หมูยอ
เคล็ดลับ ‘ป.อุบล’ หมูยออร่อยที่สุด! แบรนด์ของฝากจากอุบลฯ เจาะตลาดผู้บริโภคชาวกรุง ‘ป.อุบล’ ธุรกิจครอบครัว (Family Business) ก่อตั้งโดย คุณประยงค์ เหรียญรักวงศ์ (พ่อ) ผู้มีแนวคิดธุรกิจแปรรูปอาหารทะเล เช่น เนื้อกุ้ง เนื้อปลา เนื้อปู และสินค้าทะเลอื่นๆ ให้เกิดมูลค่าเพิ่ม และจำหน่ายสินค้าผ่านช่องทางหน้าร้าน อาทิ แฮ่กึ๊น ฮ่อยจ๊อ จำหน่ายในตลาดสด เริ่มต้นทำเป็นอุตสาหกรรมภายในครัวเรือนในปี 2519 ชื่อร้าน มหาชัยวาริน ก่อนปรับเปลี่ยนเป็นแบรนด์ ป.อุบล ที่ได้ชื่อว่าเป็น แบรนด์หมูยอที่มีชื่อเสียงในจังหวัดอุบลราชธานี เป็นเวลาเกือบครึ่งศตวรรษ (47 ปี) ที่ได้สั่งสมองค์ความรู้ด้านการแปรรูปเนื้อสัตว์เป็นอาหาร ปัจจุบันผลิตและจำหน่ายสินค้ากว่า 50 รายการ โดยได้รับรางวัลการันตีความอร่อยระดับประเทศมากมาย คุณสมนึก เหรียญรักวงศ์ ผู้ดูแลในส่วนโรงงานและกระบวนการผลิต ตลอดจนซัพพลายวัตถุดิบทั้งหมดให้ร้าน ป.อุบล สาขาต่างๆ ทั่วประเทศ รวมทั้งมีธุรกิจร้านของฝากในจังหวัดอุบลราชธานี จำนวน 9 สาขา มองว่า จุดเปลี่ยนครั้งสำคัญของแบรนด์ ป.อุบล เกิดขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2545 ธุรกิจได้ขยายเป็นโรงงาน และพัฒนาการผลิตให้ทันสมัยมากขึ้น โด
พักก่อน น้ำพริก “โย่ง เชิญยิ้ม” เบนเข็มขาย หมูยอ พร้อมเปิดรับตัวแทน สร้างรายได้ไปด้วยกัน ไม่น่าเชื่อว่า ดาวตลก อดีตลิเกและนักฉ่อยเพลงชื่อดัง วัย 61 ปี อย่าง พิเชษฐ์ เอี่ยมชาวนา หรือชื่อที่เรารู้จักกันดีว่า น้าโย่ง เชิญยิ้ม จะโลดแล่นในวงการการแสดงมาได้ 50 กว่าปีแล้ว นอกจากเรื่องงานในแวดวงการแสดงแล้ว น้าโย่งยังมีธุรกิจเป็นของตัวเองด้วยเช่นกัน “เส้นทางเศรษฐีออนไลน์” มีโอกาสได้พูดคุยเกี่ยวกับเส้นทางการผันตัวมาทำธุรกิจของดาราตลกวัยเก๋าท่านนี้ โดยน้าโย่งให้สัมภาษณ์ว่า ตนทำงานอยู่ในวงการแสงสีมากว่า 50 ปีแล้ว เริ่มจากการเล่นลิเกมาเรื่อยๆ จนเข้ามาสู่วงการบันเทิง “ช่วงนั้นก็มีงานเข้ามาเยอะครับ ชีวิตเรียกว่าดีมากนั่นแหละนะ ดีจนน้าโย่งก็มานั่งคิดว่า ถ้าชีวิตมันเกิดไม่ดีขึ้นมาล่ะ จะทำยังไง ก็คุยกับน้าสม (นางบุญสม เอี่ยมชาวนา) อดีตแฟนที่ตอนนี้เป็นภรรยาคู่ชีวิตว่า แม่เอ๊ยเราจะทำอะไรกันดี แล้วทางน้าสมเขามีสูตรพวกน้ำพริกอะไรพวกนี้อยู่แล้ว ก็เลยตัดสินใจทำน้ำพริกขาย ช่วงนั้นเป็นช่วงที่น้าโย่งมีรายการน้าโย่ง ทอล์คโชว์ เลยอาศัยโปรโมตตามรายการได้ ทำได้หลายปีก็ขยับขยาย ซื้อที่แ
“สุธามาศ โพธิ์จันทร์” สลัดคราบด็อกเตอร์ โชว์เสน่ห์ปลายจวัก เปิดร้านส้มตำรสชาติเด็ดมาก ขายเฉพาะวันหยุดเสาร์-อาทิตย์ คนแห่จองคิว “ส้มตำ” อาหารประจำชาติไทยที่ได้รับการบอกต่อถึงความอร่อยมาเป็นเวลาเนิ่นนาน ปัจจุบันหาทานได้ง่าย มีตั้งแต่ร้านข้างทางยันภัตตาคารหรูหรา เเต่ละร้านต่างงัดกลยุทธ์สร้างจุดขาย อาทิ โชว์ลีลาควงครกควง แต่งกายแหวกแนวดึงลูกค้า หรือแม้แต่จบสูงถึงปริญญาเอก ดีกรีด็อกเตอร์ ก็ยังตัดสินใจมาขายส้มตำ ดร.สุธามาศ โพธิ์จันทร์ หรือ ครูมาศ เจ้าของร้านส้มตำสุธามาศ เล่าว่า ปัจจุบันรับราชการครู ในตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียนแห่งหนึ่ง ช่วงเวลาว่าง เสาร์ – อาทิตย์ เปิดร้านส้มตำมานานกว่า 10 ปี สาเหตุที่เลือกเปิดร้านส้มตำ เพราะใจรักในการทำอาหาร “ชีวิตราชการมีความสุขดี บางคนบอกว่าไม่ต้องเปิดร้านส้มตำก็ได้ แต่ที่เลือกเปิดร้านส้มตำเพราะใจรัก และเป็นคนชอบทำอาหาร จุดเริ่มต้น มาจากทำส้มตำในวิชาโครงงานที่สอนในโรงเรียน จากนั้นต่อยอดและพัฒนาสูตรน้ำส้มตำเรื่อยมา จนประสบความสำเร็จได้สูตรที่ลงตัว เเละส่งต่อความอร่อยด้วยการเปิดร้านให้คนในย่านบางขุนเทียน พระราม 2 ได้ทาน” คุณครู
หมูยอห่อใบตองเป็นรูปทรงกระบอก หั่นเป็นแว่นๆ เสิร์ฟพร้อมกับน้ำจิ้มที่ผสมด้วยน้ำปลา พริก น้ำตาล และน้ำมะนาว หรือจะจิ้มกับพริกไทยบดกับเกลือและน้ำมะนาว เป็นออร์เดิร์ฟเรียกน้ำย่อยของชาวเวียดนาม หมูยอยังสามารถนำไปดัดแปลงใส่ในอาหารได้สารพัดชนิดที่คนไทยคุ้นเคยมากที่สุดคือ ข้าวต้มเส้นหรือก๋วยจั๊บญวน ที่เรียกว่า จ๊าวบั๊นกัน (Cháo bánh canh) ชาวเวียด เขามีวิธีกินที่หลากหลายกว่านั้น เช่น เสิร์ฟคู่กับปากหม้อ (มีไส้) ที่เรียกว่าบั๊นก้วน (Bánh cuốn) กินกับแป้งปากหม้อ (ไม่มีไส้) เรียกว่าบั๊นเอื้อก (Bánh ướt) ใส่เป็นไส้ขนมปังบาแก็ตที่เรียกว่าบั๊นหมี่ (Bánh mì) หรือใส่เป็นไส้แซนด์วิชของบั๊นหย่าย (Bánh giầy /bánh dầy / bánh dày) ซึ่งเป็นแป้งแผ่นกลมที่ทำจากข้าวเหนียว ใส่ในขนมจีนน้ำที่เรียกว่ากันบุ๊น (Canh Bún) บุ๊นหม็อก (Bún mọc) และขนมจีนเนื้อของชาวเมืองเว้ที่เรียกว่า บุ๊นบ่อเว้ (Bún bò Huế) และอีกสารพัดวิธีกินหมูยอ คนไทยนั้นนอกจากนำมาแทะกินเล่นแล้วยังนิยมนำมาทอดจิ้มซอสศรีราชา หรือยำให้มีรสเปรี้ยว เค็ม หวาน และเผ็ดจี๊ดจ๊าด แล้วพัฒนาไปไกลกว่านั้นด้วยการใส่ในส้มตำ จะว่าไปแล้วคนไทยเรากินหมูยอกันมานานนมจนลืม
“บุ๊นหม็อก” (Bún Mộc) เป็นอาหารเส้นทางภาคเหนือของเวียดนาม เป็นขนมจีนที่มีน้ำซุปเหมือนก๋วยเตี๋ยวคือเป็นน้ำซุปซี่โครงหมู หรือจะใช้กระดูกหมูส่วนอื่นด้วยก็ได้ขอให้มีเนื้อติดกระดูกด้วย เช่นกระดูกคอหมู โดยนำกระดูกหมูไปลวกน้ำทิ้งครั้งหนึ่งเพื่อกำจัดกลิ่นคาว ไขมัน เลือด และสิ่งที่ไม่พึงประสงค์ จากนั้นจึงนำกระดูกหมูลงต้มพร้อมกับหอมหัวใหญ่ เห็ดหอม (ในเวียดนามจะใช้ผงปรุงรสเห็ดที่ทำจากเห็ดขายเป็นกระปุก) ปรุงรสด้วยน้ำตาลกรวด เกลือ และพริกไทยเม็ดให้มีรสอ่อนๆ เคี่ยวประมาณ 1 ชั่วโมงเพื่อให้กระดูกหมูเปื่อยและน้ำซุปหวานได้ที่ ระหว่างนี้ก็มาเตรียมลูกชิ้นหมู ลูกชิ้นแบบนี้เองที่คนเวียดนามเรียกว่า “หม็อก” (Mộc) ถ้าเป็นที่เวียดนามเขาจะมีขายแบบบดสำเร็จมาเลยเรียกว่า “หย่อซ้อม” (Giò sống) แต่เราบดเองได้โดยใช้เครื่องบดสับอาหาร ใส่เนื้อหมูผสมกับมันหมูลงไปบดให้ละเอียดเนียนเหนียว ปรุงรสด้วยเกลือ น้ำปลา และพริกไทยปั่นอีกรอบให้เข้ากันดี หรือจะทุ่นเวลาด้วยการซื้อหมูเด้งมาแทนก็ได้ แล้วนำมาผสมเครื่องเพิ่ม ตักหมูบดใส่ชามโคมใบใหญ่ ใส่เห็ดหูหนูดำหั่นฝอยๆ คลุกเคล้าให้เข้ากัน ใส่ต้นหอมซอยลงไปคลุกให้เข้ากันอีกทีแล้วแบ่งเป็น 2
ชาวไทยนั้นคุ้นเคยกับอาหารเวียดนามเป็นอย่างดี บางอย่างเรากินกันจนลืมไปแล้วหรืออาจจะไม่เคยรู้มาก่อนเลยว่าเป็นของต่างชาติ ที่ฉันกำลังจะพูดถึงนี้คือ หมูยอ ย้อนหลังไปสมัยเป็นเด็กนักเรียนจำได้ว่าเวลาใครไปใครมาเชียงใหม่จะต้องหอบหิ้วหมูยอกลับมาเป็นของฝากจนคิดว่าหมูยอนั้นเป็นอาหารประจำจังหวัดเชียงใหม่ ยี่ห้อที่ฉันรู้จักตอนเด็กนั้นคือ ตราดาวที่อยู่บนถนนช้างม่อย ตอนหลังมียี่ห้อป้าย่นที่ยังโด่งดังมาจนถึงทุกวันนี้ พอโตขึ้นมาอีกหน่อยได้เดินทางมากขึ้นก็พบว่าหมูยอในภาคอีสานนั้นมีชื่อเสียงมาก โดยเฉพาะของจังหวัดอุบลราชธานี ที่ขึ้นชื่อเรื่องอาหารเวียดนามเพราะติดชายแดนลาว ถัดไปอีกหน่อยก็ถึงเวียดนามแล้ว ก็อย่างที่รู้กันว่าถ้าใครไปเที่ยวประเทศลาวนั้นจะได้กินอาหารเวียดนามมากกว่าอาหารลาวเสียอีก พวกเขานิยมกินกันจริงๆ เหมือนคนไทยชอบกินก๋วยเตี๋ยวอย่างไรอย่างนั้น ในตอนนั้นฉันยังไม่รู้อยู่ดีว่าหมูยอมีต้นกำเนิดจากไหน จนมีอันต้องระเห็จไปอยู่ที่เวียดนามเสียนานหลายปี จึงเอะใจว่าหมูยอนี้น่าจะมีต้นตอมาจากที่นี่ อย่างแรกเลยก็คือชื่อ คำว่า “ยอ” นั้นน่าจะมาจากคำว่า “หย่อ” (Giò) หรือ “หย่อหลั่วะ” (Giò lụa) ที่ใช้เรียกหมูยอข