เกษตรกร
ออกจากงานประจำมาเป็นเกษตรกรขาย “เตยหอม” ธุรกิจจากรุ่นแม่ เจาะกลุ่มลูกค้าโรงงานขนม ร้านดอกไม้ และพ่อค้าแม่ค้า ผลผลิตวันละ 900-1,000 กิโลกรัม เพราะครอบครัวมาเป็นอันดับ 1 เมื่อพ่อล้มป่วย ทำให้ คุณหนึ่ง-สุทธาอร ศรีฟ้า ตัดสินใจลาออกจากงานประจำที่มั่นคงมารับช่วงต่อธุรกิจ ผันตัวเป็นเกษตรกรผู้ปลูกและผู้รวบรวมใบเตยเต็มตัว เพื่อส่งต่อผลผลิตงามให้กลุ่มพ่อค้าแม่ค้ารับไปขายตามตลาดสดต่างๆ ทั่วกรุงเทพฯ และปริมณฑล รวมถึงโรงงานขนมไทยอีกมากมาย ซึ่งในแต่ละวันจะมีใบเตยเข้ามาขายประมาณวันละ 900-1,000 กิโลกรัม หรือ 1 ตัน ลาออกจากงานประจำ มารับช่วงต่อธุรกิจ คุณหนึ่ง หรือที่ใครๆ เรียก เจ้หนึ่ง ปัจจุบันมีอายุ 47 ปี เธอเป็นทายาทรุ่น 2 ที่เข้ามารับช่วงต่อธุรกิจจากแม่ ซึ่งเป็นผู้บุกเบิกให้ครอบครัวเข้ามาค้าขายที่ตลาดสี่มุมเมืองเมื่อ 30 กว่าปีที่แล้ว โดยในตอนนั้นขายแค่บวบกับมะระ ส่วนใบเตยเกิดจากไอเดียที่ไปเห็นคนนำมาขายแล้วขายดี ประกอบกับแถวบ้านมีคนปลูกใบเตยเป็นจำนวนมาก แม่ของเธอจึงลองไปติดต่อนำมาขาย ปรากฏว่าขายดีมากเช่นกัน เหมือนจับถูกจุดจนทำให้ยอดขายแซงหน้าบวบกับมะระผักที่ขายประจำ จากนั้นจึงค่อยๆ ลดผัก
สบายใจ ไม่รวย แต่พอกิน! คนรุ่นใหม่ทำเกษตร ปลูกผักสลัดบนดอย มีรายได้หลักหมื่น แถมได้ดูแลพ่อแม่ “ถามว่ามีความสุขไหม ทำเกษตรแรกๆ คือร้องไห้เลย มือแตก มือลอก รู้สึกว่า “กูปิ๊กมาอะหยังวะ” ท้อมาก แม่ก็ไล่กลับไปอยู่เวียง (เชียงใหม่) แต่เรารู้สึกว่าไม่สนุก เลยกลับมาสู้ต่อ เพราะทำเกษตรสบายใจกว่า ไม่ต้องแข่งกับใคร แข่งกับตัวเองพอ ขยันมากก็ได้มาก และได้กลับมาอยู่กับพ่อแม่ด้วย” คำบอกเล่าจาก คุณกระแต-วนิดา สุขกำแหง สาววัย 27 ปี เธอเติบโตมาในครอบครัวชาวสวนลำไย จึงซึมซับวิถีเกษตรมาตั้งแต่เด็ก อีกทั้งเมื่อได้ลองทำงานประจำ แต่ไม่ตรงใจ การกลับมาทำเกษตร อาชีพดั้งเดิมของพ่อแม่ จึงเป็นความตั้งใจจริง นำมาสู่การสร้างรายได้ต่อเดือนที่มั่นคงจากผักสลัด ที่เริ่มจากปลูกเล็กๆ ในสวนลำไย สู่การเช่าพื้นที่บนดอยเพิ่มผลผลิต งานประจำไม่ใช่ทาง คุณกระแต เล่าให้ฟังว่า เธอไม่มีทุนเรียนต่อปริญญาตรี หลังจบ ปวส. ด้านอุตสาหกรรมการเกษตร ที่วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีเชียงใหม่ จึงหยุดเรียนเพื่อหาทุนศึกษาต่อ โดยเลือกทำงานประจำ เป็นบาริสต้า เปิดร้านกาแฟ และเป็นบาร์เทนเดอร์ ใช้ชีวิตเป็นมนุษย์เงินเดือนนาน 2 ปี
ผลลัพธ์ความสำเร็จ ของ โครงการปรับปรุงการผลิตและกระจายเมล็ดพันธุ์ข้าว ในแต่ละปีเกษตรกรมีความต้องการใช้เมล็ดพันธุ์ข้าวประมาณ 1,364,800 ตัน ซึ่งเมื่อรวมปริมาณเมล็ดพันธุ์ข้าวคุณภาพที่ผลิตจากทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และองค์กรต่างๆ ยังคงไม่เพียงพอต่อความต้องการ ซึ่งทางกรมการข้าวนั้นสามารถผลิตเมล็ดพันธุ์ได้เพียงปีละ 95,000 ตัน ทำให้มีเมล็ดพันธุ์ข้าวไม่เพียงพอต่อความต้องการ ซึ่งศูนย์วิจัยข้าวที่ดำเนินการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวชั้นพันธุ์คัดชั้นพันธุ์หลักที่เป็นต้นน้ำของการผลิตเมล็ดพันธุ์ มีเครื่องจักรและอุปกรณ์ในกระบวนการต่างๆ มีประสิทธิภาพการผลิตต่ำ มีอายุการใช้งานยาวนาน ชำรุดทรุดโทรม ไม่รองรับเทคโนโลยีสมัยใหม่ จึงได้มีการจัดทำโครงการปรับปรุงระบบการผลิตและกระจายเมล็ดพันธุ์ข้าว ปี 2566 เพื่อปรับปรุงระบบการปรับปรุงสภาพเมล็ดพันธุ์ เพิ่มศักยภาพการผลิตเมล็ดพันธุ์ให้มีคุณภาพ ตอบสนองความต้องการใช้เมล็ดพันธุ์ โดยหน่วยงานหลักที่เป็นผู้ดูแลโครงการนี้ก็คือ กองวิจัยและพัฒนาพันธุ์ข้าว หน่วยงานภายใต้กรมการข้าว ที่มีหน้าที่หลักในการวิจัย พัฒนา และปรับปรุงพันธุ์ข้าวทั้งระบบ เพื่อให้ได้พันธุ์ข้าวที่มีคุณภาพสูง รวมไปถึง
ซีพีเอฟ หนุน “ฟาร์มพอเพียง” สร้างรายได้เสริม เพิ่มเงินออมให้พนักงาน บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือ ซีพีเอฟ มุ่งส่งเสริมพนักงานสร้างภูมิคุ้มกันทางการเงิน หนุนการอยู่ดีกินดี ดันโครงการ “ฟาร์มพอเพียง” สร้างรายได้จากอาชีพเสริมควบคู่อาชีพหลัก เน้นทำบัญชีครัวเรือน สร้างวินัยการเงิน พร้อมตั้งสหกรณ์ให้พนักงานในฟาร์มหมู มีเงินปันผลทุกปี ช่วยสร้างความสุขจากการไม่มีหนี้สินและมีเงินออม นายสมพร เจิมพงศ์ ผู้อำนวยการใหญ่ ธุรกิจสุกร ซีพีเอฟ เปิดเผยว่า ซีพีเอฟ ให้ความสำคัญอย่างยิ่งกับการสร้างความสุขในการทำงานแก่พนักงาน โดยต้องดูแลพนักงานให้ดีที่สุด สายธุรกิจสุกร จึงริเริ่มดำเนิน โครงการ “ปลดหนี้ สร้างสุข และส่งเสริมการออม” มาตั้งแต่ปี 2558 จนถึงปัจจุบัน พร้อมต่อยอดสู่โครงการ “ฟาร์มพอเพียง” ในฟาร์มสุกรของบริษัทรวม 100 ฟาร์ม ที่นำหลักเศรษฐกิจพอเพียงมาเป็นต้นแบบสู่การปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรม ด้วยการทำฟาร์มเกษตรผสมผสานไม่ใช้สารเคมี สร้างรายได้เสริมและส่งเสริมการออมเงินแก่พนักงาน ช่วยปลดภาระหนี้สินและยังมีเงินปันผลจากการร่วมหุ้นสหกรณ์ของพนักงาน ขณะเดียวกัน ยังส่งเสริมการมีสุขภาพดีจา
ข่าวดี ธ.ก.ส. เดินหน้าพักหนี้ ระยะที่ 2 ช่วยลูกหนี้รายย่อย เปิดแจ้งความประสงค์ 1 ต.ค. นี้ นายฉัตรชัย ศิริไล ผู้จัดการธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) เปิดเผยว่า ธ.ก.ส. พร้อมดำเนินมาตรการพักชำระหนี้ลูกหนี้รายย่อย ในระยะที่ 2 ตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 24 กันยายน 2567 เพื่อลดภาระหนี้ให้แก่ลูกหนี้ที่ได้รับผลกระทบจาก COVID-19 ที่ยังไม่ฟื้นตัวและบรรเทาภาระด้านหนี้สินให้แก่ลูกหนี้ โดยผลการดำเนินงานมาตรการฯ ในระยะที่ 1 มีผู้เข้าร่วมมาตรการฯ ทั้งสิ้น 1.41 ล้านราย ต้นเงินคงเป็นหนี้ 210,191 ล้านบาท ซึ่ง ธ.ก.ส. เปิดรับแจ้งความประสงค์ในการเข้าร่วมมาตรการฯ ระยะที่ 2 ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2567 – 31 มกราคม 2568 เพียงนำบัตรประชาชนมาใช้ในการยืนยันตัวตน ได้ที่ ธ.ก.ส. สาขาที่ใช้บริการ เพื่อให้พนักงานตรวจสอบคุณสมบัติ รวมถึงสอบทานข้อมูลและประเมินศักยภาพการชำระหนี้ สำหรับลูกหนี้ที่มีคุณสมบัติตรงตามเงื่อนไข จะได้รับการพักชำระหนี้ในระยะที่ 2 ตั้งแต่ 1 ตุลาคม 2567 – 30 กันยายน 2568 โดยอัตโนมัติ ทั้งนี้ รัฐบาลยังคงให้ความสำคัญกับการสร้างความเข้มแข็งในการประกอบอาชีพ เพื่อให้เกษตรกรมีรายได้
เกษตรกรที่ทำนา ต่างมีความรู้ในเรื่องการปลูกข้าวมาจากคนรุ่นก่อนแทบทั้งสิ้น แต่ด้วยเทคโนโลยีที่ก้าวหน้าและประสานข้อมูลที่จำเป็นให้แก่บรรดาเกษตรกรของกรมการข้าว ทำให้เกษตรกรหลายชุมชนผลิตข้าวได้มากขึ้น และสร้างความยั่งยืนแก่ชุมชนของตนเองได้ นายบุญชู วงษ์อนุ ประธานศูนย์ข้าวชุมชน ตำบลโคกสะอาด อำเภอหนองแซง จังหวัดสระบุรี ยอมรับว่า ในสมัยก่อน ตนและชาวบ้านในพื้นที่จะทำนาโดยไม่ได้อิงหลักวิชาการ ยังใช้วิธีทำนาแบบวิถีพื้นบ้านที่ได้รับการถ่ายทอดมาจากคนรุ่นพ่อรุ่นแม่ ด้วยเพราะแนวคิดและเทคโนโลยีต่างๆ ยังไม่เข้าถึง และสิ่งที่ไม่รู้คือ ขั้นตอนของการทำเมล็ดพันธุ์ที่มีความสำคัญเป็นอย่างมากในการปลูกข้าว ตั้งแต่เข้าร่วม “โครงการสร้างการรับรู้และการถ่ายทอดเทคโนโลยีการทำนาแบบเปียกสลับแห้ง สำหรับการขายคาร์บอนเครดิตในนาข้าว” กับกรมการข้าว ทำให้ตนและคนในชุมชนโคกสะอาดได้รู้จักกับนักวิชาการ และผู้ที่มีประสบการณ์มาให้ความรู้กับในเรื่องการจัดทำแปลง และช่วยปรับปรุงคุณภาพเมล็ดพันธุ์ข้าวจากเดิม ให้ได้เป็นเมล็ดพันธุ์ที่ดีสำหรับชุมชนแห่งนี้ สิ่งสำคัญคือ การเตรียมแปลงปลูก ที่ทางชุมชนโคกสะอาดใช้พันธุ์เดิมอย่าง กข79 ดั้งเดิ
ผักบุ้งจีน เปลี่ยนชีวิต จากรับจ้างเข็นผักสู่เกษตรกร รายได้ไม่ขาดมือ หลักแสนต่อเดือน แม้ผักบุ้งจีนจะได้รับความนิยมมากในกลุ่มผู้บริโภคไทย แต่ด้วยราคาที่ไม่คงที่ของตลาด มักแปรผันไปตามปัจจัยที่คุมไม่ได้ตลอดเวลา และยังต้องส่งผ่านผลผลิตให้พ่อค้าคนกลาง บางครั้งทำให้รายจ่ายของต้นทุนไม่พอกับรายรับที่ได้มา จึงเป็นจุดเริ่มต้นของการปลูกเอง ขายเอง เพื่อเป็นการเสริมสร้างรายได้ให้มั่นคง และอยู่รอดต่อไป คุณวรวิทย์ ศิริกรรณิกา วัย 32 ปี เล่าให้ฟังว่า ก่อนมาปลูกผักบุ้งจีนขาย เคยรับจ้างเข็นผักที่ตลาดสี่มุมเมืองมาก่อน “ตอนนั้นผมอายุ 20 กว่าๆ ก็เริ่มมารับจ้างเข็นผัก ทำอยู่ประมาณ 4 ปี ก็มาเจอภรรยา เขามาขายผักบุ้งจีนกับแม่ที่ตลาดนี้ พอแต่งงานกัน เลยผันตัวมาเป็นเกษตรกรเต็มตัว จากวันนั้นถึงวันนี้ก็เกือบ 10 ปีแล้ว” ก่อนเล่าต่อว่า “สมัยก่อนที่ครอบครัวภรรยาเริ่มต้นธุรกิจนี้ ก็ยังไม่ได้ขยายใหญ่โตเท่าทุกวันนี้ พอได้มาช่วย ก็มีหัวเรี่ยวหัวแรงเพิ่ม สามารถสลับกันมาขายได้ ทำให้มีรายได้เพิ่มขึ้น ปัจจุบันทั้งปลูกเองด้วยและมีลูกสวนอยู่ประมาณ 40 ไร่ ปลูกแต่ผักบุ้งจีน อย่างเดียว พื้นที่ปลูกอยู่ที่ อ.ลาดบ
โก โฮลเซลล์ ร่วมกับ กระทรวงพาณิชย์ ผลักดันพืชเศรษฐกิจตัวรอง 18 ชนิด ส่งเสริมการบริโภคทุกสาขา สนับสนุนเกษตรกรไทยมีรายได้มั่นคง โก โฮลเซลล์ (GO Wholesale) ศูนย์ค้าส่งวัตถุดิบอาหาร จุดหมายใหม่เพื่อผู้ประกอบการ ดำเนินงานภายใต้บริษัท เซ็นทรัล ฟู้ด โฮลเซลล์ จำกัด ในเครือ เซ็นทรัล รีเทล ประกาศความมุ่งมั่นในการสนับสนุนผลผลิตจากเกษตรกรไทยในทุกมิติ ล่าสุด ขานรับนโยบายการขับเคลื่อนมาตรการบริหารจัดการพืชเกษตรเศรษฐกิจตัวรอง ปี 2567 ของกระทรวงพาณิชย์ ประกอบด้วย ผัก ผลไม้ และ พืช 3 หัว จำนวน 18 ชนิด ได้แก่ ทุเรียน มังคุด เงาะ ลองกอง ลำไย สับปะรด ลิ้นจี่ ส้มโอ ส้มเขียวหวาน มะยงชิด มะม่วง มะนาว มะเขือเทศ ฟักทอง พริกขี้หนูจินดา หอมแดง หอมหัวใหญ่ และกระเทียม โดย โก โฮลเซลล์ ได้รับซื้อผลผลิตดังกล่าวจากเกษตรกรในทุกพื้นที่ทั่วประเทศอย่างต่อเนื่อง และร่วมทำงานอย่างใกล้ชิดกับเกษตรกรในการพัฒนาศักยภาพการผลิตให้มีมาตรฐาน เป็นที่ต้องการของตลาดจนสามารถขายผลผลิตได้ตลอดฤดูกาล บรรเทาปัญหาสินค้าล้นตลาด พร้อมทั้งจัดกิจกรรมส่งเสริมการนำไปใช้เป็นวัตถุดิบสำหรับสร้างสรรค์เมนูเพิ่มรายได้ให้แก่ผู้ประกอบการร้านอาหาร ธุรกิจโฮเ
จากมนุษย์เงินเดือน สู่ ผู้ค้าหมากรายใหญ่ ประสบการณ์ 24 ปี ส่งออก “หมาก” ไทย เดือนละ 1,000 ตัน ต้นหมากสูงเรียงราย ออกผลหลายทะลาย ถือเป็นพืชที่มากประโยชน์ จนกลายเป็นหนึ่งวัตถุดิบที่ชาวต่างชาติหมายปอง สั่งซื้อกันไม่ขาดสาย โดยมีผู้ประกอบการ “ระนองค้าหมาก” รวบรวมผลหมากของไทย พาโกอินเตอร์ต่อเนื่องมายาวนานกว่า 24 ปี คุณนิภา ตาครุฑ หรือ คุณโบว์ เจ้าของ บริษัท ระนองค้าหมาก จำกัด ผู้ประกอบธุรกิจรับซื้อและจำหน่ายหมากอบแห้ง จังหวัดระนอง เล่าถึงจุดเริ่มต้นของธุรกิจว่า จากมนุษย์เงินเดือนทำงานประจำ และหารายได้เสริมด้วยการนำสินค้าของประเทศไทยไปขายยังประเทศเมียนมา (พม่า) ทำให้ตัวเองได้รู้จักกับพ่อค้าแม่ค้าเมียนมา ในเวลานั้นมีการพูดคุยขอให้หาหมากมาส่งขาย เพื่อไปจำหน่ายต่อ กลายเป็นจุดพลิกผันเริ่มเข้าสู่วงการนี้อย่างจริงจัง เพราะเห็นถึงโอกาสของธุรกิจและความต้องการของผู้บริโภคที่มีจำนวนมาก “ช่วงแรกยอมรับว่าเป็นการทดสอบและเรียนรู้เกี่ยวกับธุรกิจค้าหมาก แต่เมื่อเราเข้าใจการทำธุรกิจแล้ว จึงลงพื้นที่ลุยตลาดเข้าไปพูดคุยกับชาวสวนที่ปลูกหมากในจังหวัดนครศรีธรรมราชและจังหวัดปัตตานี โดย
บัณฑิตป้ายแดง ไม่ทิ้งอาชีพครอบครัว ต่อยอด ขายทุเรียนออนไลน์ คว้ารายได้กว่า 6 ล้านบาท ใน 5 เดือนแรก หลายปีที่ผ่านมา คนรุ่นใหม่จำนวนมาก เลือกเดินออกจากอาชีพเกษตรกรรม เพราะบางคนมองเป็นงานหนัก บางคนมองว่าไม่เท่ รวมถึงเป็นงานยากในสถานการณ์ปัจจุบัน แต่สำหรับ คุณนิ้ง-สิริยากร ธรรมจิตร์ บัณฑิตป้ายแดง เธอเลือกกลับมาสานต่อธุรกิจสวนทุเรียนของครอบครัว ด้วยการสร้างแบรนด์ลูกสาวกำนัน คุณนิ้ง เล่าให้ฟังว่า แต่เดิมเธอเป็นเด็กที่ชื่นชอบงานด้านวิชาการ จุดเปลี่ยนสำคัญคือ ช่วง ม.6 คุณพ่อของเธอไปเห็นทุนการศึกษา ภายใต้บันทึกความเข้าใจ (MOU) ระหว่างกรมส่งเสริมการเกษตร และสถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ (PIM) เพื่อเข้าศึกษาต่อคณะเกษตรนวัตและการจัดการ (IAM) คณะที่ช่วยให้เกษตรกรเป็นผู้ประกอบการมืออาชีพ ที่สร้างรายได้สูง “ตอนแรกเคยตั้งคำถามว่า ถ้าเรียนด้านเกษตรกรรมเฉยๆ จะไหวหรือไม่ แต่ที่บ้านบอกเราชัดเจนว่า ไม่ได้อยากให้เรากลับมาเพื่อทำสวน แต่อยากให้มาช่วยสร้างมูลค่าเพิ่ม คณะก็ให้เราเรียนรู้ด้านเกษตรควบคู่กับธุรกิจ ไม่ใช่เรียนแค่ทฤษฎี แต่ให้เราได้เข้าสู่ภาคปฏิบัติจริงๆ ตลอด 4 ปี ทั้งการฝึกงานที่สวนทุเรียนในจังห