หาบเร่
ยายอยู่ตัวคนเดียว.. หาบขนมเลี้ยงชีพ ขายไม่ค่อยได้ แต่จำต้องสู้ชีวิต ฝืนยื้มทั้งน้ำตา เป็นเรื่องราวที่ชาวเน็ตต่างพากันแชร์ออกไปจำนวนมาก หลังจากสมาชิกเฟซบุ๊ก Much Nannaphatโพสต์บอกเล่าเรื่องราวของคุณยาย คนหนึ่ง ที่แม้อายุมากแล้ว แต่ยังต้องสู้ชีวิต เพราะอยู่ตัวคนเดียว ลูกและสามีเสียชีวิตไปหมดแล้ว ทำให้ต้องดูแลตัวเอง โดยสมาชิกเฟซบุ๊กรายนี้ ระบุเรื่องราวว่า “ตอนแรกที่เห็นคือคุณยายนั่งอยู่หน้าศาลพระภูมิวินรถตู้ข้างเมเจอร์รังสิต นั่งคนเดียวอย่างในรูป กวักมือเรียกคนที่เดินผ่านไปมาแต่ก็ไม่มีใครสนใจเลยสักคน เลยเดินเข้าไปหาคุณยาย คุณยายน่าสงสารมาก ยายชื่อบอน พูดไปจะร้องไห้ไป ยายบอกลูกกับสามีตายหมดแล้ว เหลือตัวคนเดียว มาจากสุรินทร์ ใช้ชีวิตคนเดียว เพราะไม่มีคนเลี้ยงดู ไม่มีญาติ ยายขายขนมแถวฟิวเจอร์-เมเจอร์รังสิต ยายบอกขายไม่ค่อยได้หรอก แต่ก็ต้องขายต้องสู้ชีวิต เพราะไม่มีจะกิน สีหน้าตอนพูดคือยายยิ้มแต่น้ำตาปริ่ม เราคนคุยด้วยเรายังจะร้องไห้ตามเลย ใครที่ผ่านมาแถวนี้ช่วยอุดหนุนยายหน่อยนะคะ ยายน่ารักมาก ขนมที่ยายขายมีหลายอย่างเลย ห่อละ 35 บาท 3 ห่อ 100”
จุดจบ หาบเร่แผงลอย กทม.ไม่อนุโลมให้กลับมาขาย ทางเท้าคือที่คนเดิน! วันที่ 26 พ.ย. ที่อาคารธานีนพรัตน์ ศาลาว่าการ กทม. 2 ดินแดง นางศิลปสวย ระวีแสงสูรย์ ปลัดกรุงเทพมหานคร (กทม.) กล่าวถึงกรณี นายธนาคม จงจิระ รองปลัดกระทรวงมหาดไทย (มท.) ปฏิบัติราชการแทนปลัดมท.ลงนามในหนังสือด่วนที่สุด ถึงปลัดกทม. เพื่อขอให้พิจารณาแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของผู้ค้า หาบเร่แผงลอย พร้อมให้แจ้งแนวทางการดำเนินการตามแนวที่เสนอให้ มท. ทราบ ภายในวันที่ 22 พ.ย.ที่ผ่านมา โดยหนึ่งแนวทางที่มท.เสนอกทม.ดำเนินการ คือ การพิจารณาให้กลุ่มผู้ค้าหาบเร่แผงลอยกลับมาค้าขายในพื้นที่เดิมก่อนจนกว่าจะมีมาตรการแก้ไขปัญหาร่วมกัน โดยนางศิลปสวย กล่าวว่า นายสมภาคย์ สุขอนันต์ รองปลัดกทม. ดูแลด้านสำนักเทศกิจและจัดระเบียบเมือง ได้ส่งหนังสือตอบกลับไปยังมท.แล้ว โดยกทม.ยังคงยืนยันไม่อนุโลมให้ผู้ค้าหาบเร่แผงลอยกลับมาขายยังพื้นที่เดิมที่กทม.ได้จัดระเบียบพื้นที่ดังกล่าวไปแล้ว ไม่เช่นนั้น นโยบายคืนทางเท้าประชาชนของ กทม.ที่ดำเนินการมาจะสูญเปล่า ที่ผ่านมา พื้นที่ที่ กทม.จัดระเบียบไปแล้ว ยอมรับว่ามีประสิทธิผลและปัจจุบันประชาชนได้รับการอำนวยความสะดวกในการใ
นายสมชาย พรรัตนเจริญ นายกสมาคมค้าส่งปลีกไทย เปิดเผยว่า ต้องการให้รัฐบาลหามาตรการช่วยลดต้นทุนร้านค้ารายย่อย โดยเฉพาะร้านค้ารายย่อยและร้านอาหารริมที่ตั้งตามบริเวณฟุตปาธ เช่น การเจรจาในการหาพื้นที่เช่าในราคาถูก หรือ แก้ปัญหาการเก็บส่วยของผู้มีอิทธิพลในบางพื้นที่ จนส่งผลกระทบต่อร้านค้าที่ทำมาหากิน เนื่องจากต้นทุนที่สูงทำให้ผู้ค้ารายย่อยต้องประสบปัญหาความเดือดร้อน ยิ่งในภาวะปัจจุบันที่กระทรวงพาณิชย์มีมาตรการในการดูแลราคาสินค้าทั่วไป รวมถึง ข้าวราดแกง อาหารตามสั่ง ก๋วยเตี๋ยว เป็นต้น เพื่อลดค่าครองชีพให้กับประชาชน “ร้านค้าที่ขายตามริมถนน หรือตามฟุตปาธนั้น บางรายยังมีการจ่ายส่วยกันอยู่จึงเป็นต้นทุน ดังนั้นอยากให้ภาครัฐเข้ามาช่วยเหลืออย่างเข้มงวด ประกอบกับมาตรการกำหนดราคาอาหารห้ามเกินกี่บาทนั้น ส่วนใหญ่ก็จะกระทบต่อร้านค้ารายย่อยทั้งนั้น ไม่ว่าจะเป็นข้าวกระเพรา หรืออาหารตามสั่ง ซึ่งตรงกันข้ามร้านค้าต่างชาติที่เป็นแบรนด์ดังๆ ขายข้าวกระเพราจานละกว่า 100 บาท แต่ภาครัฐไม่สามารถทำดำเนินการได้ ต่างจากรายย่อยที่ขาย 70-80 บาทต่อจานกลับถูกร้องเรียนว่าขายแพงทั้งๆ ที่คุณภาพอาหารไม่ต่างกัน” อย่างไรก็ตาม อยา
มื่อวันที่ 12 มิ.ย. ที่ศูนย์บริการประชาชน ทำเนียบรัฐบาล เครือข่ายภาคีเครือข่ายธรรมาภิบาลแห่งชาติ ยื่นเรียกร้องถึง พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) เพื่อขอให้ยกเลิกการจัดระเบียบผู้ค้าหาบเร่แผงลอยในพื้นที่กรุงเทพมหานคร โดยหลังจากดำเนินการ 8 เดือนที่ผ่านมา ส่งผลให้ผู้ค้าขาดรายได้ในการขายของ ซึ่งเป็นการประกอบอาชีพ อีกทั้งยังมีผลกับประชาชนผู้ที่ต้องการซื้ออาหารง่ายๆ รับประทาน สวนกับแนวทางการทำสตรีทฟู้ด จึงอยากจะให้นายกรัฐมนตรีทบทวน และยกเลิกการดำเนินการดังกล่าวเนื่องจาก พื้นที่ที่ทางกรุงเทพมหานครจัดให้ ไม่สามารถค้าขายได้จริง หรือที่ภาษาชาวบ้านเรียกว่า เจ๊ง แต่ทางกทม.ไม่เคยมาติดตามดูผลเลยว่าตลาดนั้นๆ จะสามารถทำการค้าได้จริงหรือไม่ เพียงแค่เป็นการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าเพื่อให้ผู้ค้าพ้นออกจากพื้นที่ซึ่งทางกทม. มีหน้าที่กำกับดูแลส่งเสริมอาชีพแก่ประชาชน เราจึงต้องนำปัญหามาบอกให้นายกฯทราบ ก็หวังว่านายกฯจะแก้ไขให้พวกเราโดยด่วน
เมื่อวันที่ 5 ม.ค. นายสัจจะ คนตรง รองผู้อำนวยการสำนักเทศกิจ กรุงเทพมหานคร (กทม.) เปิดเผยกรณีศาลปกครองมี คำสั่งคุ้มครองชั่วคราวผู้ค้าหาบเร่แผงลอยใน 6 พื้นที่เขต ได้แก่ พญาไท ปทุมวัน ราชเทวี ทวีวัฒนา ราษฎร์บูรณะ และบางกะปิ เป็นเวลา 60 วัน ว่า กทม.พร้อมปฎิบัติตามคำสั่งศาลปกครอง แต่หลังคำสั่งศาลสิ้นสุด จะให้เจ้าหน้าที่เทศกิจเข้าไปยึดพื้นที่เพื่อปรับปรุงภูมิทัศน์ทันที ทั้งนี้ พล.ต.ท.อำนวย นิ่มมะโน รองผู้ว่าฯ กทม.มีแนวปฎิบัติให้ทุกสำนักงานเขตยกเลิกจุดผ่อนผัน 6 แนวทาง เพื่อให้มี น้ำหนักสามารถสู้คดีกับกลุ่มผู้ค้าได้ คือ 1.ควรประชุมหรือชี้แจงกับผู้ค้าว่ามีผลกระทบต่อสาธารณชนอย่างไร และต้องมีหลักฐานและบันทึกภาพถ่าย 2.ควรชี้แจงก่อนปิดประกาศและต้องมีการแจกเอกสารประชาสัมพันธ์ไม่น้อยกว่า 1 เดือน ก่อนดำเนินการ 3.สำนักงานเขตอาจหาแผงหรือตลาดที่ กทม.ดำเนินการอยู่แล้วให้ผู้ค้าและต้องแจ้งให้ผู้ค้าทราบไม่น้อยกว่า 2 เดือน 4.เมื่อยกเลิกจุดผ่อนผันแล้วให้ทุกสำนักงานเขตเข้าปรับปรุงภูมิทัศน์ทันที 5.ให้บันทึกการให้ปากคำของประชาชนที่เดือดร้อนจากการสัญจรไปมาและหลังจากปรับปรุงแล้วว่าให้ผลดีอย่างไร และ 6.มีภาพเปรียบเ
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า จากที่มีการแชร์กันในโลกโชเชี่ยล ว่า มีการนำกาละมังเครื่องใช้มาแลกโทรศัพท์เก่าของชาวบ้าน ซึ่งเกิดความเป็นห่วงว่าจะเป็นการนำไปใช้ก่อเหตุความไม่สงบ พบว่า เมื่อวันที่ 30 ก.ย. ที่ผ่านมา ร.ต.ท.พิทักษ์พงศ์ นันตา รองสวป.สภ.สูงเม่น ปฏิบัติหน้าที่ร้อยเวรป้องกันและปราบปราม พร้อมกับสายตรวจ ได้เชิญตัวกลุ่มพ่อค้าแม่ค้า นำกาละมังบรรทุกรถปิ๊กอัพ โตโยต้า วีโก้ บรอนซ์เงิน หมายเลขทะเบียน ผค 2779 ขอนแก่น มีกาละมังเต็มรถมาเร่แลกปลี่ยนกับโทรศัพท์มือถือ หลังจากทำทะเบียนประวัติแล้วได้ปล่อยตัวไป ทั้งนี้ เจ้าหน้าที่ตำรวจได้เตือนให้ประชาชน อย่านำโทรศัพท์ไปแลกกับสิ่งของ เพราะอาจตกเป็นเหยื่อของผู้นำไปก่อความไม่สงบได้ ที่มา ข่าวสดออนไลน์