เกษตรพอเพียง
เกษตรพอเพียง วิถียั่งยืน ในน้ำมีปลา ในนามีข้าว พิสูจน์แล้วทำได้จริง ที่ชลบุรี ในน้ำมีปลา ในนามีข้าว คำพูดที่เรามักจะได้ยินจากคนยุคสมัยรุ่นปู่ ย่า ตา ยาย บ่งบอกถึงความอุดมสมบูรณ์ในยุคก่อน ซึ่งในปัจจุบันความอุดมสมบูรณ์เหล่านี้หาได้ยากเต็มที อย่างที่เขาพูดกันว่า ยิ่งมีความเจริญเท่าไร ความเป็นธรรมชาติก็จะลดลง ผู้คนรักสบายมากขึ้น บวกกับความเจริญก้าวหน้าของเทคโนโลยี เช่น ด้านเกษตรกรรม เกษตรกรก็หันพึ่งสารเคมีในการปลูกพืชผลกันมากขึ้น และสิ่งต่างๆ เหล่านี้ถือเป็นอีกปัจจัยที่ทำให้ความอุดมสมบูรณ์หายไป แต่ก็ยังมีเกษตรกรอีกหลายคนที่ยังเล็งเห็นถึงความสำคัญของการรักษาธรรมชาติ ดังเช่น คุณพีระพงษ์ สุดประเสริฐ หันทำเกษตรแบบอินทรีย์ งดใช้สารเคมี ยึดหลักเศรษฐกิจพอเพียง ปลูกพืชผักไว้กินเอง ได้สุขภาพ มีเงินเหลือเก็บ มีแบ่งปัน คุณพีระพงษ์ สุดประเสริฐ อาจารย์พิเศษ ภาควิชาสังคมวิทยา คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา อดีตข้าราชการ หันมายึดหลักเกษตรพอเพียง อยู่ได้แบบไม่เดือดร้อน คุณพีระพงษ์ เล่าว่า ตนก็ใช้ชีวิตเหมือนกับคนทั่วไปสมัยเด็กตื่นเช้าหิ้วกระเป๋าไปเรียนตั้งแต่อนุบาลจนถึงจบปริญญาตรี ที่มหาวิทย
คุณสมพรชัย องอาจ อยู่บ้านเลขที่ 280 หมู่ที่ 5 ตำบลบึงกาฬ อำเภอเมืองบึงกาฬ จังหวัดบึงกาฬ เล่าให้ฟังว่า เป็นคนที่ชอบทำเกษตรมาตั้งแต่สมัยเด็ก ไม่ว่าจะเห็นอะไรก็จะทำเรื่อยๆ แบบทีละเล็กละน้อย ต่อมาเมื่อเข้าสู่ชีวิตคู่จึงได้ย้ายไปอยู่ที่จังหวัดนครปฐมกับภรรยา ก็จะประกอบอาชีพเพาะเห็ด เลี้ยงกบ และตลาดจนการปลูกไม้ผลต่างๆ ไปด้วย “ช่วงนั้นก็ไปอยู่ที่นครปฐมก่อน เราก็จะไปปลูกพวกไม้ผลต่างๆ เอาไว้ ต่อมาก็ผลิตกิ่งพันธุ์ขาย ไม่ว่าจะเป็นมะม่วง ม่อนเบอรี่ หน่อกล้วยทำหมด คราวนี้พอช่วงที่บึงกาฬเริ่มมีการปลูกยางพารามากขึ้น ก็เลยย้ายมาอยู่ที่บ้านเกิด ซึ่งบริเวณรอบบ้านมันจะมีพื้นที่อยู่ประมาณ 1 ไร่ เราก็คิดว่า ต้องหาอะไรมาทำให้เกิดประโยชน์ และสร้างเงินให้เราให้ได้ ก็ทำแบบผสมผสานไปเลยน่าจะดี” คุณสมพรชัย กล่าว ผลหม่อนสวยๆ เนื่องจากพื้นที่บ้านของเขาไม่สามารถที่จะทำบ่อสำหรับเลี้ยงปลาได้ เขาจึงได้เลือกเลี้ยงกบแทน โดยนำกบที่อยากเลี้ยงมาออกแบบให้อยู่ในกระชังบก ที่การเลี้ยงไม่มีอะไรยุ่งยากเพียงแค่ใส่น้ำนิดหน่อย และที่สำคัญกระชังบกยังประหยัดเนื้อที่ให้พอมีพื้นที่ว่างปลูกพื้นชนิดอื่นได้อีกด้วย กบก็มีเลี้ยงไว้ ซึ่งพืชที่
จากปัญหาด้านสุขภาพ ทำให้ คุณสอาด คำทราย จำต้องเกษียณตัวเองออกราชการก่อนกำหนด ทั้งๆ ที่ใจยังรักอยากจะทำงานต่อ แต่เพราะกลัวความเครียดจากการทำงานที่เพิ่มขึ้นตามภาระงานที่ได้รับซึ่งเป็นสาเหตุเร่งเร้าทำให้สุขภาพทรุดโทรม จึงตัดสินใจเกษียณตัวเองจากอดีตเจ้าพนักงานการเกษตร อำลาหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรให้แก่เกษตรกรมา 31 ปี คุณสอาด คำทราย อยู่บ้านเลขที่ 35 หมู่ 6 บ้านปงวัง ตำบลพิชัย อำเภอเมือง จังหวัดลำปาง สัมผัสชีวิตเกษตรมาโดยตลอด เมื่อเรียนที่วิทยาลัยเกษตรกรรมลำปาง (ปัจจุบันเป็นมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา จังหวัดลำปาง) ปี พ.ศ.2520 ในระดับ ปวช.และ ปวส.จบปี พ.ศ.2524 (ต่อมาจบปริญญาตรี วท.บ.เทคโนโลยีการเกษตร จากมหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง ปี พ.ศ.2535) ในปี พ.ศ.2524 ได้บรรจุเป็นเจ้าพนักงานการเกษตรที่อำเภอลอง จังหวัดแพร่ และย้ายมาอยู่จังหวัดลำปางเมื่อปี พ.ศ.2531 ระหว่างรับราชการอยู่ที่จังหวัดลำปาง ได้ใช้พื้นที่หลังบ้านตนเองประมาณ 400 ตารางเมตร ยกแปลงปลูกผักเป็นแปลงๆ เริ่มปลูกได้ก็แจกจ่ายให้เพื่อนบ้าน เมื่อมีมากขึ้นจึงมีแม่ค้าใกล้เคียงมาซื้อกัน ส่วนใหญ่เป็นผักตามฤดูกาล ในเวลานั้นไม่ได้ปลูกมากเพราะมีเว
นายร่มไม้ นวล ตาเกษตรจังหวัดสกลนคร เปิดเผยว่า จากการที่ได้ลงพื้นที่และสนับสนุนเกษตรกร เพื่อให้คำแนะนำและช่วยเหลือ มีเกษตรกรหลายรายที่ เดิมเคยไปทำธุรกิจอื่น แต่ล้มเหลวแทบหมดตัว แต่เมื่อหันมาน้อมนำเอาแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ ทำให้ชีวิตกลับพลิกฟื้นขึ้นมา สามารถมีรายได้ และเป็นแบบอย่างของอีกหลายคน คือนายวงค์สถิตย์ โมราราษฎร์ ศิริวัฒน์ฟาร์ม ต.โพนแพง อ.อากาศอำนวย จ.สกลนคร เกษตรกรชาวจังหวัดสกลนคร ลาออกจากข้าราชการครูไปประกอบธุรกิจแต่พบความล้มเหลวถึงขั้นหมดตัว จึงหันมาทำการเกษตร ที่สร้างรายได้ สร้างชีวิตใหม่ และยังแบ่งปันความรู้สู่เกษตรกรรายอื่น นายวงศ์สถิตย์ โมราราษฎร์ วัย 60 ปี เกษตรกรบ้านโพนแพง อำเภออากาศอำนวย จังหวัดสกลนคร อธิบายหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงให้เกษตรกรผู้สนใจ พร้อมนำชมแปลงสาธิตเกษตรผสมผสานในพื้นที่ 43 ไร่ ที่ใช้เวลากว่า 10 ปีพลิกผืนดินรกร้างให้เป็นสวนที่อดุมสมบูรณ์ อดีตข้าราชการครู เล่าว่า เมื่อ 18 ปีก่อน ลาออกจากข้าราชการครูไปทำธุรกิจ แต่ล้มเหลวหมดตัว ต้องดิ้นรนทุกหนทาง ก่อนหันมาเดินตามรอยพ่อหลวง ใช้ที่ดินผืนสุดท้ายทำการเกษตร ต่อมาขยายพื้นที่ปลูกไม้ผล แต่ประสบปัญหาดินไม่ดี ไ
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ที่ บ.โพนยางคำ ต.โนนหอม อ.เมือง จ.สกลนคร หากผ่านไปมาบริเวณถนนหมู่บ้าน เมื่อสังเกตที่ริมทางจะพบกับเนินดินสูงประมาณ 1 เมตร โดยเนินดินนั้นจะเป็นรูปยักษ์ มีคิ้ว มีตา มีจมูก มีเขี้ยวขาว และทำปากจู๋ มีกลุ่มควันพวยพุ่งตลอดเวลา เป็นที่สะดุดตาแก่ผู้พบเป็น ต้องแวะมาเยี่ยมชมและตั้งคำถามว่าคืออะไร นายบุญอุ้ม ลาดประมา อายุ 54 ปี เจ้าของเนินดินรูปปั้นใบหน้ายักษ์พ่นควัน กล่าวว่า ตนมีอาชีพเกษตรกร ปลูกกล้วย ปลูกข้าวโพด ปลูกมันสำปะหลัง ทำเกษตรแบบพอเพียง ส่วนเศษไม้ที่เหลือภายในพื้นที่ตนเอง จึงมีแนวคิดทำถ่านไว้ใช้เอง จึงสร้างเนินดินขึ้นมาซึ่งด้านในจะโปร่งโล่ง เพื่อนำเอาฝืนเข้าไปและทำการเผาให้ออกมาเป็นถ่าน ซึ่งก็เป็นวิธีภูมิปัญญาชาวบ้านที่มีมาแต่โบราณ ทีนี้เนินดินเตาเผาถ่านมันโล่งๆ มีแต่ควันไฟจากการเผาถ่านที่เราทำรูไว้ จึงมีแนวคิดให้เหมือนมีชีวิต เลยออกแบบเป็นรูปหน้ายักษ์ แล้วพ่นควันออกมา ใครผ่านไปมาชอบใจกันใหญ่ ก็เป็นการสร้างความสุขเล็กน้อยให้กับคนในหมู่บ้านและคนที่ผ่านไปมา เพราะทราบดีว่าช่วงนี้เรายังโศกเศร้ากันอยู่ ก็จะคลายบรรเทาลงได้บ้าง แต่ทั้งนี้ไม่ได้มีเจตนาอื่นใด โดยเฉพาะการเป็น