อุตสาหกรรม
ภัยแล้ง จากเอลนีโญ ความท้าทายเศรษฐกิจครึ่งปีหลัง 2566 กระทบหลายอุตสาหกรรม หนึ่งความท้าทายของเศรษฐกิจไทยในปี 2566 คือ การที่ประเทศไทยและทั่วโลก กำลังเผชิญกับสภาวะโลกร้อน หรือ Climate Change ที่ส่งผลให้เกิดปรากฏการณ์เอลนีโญ โดยประเทศไทยได้เริ่มเข้าสู่ปรากฏการณ์เอลนีโญแล้วตั้งแต่เดือนพฤษภาคม 2566 ที่ผ่านมา ซึ่ง ณ ขณะนี้ยังไม่สามารถคาดการณ์ได้ว่าจะเกิดขึ้นต่อเนื่องจนถึงเมื่อไหร่ แต่สิ่งที่ประเทศไทยกำลังจะเผชิญในอนาคตอันใกล้ คือ เรื่องของภัยแล้ง ที่อาจจะรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ จากข้อมูล ณ ขณะนี้ ปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้ำที่ประสบกับสถานการณ์น้ำที่อยู่ในเกณฑ์น้อย หรือน้อยจนเข้าขั้น ได้แก่ ภาคกลาง และภาคตะวันออก ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ได้ประเมินผลกระทบในขั้นแรก คาดว่าจะกระทบต่อผลผลิตทางการเกษตรอาจคิดเป็นมูลค่าราว 4.8 หมื่นล้านบาทในปี 2566 ส่วนผลกระทบต่อภาคอุตสาหกรรม หลักๆ จะกระทบกับอุตสาหกรรมอโลหะ เช่น แก้ว กระเบื้อง และซีเมนต์ ขณะที่อุตสาหกรรมที่จะได้รับผลกระทบอีก 2 อุตสาหกรรม ได้แก่ อุตสาหกรรมแปรรูปผลิตภัณฑ์เกษตรหรืออาหาร และอุตสาหกรรมสิ่งทอ ซึ่งถ้าหากประเทศไทย เผชิญภาวะขาดแคลนน้ำรุนแรง รัฐบาลอาจจะต้องพ
ปรับตัวตามเทรนด์โลก! รู้ไหม 8 ธุรกิจ ยังโดดเด่น และเติบโตได้ดี ในปีกระต่าย มีอะไรบ้าง? นางวรวรรณ ชิตอรุณ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) เปิดเผยว่า สถานการณ์ภาคอุตสาหกรรมไทยในปี 2566 มีการขยายตัวอย่างต่อเนื่องจากปี 2565 แต่ภาคอุตสาหกรรมไทยต้องปรับตัวเผชิญกับความท้าทาย ทั้งความผันผวนของภาวะเศรษฐกิจโลก ความไม่แน่นอนจากความขัดแย้งทางภูมิรัฐศาสตร์ระหว่างประเทศมหาอำนาจ และภัยธรรมชาติที่อยู่เหนือการควบคุม ทั้งนี้ อุตสาหกรรมไทยสามารถก้าวข้ามวิกฤตที่หนักหน่วงอย่างการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 มาแล้ว โดยเริ่มมีการฟื้นตัวนับตั้งแต่กลางปี 2565 ภายหลังทยอยผ่อนคลายมาตรการควบคุมการแพร่ระบาดและเปิดประเทศเต็มรูปแบบ ซึ่งการส่งเสริมการท่องเที่ยวได้ช่วยให้รายได้กลับเข้าสู่เศรษฐกิจระดับชุมชนอีกครั้งและการดำเนินธุรกิจเริ่มกลับสู่ภาวะปกติ ส่งผลให้อุตสาหกรรมการผลิตเริ่มฟื้นตัวรองรับกิจกรรมทางเศรษฐกิจในประเทศและการท่องเที่ยวที่ทยอยฟื้นตัวต่อเนื่อง รวมทั้งมีแนวโน้มจะขยายตัวดีขึ้นขานรับมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐ ดังนั้น ผู้ประกอบการต้องเร่งคว้าโอกาสและปรับตัวเผชิญกับความท้าทาย และความผันผวนของภา
น้ำมันปาล์ม ม้ามืด! ติดอันดับ อุตสาหกรรมมาแรง ส่งท้ายปี 64 เว็บไซต์ มติชนออนไลน์ รายงานข่าว นายทองชัย ชวลิตพิเชฐ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) กล่าวว่า ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (MPI) เดือนพฤศจิกายน 2564 อยู่ที่ระดับ 101.38 ปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.84 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน รวมถึงปรับตัวเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้า และปรับขึ้นสูงกว่าช่วงก่อนเกิดการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ในปี 2562 โดย 11 เดือนแรก ปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.84 เติบโตสูงกว่าช่วงเดียวกันของปีก่อน ด้านอัตราการใช้กำลังการผลิตเดือนพฤศจิกายนอยู่ที่ร้อยละ 65.81 ส่วน 11 เดือนแรกอัตราการใช้กำลังการผลิตเฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 63.50 ส่งสัญญาณดีขึ้น นอกจากนี้ สถานการณ์การติดเชื้อของโรคโควิด-19 ของแรงงานในสถานประกอบการเดือนพฤศจิกายน ทยอยปรับตัวดีขึ้นตามลำดับ สะท้อนจากดัชนีแรงงานอุตสาหกรรม ปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.11 ปรับตัวเพิ่มขึ้นเป็นครั้งแรกในรอบ 4 เดือน สำหรับอุตสาหกรรมหลัก ที่ดัชนีผลผลิตส่งผลบวกในเดือนพฤศจิกายน 2564 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ได้แก่ 1. น้ำมันปิโตรเลียม ปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 11.88 จากกลุ่ม
เปิดอนาคตภาคอุตสาหกรรม สารสกัด กัญชา-กัญชง ใช้ประโยชน์อะไรได้บ้าง? อาจารย์อ๊อด-รศ.ดร.วีรชัย พุทธวงศ์ ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายนวัตกรรมและกิจการเพื่อสังคม มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้ขึ้นพูด งานสัมมนา มหกรรมกัญชากัญชง 360 องศา เพื่อประชาชน ว่าด้วยเรื่องความน่าสนใจของพืชเศรษฐกิจตัวใหม่ อย่าง กัญชาและกัญชง หากปลดล็อกอย่างเต็มรูปแบบแล้ว ทิศทางธุรกิจ การใช้สารสกัดจาก กัญชง-กัญชา ในอุตสาหกรรม จะเป็นอย่างไร? อาจารย์อ๊อด กล่าวว่า ในประเทศไทย มีการออกกฎหมายเกี่ยวกับกัญชาและกัญชงออกมามากมาย ซึ่งล่าสุดมีการออกกฎกระทรวงเกี่ยวกับน้ำมันจากสารสกัดกัญชาออกมา หากดูดีๆ สารที่อยู่ในกัญชง-กัญชา นั้น เป็นสารในตระกูล CBD ซึ่งมีอยู่ด้วยกันทั้งหมด 11 ตัว แต่ตัวที่ทั่วโลกให้การยอมรับนั้น มีเพียง CBD เท่านั้น ซึ่งในยุโรปและญี่ปุ่น ถือเป็น Food Additive หรืออาหาร ที่สามารถเป็นยาได้ ซึ่งไม่มีผลข้างเคียงในเรื่องของการเป็นยาเสพติด ทำให้ตลาดโลกให้ความสำคัญในด้านนี้ ในปี 2019 มีการเก็บข้อมูลว่า ยุโรปมีการใช้กัญชาอยู่ที่ประมาณ 10% แต่ในปี 2021 มีการขยายตัวถึง 21% จึงอาจบอกได้ว่า ความต้องการในการใช้กัญชา จะมีเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ
อนุทิน นำทีมเก็บดอกกัญชาสายพันธุ์ไทย คาด! ผลิตเป็นสารสกัดได้ 1.8 แสนขวด ดอกกัญชาช่อดอกแรก – เมื่อวันที่ 15 ม.ค.63 เว็บไซต์ สำนักสารนิเทศ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข ได้เผยแพร่ภาพและข่าว นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ลงพื้นที่ที่มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จังหวัดเชียงใหม่ นำทีม นายแพทย์โสภณ เมฆธน ประธานกรรมการองค์การเภสัชกรรม, นายแพทย์วิฑูรย์ ด่านวิบูลย์ ผู้อำนวยการองค์การเภสัชกรรม, นายแพทย์สมศักดิ์ อรรฆศิลป์ อธิบดีกรมการแพทย์, รศ.ดร.วีระพล ทองมา รักษาการอธิการบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้ และ ศ.ดร.อานัฐ ตันโช ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยและพัฒนาเกษตรธรรมชาติ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ร่วมกันเก็บดอกกัญชาสายพันธุ์ไทยช่อดอกแรก พร้อมปลูกกัญชาเพื่อศึกษาวิจัยการปลูกด้วยระบบเกษตรอินทรีย์ในระดับอุตสาหกรรมแบบกลางแจ้ง (Outdoor) เป็นต้นแบบใช้ในทางการแพทย์ในระดับครัวเรือน ภายใต้ข้อตกลงความร่วมมือระหว่างกรมการแพทย์องค์การเภสัชกรรมและมหาวิทยาลัยแม่โจ้ โดย นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า การเก็บเกี่ยวช่อดอกกัญชาทางการแพทย์สายพันธุ์ไทยที่ปลูก
นายพสุ โลหารชุน อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (กสอ.) เปิดเผยว่า กสอ.ได้สำรวจอุตสาหกรรมที่มีแนวโน้มเติบโตรับความต้องการของสังคมผู้สูงอายุ พบว่าประชากรเพศหญิงทั่วประเทศกว่า 33 ล้านคน มีถึง 38% หรือกว่า 12 ล้านคน ที่มีอายุช่วง 45-100 ปี(กรมการปกครองปี 2558) และอนาคตมีแนวโน้มจะเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง ดังนั้นอุตสาหกรรมที่รองรับการดูแลสุขภาพเพื่อชะลอความแก่และทำให้สุขภาพแข็งแรงเติบโตเพิ่มขึ้น จึงมีนโยบายส่งเสริมอย่างเข้มข้น https://youtu.be/_qnGH8Hbmbs ประกอบด้วย 1.สินค้าไลฟ์สไตล์เพื่อสุขภาพ อาทิ รองเท้าเพื่อสุขภาพ ชุดชั้นในเพื่อสุขภาพ ชุดออกกำลังกาย 2.เครื่องสำอางและผลิตภัณฑ์บำรุง โดยเฉพาะผลิตภัณฑ์เพื่อการบำรุงและแต่งเติมความงาม ถือเป็นสินค้าที่จำเป็นและขาดไม่ได้ 3. อาหารเสริมหรือผลิตภัณฑ์เสริมสุขภาพ เนื่องจากสามารถช่วยป้องกันปัญหาด้านสุขภาพ และช่วยส่งเสริมสุขภาพให้สมบูรณ์แข็งแรง 4.อาหารเพื่อสุขภาพและออร์แกนิก เพราะพฤติกรรมกลุ่มผู้บริโภคยุคใหม่เลือกสินค้าที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพ และ 5.อุปกรณ์ทางการแพทย์ กลายเป็นสิ่งจำเป็นต่อสภาวะฉุกเฉินที่อาจเกิดขึ้นกับผู้สูงวัยได้ ปัจจุบันทั้ง 5 อุตสาหกรรมมีมูลค่าร