่อกลับชวนมาร่วมโครงการหรีดหนังสือ “ผมอยู่ในวงการทำธุรกิจเกี่ยวกับความตายอยู่แล้ว คือ เปิดร้านจัดดอกไม้ และทำบริษัทอีเว้นต์ ซึ่งรับจัดงานอวมงคลเป็นส่วนใหญ่ บวกกับตัวผมและภรรยาอยากทำอะไรสักอย่างที่เป็นประโยชน์กับสังคม กับประเทศ กับเด็ก เพราะผมเป็นคนรักหนังสือมากเลยอยากให้คนยากไร้ได้อ่านหนังสือดีสักเล่ม” ในตอนแรกคุณเ
ผู้สื่อข่าวรายงานว่าในวันนี้ที่ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ที่กำลังมีการจัดงานมหกรรมหนังสือระดับชาติ ครั้งที่ 21 มีประชาชนจำนวนมากไปหาซื้อหนังสือที่มีเนื้อหาและเรื่องราวเกี่ยวกับพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในพระบรมโกศที่สำนักพิมพ์ต่างๆนำมาจำหน่าย โดยผู้ที่มาซื้อหลายรายบอกตรงกันว่าต้องการเก็บไว้เพื่อรำลึกถึงพระองค์ท่าน ขณะที่บางคนก็บอกว่าความจริงก็มีหนังสื่อเหล่านั้นอยู่แล้ว แต่ตั้งใจมาซื้อเล่มใหม่เพื่อเก็บไว้ให้ลูกอ่าน ทั้งนี้ในส่วนบูธสำนักพิมพ์มติชนนั้น เรื่อง ‘รอยพระยุคลบาท’ โดยพล.ต.อ.วสิษฐ เดชกุญชร , ‘ใต้เบื้องพระยุคลบาท’โดยดร.สุเมธ ตันติเวชกุล และ ‘ดวงใจแผ่นดิน’ โดยท่านผู้หญิงบุตรี วีระไวทยะ เป็นเรื่องที่ถูกถามถึงมาก ขณะที่บูธนายอินทร์ของเครือสำนักพิมพ์อมรินทร์ก็มีคนถามหาหนังสือพระราชนิพนธ์ของพระองค์ท่าน และที่บูธสำนักพิมพ์สกายบุ๊กส์ หนังสือเกี่ยวกับพระองค์ท่านก็เป็นที่ต้องการของประชาชนเช่นกัน ที่มา : มติชนออนไลน์
‘หนังสือ’ นอกจากบรรจุตัวอักษรที่เต็มไปด้วยเรื่องราวมากมายแล้ว สำหรับหลายคน ‘หนังสือ’ ยังเต็มไปด้วยความทรงจำที่ควรค่าแก่การเก็บรักษา แต่ด้วยข้อจำกัดเรื่องความคงทนของกระดาษ ทำให้หนังสือส่วนมากมักเสียหายและชำรุดไปตามกาลเวลา และเมื่อหนังสือเสียหาย การหาซื้อหนังสือเล่มใหม่ก็ไม่อาจทดแทนความทรงจำและเรื่องราวที่มีต่อหนังสือเล่มเก่าได้ จนเมื่อมีการเกิดขึ้นของร้านซ่อมหนังสือ ที่มีอยู่ไม่กี่แห่งในประเทศไทย ทำให้หนังสือที่เสียหาย สามารถกลับคืนมาสู่สภาพเดิมได้ ผู้คนที่รักหนังสืออาจรู้จักและเรียกเขาว่า “หมอรักษาหนังสือ” แต่จากการได้พูดคุยกับ พี่กุ๊ก ภัทรพล ฉัตรชลาวิไล เจ้าของร้านซ่อมหนังสือ Book Clinic การนิยามให้เขาเป็น “นักรักษาความทรงจำ” ก็คงไม่เกินเลยจากความจริงเท่าใดนัก หลังเสร็จสิ้น การปรับปรุงบ้านขนานใหญ่ พี่กุ๊ก ยินดีเปิดโฮมออฟฟิศ ให้ข่าวสดออนไลน์ ได้พูดคุยบางแง่มุมของคนซ่อมหนังสือ พี่กุ๊ก เริ่มเล่าว่า จุดเริ่มต้นของการทำร้านซ่อมหนังสือ มาจากได้ทำงานร้านถ่ายเอกสาร เข้าเล่มหนังสือ ตอนหลังมีลูกค้าเอาหนังสือมาให้ซ่อม เพราะชอบที่ตนเย็บหนังสือได้ดี เมื่อทำแล้วผลงานออกมาดี เป็นเหมือนจุดเริ่มต้นให
ทราบ แต่ว่าหอสมุดเมืองแห่งนี้เป็นหนึ่งในพันธกิจของการเป็น “เมืองหนังสือโลกปี 2556” สืบเนื่องจากการที่กรุงเทพมหานครได้รับเลือกโดยองค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (UNESCO) ให้เป็น “เมืองหนังสือโลก ประจำปี 2556” (World Book Capital 2013) และหนึ่งในพันธกิจสำคัญที่กรุงเทพมหานครเร่งดำเนินงานให้เกิดขึ้นเป็นรูปธรรมในอนาคตอันใกล้นี้ คือ โครงการจัดสร้างหอสมุดเมือง กรุงเทพมหานคร ณ บริเวณสี่แยกคอกวัว ถนนราชดำเนิน เพื่อให้เป็นศูนย์ข้อมูลและแหล่งการเรียนรู้แห่งใหม่ของชาวกรุงเทพมหานคร เดิม กทม. ได้เสนอยูเนสโกว่าจะปรับปรุงศาลาว่าการ กทม. 1 เสาชิงช้าให้เป็นหอสมุดประจำเมือง และพิพิธภัณฑ์การ์ตูนไทย โดยตั้งเป้าหมายให้คนอ่านหนังสือเพิ่มประมาณ 10-20 เล่มต่อปีภายในปี 2556 จากเดิมที่ปัจจุบันคนอ่านหนังสือเพียง 5 เล่มต่อปีเท่านั้น แต่เนื่องจากยังไม่มีกำหนดจะย้ายศาลาว่าการ กทม. 1 ไปยัง ศาลาว่าการ กทม. 2 ดินแดงเมื่อใด จึงต้องเช่าพื้นที่อาคารสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์บริเวณสี่แยกคอกวัว ถนนราชดำเนิน เพื่อจัดตั้งหอสมุดเมือง ในระยะเวลา 30 ปี อาคารดังกล่าวมี 3 ชั้น พื้นที่ใช้สอยประมาณ 4,