อบรมอาชีพ
ร้านส้มตำไทยมุง ‘อุทุมพร(ใจ)’ จัดจ้านย่านบางลำพู ตำตัวโยก 100 ครกต่อวัน ร้านอาหารอีสานแซ่บจัดจ้านในย่านบางลำพู ต้องร้านส้มตำอุทุมพร (ใจ) ส้มตำสตรีตฟู้ดที่เปิดมายาวนานกว่า 25 ปี พิกัดถนน 13 ห้าง ข้างธนาคารกสิกรไทย ถ้ามาตอนเที่ยงหรือใกล้ๆ เที่ยง จะได้เห็นภาพไทยมุงยืนรอรับอาหารอยู่หน้าร้าน ปะปนกับพี่ๆ สองล้อไบเกอร์ดีลิเวอรี่ ขณะที่โต๊ะเต็มทุกที่นั่ง เรียกว่ารสมือของ พี่ใจ-อุทุมพร กิ้นบุราณ ที่แท้ทรู ที่ทำให้ลูกค้าพากันติดอกติดใจ กลายเป็นขวัญใจชาวบางลำพู และสำนักงานห้างร้านละแวกใกล้เคียง เพราะร้านนี้ไม่ได้ทำน้ำปรุงรสส้มตำเตรียมเอาไว้นะจ๊ะ เรียกว่าตำกันปรุงกันครกต่อครก สดๆ ใหม่ๆ รสแซ่บไม่ธรรมดา รวมถึงวัตถุดิบอย่างดีสดใหม่สะอาด ที่พี่ใจไม่เคยละเลยเรื่องนี้แม้สักวัน เมนูที่ใครมาก็ต้องสั่ง คือ ตำปูปลาร้า ที่พี่ใจมีสูตรการปรุงน้ำปลาร้ารสเด็ด แซ่บคักๆ ที่คอปลาร้าต้องมาตำให้ได้ นอกจากนี้มีตำผลไม้ ตำข้าวโพด ตำไทย ติดอันดับขายดี ช้าหมดอดกิน ราคาขายสุดแสนจะย่อมเยาเพียงครกละ 50 บาทเท่านั้น รวมถึงลาบ น้ำตก จัดจ้านเข้มข้น และต้มแซ่บกระดูกอ่อน ที่แซ่บนัวสมชื่อ กระดูกอ่อนติดเนื้อหมูเปื่อยนุ่ม
“แม็คกรุ๊ป” สานต่อ “โครงการแม็คกรุ๊ปฝึกสอนเย็บผ้าพัฒนาอาชีพ” จัดพิธีมอบประกาศนียบัตรผู้สำเร็จการอบรม รุ่นที่ 6 เดินหน้าสร้างอาชีพ ยกระดับคุณภาพชีวิตคนในชุมชนอย่างยั่งยืน จบการอบรมสำหรับ โครงการแม็คกรุ๊ปฝึกสอนเย็บผ้าพัฒนาอาชีพ รุ่นที่ 6 ซึ่งเป็นความร่วมมือระหว่าง 3 ภาคส่วน ทั้งภาครัฐ ประชาชน และเอกชน ประกอบด้วย สำนักงานเขตประเวศ โรงเรียนสุเหร่าศาลาลอย ที่ให้การสนับสนุนพื้นที่ในการจัดฝึกอบรม และบริษัท แม็คกรุ๊ป จำกัด (มหาชน) หรือ MC องค์กรธุรกิจค้าปลีก ประเภทสินค้าแฟชั่นและไลฟ์สไตล์ “แม็คยีนส์” เปิดหลักสูตรการเรียนการสอนเย็บผ้า โดยพนักงานของบริษัทร่วมเป็นครูฝึกสอนด้วยจิตอาสา เพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้และประสบการณ์ให้แก่ประชาชนที่สนใจ สามารถนำความรู้และประสบการณ์ที่ได้รับไปประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อตนเอง ครอบครัว และสังคม ล่าสุด แม็คกรุ๊ป ร่วมกับเขตประเวศ ได้จัดพิธีมอบประกาศนียบัตรให้กับผู้เข้าร่วมอบรมครบ 48 ชั่วโมง โดยนายพงษ์ศักดิ์ ตันธนพิพัฒน์ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ฝ่ายกลยุทธ์และการพัฒนาธุรกิจเพื่อความยั่งยืน บริษัท แม็คกรุ๊ป จำกัด (มหาชน) สำหรับโครงการแม็คกรุ๊ปฝึกสอนเย็บผ้าพัฒนาอา
ขึ้นแท่นเป็นหนึ่งผู้คร่ำหวอดในวงการ แค็กตัส มายาวนานนับสิบปี สำหรับ คุณจิ๊บ–สุนทรียา ฮวบดี อดีตสาวออฟฟิศ ผู้หลงรักการปลูกกระบองเพชร ไม้หนามต้นเล็กๆ มาแต่ไหนแต่ไร ครั้นเมื่อเวลาผ่านไป จากเคยเล่นบท ผู้เลี้ยง ใช้วันว่างเดินเล่นตามตลาดนัดจตุจักร ทยอยหาซื้อต้นละ 10 บาท 20 บาท มาประดับบ้าน ประดับโต๊ะทำงาน ปัจจุบัน เธอกลายเป็นผู้ขาย ในฐานะเจ้าของสวนขนาดกลางถึง 2 แห่ง แต่ละแห่งมีพื้นที่ปลูกแค็กตัสหลายโรงเรือน ที่สำคัญ ธุรกิจที่เธอลาออกจากงานประจำมาดูแลเต็มตัวนี้ สามารถสร้างผลตอบแทนได้เป็นอย่างดี (ที่เธอแอบกระซิบว่า มากกว่าเงินเดือนที่เคยได้หลายเท่า) มีลูกค้าหมุนเวียนทั้งซื้อปลีก ซื้อส่ง มาอุดหนุนไม่เว้นวัน เรียกว่า สถานการณ์แพร่ระบาดของโรคติดต่อในยามนี้ ไม่สามารถสร้างผลกระทบใดๆ ได้เลย ล้นตลาด ได้ยินมา 6 ปี ไม่เห็นล้นสักที “ตลาดต้นไม้ คึกคักกว่าหลายธุรกิจ อาจเป็นเพราะโควิด ทำให้คนอยู่บ้านมากขึ้น แต่ร้านต้นไม้ไม่ถูกสั่งปิด คนอยากหาต้นไม้เล็กๆ ไปเลี้ยง พอเลี้ยงแล้วเกิดรัก หันมาเล่นจริงจัง มือใหม่มีความสนใจกันมากขึ้น ทำให้ไม้แค็กตัส บูมมาก” คุณจิ๊บ วิเคราะห์ให้ฟังเป็นการเริ่มต้น ก่อนบอก มั่น
หลายคนที่อ่านบทความว่าด้วย การสร้างอาชีพเสริมของมนุษย์เงินเดือน ทำให้เกิดแรงบันดาลใจ อยากจะมองหาสักอาชีพหนึ่งที่จะสามารถสร้างรายได้เสริมไปจากเงินเดือนปกติ เอาจริงๆ การทำอาหารประเภทเบเกอรี่ หรือ ขนมอบ ก็เป็นหนึ่งในอาชีพเสริมที่น่าสนใจ ด้วยว่าใช้เวลาหลังเลิกงาน หรือเวลาว่างวันหยุด ทำอยู่กับบ้านได้ หากติดที่ว่า ทำแล้ว จะไปขายใคร ก็ต้องตอบให้ได้ก่อนว่า สินค้าเรามีคุณภาพขนาดไหน อร่อยมั้ย วัตถุดิบเป็นอย่างไร ถ้าตอบคำถามเหล่านี้ได้หมด ตลาดเริ่มจากคนใกล้ตัว เพื่อน ญาติ เพื่อนร่วมงาน เพื่อนของเพื่อนของเพื่อน ฯลฯ รวมทั้งปัจจุบัน มีสื่อโซเชียล พรีออร์เดอร์กันได้สบาย แถมวิธีนี้ยังวางแผนการผลิตได้อีกด้วย ปัจจุบัน มีสินค้าคุณภาพที่ทำการตลาดด้วยการเปิดอบรมอาชีพให้กับผู้สนใจเลย เพื่อให้ง่ายต่อการเข้าถึงอาชีพนั้นๆ อีกทั้งการันตีได้ว่าจะได้สินค้าออกมาแบบไม่ต้องกังวลว่า คุณใช้วัตถุดิบอะไร อร่อยหรือไม่ มะลิ เป็นหนึ่งในแบรนด์ที่ว่านั้น ปัจจุบันเปิดสอนการทำอาหาร ราคาพิเศษ 599 บาท ก็เรียนได้ ทั้งของคาว ของหวาน เครื่องดื่ม คุณสุดถนอม กรรณสูต คุณสุดถนอม กรรณสูต กรรมการ บริษัท อุตสาหกรรมขนมไทย จำกัด เผยว
ระหว่างวันที่ 17-23 มกราคม 2561 มีงานวันยางพาราและกาชาดจังหวัดบึงกาฬ ประจำปี 2561 ภายใต้แนวคิด “ศาสตร์พระราชารุ่งเรือง เมืองศูนย์กลางยางพารา เกษตรอินทรีย์ก้าวหน้า เปิดประตูการค้าอินโดจีน” ณ สนามหน้าที่ว่าการอำเภอเมือง จังหวัดบึงกาฬ ภายในงานมีอบรมอาชีพฟรี ดังนี้ วันศุกร์ที่ 19 มกราคม เวลา 13.00-16.00 น. อบรมอาชีพทำข้าวเหนียวมูน 4 หน้า (หน้าสังขยา หน้ากระฉีก หน้าปลา และหน้ากุ้ง) วันเสาร์ที่ 20 มกราคม เวลา 09.00-12.00 น. อบรมอาชีพการทำสปาเกตตี 3 เมนู (คาโบนาร่า ซีฟู้ดไข่กุ้ง เบค่อนพริกแห้ง) เวลา 13.00-16.00 น. ไอศกรีม 3 รส ได้แก่ มะยมพริกเกลือ กล้วยบวชชี และฟักทองแกงบวด วันอาทิตย์ที่ 21 มกราคม เวลา 09.00-12.00 น. ข้าวหน้าไก่ เวลา 13.00-16.00 น.ก๋วยเตี๋ยวหมูตุ๋น วันจันทร์ ที่ 22 มกราคม เวลา 09.00-12.00 น. ซี่โครงหมูย่างและปีกไก่ทอดบาร์บีคิว เวลา 13.00-16.00 น. ขนมจีนน้ำยา 3 ชนิด ได้แก่ ขนมจีนซาวน้ำ น้ำยาปู และน้ำพริกกุ้งสด วันอังคารที่ 23 มกราคม เวลา 09.00-12.00 น. ข้าวหน้าหมูทอดทงคัตซึ ข้าวหน้าแกงกะหรี่หมูไข่ข้น เทมปุระผักรวม ซุปมิโสะ เวลา 13.00-16.00 น. เมนูป
นายสนธิรัตน์ สนธิจิรวงศ์ รัฐมนตรีช่วยว่ากระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า กระทรวงพาณิชย์ โดยกรมพัฒนาธุรกิจการค้า ได้จัดกิจกรรมทางลัดสร้างอาชีพ ซึ่งเป็นโครงการหนึ่งในการพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากประเทศให้เข้มแข็งและมั่นคง และรองรับการขึ้นทะเบียนคนจน 14 ล้านคนของภาครัฐที่จะมีมาตรการช่วยเหลือในการประกอบอาชีพต่อไป กิจกรรมสร้างอาชีพนี้ได้ร่วมมือกับธุรกิจแฟรนไชน์ เปิดอบรมฝึกอาชีพ และพัฒนาให้เป็นอาชีพสร้างรายได้ครัวเรือน ซึ่งเบื้องต้นจะเปิดอบรมสูตรลัดในการทำอาหารปรุงสำเร็จ โดยเปิดอบรมสำหรับผู้ไม่มีอาชีพและต้องการเป็นผู้ประกอบการก่อน 150 คน จากนั้นจะเชื่อมโยงเข้าโครงการร้านอาหารหนูณิชย์ และต่อยอดเป็นหนูณิชย์ติดดาว ทั้งนี้ ในวันที่ 12 กรกฎาคม เริ่มจากเปิดสอนก๋วยเตี๋ยวน้ำใส-เย็นตาโฟ จากร้านเย็นตาโฟตีลังกา และวันที่ 19 กรกฎาคม ร่วมกับมูลนิธิลุงขาวไขอาชีพสอนทำก๋วยเตี๋ยวน้ำตกและข้าวเหนียวหมูฝอย ที่กรมพัฒนาธุรกิจการค้า ก่อนขยายไปอบรมในต่างจังหวัดและเพิ่มการอบรมในอาชีพอื่นๆต่อไป นอกจากนี้ ได้มอบหมายให้กรมพัฒนาธุรกิจการค้า เร่งดำเนินการตามแผนงานปีงบประมาณ 2561 เพื่อให้สอดคล้องกับนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจรากหญ้าและเพิ่ม
“คนขยันไม่มีวันอดตาย” คำพูดติดหูของคนสู้ชีวิตหลายคน ที่แม้ยากจนแต่ถ้าอดทนทำกิน ชีวิตก็ไม่รู้จักคำว่าอดตาย ฉะนั้นลองมาเรียนรู้หาลู่ทางชีวิตใหม่ๆ หรือทำเป็นอาชีพเสริมให้กับตัวเอง ในช่วงข้าวยากหมากแพงยามนี้ อุทยานเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี สืบสานแนวพระราชดำริของสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี เรื่อง “เวลาเป็นของมีค่า” จึงเปิดหลักสูตรการฝึกอาชีพในแขนงต่างๆ โดยได้รับเกียรติจากวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิจากสถาบันที่มีชื่อเสียง มาให้ความรู้แก่ประชาชนที่สนใจอบรม เพื่อเป็นการส่งเสริมและสามารถนำความรู้ที่ได้รับไปเผยแพร่ต่อยอดเป็นอาชีพเสริม อาทิ หลักสูตรอาหารและขนม เพียงหลักสูตรละ 500 บาท วันอาทิตย์ที่ 14 พฤษภาคม 60 หลักสูตร กระทงทอง ไส้ยำทูน่า ไส้ไก่ข้าวโพด และถุงทอง ไส้หมูสับ วันอาทิตย์ที่ 21 พฤษภาคม 60 หลักสูตร ละมุนโกมล และสกุณาภูทอง วันอาทิตย์ที่ 28 พฤษภาคม 60 หลักสูตร ปั้นสิบนึ่งไส้ไก่ และช่อม่วง วันอาทิตย์ที่ 4 มิถุนายน 60 หลักสูตร ข้าวต้มมัดชาววัง (ไส้กล้วย เผือก มัน) วันอาทิตย์ที่ 11 มิถุนายน 60 หลักสูตร ขนมจีนน้ำยาสี่ภาค และสำหรับผู้ที่สนใจ ชื่นชอบในการจัดดอกไม้