หมูหวาน
ทุกเสียงของลูกค้า คือโอกาสในการเติบโต! เจาะกลยุทธ์ วิธีคิด ‘บ้านหมูหวาน’ จากธุรกิจที่ล้มจนโดนหมายศาล พลิกสู่แบรนด์เนื้อสัตว์แปรรูป รายได้ 7 หลักต่อเดือน “ท่ามกลางธุรกิจเนื้อสัตว์แปรรูปที่เต็มไปด้วยคู่แข่ง การปรับตัว คือหัวใจของความสำเร็จ บ้านหมูหวาน เติบโตได้ เพราะเราเปิดรับฟังลูกค้า นำทุกเสียงสะท้อนมาพัฒนา และพร้อมเติมสิ่งใหม่อยู่เสมอ นี่คือแนวคิดที่ทำให้เรายืนหยัดและเติบโตได้อย่างมั่นคง” แนวคิดของ คุณเอก-วงษ์สถิตย์ ดาราผ่อง เจ้าของแบรนด์ ‘บ้านหมูหวาน’ ผู้พลิกธุรกิจที่ล้มจนโดนหมายศาล สู่แบรนด์เนื้อสัตว์แปรรูป สร้างรายได้ทะลุ 7 หลักต่อเดือน จากวิศวกรโรงงาน สู่เจ้าของกิจการ ย้อนกลับไปเมื่อปี 2550 หลังจากทำงานประจำมานานกว่า 10 ปี คุณเอก เริ่มรู้สึกอิ่มตัวในอาชีพ เขานำเรื่องดังกล่าวไปปรึกษาแม่ เจ้าของร้านเจ๊หริง ร้านขายส่งที่มีชื่อเสียงด้านของฝากและหมูแปรรูป จนได้พบจุดเปลี่ยนสำคัญในชีวิต “แม่แนะนำให้ลองขายหมูฝอยและหมูสวรรค์ดู จากการรับมาขาย พอเห็นกระแสตอบรับดี เลยตัดสินใจพัฒนาสูตรและผลิตเอง เริ่มต้นจากหมูฝอยและหมูสวรรค์ 2 เมนูยอดนิยมนี่แหละ ถึงจะไม่มีพื้นฐานด้านอาหารหรือการค้าขายมาก่อน แต
อาหารพื้นบ้านภาคใต้ มีรสชาติจัดจ้าน โดดเด่นเป็นเอกลักษณ์เฉพาะ ไม่ว่าจะเป็นน้ำพริก แกงกะทิ แกงเหลือง คั่วกลิ้ง กุ้งและหมูสามชั้นผัดสะตอ รวมถึงขนมจีนชนิดต่างๆ ที่ล้วนไม่มีใครปฏิเสธรสชาติเผ็ดร้อน ตลอดจนความเข้มข้นของเครื่องเทศ และพืชสมุนไพรพื้นบ้านที่นำมาปรุงทุกเมนูของอาหารใต้ ทุกวันนี้อาหารใต้เป็นที่ชื่นชอบของผู้คนจากหลายภูมิภาค จึงได้รับความนิยมแพร่หลายไปจังหวัดต่างๆ ทั่วประเทศ เส้นทางเศรษฐีออนไลน์ พาไปชิมอาหารใต้ที่ร้าน “ครัวฅนคอน” ตั้งอยู่เลขที่ 58/11 ถนนราชพฤกษ์ ตำบลบางพลับ อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี เสิร์ฟอาหารใต้มากมายกว่า 30 เมนู ได้รับความนิยมจากลูกค้าทั่วทุกสารทิศ เพราะรสชาติอาหารถูกปรับให้เหมาะกับลูกค้าทุกเพศวัย คุณกุลชรีย์ วิฑูรย์พันธ์ หรือ คุณจุ๊ เจ้าของร้าน เล่าว่า เรียนจบปริญญาตรีทำงานอยู่ที่นครศรี ธรรมราชบ้านเกิด มองว่ารายได้น้อยมากจึงลาออกแล้วไปลองขายอาหารตามสั่งที่หาดใหญ่ ก็พบว่าขายดี มีลูกค้าสนใจจึงคิดว่าตัวเองพอมีความสามารถด้านการทำอาหาร แต่วิกฤตเศรษฐกิจปี 2541 กระทบต่อรายได้ที่ลดลง ตัดสินใจเลิกขาย แล้วมาเป็นพ่อครัวร้านซีฟู้ดในกรุงเทพ ก่อนที่จะย้ายมาเปิดแผงขายข้าว
‘หมูหวาน’ ที่แสนจะหวานหมู โดย กฤช เหลือลมัย มีคนเล่าให้ฟังอย่างชวนน้ำลายสอ ว่าได้ไปกิน หมูหวาน ที่ปักษ์ใต้ เป็นหมูหวานที่ “หวาน” มาก แต่กินโดยราดน้ำมะนาวบีบสด ซึ่งแช่หอมแดงซอย พริกขี้หนูซอย จนเปรี้ยวเผ็ดจี๊ดๆ ลงไปจนชุ่มโชก เลยทำให้รสเปรี้ยวเผ็ดนี้ไปตัดรสหวานจัดและความมันของหมูหวานได้พอดิบพอดี ชนิดที่ว่ากลับมาแล้วก็ยังลืมรสนั้นไม่ลงเอาเลย ได้ยินแบบนี้เข้า ก็เลยจะต้องลองทำหมูหวานกินสักหน่อยล่ะครับผม คนชอบกินอาหารไทยภาคกลางคงนึกออกว่า เราจะพบหมูหวานได้ไม่ยาก เวลาสั่งข้าวคลุกกะปิมากิน หรือใครไปงานเลี้ยงตามโรงแรม ที่เขาชอบเลี้ยงน้ำพริกลงเรือเพื่อให้ดูเป็นสำรับไทยๆ นั้น ก็จะต้องมีหมูหวานไว้ราดหน้าทุกครั้งไป ตามร้านข้าวแกงยิ่งต้องมีแทบทุกร้าน เพราะมันเอาไว้กินตัดเผ็ดตัดเค็ม ตลอดจนคอยเติมรสหวานให้กับข้าวอื่นๆ ในลักษณะของวัฒนธรรมการกินแนมแบบครัวไทยได้ดี การที่เป็นของยอดนิยมแบบนี้ มันจึงมีหลายสูตรด้วยกัน ลองสืบค้นตำรากับข้าวดูเถิดครับ จะมีทั้งแบบที่หั่นยาว หั่นแบน หั่นชิ้นลูกเต๋า ใส่ได้ตั้งแต่น้ำปลา ซีอิ๊วดำหวานดำเค็ม เต้าเจี้ยวบด บ้างใส่หอมแดงซอย แต่บ้างก็ชอบกลิ่นกระเทียมพริกไทยรากผักชี ฯลฯ เรี
ผมก็เป็นคนใต้ เพราะอยู่กรุงเทพฯ ใต้นนทบุรีไง 5555 วันนี้อยากเป็นคนใต้ ผมชอบกินอาหารใต้มาก ชอบที่สุดคือ แกงหอยแครงใบชะพลูราดข้าวสวยร้อนๆ มีหมูหวานแนม ไม่ก็ไข่ดาวเค็ม ตามด้วยผักเหนาะแบบของใต้เยอะๆ หรอยจังฮู้… ที่นึกถึงอาหารใต้ขึ้นมา ก็ด้วยมีนักเรียนเมืองกรุงมาเรียนทำอาหารใต้เอาไปขายในเมืองกรุงนี่แหละ ที่โรงเรียนแม่บ้านทันสมัยเลยได้กินอาหารใต้กันสนุกสนาน แต่ไม่มีใครแหลงใต้กันเป็นสักกะคน อาหารใต้จัดเป็นอาหารเพื่อสุขภาพชั้นดี เนื่องจากมีผักให้กินทุกมื้อ และเป็นผักที่มีรสชาติ รสเคี้ยวสัมผัสที่แตกต่างกันไป ให้อรรถรสในการเคี้ยวแต่ละคำ เพิ่มความสนุกในการกินจริงๆ ผักใต้มีเยอะมาก เป็นดินแดนที่มีฝนตกชุก พืชพันธุ์เลยงาม ผักแต่ละอย่างมีสรรพคุณที่ไม่เหมือนกัน เช่น ยอดมะม่วงหิมพานต์มีรสฝาด กินแล้วบำรุงท้อง แก้ท้องเสีย พวกผักมีรสเปรี้ยวอย่างยอดมะกอก แก้ไอ ขับเสมหะได้ดี ผักรสร้อน เช่น ยอดหมุย (ที่บ้านผมปลูกไว้หลายต้น กลิ่นยอดเหม็นๆ ดี อันนี้ช่วยขับลม แก้ท้องอืด ผักรสขมหน่อยๆ อย่างใบบัวบก แก้ไข้ แก้อักเสบ ส่วนผักที่มีรสจืดแบบภาคกลาง แตงกวา ถั่วฝักยาว กินแล้วเพิ่มเยื่อใยอาหาร ระบายท้องดี ลดกรด ลดคว