ฮีทสโตรก
ลมแดด ฮีตสโตรก กระทบสุขภาพหลายระบบ แนะใช้สมุนไพรปรับสมดุล ภญ.อาสาฬา เชาวน์เจริญ เภสัชกรชำนาญการ โรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร กล่าวว่า ประเทศไทยกำลังเข้าสู่ฤดูร้อน อุณหภูมิตอนกลางวันบางวันสูงถึง 40 องศา และอาจมีความร้อนเพิ่มขึ้นในบางพื้นที่ ซึ่งอุณหภูมิที่เพิ่มสูงขึ้นสามารถส่งผลกระทบต่อสุขภาพได้ ทั้งในระยะสั้น ระยะยาว และในหลากหลายระบบของร่างกาย รวมถึงโรคลมแดด หรือ ฮีตสโตรก (Heat Stroke) คือ ภาวะที่ร่างกายมีความร้อนสูงมากกว่า 40 องศาเซลเซียส เป็นเวลานานเกิน 10-15 นาที และไม่สามารถระบายความร้อนออก หรือขับเหงื่อออกได้ ซึ่งมีสาเหตุหลักมาจากอากาศที่ร้อนสูงขึ้น การใช้แรงมากๆ ในสภาพอากาศที่ร้อน ซึ่งมีโอกาสทำให้เสียชีวิตได้ ภญ.อาสาฬา กล่าวว่า อาการของโรคลมแดด ที่สามารถสังเกตได้ เช่น ตัวร้อนจัด ผิวสีแดงกว่าปกติ บางรายพบมีผื่นแดง ไม่มีเหงื่อออก ปัสสาวะออกน้อย เวียนศีรษะ มึนงง หายใจเร็ว ใจสั่น อ่อนแรง หน้ามืด เป็นลม แขนขาตะคริว หรือเมื่ออุณหภูมิสูงขึ้นเรื่อยๆ อาจทำให้เกิดอาการรุนแรงได้ เช่น สับสน เพ้อ พูดไม่ชัดเจน กระสับกระส่าย ชัก ช็อก กล้ามเนื้อลายสลาย อวัยวะต่างๆ เกิดการล้มเหลว เช่น ไตล้มเหลว
แพทย์เตือน ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง ช่วงอากาศร้อนอันตราย ระวังป่วยฮีตสโตรก นายแพทย์สมศักดิ์ อรรฆศิลป์ อธิบดีกรมการแพทย์ เปิดเผยว่า โรคลมแดด หรือ ฮีตสโตรก เป็นความผิดปกติของร่างกายที่เกิดขึ้น เมื่ออุณหภูมิของร่างกายสูงจากการเผชิญกับสภาพอากาศที่มีความร้อนสูง เช่น การออกกำลังกายหรือทำกิจกรรมท่ามกลางอากาศร้อนจัดเป็นเวลานาน ซึ่งพบว่ามีอุบัติการณ์เพิ่มสูงขึ้นในฤดูร้อน อาการจะเริ่มจากอุณหภูมิร่างกายค่อยๆ สูงขึ้น เมื่อเกิน 40 องศาเซลเซียส ร่างกายจะไม่สามารถควบคุมได้ ทำให้รู้สึกผิดปกติ กระสับกระส่าย ร่วมกับมีอาการคลื่นไส้อาเจียน หัวใจเต้นเร็ว หายใจหอบ ตัวแดง สับสน ชักเกร็ง ซึ่งหากไม่ได้รับการรักษา ผู้ป่วยจะซึมลงและอาจเสียชีวิตได้ ทั้งนี้เมื่อพบผู้ที่มีอาการจากโรคลมแดด ควรปฐมพยาบาลด้วยการเช็ดตัวด้วยน้ำเย็น และรีบนำส่งโรงพยาบาลที่ใกล้ที่สุดโดยเร็ว นายแพทย์ธนินทร์ เวชชาภินันท์ ผู้อำนวยการสถาบันประสาทวิทยา กล่าวเพิ่มเติมว่า กลุ่มเสี่ยงของโรคลมแดด ได้แก่ ผู้สูงอายุ เด็ก ผู้ที่มีโรคประจำตัวที่ยังไม่สามารถควบคุมได้ ผู้ป่วยระยะพักฟื้น หรือแม้แต่ประชาชนทั่วไป สำหรับการป้องกัน สามารถทำได้โดยหลีกเลี่ยงการท
ร้อนจัด ระวังป่วย! สธ. แนะวิธีรับมือ จากโรคฮีตสโตรก ฮีตสโตรก – เว็บไซต์ สำนักสารนิเทศ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข ได้เผยแพร่ข่าว ปลัดกระทรวงสาธารณสุข ห่วงประชาชนเจ็บป่วยจากสภาพอากาศร้อนจัดสัปดาห์นี้ แนะป้องกันการป่วยและเสียชีวิตจากโรคลมร้อนหรือฮีตสโตรก โดยเฉพาะเด็กเล็ก ผู้สูงอายุ ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง นายแพทย์สุขุม กาญจนพิมาย ปลัดกระทรวงสาธารณสุข ให้สัมภาษณ์ว่า ในช่วงสัปดาห์นี้ ประเทศไทยจะมีสภาพอากาศที่ร้อนถึงร้อนจัด อุณหภูมิตั้งแต่ 36-41 องศาเซลเซียส ในวันนี้ (7 พฤษภาคม 2563) บางจังหวัดทางภาคตะวันออกเฉียงเหนืออุณหภูมิสูงถึง 42 องศาเซลเซียส จึงขอให้ประชาชนระวังการเจ็บป่วยที่เกิดขึ้นตั้งแต่มีอาการเพียงเล็กน้อย ไปจนถึงอาการรุนแรงที่อาจเสียชีวิต ได้แก่ เพลียแดด โรคลมร้อนหรือฮีตสโตรก (Heat Stroke) เกิดจากการทำกิจกรรมหรือทำงานในที่อากาศร้อนจัดเป็นเวลานาน จนร่างกายไม่สามารถปรับตัวและควบคุมความร้อนในร่างกาย ส่งผลให้อวัยวะต่างๆ ทำงานล้มเหลว โดยเฉพาะกลุ่มเสี่ยง ได้แก่ ผู้ที่มีอาชีพทำงานหรือทำกิจกรรมกลางแดด เช่น กรรมกร ก่อสร้าง เกษตรกร กลุ่มเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี และผู้สูงอายุ ผู้ที่มีโรคประจำ
แพทย์เตือน อากาศร้อนจัดอันตราย! ระวังป่วย “ฮีทสโตรก” เด็ก-ผู้สูงอายุ-ผู้ที่มีโรคประจำตัว หรือ กำลังพักฟื้น ควรหลีกเลี่ยงกิจกรรมกลางแจ้ง จากอากาศร้อนจัดช่วงเดือนเมษายน โดยพบว่า หลายจังหวัดอุณหภูมิทะลุ 40 องศาไปแล้วหลายพื้นที่ โดยเว็บไซต์ eldoradocountyweather.com ได้ทำการรวบรวมข้อมูลอุณหภูมิจากเมืองต่าง ๆ ในโลก รายงานสภาพอากาศเมื่อวันที่ 21 เม.ย. 62 ที่ผ่านมา นั้นพบว่า เมืองเซ๊าะ ประเทศพม่า อุณหภูมิสูงที่สุดในโลกถึง 45.8 องศา ส่วนหลายจังหวัดของประเทศไทยก็ไม่น้อยหน้า อุณหภูมิสูงติดอันดับ 1 ใน 15 ของเมืองที่ร้อนที่สุดในโลกด้วย ซึ่งพบว่า จ.เลย ติดอันดับ 5 ที่อุณหภูมิ 43.4 องศา อ.โกสุมพิสัย จ.มหาสารคาม ติดอันดับ 6 ที่อุณหภูมิ 43.3 องศา อ.เถิน จ.ลำปาง ติดอันดับ 8 ที่อุณหภูมิ 43.3 องศา และ จ.สุโขทัย ติดลำดับ 13 ที่อุณหภูมิ 42.9 องศา อ่านข่าว เปิดสถิติ ไทยร้อนพุ่งติดอันดับโลก ไม่ใช่แค่จังหวัดเดียว! ล่าสุด เฟซบุ๊ก กรมการแพทย์ ออกแถลงการ เตือนภัย อากาศร้อนอันตราย ระวังป่วยโรคลมแดดหรือฮีทสโตรก ระบุว่า สถาบันประสาทวิทยา กรมการแพทย์ เตือนประชาชนให้ระวังโรคลมแดด เนื่องจากปัจจุบันประเทศไท
สธ.เตือนร้อนจัดระวัง ‘ฮีทสโตรก’ เผยตัวเลขปี 61 เสียชีวิต 18 ราย!! เมื่อวันที่ 14 เมษายน นพ.สุวรรณชัย วัฒนายิ่งเจริญชัย อธิบดีกรมควบคุมโรค(คร.) กระทรวงสาธารณสุข(สธ.) กล่าวว่า จากการเฝ้าระวังของกรมควบคุมโรค ข้อมูลการเฝ้าระวังการเจ็บป่วยหรือเสียชีวิตเนื่องจากภาวะอากาศร้อน ในช่วงฤดูร้อน (มีนาคม-พฤษภาคม) พบผู้เสียชีวิตระหว่างปี 2558–2561 จำนวน 56, 60, 24, และ 18 ราย ตามลำดับ และข้อมูลจากสำนักนโยบายและแผนสาธารณสุข พบว่าระหว่างปี 2557–2560 มีจำนวนผู้ป่วยจากภาวะอากาศร้อน เท่ากับ 3,054, 3,523, 4,002, และ 3,409 ตามลำดับ” “การพยากรณ์โรคและภัยสุขภาพประจำสัปดาห์นี้ คาดว่าช่วงนี้มีโอกาสพบผู้ป่วยจากภาวะอากาศร้อนเพิ่มขึ้น เนื่องจากเป็นช่วงเดือนเมษายนที่มีอากาศร้อน และกิจกรรมสงกรานต์ที่ประชาชนจะออกมาทำกิจกรรมกลางแจ้งจำนวนมาก สำหรับโรคฮีทสโตรก (Heat Stroke) มีสาเหตุจากปัจจัยทางสิ่งแวดล้อม 4 ประการ ได้แก่ อุณหภูมิของอากาศที่ร้อน ความชื้นสัมพัทธ์ในอากาศที่สูงขึ้น อยู่ในที่ได้รับรังสีความร้อน และอยู่ในสภาวะที่มีลมหรือการระบายอากาศน้อย” นอกจากนี้ ยังเกิดจากปัจจัยทางด้านบุคคลที่ไม่สามารถปรับสภาพร่างกายเพื่
อากาศเมืองไทยช่วงนี้ร้อนจริงๆ หลายคนชุดเปียกตั้งแต่ยังไม่พ้นตัวบ้าน แต่หลายคนยิ่งน่าเห็นใจ มีใช้ชีวิตช่วงกลางวันส่วนใหญ่ท่ามกลางอากาศร้อนถึงร้อนจัด ซึ่งไม่เพียงแสงแดดจะทำให้สีผิวเปลี่ยน เพิ่มความเสี่ยงมะเร็งผิวหนัง เรายังมีโอกาสเสี่ยงเป็นโรคฮีทสโตรก (Heat Stroke) หรือลมแดด รุนแรงขนาดที่ว่าสามารถคร่าชีวิตเราได้แบบไม่ทันตั้งตัว แต่ก็มีวิธีรับมือ พญ.ปานหทัย ทองมาก แพทย์ผู้เชี่ยวชาญทางอายุรกรรมทางเดินหายใจและเวชบำบัดวิกฤต โรงพยาบาลพระรามเก้า อธิบายว่า ฮีทสโตรกเป็นภาวะที่ร่างกายไม่สามารถปรับตัวกับความร้อนที่เกิดขึ้นได้ เนื่องจากการควบคุมอุณหภูมิเสียไป จนทำให้อุณหภูมิแกนสูงขึ้นและเกิดความผิดปกติทางระบบประสาท ทั้งนี้ โดยปกติแล้วร่างกายจะมีการควบคุมอุณหภูมิแกน โดยผ่านสมดุลระหว่าง การสร้างความร้อน จากเมแทบอลิซึมหรือระบบเผาผลาญในร่างกาย และจากการดูดซับความร้อนจากสิ่งแวดล้อมกับ การกำจัดความร้อนออกจากร่างกาย ผ่านทางการระเหยเป็นเหงื่อหรือลมหายใจ การแผ่รังสี การนำความร้อน และการพาความร้อน “ในภาวะปกติทั้งสองด้านต้องทำงานกันอย่างสมดุล เพื่อกำจัดความร้อนก่อนจะถึงจุดที่เป็นอันตราย แต่เมื่อใดก็ตามที่ร่าง
จากกรณีนายจอร์แดน โดนัลด์ อายุ 21 ปี นักมวย เตรียมขึ้นชกเวทีมวย จ.นครราชสีมา สวมชุดรีดน้ำหนัก เสื้อผ้าคลุมตัวหนาแน่น วิ่งออกกำลังกายเพื่อลดน้ำหนักให้ได้ 3 กิโลกรัม เพื่อขึ้นชกในพิกัดน้ำหนัก 61 กิโลกรัม ท่ามกลางสภาพอากาศแดดร้อนจัด ต่อมาพบว่าเสียชีวิต เมื่อวันที่ 26 มีนาคม น.พ.วชิระ เพ็งจันทร์ อธิบดีกรมอนามัย กล่าวว่า โดยหลักการแล้วการออกกำลังกายเป็นสิ่งที่ดี แต่ควรทำอย่างเหมาะสมกับสภาพร่างกายของตัวเอง ในสภาพแวดล้อมที่ไม่คุกคามสุขภาพ ทั้งนี้การออกกำลังกายอย่างหนักท่ามกลางแดดร้อนจัดนั้นมีโอกาสทำให้เสียชีวิตได้ เนื่องจากเกิดความร้อนในร่างกายมาก เกิดการเผาผลาญมาก เมตาบอลิซึมในร่างกายเยอะ ร่างกายเสียน้ำเยอะ จนเกิดการขาดน้ำ ทำให้สารน้ำเสียความสมดุล หัวใจ ปอดทำงานหนักมากขึ้น ทำให้ส่งเลือดไปเลี้ยงสมองไม่พอ เมื่อถึงจุดหนึ่งที่ไม่ไหวร่างกายจะเตือนด้วยความเมื่อยล้า เป็นตะคริว เป็นลม และอาจจะทำให้เสียชีวิตได้ ดังนั้นการโหมออกกำลังกายอย่างหนักกลางแดดเป็นสิ่งที่ไม่สมควรทำ ไม่ว่าด้วยเหตุผลใด ยิ่งการโหมออกกำลังกายเพื่อต้องการลดน้ำหนักแบบเฉียลพลันนี้จะทำให้น้ำหนักลดเพราะเสียน้ำมาก เสียคาร์โบรไฮเดรต กลูโ