เกษตรยั่งยืน
ม.มหิดล ชูแนวคิดเกษตรยั่งยืน ‘Resilience Agriculture’ สร้าง ‘เศรษฐกิจชุมชน’ ก่อนก้าวสู่ ‘เศรษฐกิจโลก’ แม้ไทยจะได้รับการสนับสนุนจากมูลนิธิร็อคกี้เฟลเลอร์ (Rockefeller Foundation) มานานนับศตวรรษ โดยเริ่มต้นที่ด้านสาธารณสุข แต่ด้วยสภาพภูมิอากาศที่เปลี่ยนแปลง (Climate Change) ทำให้โลกในยุคปัจจุบันได้ขยายขอบเขตสู่ “การเกษตรและสิ่งแวดล้อม” ที่จะทำให้โลกยั่งยืนได้ต่อไปอย่างแท้จริง ภายใต้แนวคิด “Resilience Agriculture” รองศาสตราจารย์ ดร.ณัฐวุฒิ พิมพา ผู้ช่วยคณบดีด้านการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainability) และประธานสาขาการจัดการที่ยั่งยืน (Managing for Sustainability) วิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยมหิดล (CMMU) ได้ให้ความหมายของคำว่า “Resilience Agriculture” ว่าเป็น “ความจำเป็นใหม่เพื่อความยั่งยืน” ของเกษตรโลกที่ต้องดำเนินไปโดยมีตัวแปรที่สำคัญคือ การเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ (Climate Change) เพื่อความยั่งยืน จากที่ผ่านมา มหาวิทยาลัยมหิดล ได้มีความร่วมมือกับ มูลนิธิร็อคกี้เฟลเลอร์ โดยมี วิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยมหิดล (CMMU) เป็นฟันเฟืองหลักร่วมกับ โครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ มหาวิทยาลัยมหิดล
ระหว่างที่หลายคนนั่งทำงานประจำอยู่ในออฟฟิศ สวมบทบาทมนุษย์เงินเดือน ชีวิตวนเวียน เวียนวน กับงาน เงิน รถติด ความขัดแย้งในองค์กร เพื่อนร่วมงาน โบนัส หรือกระทั่งหนี้สิน เชื่อว่าอาจมีบางคน หรือหลายคนด้วยซ้ำ คิดถึงภาพตัวเองออกไปทำกิจการของตัวเอง หรือไปไกลขนาดกลับไปอยู่บ้านที่ต่างจังหวัดทำไร่ ทำสวน อะไรก็ว่าไป แม้จะเป็นแค่มโนภาพ แต่หลายคนทำได้แล้ว คุณวันเพ็ญ นิสภวาณิชย์ อายุ 46 ปี อดีตสาวแบงก์ ที่ตอนนี้ผันตัวเองมาเป็นเกษตรกรเต็มตัวที่จังหวัดลพบุรี เริ่มต้นด้วยการทดลองปลูกพืชผักไปเรื่อย อะไรที่ไม่ได้ผลก็ตัดทิ้งเปลี่ยนใหม่ ส่วนที่ได้ผล ก็ขายผลผลิต ขายหน่อ ขายต้น ได้เงินพอเป็นทุนรอนสำหรับการลงทุนเพิ่มผลผลิตใหม่ๆ ต่อไป คุณวันเพ็ญ จบการศึกษาจากคณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ จากนั้นได้เข้าทำงานธนาคารเป็นสาวแบงก์เต็มตัว ระหว่างทำงานศึกษาต่อปริญญาโท สาขาเอ็มบีเอ (การบริหาร) ที่มหาวิทยาลัยเดียวกัน และทำงานแบงก์เรื่อยมา เธอเล่าว่า มุ่งมั่นตั้งใจมาตั้งแต่เป็นพนักงานออฟฟิศแล้วว่า จะเกษียณตัวเองจากงานประจำที่อายุ 45 ปี และความตั้งใจก็เป็นจริง เมื่อเธอได้มุ่งหน้าสู่ต.หนองบัว อ.พัฒนานิคม จ.ลพบุรี เ