อนุทิน
อนุทิน เผย ฤกษ์ดี 9 มิ.ย.นี้ ปลูกกัญชาถูกกฎหมาย ไม่ใช่ยาเสพติดแล้ว วันที่ 13 พ.ค. 2565 นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรมว.สาธารณสุข เผยว่า ตั้งแต่วันที่ 9 มิ.ย. ประชาชนสามารถปลูกกัญชาได้ถูกกฎหมาย หลังประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง ชื่อยาเสพติดให้โทษประเภท 5 พ.ศ. 2565 มีผลบังคับใช้ เพราะกัญชาจะไม่ใช่ยาเสพติดอีกต่อไป โดยปลดล็อกทุกส่วนของกัญชา กัญชง ที่ปลูกภายในประเทศ ไม่ใช่ยาเสพติด ยกเว้นสารสกัดที่มีสาร THC เกิน 0.2% แม้ว่าร่าง พ.ร.บ.กัญชาของพรรคภูมิใจไทย จะเข้าสภาไม่ทัน 9 มิ.ย. แต่ทางกระทรวงได้ชี้แจงการใช้กัญชาแล้ว ทางเจ้าหน้าที่กระทรวงสาธารณสุขได้อธิบาย เรื่องกัญชาเสรีต้องใช้อย่างไรถึงถูกต้อง เพราะฉะนั้น คนที่ใช้ผิด คือ คนที่ตั้งใจจะใช้ผิด ต้องมาดูเรื่องกฎหมายสาธารณสุขมาดูแลต่อไป ย้ำว่า ทำนโยบายนี้เพื่อให้คนได้ใช้ประโยชน์ของกัญชา ไม่ใช่ใช้ส่วนที่เป็นโทษ ต้องขอความร่วมมือจากทุกฝ่าย นโยบายกัญชา คือกัญชาทางการแพทย์เท่านั้น ถ้าคนบริโภคในอัตราที่เหมาะสมจะเกิดประโยชน์ แต่ถ้าขาดความเข้าใจแล้วไปใช้ทางที่ผิด หวังว่าจะออกฤทธิ์ให้สุขภาพดีขึ้นไม่มีทาง มีแต่โทษ ต้องเข้าใจเรื่องนี้ เชื่อว่าทุก
จุดพลุฉลอง! อนุทิน เซ็นปลดล็อก กัญชา พ้นยาเสพติด อย่างเป็นทางการ เว็บไซต์ มติชนออนไลน์ รายงานข่าว เมื่อวันที่ 8 กุมภาพันธ์ ที่กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการ สธ. เป็นประธานในพิธีลงนามประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง ระบุชื่อยาเสพติดให้โทษในประเภทที่ 5 พ.ศ. 2565 ปลดกัญชาออกจากยาเสพติด นายอนุทิน กล่าวว่า วันนี้เป็นอีกหนึ่งหน้าประวัติศาสตร์ใหม่ที่สำคัญ เป็นการลงนามประกาศกระทรวงสาธารณสุข เพื่อ ปลดล็อกกัญชา กัญชง ออกจากยาเสพติดให้โทษประเภทที่ 5 (ยส.5) โดยเจตนารมณ์หลักคือ การใช้เพื่อการแพทย์ เพื่อให้ประชาชนเข้าถึงการใช้กัญชาเพื่อรักษาสุขภาพของตนเอง และการต่อยอดให้เป็นพืชเศรษฐกิจ ในวันนี้กัญชาและกัญชง ที่ยังเป็นยาเสพติดจะเหลือเพียงสารสกัดที่มีค่าทีเอชซี (THC) มากกว่าร้อยละ 0.2 โดยน้ำหนัก โดยประกาศนี้จะมีผลบังคับใช้ใน 120 วันหลังจากประกาศในราชกิจจานุเบกษา “กัญชามีประโยชน์ในทุกส่วน เพื่อให้ประชาชนมีทางเลือกต่างๆ ในการใช้ประโยชน์จากกัญชา นี่เป็นส่วนสำคัญที่ทำให้ สธ. ต้องเร่งผลักดันเรื่องนี้ ขอให้ประชาชนใช้ประโยชน์อย่างถูกต้อง อย่างเต็มที่ เพื่อสร้างรายได้
ใกล้ความจริง? เสี่ยหนู โพสต์ทำเต็มที่ ดัน “กัญชา” เป็นพืชสมุนไพรปลูกได้หลังบ้าน นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ในฐานะหัวหน้าพรรคภูมิใจไทย (ภท.) โพสต์ผ่านเฟซบุ๊ก อนุทิน ชาญวีรกูล ระบุว่า “วันนี้ที่ทำเนียบรัฐบาล มีการประชุมของคณะกรรมการยาเสพติดแห่งชาติ เพื่อพิจารณาประกาศของกระทรวงสาธารณสุข ระบุชื่อยาเสพติดให้โทษประเภท 5 ที่สุดแล้ว ทางคณะกรรมการท่านพิจารณามีมติให้ผ่านร่างที่สำคัญนี้ ซึ่งระบุชื่อยาเสพติดเป็น 3 ส่วน ส่วนที่ 1. คือพืชฝิ่น 2. เห็ดขี้ควาย และ 3. สารสกัดจากกัญชา กัญชง ที่มีค่า THC กว่า 0.2% ซึ่งเป็นไปตามที่ WHO ให้การยอมรับ เท่ากับอะไรที่นอกเหนือจากนั้น ปลดออกมาแล้ว ขั้นตอนต่อไป ทาง ป.ป.ส. จะนำผลการประชุมไปยืนยัน แล้วส่งมาให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขเซ็นอีกครั้ง ก่อนประกาศบังคับใช้ในราชกิจจานุเบกษา ตามกระบวนการกฎหมาย หลังประกาศในราชกิจจาฯ ส่วนที่ 1-2 มีผลทันที เพราะมีโทษชัดเจน แต่ในส่วนที่ 3 หรือสารสกัดจากกัญชา มีผลบังคับหลังจากประกาศราชกิจจาฯ ประกาศใช้ 120 วัน สิ่งที่ต้องทำเลยคือ การวางกฎ ตีกรอบการใช้สารสกัดจากกัญชา
อนุทิน ขอประชาชนฉีดวัคซีนให้ครบโดส ก่อนเข้าร่วมงานเทศกาลปีใหม่ เมื่อวันที่ 14 ธันวาคม 2564 นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข กล่าวถึงความคืบหน้าการฉีดวัคซีนโควิด-19 ของประเทศไทย ว่า ขณะนี้อัตราการฉีดวัคซีนทยอยเพิ่มขึ้นอย่างช้าๆ เนื่องจากที่ผ่านมามีผู้เข้ามารับวัคซีนจำนวนมากแล้ว ล่าสุด ข้อมูลที่รายงานผ่านระบบหมอพร้อม วันที่ 14 ธันวาคม 2564 จนถึงเวลา 12.30 น. สามารถฉีดได้ 140,461 โดส สะสม 97,893,176 โดส แบ่งเป็นเข็มแรก 50,012,231 ราย ซึ่งเกิน 50 ล้านคนตามเป้าหมายที่ตั้งไว้แล้ว ส่วนเข็มที่สอง 43,572,451 ราย เข็มที่สาม 4,266,735 ราย และเข็มที่สี่ 41,759 ราย ทั้งนี้ กระทรวงสาธารณสุขยังเดินหน้าให้บริการวัคซีนโควิด-19 อย่างต่อเนื่อง ทั้งผู้ที่ยังไม่ได้รับวัคซีนเลย ผู้ที่ยังไม่ได้รับวัคซีนครบ 2 เข็ม รวมถึงการฉีดกระตุ้นเข็มที่ 3 เพื่อเพิ่มภูมิคุ้มกันตามช่วงเวลาที่กำหนด โดยร่นระยะเวลาให้ผู้ที่ฉีดวัคซีนโควิด-19 ครบ 2 เข็ม ทั้งวัคซีนชนิดเดียวกันหรือสูตรไขว้ ได้ฉีดเข็มกระตุ้นหลังฉีดเข็มสองแล้ว 3 เดือน ดังนั้น ผู้ที่ฉีดครบ 2 เข็มในช่วงเดือนสิงหาคม-กันยายนจะสามารถมา
อนุทิน เผย วัคซีนจุฬาฯ-ใบยา เตรียมทดสอบในคนเฟส 1 ต้นเดือน ก.ย. วันที่ 13 ส.ค. 2564 นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า วัคซีนจุฬาฯ-ใบยา เริ่มพัฒนามาตั้งแต่กุมภาพันธ์ 2563 ทดสอบในหนูทดลองและลิง พบว่า ช่วยกระตุ้นภูมิคุ้มกันได้ดี แต่เนื่องจากยังไม่มีโรงงานผลิตวัคซีนด้วยพืชในประเทศ กระทรวงสาธารณสุข โดยสถาบันวัคซีนแห่งชาติ จึงสนับสนุนงบประมาณ 160 ล้านบาท ให้แก่จุฬาฯ และบริษัทใบยา ในการปรับปรุงพัฒนาโรงงานต้นแบบการผลิตวัคซีนและชีววัตถุโดยใช้พืช ใช้เวลา 8 เดือนในการปรับปรุงบนพื้นที่ชั้น 11 อาคารจุฬาพัฒน์ 14 ขนาด 1,200 ตารางเมตร ผ่านมาตรฐานสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) พร้อมรองรับการผลิตวัคซีนในขั้นต้น เริ่มตั้งแต่เพาะเลี้ยงแบคทีเรียพาหะสารพันธุกรรมของโคโรนาไวรัส ปลูกถ่ายลงในใบยาสูบ เพาะพันธุ์เพิ่มจำนวน และเก็บเกี่ยวเพื่อสกัดโปรตีนสำหรับใช้ผลิตวัคซีน ก่อนนำส่งไปทำวัคซีนให้บริสุทธิ์ ที่บริษัท คินเจ่น ไบโอเทค จำกัด จากนั้นผสมและแบ่งบรรจุวัคซีนที่สถานเสาวภาต่อไป ทั้งนี้ วัคซีนจุฬาฯ-ใบยา จะเริ่มต้นทดสอบในมนุษย์ เฟสที่ 1 ช่วงต้นเดือนกันยายน เบื้องต้นประ
ฟ้าทะลายโจร ใช้กับผู้ป่วยไม่มีข้อจำกัด อนุทิน เร่งปลูกเพิ่ม ให้ทันความต้องการ นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข พร้อมด้วย ดร.กนกวรรณ วิลาวัลย์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ลงพื้นที่ติดตามสถานการณ์ ผู้ติดเชื้อโควิด-19 เมื่อวันที่ 5 ส.ค. ที่ผ่านมา โดยได้ตรวจเยี่ยม พื้นที่โรงพยาบาลสนามแห่งใหม่ 2 แห่งของจังหวัดปราจีนบุรี ได้แก่ โรงพยาบาลสนาม อบจ.ปราจีนบุรีประชารักษ์ และโรงพยาบาลสนามอภัยภูเบศรประชารักษ์ เพื่อรองรับยอดผู้ติดเชื้อที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา ส่งผลให้ขณะนี้ จ.ปราจีนบุรี มีโรงพยาบาลสนามอยู่ทั้งสิ้น 8 แห่ง ได้แก่ 1. โรงพยาบาลสนามกองร้อยต่อสู้รถถังที่ 2 ค่ายพรหมโยธี รองรับผู้ป่วย 90 เตียง 2. โรงพยาบาลสนามกบินทร์บุรีประชารักษ์ รองรับผู้ป่วย 210 เตียง 3. โรงพยาบาลสนามประจันตคามประชารักษ์ รองรับผู้ป่วย 165 เตียง 4. โรงพยาบาลสนามศรีโพธิมาลัย รองรับผู้ป่วย 180 เตียง 5. โรงพยาบาลสนามบ้านสร้างศรีรักษ์ รองรับผู้ป่วย 70 เตียง 6. โรงพยาบาลนาดีประชารักษ์ รองรับผู้ป่วย 100 เตียง 7. โรงพยาบาลสนามอภัยภูเบศรประชารักษ์ รองรับผู้ป่วย 100
อนุทิน ต้องกล้าหาญ ลดสัดส่วนส่งออกวัคซีน แก้ปัญหาระบาด – ตาย ในประเทศ รศ.ดร.ภญ.จิราพร ลิ้มปานานนท์ นายกสภาเภสัชกรรม กล่าวว่า สภาเภสัชกรรม ได้ออกแถลงการณ์ เรียกร้องให้รัฐบาลแก้ปัญหาการระบาดและการตายจากโควิด-19 ด้วยนโยบายที่ชัดเจน 2 ประเด็นใหญ่ที่สำคัญ คือ หนึ่ง ยุทธศาสตร์การลดอัตราตาย เพื่อให้ระบบบริการสาธารณสุขรับมือได้ ปัจจุบันอัตราการเสียชีวิตจากโรคโควิด-19 วันละประมาณ 50-60 คน หรือ เดือนละประมาณ 1,500-1,800 คน ที่เป็นอยู่ปัจจุบัน โดยเฉพาะในเขตที่มีการระบาดรุนแรง เช่น กรุงเทพฯ และปริมณฑล และภาคใต้ มีจำนวนผู้ป่วยรอบริการจำนวนมาก หากมีจำนวนเพิ่มสูงขึ้นกว่านี้ใน 2-3 เดือนข้างหน้า จะเกินขีดความสามารถของระบบบริการที่จะรองรับได้ และมีผลกระทบต่อระบบบริการและบุคลากรสุขภาพอย่างรุนแรง ปัจจุบันอัตราการเสียชีวิต และป่วยหนักจากโควิด เป็น กลุ่มผู้สูงอายุ หรือผู้ที่มี 7 กลุ่มโรคเสี่ยงสูง ในกลุ่มนี้ เมื่อติดเชื้อแล้ว มีความเจ็บป่วยรุนแรง ต้องการระบบบริการที่ใช้บุคลากรและทรัพยากรจำนวนมากรองรับ และ ในกลุ่มนี้ มีอัตราตายถึงร้อยละ 10 ในขณะที่กลุ่มอื่นที่เหลือ มีอัตราตายร้อยละ 1 การป้องกันความเจ็บ
ย้อนประวัติ ร้านขาหมูเจริญแสงสีลม อร่อยระดับมิชลิน อนุทินยังเคยไปชิมมาแล้ว วันที่ 25 มิ.ย.2564 เป็นเรื่องน่าเศร้า เมื่อวงการอาหารต้องสูญเสีย นายบัญชา บรรเจิดประยูร เจ้าของร้านรุ่นที่ 2 ของร้านขาหมูเจริญแสงสีลม (ขาหมูเลิดสิน) ร้านขาหมูระดับตำนานที่หลายๆ คนชื่นชมในความอร่อย เส้นทางเศรษฐีออนไลน์ ขอพาย้อนตำนาน ร้านขาหมูเจริญแสงสีลม (ขาหมูเลิดสิน) จากคอลัมน์ของ ปิ่นโตเถาเล็ก มติชน ปิ่นโตเถาเล็ก ตามรอยพ่อไปชิมมาหลายสิบปีแล้ว นับเป็นขาหมูระดับตำนาน เปิดมานาน 60 ปี ตั้งแต่ พ.ศ.2502 ขาหมูเจ้านี้มีชื่อว่า “เจริญแสงสีลม” เจริญแสงสีลม อยู่ตรงปลายถนนสีลมก่อนถึงสามแยกบางรัก แรกเริ่มเดิมทีขายอยู่ในเพิงตรงตรอกข้างร้านสีลมสโตร์ ฝั่งเดียวกับโรงพยาบาลเลิดสิน บางคนจึงยังเรียกติดปากว่าขาหมูเลิดสิน แต่ย้ายมาอยู่ที่ตึกแถวในซอยฝั่ง “ตรงกันข้ามกับสเตททาวเวอร์ (State Tower)” เยื้องกับโรงพยาบาลนานแล้ว เดินเข้าซอยไปนิดเดียวก็จะเจอร้านขาหมูทางฝั่งขวา มีอ่างใส่ขาหมูใบเบ้อเริ่มอยู่ที่หน้าร้าน ตั้งโต๊ะออกมาด้านนอกตรงทางเท้าด้วย อีกข้างหนึ่งเป็นที่สำหรับซื้อกลับบ้านมีคนมุงเต็มไปหมด นั่นแหละ แสดงว่ามาถูกร้านแล้ว หรือ
กัญชา 6 ต้น เห็นผลสิ้นปีช้าไป อนุทิน ลั่น สำเร็จใน 3 เดือน เตรียมพร้อมเปิดประเทศ สืบเนื่องการริเริ่มนโยบายกัญชา 6 ต้น ได้สร้างความหวังให้แก่ประชาชนทั้งในการใช้ประโยชน์ด้านสุขภาพและสร้างรายได้สู่ครัวเรือน ถึงแม้ส่วนของใบ กิ่งก้าน ลำต้น ราก ของกัญชา จะถูกปลดจากรายการยาเสพติดตั้งแต่เดือนธันวาคม 2563 แต่ในความเป็นจริงต้องยอมรับว่า นโยบายกัญชา 6 ต้นที่ผ่านมา ยังไม่สามารถปฏิบัติได้อย่างกว้างขวาง มีเพียงแค่พื้นที่ภาคอีสานเท่านั้นที่มีประชาชนได้รับอนุญาตให้ปลูกกัญชา 6 ต้นที่บ้าน ความคืบหน้าเรื่องดังกล่าว ล่าสุด ดร.ภก.อนันต์ชัย อัศวเมฆิน ประธานคณะกรรมการขับเคลื่อนนโยบายกัญชาเสรีทางการแพทย์ เป็นประธานในการประชุมคณะกรรมการขับเคลื่อนนโยบายกัญชาเสรีทางการแพทย์ครั้งที่ 8 เมื่อเร็วๆ นี้ เปิดเผยว่า ทาง นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกฯ และรมว.สาธารณสุข ได้เห็นควรให้ผลักดันนโยบายกัญชา 6 ต้น ให้ชัดเจนภายใน 3 เดือน เพื่อเตรียมผลิตภัณฑ์และบริการที่เกี่ยวข้องกับกัญชาสำหรับการบริการแก่นักท่องเที่ยว ขานรับนโยบายเปิดประเทศ โดยจากการพิจารณาร่วมกันของคณะกรรมการ พบสาเหตุที่แท้จริงของปัญหาความล่าช้า ได้แก่ งบประมาณ กร
อนุทิน เดินหน้า โครงการกัญชา 6 ต้น ตั้งเป้า 5,000 ครัวเรือน ในสิ้นปี 64 ภายหลังจาก นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ได้เดินทางไปเปิดโครงการกัญชา 6 ต้นแห่งแรกที่ “บ้านโนนมาลัย” ต.หินเหล็กไฟ อ.คูเมือง จ.บุรีรัมย์ ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากกรมการแพทย์แผนไทย และสถาบันกัญชาทางการแพทย์ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข และต่อมา ได้มีการประชุมคณะกรรมการขับเคลื่อนนโยบายกัญชาเสรีทางการแพทย์ โดย ดร.ภก.อนันต์ชัย อัศวเมฆิน คณะที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ประธานการประชุม ได้นำนโยบายดังกล่าวมาพูดคุยกัน โดยมีการถอดบทเรียนจากโนนมาลัย พร้อมตั้งเป้า 5,000 ครัวเรือนที่ได้ปลูกกัญชา 6 ต้นภายในปี 2564 ซึ่งโครงการดังกล่าวเป็นความหวังของพี่น้องประชาชนที่จะมีรายได้จากการปลูกกัญชา ด้วยต้นทุนที่ไม่แพง นพ.ปราโมทย์ เสถียรรัตน์ ผู้ตรวจราชการกระทรวงสาธารณสุข เขตสุขภาพที่ 8 กล่าวถึงความคืบหน้าของการดำเนินงานกัญชา 6 ต้นว่า “เขตสุขภาพที่ 8 ทำงานโดยวางภาพใหญ่ก่อน โดยจุดเด่น คือ มีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสานวิทยาเขตสกลนคร, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตเฉลิมพระเกียรติ ส