อภัยภูเบศร
โครงการศูนย์การเรียนรู้การดูแลสุขภาพประชาชน ด้านการแพทย์แผนไทยอภัยภูเบศร เผยแพร่สูตร การทำ “ยาดมสมุนไพร” และ “กำยานกันยุง” ให้แก่ประชาชนหรือชุมชนต่างๆ ที่สนใจ เพื่อนำไปทดลองทำกันได้ไม่ยาก และหากมีผู้ประกอบการสามารถนำไป “ต่อยอด” สร้างเป็นอาชีพก่อให้เกิดรายได้ ย่อมจะเกิดประโยชน์ต่อระบบเศรษฐกิจโดยรวมไม่น้อย เริ่มต้นกันที่ “ยาดมสมุนไพร” ยาดมสมุนไพร เป็นการนำสมุนไพรแห้งที่มีกลิ่นหอมเย็น สดชื่นตั้งแต่ 2 ชนิดขึ้นไป เช่น ลูกจันทน์ ดอกจันทน์ กานพลู มาผสมกันแล้วหมักด้วยน้ำมันหอมระเหย ซึ่งน้ำมันหอมระเหยจะเป็นตัวสกัดสารสำคัญและกลิ่นของสมุนไพรออกมา ส่วนประกอบ สมุนไพร เปลือกสมุลแว้ง โกฐหัวบัว โกฐสอ ดอกจันทน์ กานพลู พริกไทยดำ ว่านเปราะหอม อย่างละ 1 ส่วน สารเคมี พิมเสน 2 กรัม การบูร 4 กรัม เมนทอล 8 กรัม น้ำมันยูคาลิปตัส 16 มิลลิลิตร วิธีทำ 1. นำสมุนไพรทั้งหมด มาหั่นเป็นชิ้นเล็กๆ และบุบพริกไทยดำเล็กน้อย 2. นำพิมเสน การบูร เมนทอล และน้ำมันยูคาลิปตัส มาผสมกันในถ้วยแก้วให้ละลายเป็นเนื้อเดียวกัน 3. จากนั้นนำสมุนไพรที่หั่นแล้วใส่ในขวดแก้ว 4. เติมส่วนผสมในข้อ 2 ลงไปในขวดแก้วให้ท่วมตัวสมุนไพร ปิดฝาให้สนิท 5.
พลิกฟื้นภูมิปัญญา พัฒนา Soft Power หวังท้องถิ่น สร้างรายได้จากการท่องเที่ยว เมื่อเร็วๆ นี้ สำนักงานท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัดปราจีนบุรี ร่วมกับ โรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศรและสมาคมท่องเที่ยวปราจีนบุรี จัดกิจกรรมฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการอาหารเพื่อสุขภาพตำรับเมืองปราจีนบุรี และมาตรฐานนวดแผนไทย ให้กับผู้ประกอบการท่องเที่ยวและอาหาร ณ ภูมิภูเบศร ศูนย์การเรียนรู้สมุนไพรและภูมิปัญญาสุขภาพ บางเดชะ ต.บางเดชะ อ.เมืองปราจีนบุรี จ.ปราจีนบุรี โดยกิจกรรมดังกล่าวอยู่ภายใต้โครงการ พัฒนา Soft Power เมืองสมุนไพรปราจีนบุรี นางจารุณี กาวิล รองผู้ว่าราชการจังหวัดปราจีนบุรี กล่าวว่า กิจกรรมครั้งนี้ สนับสนุนนโยบายปีแห่งการท่องเที่ยวและกีฬา เพื่อยกระดับประเทศไทยสู่ศูนย์กลางการท่องเที่ยวของภูมิภาค เน้นการส่งเสริม Soft Power ชูจุดเดินทางของประเทศไทย ส่งเสริมทั้งเมืองหลักและเมืองน่าเที่ยว เพื่อให้บรรลุเป้าหมายที่จะดึงดูดนักท่องเที่ยวต่างชาติ ให้เข้ามาท่องเที่ยวในประเทศไทย 39 ล้านคน และสร้างรายได้ทางการท่องเที่ยวรวม 3.5 ล้านล้านบาท ในปี พ.ศ. 2568 ซึ่งเป็นนโยบายสำคัญของรัฐบาล จังหวัดปราจีนบุรี ได้ถูกยกให้เป็น 1 ใน 4 ต้น
สืบสานภูมิปัญญา ผลักดันปราจีนบุรี ขึ้นแท่น “Silicon Valley ด้านสมุนไพร” เมื่อเร็วๆ นี้ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดปราจีนบุรี ร่วมกับ โรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร และ ภาคีเครือข่าย จัดงานมหกรรมภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทยปราจีนบุรี ครั้งที่ 1 ภายใต้แนวคิด “สืบสานภูมิปัญญาพื้นบ้าน สร้างสรรค์นวัตกรรม เสริมพลังการแพทย์แผนไทย เพื่อสุขภาวะประชาชน” เปิดประสบการณ์สุขภาพด้วยศาสตร์การแพทย์แผนไทย และสมุนไพร เพื่อเสริมความเข้มแข็งด้านสุขภาพด้วยภูมิปัญญาแผนไทย พญ.อรรัตน์ จันทร์เพ็ญ นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดปราจีนบรี (นพ.สสจ.ปจ.) กล่าวถึงความสำคัญของการจัดงานในครั้งนี้ว่า ถือเป็นโอกาสดีที่เราจะได้นำเสนอภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทยสู่ประชาชนอย่างกว้างขวาง โดยการรวมพลังจากหลายภาคส่วน ทั้งหน่วยงานด้านสาธารณสุขและวิสาหกิจชุมชน เพื่อนำความรู้เกี่ยวกับการใช้สมุนไพรและการดูแลสุขภาพด้วยศาสตร์แพทย์แผนไทยมาสู่คนในพื้นที่และประชาชนทั่วไป การจัดงานครั้งนี้ ยังเป็นการตอกย้ำว่าจังหวัดปราจีนบุรี เป็นเมืองสมุนไพรต้นแบบ และได้ดำเนินการมาอย่างต่อเนื่องกว่า 7 ปี โดยภายในงานได้นำอัตลักษณ์ด้านการแพทย์แผนไทยและสมุนไพรมาให้บริการประชาช
สมุนไพรไทย ซอฟต์พาวเวอร์ของชาติ เร่งต่อยอด คืนความร่ำรวยให้แผ่นดิน กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ ได้มีการประเมินถึงภาพรวมธุรกิจสมุนไพร พบว่า ปัจจุบันธุรกิจสมุนไพรเป็นโอกาสของผู้ประกอบการรายย่อยของไทยในการเข้าทำธุรกิจ สามารถเปลี่ยนภูมิปัญญาท้องถิ่นสู่ผู้เล่นในตลาดอุตสาหกรรม โดยหยิบยกมูลค่าผลิตภัณฑ์สมุนไพรทั่วโลกปี 2565 มีมูลค่าสูงถึง 1.99 แสนล้านเหรียญสหรัฐฯ และคาดการณ์ว่าปี 2576 มูลค่าจะอยู่ที่ 4.17 แสนล้านเหรียญสหรัฐฯ ถือว่าตลาดเติบโตทุกปี และเป็นตลาดใหญ่ และมีการแข่งขันกันสูง ดร.สุภาภรณ์ ปิติพร เลขาธิการมูลนิธิรพ.เจ้าพระยาอภัยภูเบศร ซึ่งถือเป็นเรี่ยวแรงสำคัญของการผลักดันสมุนไพรไทยให้เป็นที่รู้จักและยอมรับในระดับนานาชาติ ระบุว่า อภัยภูเบศร ไม่เคยมองใครเป็นคู่แข่ง แต่อยากให้เมืองไทยมีผู้ประกอบการสมุนไพรมากๆ เพื่อตลาดสมุนไพรจะได้เติบโต เพราะเกษตรกรจะได้ประโยชน์จากการกิน ใช้ สมุนไพรของประชาชน ข้อดีของประเทศไทยคือ มีความหลากหลายทางชีวภาพและภูมิปัญญาสูงมาก หากเราสามารถทำสิ่งที่มีอยู่ในแผ่นดิน และสร้างประโยชน์ได้ เราก็ควรจะช่วยกัน เพราะฉะนั้น จึงไม่รู้สึกว่า เราจะต้องได้ส่วนแบ่งตลาด
ต่อยอด สร้างอาชีพได้ ไม่อายใคร แพทย์แผนไทย Soft Power อนาคตไกล เมื่อเร็วๆ นี้ วิทยาลัยการแพทย์แผนไทยอภัยภูเบศร ในสังกัด คณะสาธารณสุขศาสตร์และสหเวชศาสตร์ สถาบันบรมราชชนก จัดแนะแนวการศึกษาต่อระดับปริญญาตรีให้กับผู้บริหารโรงเรียน อาจารย์แนะแนว นักเรียน ผู้ปกครอง ในจังหวัดปราจีนบุรี และพื้นที่ใกล้เคียง เพื่อให้เกิดความมั่นใจ ว่าการศึกษาการแพทย์แผนไทย เป็นภูมิปัญญาโบราณ ที่อยู่คู่คนไทยมานาน เป็นซอฟต์พาวเวอร์ที่ต่างชาติให้การยอมรับ สามารถต่อยอดไปประกอบอาชีพได้ โดยมี รศ.ดร.วิทยา อยู่สุข คณบดีคณะสาธารณสุขศาสตร์และสหเวชศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก ดร.สุภาภรณ์ ปิติพร เลขาธิการมูลนิธิโรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร อ.ชลาลัย โชคดีศรีจันทร์ รองผู้อำนวยการกลุ่มวิจัยและบริการวิชาการ วิทยาลัยการแพทย์แผนไทยอภัยภูเบศร ร่วมบรรยาย รศ.ดร.วิทยา กล่าวว่า สถาบันพระบรมราชชนก เปิดสอนหลักสูตรการแพทย์แผนไทยประยุกต์บัณฑิต มีความสัมพันธ์อันยาวนานกับโรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร ที่ให้ความร่วมมือทั้งด้านกายภาพ และวิชาการ ด้วยประสบการณ์และความเชี่ยวชาญในการผลิตและพัฒนาผลิตภัณฑ์สมุนไพร และการให้บริการด้านการแพทย์แผนไทยมานานเ
เสริมแกร่ง ผู้ประกอบการรายย่อย อบรมความรู้ ต่อยอดธุรกิจสมุนไพร ภญ.ดร.ผกากรอง ขวัญข้าว ผู้ช่วยผู้อำนวยการด้านการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก โรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร กล่าวว่า ระหว่างวันที่ 17-10 กรกฎาคม และ วันที่ 13-14 สิงหาคม ที่ผ่านมา โรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร ได้จัดโครงการอบรมผู้ประกอบการรายย่อยในการพัฒนาผลิตภัณฑ์จากสมุนไพร กลุ่มจังหวัดภาคตะวันออก 2 ประจำปี 2567 โดยการอบรมดังกล่าว ได้รับความร่วมมือและการสนับสนุนโดยงบประมาณกลุ่มจังหวัดภาคตะวันออก 2 มีวัตถุประสงค์เพื่อช่วยให้พี่น้องผู้ประกอบการรายย่อยในพื้นที่ภาคตะวันออก 2 ได้แก่ จังหวัด จันทบุรี ตราด นครนายก ปราจีนบุรี และ สระแก้ว ที่มีความสนใจในการพัฒนาธุรกิจสมุนไพรได้เพิ่มพูนทักษะความรู้และเพิ่มโอกาสในการยกระดับการประยุกต์ใช้สมุนไพรในพื้นที่ รวมถึงการต่อยอดสร้างอาชีพ สร้างรายได้ ในฐานะที่อภัยภูเบศรเองได้เป็นต้นแบบของการพัฒนางานด้านสมุนไพรมายาวนาน เราจึงคิดว่าน่าจะนำองค์ความรู้ที่มีและชุดประสบการณ์มาถ่ายทอดให้กับพี่น้องผู้ประกอบการเหมือนเป็นพี่เลี้ยงเพื่อช่วยให้สามารถสร้างผลิตภัณฑ์สมุนไพรที่มีคุณภาพสู่มือผู้บริโภคได้ ภญ.ดร.
แจกสูตร ยาดมสมุนไพร ซอฟต์พาวเวอร์ไทย ทรงคุณค่า ภูมิปัญญาในบ้านมีการทำยาดม ยาลม ใช้กันมานานแล้วรวมถึงเครื่องหอม โดยหลักการเพื่อใช้กลิ่นในการเข้าไปบำบัดปรับสมดุลของธาตุลม ในทางแผนไทยคือ เมื่อมีอาการ วิงเวียน เหนื่อย อ่อนเพลีย ไม่สดชื่นมักมีผลจากธาตุลมที่ทำงานไม่สมดุลปกติ จึงต้องมีการกระตุ้นให้ธาตุลมเดินสะดวก ที่ทำง่ายที่สุดคือ การใช้สมุนไพรที่มีกลิ่นหอม สดชื่นในการกระตุ้นและกระจายลม ก็จะช่วยบรรเทาอาการอ่อนเพลีย วิงเวียนศีรษะ รวมถึงแก้หวัดคัดจมูกได้ ซึ่งยาดมในประเทศไทยมีหลากหลายสูตรตำรับมากขึ้นกับความชอบและสูตรตำรับที่คิดค้น มีหลากหลายรูปแบบทั้งยาดมสมุนไพรแห้ง ยาดมแบบน้ำ รวมถึงบาล์ม สำหรับสมุนไพรในตำรับที่นิยมนำมาใช้ทำยาดมสมุนไพร และมีกลิ่นหอม เช่น ผิวมะกรูด ผิวส้ม มีน้ำมันหอมระเหยที่ให้ความสดชื่น ผ่อนคลาย สมุนไพรกลุ่มเครื่องเทศที่ช่วยกระจายลมได้ดี เช่น ดอกจันทน์ พริกไทย กระวาน กานพลู เปราะหอม อบเชย ลูกผักชี เหล่านี้มีสรรพคุณเด่นในด้านการขับลม กระจายลมได้ดี และยังสามารถเลือกใช้สมุนไพรตระกูลโกฐ เช่น โกฐสอ ทางยาไทยช่วยแก้ไข หวัด ไอ ทำหัวใจให้ชุ่มชื่น โกฐหัวบัวกลิ่นเอกลักษณ์ สรรพคุณกระจายล
แนะวิจัยต่อยอด ใบมะละกอ รักษามะเร็ง กัญชา กระท่อม รักษาคนติดยาบ้า เมื่อเร็วๆ นี้ นายสมศักดิ์ เทพสุทิน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข เป็นประธานเปิดอาคารนวัตกรรม เปรม ชินวันทนานนท์ มูลนิธิโรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร เพื่อขับเคลื่อนงานวิจัย นวัตกรรมสมุนไพร สอดรับกับนโยบาย IGNITE THAILAND เพื่อสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจของประเทศ ซึ่งล่าสุดได้วิจัยต่อยอดผลิตภัณฑ์มะระขี้นก เพื่อผลักดันส่งออกสู่ตลาดโลก รวมทั้งศึกษาวิจัยตำรับสมุนไพรเพิ่มทางเลือกให้กับผู้ป่วยในการรักษา นายสมศักดิ์ กล่าวว่า รู้สึกยินดีที่มูลนิธิโรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศรได้สร้างอาคารนวัตกรรม เปรม ชินวันทนานนท์ นี้เพื่อเป็นสถานที่วิจัยและพัฒนา ตลอดจนสร้างนวัตกรรมใหม่ๆ ให้กับสมุนไพร ซึ่งนอกจากจะช่วยเพิ่มทางเลือกให้กับผู้ป่วยแล้ว ยังสร้างโอกาสให้กับเครือข่ายนักวิจัย ตลอดจนกลุ่มเกษตรกรผู้ผลิตวัตถุดิบสมุนไพร ที่มีส่วนช่วยยกระดับการพัฒนาสมุนไพรไทยให้แข่งขันได้ในตลาดสากล นอกจากนี้ ขอฝากคนไทย ช่วยสนับสนุนการใช้สมุนไพรภายในประเทศตามแนวคิด “เจ็บป่วยคราใด ใช้ยาไทย ก่อนไปหาหมอ” เพื่อกระตุ้นให้คนไทยใช้สมุนไพรเสริมการรักษาแผนปัจจุบันให้มีประส
อภัยภูเบศร แนะสมุนไพรต้านเบาหวาน ชี้ มะระขี้นก ตำลึง ใบชะพลู คือสุดยอด โรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร เข้าร่วมงานมหกรรมสมุนไพรแห่งชาติครั้งที่ 21 ซึ่งจัดขึ้นระหว่างวันที่ 3-7 กรกฎาคม 2567 ณ อิมแพ็ค เมืองทองธานี โดยมีกิจกรรมไฮไลต์ คือ การให้ความรู้เกี่ยวกับการดูแลโรคเบาหวาน ซึ่งในเมืองไทยมีความชุกของโรคสูงมาก ประมาณ 5.2 ล้านคน ป่วยเป็นเบาหวานอัตราเพิ่มขึ้นปีละ 3 แสนคน และมีผู้เสียชีวิตจากเบาหวานวันละประมาณ 200 คน เป็นโรคเรื้อรังที่ส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตและสุขภาวะของผู้ป่วยทั้งร่างกายและจิตใจรวมถึงคนรอบข้าง ทั้งจากตัวโรคเบาหวานเองและจากโรคแทรกซ้อนอื่นๆ ที่ตามมา เช่น ตาเสื่อม อัมพฤกษ์ อัมพาต และยังเป็นสาเหตุหลักที่ก่อให้เกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรังอื่นๆ เช่น โรคหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง โรคความดันโลหิตสูง และโรคไตวายเรื้อรัง โดย อภัยภูเบศร ได้จัดกิจกรรมให้ความรู้เกี่ยวกับเรื่องสมุนไพรต้านเบาหวาน ทั้งมีการแจกต้นกล้า “มะระขี้นก” และบรรยายเปิดสรรพคุณของสมุนไพรสู้เบาหวาน อาทิ มะระขี้นก ใบช้าพลู ขมิ้นชัน มะขามป้อม ที่สามารถฟื้นฟูตับอ่อนเพิ่มการหลั่งอินซูลิน ลดการดูดซึมน้ำตาลเข้าสู่ลำไส้ ทำให้น้ำตาลใน
สังคมอุดมน้ำตาล เบาหวานครองเมือง “อภัยภูเบศร” ส่ง “มะระขี้นก” สยบ พญ.ชนิดา สยุมภูรุจินันท์ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร กล่าวว่า โรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร เป็นหนึ่งในหน่วยงานที่เข้าร่วมงานมหกรรมสมุนไพรแห่งชาติครั้งที่ 21 ซึ่งจะจัดขึ้นระหว่างวันที่ 3-7 ก.ค.นี้ ที่อิมแพ็ค เมืองทองธานี โดยในปีนี้ได้นำกิจกรรมไฮไลต์คือ การให้ความรู้เกี่ยวกับการดูแลโรคเบาหวาน ซึ่งในเมืองไทยมีความชุกของโรคสูงมาก ประมาณ 5.2 ล้านคน ป่วยเป็นเบาหวาน อัตราเพิ่มขึ้นปีละ 3 แสนคน และมีผู้เสียชีวิตจากเบาหวานวันละประมาณ 200 คน เป็นโรคเรื้อรังที่ส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตและสุขภาวะของผู้ป่วยทั้งร่างกายและจิตใจรวมถึงคนรอบข้าง ทั้งจากตัวโรคเบาหวานเองและจากโรคแทรกซ้อนอื่นๆ ที่ตามมา เช่น ตาเสื่อม อัมพฤกษ์ อัมพาต และยังเป็นสาเหตุหลักที่ก่อให้เกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรังอื่นๆ เช่น โรคหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง โรคความดันโลหิตสูง และโรคไตวายเรื้อรัง “โรคเบาหวาน อยู่ในกลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง หรือ NCDs ยังไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ แต่ผู้ป่วยสามารถควบคุมและใช้ชีวิตได้ตามปกติเหมือนคนทั่วไป โดยคุมให้ระดับน้ำตาลอยู่ในเกณฑ์ ด้