หมอยง
ผู้ที่หายป่วยจาก โควิด-19 จำเป็นที่จะต้องให้วัคซีนหรือไม่ วันที่ 19 พ.ค. 2564 ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้โพสต์ผ่านเฟซบุ๊ก “Yong Poovorawan” โดยระบุว่า “ในปัจจุบันทราบกันดีอยู่แล้วว่า โรคโควิด-19 เมื่อหายแล้วสามารถเป็นกลับซ้ำได้อีก ส่วนใหญ่จะเป็นหลัง 3 เดือนไปแล้ว ผู้ที่เป็น COVID-19 แล้วจึงมีคำแนะนำให้ฉีดวัคซีน หลัง 3 เดือนไปแล้ว จากการศึกษาเบื้องต้นที่ลงพิมพ์ในวารสาร Nature Medicine พบว่า การให้วัคซีนในผู้ที่หายป่วยจาก COVID-19 แล้ว การให้เพียงครั้งเดียวจะมีระดับภูมิต้านทานกระตุ้นได้สูงเท่ากับคนธรรมดาที่ไม่เคยป่วยและให้วัคซีนครบ 2 ครั้ง ผู้ที่หายป่วย ควรได้รับวัคซีนหลังจาก 3 เดือนนับจากการติดเชื้อ ส่วนจะให้ 1 ครั้ง หรือ 2 ครั้ง ยังไม่ได้สรุปออกมาชัดเจน แต่เป็นที่ทราบแน่ชัดว่าภูมิต้านทาน ของผู้ที่หายป่วยแล้วจะเริ่มลดลงหลัง 6 เดือนและลดลงไปเรื่อยๆ ทางศูนย์ที่ดูแลอยู่ ขณะนี้ทำการศึกษาในผู้ที่หายป่วยในช่วง 3-6 เดือนจะให้วัคซีนกระตุ้น 1 ครั้ง และผู้ที่หายป่วยเกินกว่า 6 เดือนหรือเป็นปีแล้ว
นพ.ยง ชี้ วัคซีนโควิด ได้เร็วเท่าไหร่ เศรษฐกิจฟื้นเร็วเท่านั้น ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์เฟซบุ๊ก ระบุว่า โควิด-19 วัคซีนกับการฟื้นฟูเศรษฐกิจ ผลกระทบการฉีดวัคซีนในวงกว้างในหลายประเทศที่ได้ฉีดวัคซีนเป็นจำนวนมากให้กับประชากรเห็นผลกระทบในวงกว้างบ้างแล้ว เช่นการระบาดในอังกฤษและอเมริกา หลังจากที่มีการโหมการให้วัคซีน ในประชากรเป็นจำนวนมาก จำนวนผู้ป่วยต่อวันของทั้งสองประเทศลดลงอย่างเห็นได้ชัดเจน จากที่มียอดสูงสุดในช่วงปีใหม่ ในอิสราเอลเองผู้ที่ฉีดวัคซีนกับผู้ที่ไม่ได้ฉีด มีอัตราการเป็นโรคที่ต่างกัน แสดงให้เห็นว่าวัคซีนไม่ใช่เพียงแต่ลดความรุนแรงของโรคหรือลดอาการตาย แต่ยังลดการแพร่ระบาดของโรคหรือลดการติดต่อของโรคได้ แสดงให้เห็นว่าวัคซีนเป็นอาวุธที่สำคัญในการต่อสู้กับโควิด-19 ตลาดวัคซีนจึงเป็นที่แย่งกันอย่างมาก สำหรับประเทศไทยไม่ควรรอวัคซีนทางตะวันตกแต่เพียงอย่างเดียว ควรใช้ระดับประเทศ เชิงนโยบาย หรือระดับรัฐบาลที่มีความสนิทสนม เจรจา ไม่ว่าจะเป็นวัคซีนของ จีน รัสเซีย ได้ผ่านการศึกษาระยะที่ 3 ม
นพ.ยง เผยประสิทธิภาพวัคซีน ชี้ ผู้ซื้อไม่มีสิทธิเลือก ว่าอยากได้วัคซีนชนิดใด ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์เฟซบุ๊ก ระบุว่า “โควิด-19 วัคซีน ไม่ได้เกี่ยวกับการเมืองใดๆ ทั้งสิ้น และไม่มีผลประโยชน์ใดๆ หลายคนอยากทราบข้อมูลของวัคซีนที่จะนำมาใช้ในประเทศไทย ถึงประสิทธิภาพ ผมก็ขอสรุป ตามข้อมูลที่มีอยู่ทั้งหมด รายละเอียดของประสิทธิภาพ ขึ้นอยู่กับจุดตัดที่ความรุนแรงของโรค ตามระดับขององค์การอนามัยโลกว่าจะ ตัด ที่ระดับ 3 หรือระดับ 4 เอาเป็นว่าระดับ 4 คือ ผู้ป่วยต้องนอนโรงพยาบาล และที่ว่าทำไม วัคซีนของจีน ทำไมไม่ศึกษาระยะที่ 3 ในประเทศจีน ในเมื่อประเทศจีนไม่มีการระบาดของโรค จึงเป็นไปไม่ได้ ที่จะทำในประเทศจีน ต้องไปทำในประเทศที่มีการระบาดสูง ไม่เหมือนวัคซีนของทางตะวันตกที่มีการระบาดของโรคอย่างมากในอเมริกาและอังกฤษ ในอนาคตวัคซีนของประเทศไทย ถ้าพัฒนาเข้าสู่ระยะที่ 3 และการระบาดของโรคยังเป็นอย่างปัจจุบัน การศึกษาวิจัยในระยะที่ 3 ก็ต้องไปทำต่างประเทศเหมือนกัน โดยเฉพาะที่มีการระบาดอย่างสูง จึงจะเ
หมอยง ชี้ วัคซีนโควิดใช้จริง ประสิทธิภาพต่ำกว่าในงานวิจัย วันที่ 22 ม.ค. 64 ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก Yong Poovorawan ระบุว่า “โควิด-19 วัคซีน ประสิทธิภาพของวัคซีน ประสิทธิภาพของวัคซีนเมื่อนำไปใช้จริง ประสิทธิภาพจะต่ำกว่าข้อมูลจากการศึกษาในการวิจัย ทั้งนี้เพราะการใช้ในภาคสนาม มีตัวแปรอื่นๆ อีกมากมาย เราจะเห็นได้จากประสิทธิภาพของวัคซีนไข้หวัดใหญ่ ถ้าเราดูตามที่บริษัทบอก จะมีประสิทธิภาพสูงมาก แต่ในการใช้จริง จะต่ำกว่าที่เขียนไว้ในฉลากยาอย่างแน่นอน ในทำนองเดียวกัน การศึกษาประสิทธิภาพวัคซีนของไวรัสตับอักเสบ บี ที่ผมทำการศึกษาในอดีต ในการศึกษาวิจัยจะมีประสิทธิภาพสูงมาก สูงถึงร้อยละ 94-95 แต่เมื่อนำไปใช้จริงในประชากรหมู่มาก หรือให้กับทารกทุกคน ประสิทธิภาพโดยรวมจะลดลงประมาณ 10 เปอร์เซ็นต์ เหลือประมาณ 80 ต้นๆ ทำนองเดียวกัน ประสิทธิภาพของวัคซีน โควิด-19 ที่มีการศึกษากันมาก มีสูงสุดถึงร้อยละ 95 แต่เมื่อนำมาใช้จริงประสิทธิภาพจะน้อยกว่าในการศึกษาวิจัย การใช้ภาคสนามยังมีตัวแปรอื่นๆ ที่ทำให
หมอยง เผย อาการแทรกซ้อน หลังให้วัคซีนโควิด ไม่จำเป็นต้องเกิดจากวัคซีน วันที่ 18 ม.ค. 64 นายแพทย์ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ข้อความผ่าน Yong Poovorawan ระบุว่า วัคซีน โควิด-19 ระบุถึง อาการไม่พึงประสงค์ หรืออาการแทรกซ้อน ของผู้ป่วยที่ได้รับการฉีดวัคซีนโควิด โดยยกตัวอย่างประเทศนอร์เวย์ จำนวน 23 ราย “วัคซีน COVID-19 อาการไม่พึงประสงค์ อาการแทรกซ้อน การตาย ในผู้สูงอายุ หลังให้วัคซีน ในประเทศนอร์เวย์ จำนวน 23 ราย เป็นข่าวใหญ่ ทำให้เกิดวิตกกังวล ต่อกระบวนการให้วัคซีน อาการไม่พึงประสงค์ หลังการให้วัคซีนของ ไฟเซอร์ ในประเทศนอร์เวย์ ที่มีผู้สูงอายุเสียชีวิตจำนวนมาก ต้องทำความเข้าใจก่อนว่า อาการไม่พึงประสงค์ หลังให้วัคซีนไม่จำเป็นต้องเกิดจากวัคซีน หรือแพ้วัคซีน กรรมการตรวจสอบว่าเกี่ยวข้องกับวัคซีนที่ให้หรือไม่ จะตรวจสอบอย่างละเอียด การศึกษาวัคซีนใหม่ ถึงแม้ว่าจะผ่านระยะที่ 3 แล้ว จะต้องตามอาการไม่พึงประสงค์หลังนำไปใช้ ต่อไปอีกอย่างน้อย 2 ปี อย่างเช่นในนอร์เวย์ ผมทำการศึกษาเกี่ยวกับวัคซีนมากว่า 30 ปี หลังฉีดวัคซีน
หมอยง แนะ 6 มาตรการสำคัญ ควบคุมการระบาดโควิดระลอกใหม่ เมื่อวันที่ 4 ม.ค. 64 นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับการควบคุมการแพร่ระบาดโควิด-19 ระลอกใหม่ ผ่านเฟซบุ๊ก Yong Poovorawan ระบุว่า โควิด-19 เมื่อมีการระบาดรอบใหม่ สิ่งที่สำคัญในการควบคุมการระบาด จะต้องเป็นไปตามลำดับ ดังนี้ 1. การป้องกัน ทุกคนจะต้องช่วยกันป้องกันไม่ให้เกิดการระบาด กระจายออกไป ด้วยการสวมหน้ากากอนามัยตลอดเวลา เมื่อออกนอกบ้าน ล้างมือและใช้แอลกอฮอล์ กำหนดระยะห่างบุคคลไม่น้อยกว่า 2 เมตร หรืออยู่บ้านดีที่สุด หลีกเลี่ยงแหล่งอโคจร 2. การควบคุม เป็นหน้าที่ของทุกคน รวมทั้งทางกระทรวงสาธารณสุขที่จะต้องควบคุมสถานการณ์การระบาดของโรคอยู่ในขอบเขตที่ควบคุมได้ มีมาตรการต่างๆ เบาไปหาหนัก สร้างกฎเกณฑ์ต่างๆ ขึ้นมา จนกระทั่งถึงปิดเมืองเด็ดขาด แบบอู่ฮั่น 3. การลดปริมาณโรคให้น้อยลง จัดการตรวจวินิจฉัยแยก คัดกรอง ให้ความรู้ โดยเฉพาะในแหล่งระบาดให้เกิดโรค หรือติดต่อแพร่กระจายให้น้อยที่สุด ไม่ให้เกิดการแพร่กระจายไปจุดอื่นๆ 4. การก
หมอยง โพสต์ 3 กลุ่มเสี่ยง สมควรได้รับวัคซีนโควิด-19 ก่อน วันที่ 31 ธ.ค. 63 ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญด้านไวรัสวิทยาคลินิก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก Yong Poovorawan ระบุว่า โควิด-19 วัคซีน ใครคือผู้สมควรได้รับวัคซีนก่อน ในกรณีที่วัคซีน เข้ามาในระยะแรก วัคซีนจะไม่เพียงพอในการให้กับคนหมู่มาก ผู้ที่สมควรที่จะได้รับวัคซีนก่อนคือผู้ที่มีความเสี่ยง หมายความว่า เมื่อติดโรคแล้วจะมีอาการรุนแรง หรือมีโอกาสที่จะติดโรคสูง จึงได้แก่ กลุ่มผู้สูงอายุ โดยทั่วไปจะถือเอาอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป 2. กลุ่มบุคลากรที่ทำงานดูแลรักษาผู้ป่วย สอบสวน และทุกคนที่เข้าไปเกี่ยวข้องกับสถานที่ ที่มีผู้ป่วยผู้ติดเชื้อ 3. ผู้ที่มีโรคประจำตัว เช่น เบาหวาน โรคปอด โรคหัวใจ และเมื่อมีวัคซีนมากขึ้น จึงค่อยเพิ่มกลุ่มเสี่ยงกลุ่มอื่น ผู้มีอายุน้อย โดยเฉพาะต่ำกว่า 40 ปีลงมาและมีร่างกายแข็งแรง เมื่อติดเชื้อจะมีอาการน้อยหรือไม่มีอาการ และโรคนี้เมื่อเป็นกับเด็กอาการน้อยมาก ในเด็กจึงยังไม่มีการให้วัคซีนกันในขณะนี้ จนกว่าจะมีการรอการทดสอบการให้วัคซีนในเด็ก และมีข้อม
หมอยง เสนอรัฐบาล ให้เอกชนช่วยนำเข้าวัคซีน แบ่งเบาภาระ วันที่ 30 ธันวาคม ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญด้านไวรัสวิทยาคลินิก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก Yong Poovorawan ระบุว่า โควิด-19 วัคซีน 1. ขณะนี้ ทั่วโลก วัคซีนโควิด ที่ได้ขึ้นทะเบียนให้ฉีดในภาวะฉุกเฉิน มีแล้วถึง 6 ชนิด ของจีน 3 ชนิด รัสเซีย 1 ชนิด อเมริกา 1 ชนิด และอเมริการ่วมกับเยอรมนี 1 ชนิด 2. วัคซีนเป็นเชื้อตาย 2 ชนิดของจีน ไวรัสเวกเตอร์ 2 ชนิดเป็นของจีนและรัสเซีย และ mRNA 2 ชนิดเป็นของอเมริกา และอเมริการ่วมกับเยอรมนี 3. วัคซีน AstraZeneca ที่ไทยรอคอยอยู่ ยังไม่สิ้นสุดการทดลอง 4. มีร่วม 10 ประเทศได้เริ่มฉีดวัคซีนไปแล้ว มากกว่า 5 ล้านโด๊ส และภายในมกราคม จะมีการฉีดอีกหลายสิบเท่า ซึ่งคาดว่าจะเป็นร้อยล้านโด๊ส 5. ประเทศต่างๆ ได้ขึ้นทะเบียน หรือทะเบียนในภาวะฉุกเฉินในวัคซีนบางตัว มากกว่า 30 ประเทศ และรวม EU ทั้งหมด แสดงว่าจะมีการฉีดเป็นจำนวนมาก ในเดือนมกราคม ทำไมประเทศไทยจึงช้าในเรื่องวัคซีนโควิด 1. เพราะเรามุ่งอยู่กับวัคซีนไวรัสเวกเตอร์ของ AstraZeneca อย่างเดียวหรือ?
หมอยง ย้ำชัด อาหารทะเลไม่ใช่แหล่งรังโรค ถ้าปรุงสุก ก็ปลอดภัย ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยา คลินิกภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก ระบุว่า “โควิด-19 การระบาดที่สมุทรสาคร กับอาหารทะเล โรคโควิด-19 เชื้อไวรัสจะติดระหว่างคนสู่คน ไม่มีสัตว์เป็นพาหะของโรค อาหารทะเลไม่ใช่แหล่งรังโรค เมื่อมีผู้ติดเชื้อมาเกี่ยวข้องกับอาหาร ทุกคนกลัวการปนเปื้อนที่อยู่ในอาหาร สิ่งสำคัญ จึงอยู่ที่การจับต้องแล้วมาสัมผัสเข้าสู่ทางเดินหายใจหรือทางเดินอาหาร ถ้าเรารับประทานสุก และจะต้องปรุงอาหารด้วยความระมัดระวัง ล้างมืออยู่เป็นนิจ ก็ถือว่าเพียงพอในการป้องกันโรคที่จะมาจากอาหารทะเล วันนี้ได้ไปสมุทรสาคร ในฐานะที่ปรึกษา ได้ประสบกับเหตุการณ์หลายอย่างรวมทั้งการแก้ปัญหา จะขอเล่าเรื่องอาหารทะเลก่อน วันต่อไป จะเล่าเรื่องอื่นต่อไป มีการเอาอาหารทะเลมาโชว์ที่หอนาฬิกา มหาชัย มากมาย ขอให้ทุกคนมีความเชื่อมั่น การรับประทานอาหารทะเล ไม่ว่าจะมาจากแหล่งไหน ควรปฏิบัติเหมือนกันหมด ดูแลเรื่องความสะอาด การจับต้องล้างมือหรือใส่ถุงมือในการป้องกัน และเมื่อโด
หมอยง ชี้ โควิดระลอกใหม่ มาจากพฤติกรรมในตลาดสด เมื่อวันที่ 23 ธ.ค. 63 ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะด้านไวรัสวิทยาคลินิก จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ข้อความในเฟซบุ๊ก Yong Poovorawan เกี่ยวกับประเด็นโควิด-19 ระบุว่า บทเรียนจากจีนและสิงคโปร์ ประเทศไทยคัดลอกบทเรียนจาก จีน และ สิงคโปร์ ในการระบาด รอบใหม่ ของโรคโควิด-19 บทเรียนจากประเทศจีน ตั้งแต่อู่ฮั่น ปักกิ่ง ต้าเหลียน ชิงเต่า ตลาดจะเป็นตัวขยายโรค (amplify) เริ่มตั้งแต่ ตลาดหัวหนาน ในเมืองอู่ฮั่น ที่เป็นตลาดสด เป็นจุดเริ่มต้นของการระบาดใหญ่ในประเทศจีน โดยผู้ป่วยรายแรกคือใครไม่ทราบ และส่งต่อ 3-4 รุ่น จึงเข้าไปขยายในตลาด และทำให้ระบาดทั้งเมืองอู่ฮั่น จีนได้รับบทเรียน ทันทีที่เกิดการระบาดที่ตลาดขนาดใหญ่ ซินฟาตี้ ในกรุงปักกิ่ง ที่มีการตรวจพบเชื้อไวรัส ที่เขียงปลาแซลมอน ก็ระดมปิดล้อม ด้วยการตรวจหาเชื้อหลายล้านคน และสามารถควบคุมโรคในที่สุด ต่อมาก็เกิดมีการระบาดที่ ต้าเหลียน ตรวจพบไวรัสที่ กุ้งแช่แข็งส่งมาจาก ประเทศเอกวาดอร์ รวมทั้งการระบาดที่เมือง ชิงเต่า ที่เป็นเมืองท่าขนส่งสินค้า ก็เกิดคล้ายๆ กัน โดยที่ไวรัสจะโจมตีที่ตลาดสด หรื