อุบลราชธานี
ฮือฮา! หนุ่มชาวประมงอุบลราชธานี วางอวนจับ ปลาบึกยักษ์ หนักถึง 143 กิโลกรัม จากแม่น้ำโขง ขายได้เงินกว่าหมื่นบาท ชาวบ้านแห่ซื้อไปทำเมนูเด็ด ปลาบึกยักษ์ / เมื่อวันที่ 28 เม.ย. ที่ จ.อุบลราชธานี ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ในช่วงนี้สภาพน้ำโขงลดลงอย่างรวดเร็ว และเร็วกว่าทุกปี แต่เป็นผลดีต่อชาวประมงพื้นบ้านที่จับปลาในแม่น้ำโขง โดยล่าสุดพบชาวประมงที่บ้านปากกะหลาง ต.สองคอน อ.โพธิ์ไทร จ.อุบลราชธานี ทราบชื่อคือนายโทน สิงห์มุ้ย อายุ 33 ปี สามารถจับปลาบึกขนาดใหญ่ 1 ตัว น้ำหนัก 143 กิโลกรัม ได้ที่บ้านปากกะหลาง จากการวางอวนกลางแม่น้ำโขง ทำให้ชาวบ้านที่ทราบข่าวแห่มาซื้อทำเมนูเด็ดจนหมด เนื่องจากปลาบึกเป็นปลาแม่น้ำโขงแท้ๆ ที่เนื้อมีรสชาติอร่อย เป็นที่นิยมรับประทานและหายาก นายโทน กล่าวว่า ตนใช้อวนจับปลาในแม่น้ำโขงที่บริเวณหาดสลึง บ้านปากกะหลาง ต.สองคอน โดยขณะออกกู้อวนในตอนเช้า พบมีบางอย่างติดอวนและหนักมากพร้อมลากเรือไปอย่างแรง จึงตะโกนให้เพื่อนชาวประมงที่อยู่รอบข้างมาช่วยกันลากอวนขึ้นฝั่ง และรู้สึกตกใจมาก เมื่อปลาบึกตัวขนาดใหญ่ ชั่งน้ำหนักได้ 143 กิโลกรัม จึงช่วยกันนำขึ้นมาชำแหละขายให้ชาวบ้านที่ทราบข่าวและมาขอ
พาไปรู้จักทุเรียนมาเลเซียพันธุ์เหมาซานหวาง ปลูกกันมากในอำเภอเบตง จังหวัดยะลา และจังหวัดจันทบุรี ว่ากันว่าปลูกง่ายกว่าหมอนทอง รสชาติดี เนื้อเนียนนุ่ม เหนียว หวาน กลิ่นหอม เนื้อเยอะ เม็ดลีบ ปลูก 90 วันเก็บขายได้เลย อาชีพเกษตรกรรมยุคนี้ ไม่มีอะไรร้อนแรงเท่าการทำสวนทุเรียน 2-3 ปีมานี้ ต่างชาติโดยเฉพาะจีน นำเข้าทุเรียนจากไทย ทำให้ผลผลิตในประเทศมีบริโภคน้อยลง ราคาที่เกษตรกรขายได้จากสวนจึงสูงที่สุดเป็นประวัติการณ์ เดิมทีมีความเข้าใจว่าทุเรียนปลูกได้ดีเฉพาะแห่ง เช่น ภาคใต้ ภาคกลางบางจังหวัด รวมทั้งภาคตะวันออก แต่เนื่องจากการสื่อสารทันสมัย เทคโนโลยีก้าวหน้า ทุเรียนได้กระจายไปหลายๆ จังหวัด เมื่อก่อนอาจจะมีคำถามว่า “จังหวัดไหนปลูกทุเรียนได้บ้าง” แต่ทุกวันนี้ คำถาม อาจจะเปลี่ยนเป็น “จังหวัดไหนไม่ปลูกทุเรียนบ้าง” อีสานที่ว่าแล้งปลูกทุเรียนได้ดีที่ ศรีสะเกษ อุบลราชธานี บุรีรัมย์ ชัยภูมิ นครราชสีมา จังหวัดอื่นๆ ไม่น่าเชื่อว่าจะปลูกได้ แต่ก็ปลูกมีผลผลิต เช่น สุรินทร์ กาฬสินธุ์ เลย เหมาซานหวาง ทุเรียนมาแรง ทุเรียนยอดฮิต ที่นิยมปลูกกันในบ้านเรา เห็นจะได้แก่ หมอนทอง อื่นๆ มี ชะนี ก้านยาว กระดุม พวงมณี
ส้มตำ เมนูยอดฮิตของไทย มีขายทุกภาคของประเทศ หรือจะกล่าวได้ว่า ทุกชุมชน มีตั้งแต่ร้านในตรอก ซอก ซอย กระทั่ง เป็นหนึ่งในเมนู ของโรงแรมห้าดาว ด้วยลักษณะพิเศษ ของรสชาติ คุณค่าทางอาหาร ทำให้คนกินส้มตำกันได้เรื่อยๆ ทั้งนี้ วัตถุดิบหลักของส้มตำก็คือ มะละกอ ดังนั้น มะละกอ จึงเป็นพืชที่มีตลาดใหญ่รองรับแน่ๆ “เส้นทางเศรษฐีออนไลน์” ลงพื้นที่สำรวจตลาดเทศบาลเมืองอุบลราชธานี จ.อุบลราชธานี พบร้านค้าที่ขายมะละกอสับ อย่างเป็นล่ำเป็นสันถึง 2 ร้าน ในตลาดเดียวกัน และเมื่อได้เข้าไปพูดคุย ก็ทำเอาอึ้งกันเลยทีเดียว ด้วยยอดขายที่สูงถึงวันละ 800 กิโลกรัมต่อวัน ที่สำคัญ เป็น 800 กิโลกรัม ที่หมุนเวียนอยู่เฉพาะที่อำเภอเมือง เท่านั้นเอง มะละกอสับ สำเร็จรูป เป็นอีกหนึ่งสินค้า ที่ช่วยอำนวยความสะดวกให้กับพ่อค้าแม่ค้าได้เป็นอย่างดี ด้วยว่า ซื้อแล้ว นำไปลงครก ทำส้มตำขายได้เลย ไม่ต้องมานั่งปอกเปลือก และสับ ให้เสียเวลา ร้านแรก เป็นร้านของ คุณลอน หาเนาสุข โดยมีคุณตั้ม หนึ่งในทีมงาน ให้ข้อมูลกับ เส้นทางเศรษฐีออนไลน์ ว่า ขายมานานนับสิบปีแล้ว ในแต่ละวัน ใช้มะละกอ มากถึง 800 กิโลกรัม (มะละกอก่อนสับ) โดยเทีย
เมื่อวันที่ 29 ก.ย. ผู้สื่อข่าวได้รับแจ้งจากนายขุนพล ต้นแก้ว อายุ 50 ปี บ้านเลขที่ 149 หมู่ 7 ต.ระเว อ.พิบูลมังสาหาร จ.อุบลราชธานี ว่า มีควายตกลูกออกมาเป็นเพศผู้ 1 ตัว แต่มี 2 หัว ซึ่งชาวบ้านทราบข่าวต่างหลั่งไหลเข้ามาดูจำนวนมาก ซึ่งเป็นบ้านของนายพัน ชมภูประเภท อายุ 62 ปี บ้านเลขที่ 105 ต.ระเว อ.พิบูลมังสาหาร จ.อุบลราชธานี ผู้สื่อข่าวจึงได้รีบลงไปตรวจสอบที่บ้านหลังดังกล่าว พบชาวบ้านจำนวนมากมามุงดูซากควายที่วางอยู่บนท้ายรถกระบะ พร้อมจุดธูปเทียนมีดอกไม้บูชา เพื่อขอเลขเด็ดตามความเชื่อ เนื่องจากควาย 2 หัว ไม่ค่อยพบเห็นบ่อยนัก โดยซากควาย 2 ดังกล่าวมีสีเทา-ดำ มี 2 หัว น้ำหนักประมาณ 7-8 กิโลกรัม นายพัน ชมภูประเภท เจ้าของควาย เปิดเผยว่า ตนเลี้ยงไอ้ช้างควายที่เลี้ยงไว้ แต่จำไม่ได้ว่าอายุเท่าไหร่แล้ว ซึ่งเห็นว่ามันกำลังจะตกลูกออกมา จึงเตรียมการรอรับลูกควายตัวใหม่ที่กำลังจะคลอดออกมา ปรากฏว่าลูกควายที่คลอดออกมามีลักษณะ 2 หัว ทำให้ตนตกใจมาก อีกทั้งไอ้ช้างแม่ของลูกควาย 2 หัวตัวนี้ หลังจากคลอดเสร็จก็สิ้นใจตายไป ส่วนลูกควาย 2 หัวเกิดได้ไม่นานก็ตายตามกันไป โดยตนจะได้มอบซากควาย 2 หัวตัวนี้ให้กับพระอาจารย