หอมแดง
เภสัชกรหญิง คิดค้น “น้ำมันหัวหอม” พิชิตหวัดเด็กเล็ก รับซื้อผลผลิตเกษตรกร สร้างมูลค่าเพิ่มกว่า 200 เท่า หนึ่งในภูมิปัญญาชาวบ้านในการบรรเทาอาการหวัด คัดจมูก คือ การนำหัวหอมมาทุบหรือบุให้แตก แล้วนำมาสูดดมหรือผสมน้ำอาบ แต่เพราะความยุ่งยาก เลอะเทอะ จึงทำให้วิธีการนี้ไม่ได้รับความนิยม ภญ.ชญานิษฐ์ ชูแข กรรมการผู้จัดการ บริษัท พีร์ชญาลี้ จำกัด เจ้าของ Oz-P ผลิตภัณฑ์น้ำมันหัวหอมสกัด จึงปิ๊งไอเดียเริ่มต้นศึกษาสมุนไพรไทยอย่างหัวหอม เพื่อหาวิธีนำมาสร้างสรรค์นวัตกรรมแก้หวัดในเด็กเล็ก “เดิมทีเราเป็นเภสัชกรในร้านขายยามาก่อน เห็นผู้ปกครองมาหาซื้อยาเพื่อบรรเทาอาการเป็นหวัดคัดจมูกให้ลูก แต่การใช้ยาลดน้ำมูกในเด็กอายุต่ำกว่า 2 ปี อาจทำให้เกิดผลข้างเคียงอย่างอาการชัก เราจึงพยายามหานวัตกรรมอื่นที่ช่วยแก้ปัญหานี้ได้ แล้วก็พบว่าหัวหอม มีสารเควอซิติน หรือ Quercetin สูง ช่วยลดการติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจส่วนบนและช่วยลดอาการภูมิแพ้ เราจึงนำเทคนิคการสกัดเควอซิตินโดยคลื่นความร้อนไมโครเวฟ หรือ Microwave Extraction มาสกัดสารออกจากหัวหอม 3 ชนิด คือ หอมแดง หอมแขก และหอมใหญ่ แล้วไปผสมกับน้ำมันหอมระเ
หอมแดง…เป็นอาหารสมุนไพรคู่ครัวไทย การกินหอมแดงบ่อยๆ จะช่วยลดระดับคอเลสเตอรอล ช่วยให้โลหิตไหลเวียนได้ดี และยังมีสารช่วยป้องกันการติดเชื้อในทางเดินหายใจ บำรุงหัวใจ หรือเสริมสมรรถภาพทางเพศ หอมแดง เป็นพืชเศรษฐกิจสำคัญ เกษตรกรที่ตำบลดอนกาม อำเภอยางชุมน้อย ได้รวมกลุ่มปลูกหอมแดงอินทรีย์ ในโครงการแปลงใหญ่ ที่ภาครัฐให้การสนับสนุน ทำให้ทุกคนได้ร่วมคิดร่วมทำ มีการจัดหาปัจจัยราคาถูกมาใช้ ทำให้ต้นทุนการผลิตลดลง แล้วช่วยให้เกษตรกรสามารถยกระดับรายได้เพื่อนำไปพัฒนาคุณภาพชีวิตสู่วิถีที่มั่นคง โครงการปลูกหอมแดงอินทรีย์แปลงใหญ่ พื้นที่ 10,168 ไร่ คุณศราวุธ ชนะชัย เกษตรอำเภอยางชุมน้อย เล่าให้ฟังว่า หอมแดง เป็นพืชเศรษฐกิจสำคัญที่ปลูกกันแพร่หลายในพื้นที่อำเภอยางชุมน้อย ปี 2561/62 มีเกษตรกรปลูกหอมแดงอินทรีย์ 5,717 ราย มีพื้นที่ปลูก 10,168 ไร่ เกษตรกรที่นี่เลือกปลูกหอมแดงพันธุ์พื้นเมืองศรีสะเกษหรือพันธุ์ลับแล พื้นที่ 1 ไร่ จะใช้พันธุ์หอมแดงปลูก 200-300 กิโลกรัม การพัฒนาคุณภาพหอมแดง ได้ส่งเสริมให้เกษตรกรรวมกลุ่มปลูกหอมแดงอินทรีย์ในโครงการแปลงใหญ่ ได้สนับสนุนให้ทำสารสมุนไพรหรือสารอินทรีย์ใช้เป็นปุ๋ยและเป็นสารคว
เมื่อเร็วๆ นี้ อาจารย์คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล (มทร.) สุวรรณภูมิ ได้วิจัย *“ยาหม่องจากสารสกัดหอมแดง”* เนื่องจากสารสกัดจากหอมแดง ช่วยบรรเทาอาการอักเสบ ลดอาการบวม และลดการเกิดผื่นแดงจากพิษแมลงสัตว์กัดต่อยได้ดี ทั้งยังบรรเทาอาการหวัดคัดจมูก เนื่องจากในหอมแดงมีสารประกอบฟีนอลิก ซึ่งมีฤทธิ์ในการต้านอนุมูลอิสระ ส่วนในน้ำมันหอมระเหย มีสารไดอัลลิลไดซัลไฟด์ และสารไดอัลลิลไตรซัลไฟด์ นอกจากนี้ ยังพบว่าในหอมแดงมีสารที่มีความสามารถในการยับยั้งการเติบโตของเชื้อจุลินทรีย์ และแบคทีเรีย ดังนั้น ยาหม่องจากสารสกัดหอมแดงที่ได้พัฒนาขึ้น จึงมีสรรพคุณลดพิษจากแมลงสัตว์กัดต่อย ลดอาการบวม ลดการเกิดผื่นแดง ลดอาการอักเสบ และบรรเทาอาการหวัด ผศ.ชื่นสุมณ ยิ้มถิน อาจารย์คณะวิทยาศาสตร์ฯ กล่าวว่า กระบวนการทำคือนำหอมแดงมาสกัด ด้วยไขมัน นำไปเป็นส่วนผสมของยาหม่องจากสารสกัดหอมแดง จึงได้ผลิตภัณฑ์ยาหม่องสมุนไพรที่ทำ จากสารสกัดหอมแดง ที่มีประสิทธิภาพในการลดพิษจากแมลงสัตว์กัดต่อย ลดอาการบวม ลดการเกิด ผื่นแดง ลดอาการอักเสบ และบรรเทาอาการหวัดได้เป็นอย่างดี ล่าสุดงานวิจัยดังกล่าวได้รับรางวัลเกียรติยศจ
วันที่ 21 ก.พ. นายธาตรี บุญมาก นายอำเภอลับแล จ.อุตรดิตถ์ ลงพื้นที่สวนหอม ม.9 ต.ชัยจุมพล อ.ลับแล เป็นแหล่งปลูกหอมสำคัญของจังหวัดและของประเทศ นายธาตรี กล่าวว่า ตั้งแต่ช่วงตรุษจีนตลาดหอมแบ่ง หรือต้นหอมสำหรับรับประทานสด มีราคาเหมาไร่ละ 50,000 บาท เพิ่มขึ้นจากปีที่แล้ว 10,000 บาท เนื่องจากสภาพอากาศปีนี้หนาวเย็นนาน และไม่มีโรค ทำให้ต้นหอมอวบสวย ขายได้ราคา ส่วนหอมแดง เฉลี่ยผลผลิตไร่ละ 6 ตัน สร้างรายได้ไร่ละประมาณ 90,000 บาท นอกจากนี้เกษตรกรยังเก็บผลผลิตบางส่วนไว้จำหน่ายเป็นต้นพันธุ์ ซึ่งจำหน่ายได้ราคาสูงขึ้นอีกเท่าตัว จากการลงพื้นที่พูดคุยกับเกษตรกรโดยตรง ทั้ง 3 ตำบลซึ่งเป็นพื้นที่ปลูกหอมแดง หอมแบ่ง ได้แก่ ชัยจุมพล ฝายหลวง และทุ่งยั้ง พบว่าฤดูกาลนี้ผลผลิตทั้งหอมแดง หอมแบ่ง มีกว่า 15,000 ไร่ จะสร้างรายได้นับ 1,000 ล้านบาท และ 1 ปี สามารถปลูกได้ 2 – 3 รอบ นายอำเภอลับแล กล่าวต่อว่า ในฐานะที่ตนเป็นประธานคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตและระบบสุขภาพอำเภอ (พชอ.) กำลังเดินหน้าส่งเสริมการปลูกหอมแบบอินทรีย์ โดยเปิดรับเกษตรกรเข้าร่วมโครงการแบบสมัครใจ ซึ่งขณะนี้เข้าร่วมแล้วหลายราย จำนวนหลายร้อยไร่ ก็ได้ประสาน
นางอภิรดี ตันตราภรณ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า รัฐบาลได้ให้ความสำคัญกับความเข้มแข็งของเศรษฐกิจภายในประเทศเป็นสำคัญ โดยเฉพาะอย่างยิ่งรายได้ของเกษตรกรในการขายผลผลิตทางการเกษตร ราคาสินค้าอุปโภคบริโภค และดูแลค่าครองชีพของประชาชน ซึ่งได้มอบหมายให้กรมการค้าภายใน พาณิชย์ภาค และพาณิชย์จังหวัด ติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด เพื่อจะได้แก้ไขปัญหาได้อย่างทันท่วงที และเป็นที่น่ายินดีว่า ในปีนี้ราคาสินค้าเกษตรหลายตัวอยู่ในเกณฑ์ดี อาทิ ยางพารา มะพร้าว ปาล์มน้ำมัน กาแฟ และหอมแดง เป็นต้น สถานการณ์สินค้าหอมแดงในฤดูการผลิตปี 2559/60 มีพื้นที่เพาะปลูกประมาณ 50,900 ไร่ เพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 4.5 มีผลผลิตกว่า 100,000 ตัน เพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 12.4 เนื่องจากราคาหอมแดงที่เกษตรกรขายได้ในช่วงปี 2559 มีราคาสูงกว่าปีก่อนประมาณร้อยละ 36 ซึ่งหอมแดงปลูกมากใน จ.ศรีสะเกษ เชียงใหม่ ลำพูน พะเยา เพชรบูรณ์ เป็นต้น โดยจ.ศรีสะเกษ มีพื้นที่ปลูกหอมแดงประมาณ 29,400 ไร่ ปีนี้ได้ผลผลิตค่อนข้างสูง เนื่องจากภูมิอากาศเอื้ออำนวย ขณะนี้เกษตรกรเก็บเกี่ยวผลผลิตและนำออกสู่ตลาดเกือบทั้งจำนวน ยกเว้นเก็บไว้ทำพันธุ์ในฤดูการผ
“พะเยา” ประกาศภัยพิบัติ “หอมแดง” 13 หมู่บ้าน มูลค่าเสียหาย 2.3 ล้านบาท กว่า 1,400 ไร่ จังหวัดเร่งหาทางเยียวยาเกษตรกร 807 ราย ไร่ละ 1,690 บาท วันที่ 21 มกราคม 2560 ว่าที่ ร.ต.สมัย คำชมพู ปลัดจังหวัดพะเยา เปิดเผยว่า สืบเนื่องจากในพื้นที่ปลูกหอมแดง ต.จำป่าหวาย อ.เมืองพะเยา จ.พะเยา ได้เกิดภัยพิบัติโรคระบาดในแปลงปลูกหอมแดงจำนวน 13 หมู่บ้าน ส่งผลกระทบต่อผลผลิตหอมแดงเสียหายจำนวน 1,405 ไร่ เกษตรกรได้รับผลกระทบจำนวน 807 ราย มูลค่าความเสียหาย 2,374,450 บาท จากสถานการณ์ปัญหาดังกล่าว ทางจังหวัดได้ประชุมหารือเพื่อหาทางออกและช่วยเหลือเกษตรกรผู้ได้รับผลกระทบในครั้งนี้ โดยคณะกรรมการช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติระดับจังหวัด (ก.ช.ภ.จ.)พะเยา ได้มีมติเห็นชอบประกาศให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน โรคระบาดพืชในเขต ต.จำป่าหวาย ปลัดจังหวัดพะเยา กล่าวต่อว่า รอผู้ว่าราชการจังหวัดพะเยาลงนามในประกาศแล้ว เกษตรกรที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ดังกล่าว จะได้รับเงินทดรองราชการ ชดเชยค่าเสียหายในอัตราไร่ละ 1,690 บาท ซึ่งจังหวัดจะเร่งดำเนินการในความช่วยเหลือครั้งนี้อย่างเร่งด่วนต่อไป ที่มา มติชนออนไลน์