เกษตรอินทรีย์
เมื่อคนเริ่มกลัวการตายแบบผ่อนส่ง! เครือข่ายปลูกผักเกษตรอินทรีย์จึงเข้มแข็ง “โก โฮลเซลล์” รับซื้อผักออร์แกนิก หนุนชาวสวนสงขลา สร้างสุขภาพดี มีรายได้ยั่งยืน ชื่อของ “เครือข่ายใต้ร่มบุญ เกษตรอินทรีย์” เป็นที่รู้จักและพูดถึงกันในกลุ่มปลูกผักออร์แกนิก และผู้บริโภคปลายทางที่ตามหาสินค้าอินทรีย์จากกลุ่มนี้ เพราะเชื่อมั่นในผลผลิตที่ได้จากกระบวนการผลิตจากธรรมชาติ และแนวคิดในการทำเกษตรที่ต้อง win win ทั้งคนปลูก คนขาย คนซื้อ และธรรมชาติ “จันทร์เพ็ญ เพ็ชรัตน์” หรือ แม่เอียด เจ้าของฟาร์มพ่อไข่แม่เอียด หนึ่งในสมาชิกของเครือข่ายใต้ร่มบุญ เกษตรอินทรีย์ เล่าว่า เห็นเกษตรกรรุ่นปู่ย่าตายาย ป่วยเป็นมะเร็งกันเยอะ ก็หันมาทำเกษตรอินทรีย์ และได้พบคนที่มีแนวคิดเดียวกัน รวมกลุ่มกัน เกิดเป็นเครือข่ายเกษตรอินทรีย์แบบมีส่วนร่วม ที่นอกจากผู้ปลูกจะมีหัวใจเดียวกันแล้ว ยังมีภาคีเครือข่ายภาครัฐและเอกชน เข้ามาร่วมกันสร้างความเข้มแข็ง อาทิ วิสาหกิจชุมชนต่างๆ เกษตรจังหวัด สาธารณสุขจังหวัด พัฒนาที่ดิน กรมวิชาการเกษตร พาณิชย์จังหวัด ภาคเอกชนต่างๆ ฯลฯ นอกจากจะช่วยเรื่องสุขภาพคนปลูกแล้ว การหันมายึดวิถีปลูกผักออร์แกนิก หรือทำเก
เพราะชื่นชอบในธรรมชาติ ทำให้ คุณสาธิต สุขวิชา วัย 47 ปี และครอบครัว ปรับเปลี่ยนพื้นที่รอบบ้านเป็นแปลงปลูกผัก เลี้ยงไก่ เลี้ยงไส้เดือน นอกจากได้ความเป็นธรรมชาติในแบบที่ชอบแล้ว ยังได้เก็บผลผลิตจากพืชผัก ไข่ไก่ มาเป็นวัตถุดิบทำอาหารกินในครอบครัว อีกทั้งยังเป็นกิจกรรมให้ลูกได้ร่วมสนุกในวันว่าง ไม่ต้องใช้เวลาไปกับหน้าจอแท็บเล็ตเสียทั้งหมด Prom Garden Family Prom Garden Family หรือมินิฟาร์มในบ้านของคุณสาธิต กินพื้นที่บริเวณรอบบ้านแทบทั้งหมด แต่ละส่วนถูกจัดสรรพื้นที่อย่างเหมาะสม สำหรับแปลงปลูกผัก บ้านไก่ เลี้ยงไส้เดือน และพื้นที่สำหรับนั่งพักผ่อน “ด้วยเป็นบ้านจัดสรร ก็จะมีพื้นที่ไม่มาก เพราะฉะนั้น เมื่อเราคิดจะปลูกผัก ผักต้องการแสง ก็ต้องเลือกก่อนว่ามุมไหนจะได้รับแดดมากที่สุดใน 1 วัน ก็จะให้มุมนั้นเป็นแปลงผัก ส่วนมุมที่ร่ม เราสามารถปลูกผักที่ไม่ต้องการแสงได้ เช่น ต้นอ่อน และในมุมที่ไม่มีแสง แต่ลมสามารถพัดผ่านได้ดี ใช้เป็นมุมสำหรับเลี้ยงน้องไก่ของเรา” สำหรับผักที่คุณสาธิตเลือกปลูก จะเลือกมาจาก 2 เหตุผลหลัก คือปลูกผักที่กินเป็นประจำ และปลูกผักที่มีลำต้นสวยงาม จึงทำให้เขาเลือกปลูกเคล
โควิด ปลุกคนใส่ใจสุขภาพเชิงรุก เลือกบริโภคอาหารอินทรีย์ สร้างภูมิคุ้มกัน คุณอรุษ นวราช เลขานุการมูลนิธิสังคมสุขใจ และนายกสมาคมผู้บริโภคอินทรีย์ไทย หรือ TOCA ในฐานะประธานจัดงานสังคมสุขใจ ครั้งที่ 8 กล่าวว่า การแพร่ระบาดของโควิด-19 ได้ปลุกให้ทุกคนหันมาใส่ใจกับการดูแลสุขภาพเชิงรุกมากขึ้น รวมทั้งให้ความสำคัญกับการเลือกอาหารปลอดภัยที่ผลิตในระบบอินทรีย์ เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันให้ตนเองและครอบครัว ดังนั้น การกลับมาของงาน “รวมพลังขับเคลื่อนสังคมอินทรีย์ เพื่อเรา…เพื่อโลก” กับงานสังคมสุขใจ ครั้งที่ 8 นอกจากจะพุ่งเป้าตอกย้ำในเรื่องสุขภาพสำหรับคนทุกกลุ่มวัยเป็นหลัก ที่สามารถเริ่มจากการเปลี่ยนแปลงตัวเอง ยังมุ่งเน้นการดูแลสังคมให้เกื้อกูลกัน และสร้างสิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืนควบคู่กันไปด้วย จุดเด่นของงานสังคมสุขใจ คือ เป็นงานประจำปี ที่ “รวมคนอินทรีย์” ตลอดทั้งห่วงโซ่คุณค่า ตั้งแต่ต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ ได้มาพบปะแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ทั้งการผลิต การจำหน่าย การตลาด นวัตกรรมและเทคโนโลยีใหม่ๆ รวมทั้งการเชื่อมโยงพันธมิตรใหม่ๆ โดยเฉพาะเกษตรกรที่เป็นต้นน้ำ นอกจากมีผลผลิตออกมานำเสนอ ยังเป็นการเพิ่มโ
ธนวัฒน์ ว่องไวตระการ “Young Smart Farmer” เกษตรกรรุ่นใหม่ กับการพลิกแนวคิด เพิ่มมูลค่าผลผลิต ตอบเทรนด์ผู้บริโภค “ชนะอะไรไม่เท่าชนะใจตัวเอง” นี่คือจุดเริ่มต้นของ ธนวัฒน์ ว่องไวตระการ ประธานวิสาหกิจชุมชนเกษตรอินทรีย์ อ.ด่านมะขามเตี้ย จ.กาญจนบุรี ที่พลิกฟื้นผืนดินจากการทำเกษตรแบบดั้งเดิม มาสู่การทำเกษตรอินทรีย์ ซึ่งต้องฟันฝ่าอุปสรรคและใช้เวลามากกว่า 2 ปี ในการสร้างแปลงผักออร์แกนิกที่ได้มาตรฐานส่งถึงมือผู้บริโภคผ่านสาขาต่างๆ ของแม็คโคร “ครอบครัวผมเป็นเกษตรกรชาวไร่ ที่ปลูกอ้อย ปลูกมันสำปะหลัง ในพื้นที่ จ.กาญจนบุรี เก็บเกี่ยวผลผลิตได้ปีละครั้ง เมื่อเรียนจบออกมา จึงมองหาช่องทางที่จะปลูกพืชผักชนิดอื่น เพื่อหารายได้หมุนเวียนเข้ามาเสริม” ธนวัฒน์ ว่องไวตระการ ประธานวิสาหกิจชุมชนเกษตรอินทรีย์ วัย 27 ปี เล่าถึงจุดเริ่มต้นของการปลูกผักเสริมรายได้จากการทำไร่อ้อยและมันสำปะหลัง พลิกชีวิตสู่วิถีเกษตรอินทรีย์ ช่วงแรกเขาลองผิดลองถูกกับการปลูกผักหลายชนิดที่ต้องใช้สารเคมี เพราะให้ผลตอบแทนดี ตามคำบอกเล่าที่ว่า…จะทำให้มีรายได้ มีโอกาสรวยเหมือนถูกหวย…ซึ่งเมื่อลงมือทำ สิ่งที่เขาต้องเจอหลังจากนั้น ท
ดัน ผู้ประกอบการท่องเที่ยว สู่องค์กรเกื้อกูลสังคม ขับเคลื่อน เกษตรอินทรีย์ คุณอรุษ นวราช นายกสมาคมผู้บริโภคอินทรีย์ไทย หรือ Thai Organic Consumer Association (TOCA) กล่าวถึง การผลักดันให้เกิดต้นแบบผู้ประกอบการขับเคลื่อนสังคมอินทรีย์ ว่า TOCA ได้จัดกิจกรรมเวิร์กช็อป เพื่อให้ผู้ประกอบการอุตสาหกรรมท่องเที่ยวที่เข้าร่วมกิจกรรมในครั้งนี้ สามารถซื้ออย่างเข้าใจ ได้มารู้จักเครื่องมือ TOCA Platform ที่ไม่ใช่แค่แพลตฟอร์มซื้อขายสินค้า แต่ยังสามารถบันทึกกิจกรรมจัดการขยะได้ด้วย รวมถึงการทำการตลาดด้วยระบบ Earth Points เพราะเราต้องการเชื่อมโยงผู้ประกอบการโรงแรม ร้านอาหาร และศูนย์การประชุม กับเกษตรกรอินทรีย์ที่อยู่บน TOCA Platform ให้มาเป็นพันธมิตรซื้อวัตถุดิบอินทรีย์โดยตรงจากเกษตรกร และตรวจสอบย้อนกลับแหล่งที่มาของสินค้าได้ “ในการขับเคลื่อนสังคมอินทรีย์ ต้องเข้าใจว่า สินค้าเกษตรอินทรีย์ เป็นไปตามฤดูกาล และอาจมีความเสี่ยงทางธรรมชาติ ดังนั้น ผู้ประกอบการต้องซื้ออย่างเข้าใจ สิ่งที่ควรทำคือ ผู้ประกอบการและเกษตรกร ร่วมวางแผนการผลิตและรอบการจัดส่งให้สอดรับกับความต้องการซื้อขาย เพื่อให้ได้ผลผลิตที่ต่อเนื่อง
บพท. จับมือ ม.พะเยา แจ้งเกิด “ออร์แกนิคพะเยา” ยกระดับวิสาหกิจชุมชนเพื่อสังคมเกษตรอินทรีย์ “ม.พะเยา” ร่วมมือกับชุมชนเดินหน้าปั้นบริษัท ออร์แกนิคพะเยา สู่การเป็นวิสาหกิจเพื่อสังคม เล็งเพิ่มช่องทางการขาย และแปรรูปเพิ่มมูลค่าสินค้า เน้นสร้างกลไกผู้นำท้องถิ่นสร้างเกษตรอินทรีย์พะเยาให้เข้มแข็ง ผศ.น.สพ.สมชาติ ธนะ อาจารย์ประจำคณะเกษตรศาสตร์และทรัพยากรธรรมชาติ มหาวิทยาลัยพะเยา ผู้อำนวยการโครงการวิจัยการพัฒนาเครือข่ายสมาพันธ์เกษตรกรรมยั่งยืนจังหวัดพะเยาสู่การสร้างชุมชนนวัตกรรม เปิดเผยว่า มหาวิทยาลัยพะเยา ร่วมกับหน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ทำการวิจัยเพื่อพัฒนาเกษตรอินทรีย์จังหวัดพะเยา มาเป็นปีที่ 2 ติดต่อกันและได้ร่วมมือกับชุมชนจัดตั้งบริษัทออร์แกนิคพะเยาขึ้นมา โดยในปีนี้เป้าหมายการทำงานของคณะวิจัยอย่างหนึ่งคือการเดินหน้าพัฒนา บริษัท ออร์แกนิคพะเยา วิสาหกิจเพื่อสังคม จำกัด (OPSE) เพื่อพัฒนาระบบการจัดการด้านการตลาด ผลผลิตเกษตรอินทรีย์และสินค้าแปรรูป ให้มีการขับเคลื่อนการตลาดที่เป็นธรรมผ่านบริษัท OPSE พร้อมกับยกระดับห
สมาคมผู้บริโภคอินทรีย์ไทย สามพรานโมเดล เกษตรกรอินทรีย์ และภาคีเครือข่ายขับเคลื่อนสังคมอินทรีย์ พร้อมเปิดตัว TOCA Platform โฉมใหม่ โดยชวน คุณนภ พรชำนิ ศิลปิน LIFEiS และเพื่อนศิลปิน รวมถึงผู้ประกอบการร้านอาหาร ภาคธุรกิจ และผู้บริโภคทั้งชาวไทยและต่างประเทศ ให้มามีส่วนร่วมขับเคลื่อนสังคมอินทรีย์อย่างจริงจัง นายอรุษ นวราช นายกสมาคมผู้บริโภคอินทรีย์ไทย และเลขานุการมูลนิธิสังคมสุขใจ กล่าวว่า นับเป็นก้าวสำคัญของการขับเคลื่อนสังคมอินทรีย์ ที่วันนี้ได้เครือข่ายใหม่ๆ ที่มีชื่อเสียงและมีศักยภาพในการเข้าถึงกลุ่มคนจำนวนมาก ประกอบด้วย กลุ่มศิลปิน คุณนภ พรชำนิ ศิลปิน LIFEiS กลุ่มบริษัทพรีเมียร์ โรงเรียนบางกอกพัฒนา ร้านปฐม สวนสามพราน ห้องอาหารสีฟ้า สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) สำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ (สสปน.) สมาพันธ์เกษตรอินทรีย์ไทย พีจีเอส เครือข่าย Young Happy และมูลนิธิสังคมสุขใจ มาช่วยสื่อสารปลุกกระตุ้นให้ผู้บริโภค ได้เห็นความสำคัญและความจำเป็นที่ต้องมีส่วนร่วมสร้างการเปลี่ยนแปลง เพื่อสุขภาพที่ดี ปลอดภัยของคนทั้งห่วงโซ่อาหาร รวมถึงสิ่งแวดล้อมด้วย สำหรับแอพพ
สื่อคนดัง หันเป็นชาวนา ปลูกข้าวอินทรีย์ขาย กระจายรายได้ให้คนในท้องถิ่น จากกลุ่มมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และการฝากร้าน มีสมาชิกราวสองแสนคน ยังมีศิษย์เก่าและศิษย์ปัจจุบันแวะเวียนมาฝากร้านไม่ขาดสาย หนึ่งในนั้นคือ ผู้ใช้เฟซบุ๊ก Vanchai Tantivitayapitak อดีต บก.นิตยสารสารคดี และรอง ผอ.ไทยพีบีเอส ได้โพสต์เรื่องราวของตัวเอง หลังเปลี่ยนบทบาทมาทำเกษตรอินทรีย์ปลูกข้าวที่จังหวัดเชียงใหม่ “Feedback จากมิตรสหายที่ได้กินข้าวอินทรีย์ทุ่งน้ำนูนีนอย ผม วันชัย ตันติวิทยาพิทักษ์ คณะศิลปศาสตร์ รหัส 22 อยู่วงการสื่อมายาวนาน เป็น บก.นิตยสารสารคดี และรอง ผอ.ไทยพีบีเอส ปัจจุบันมาทำเกษตรอินทรย์ที่อำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่ สองปีก่อน เราพักฟื้นที่นาให้กลับมาอุดมสมบูรณ์ตามธรรมชาติ หน้าฝนที่ผ่านมา เราเริ่มหว่านกล้าดำนา ข้าวหอมมะลิพันธุ์ชื่อดังจากอำเภอพร้าว ไม่ใส่ปุ๋ยเคมีหรือยาฆ่าแมลงใดๆ โดยมีนกปากห่างคอยกินหอยเชอรี่ และเมื่อท้องนาไม่มีสารเคมี เต่าทองจะกลับมาคอยกินเพลี้ยบนรวงข้าว เป็นระบบนิเวศที่กลับมา เมื่อถึงฤดูเกี่ยวข้าว เราไม่จ้างรถเกี่ยวข้าวที่ประโยชน์ตกแก่เจ้าของรถคนเดียว แต่เราจ้างชาวบ้านแถวนั้นมาลง
เพราะเหงามันตัวเท่าบ้าน จูงมือกันลาออกจากงานประจำ ทำ ฟาร์มฝันแม่ เป็นจริง คุณโอเล่-ภิญญา ศรีสาหร่าย เจ้าของแปลงผักอินทรีย์ บนพื้นที่ 15 ไร่ ตั้งอยู่ที่ ต.น้ำพุ อ.เมือง จ.ราชบุรี ให้ชื่อกิจการที่ดูแลอยู่ว่า ฟาร์มฝันแม่ เริ่มต้นให้ฟัง คุณพ่อ-คุณแม่ ของเขา มีประสบการณ์ปลูกผักอินทรีย์ มายาวนานพอตัว เลยใฝ่ฝันอยากมีที่ดินเป็นของตัวเอง กระทั่งปี 2557 มาซื้อที่ดินที่จังหวัดราชบุรี และลงมือพลิกฟื้นที่ดินจากสวนมันสำปะหลังโล่งๆ ให้กลายเป็นที่ดินเหมาะแก่การทำเกษตรผสมผสาน “เริ่มทำสวนบนที่ดินตัวเองได้ 2 ปี มี คุณพ่อ-คุณแม่ ช่วยกันดูแล ส่วนผมยังทำงานบริษัทในตำแหน่งวิศวกร แต่คุณพ่อมาเสียชีวิตกะทันหัน ไม่มีใครมาสานต่อ เลยตัดสินใจออกจากงานประจำมาทำเกษตร” คุณโอเล่ เล่าที่มา ก่อนเผยต่อ ความตั้งใจในการทำเกษตรของเขา ต้องทำแบบคนรุ่นใหม่ คือ ไม่ทำแบบเดิมๆ ต้องไปศึกษาคนที่ทำสำเร็จ และนำมาปรับเปลี่ยนจากวิชาที่ได้จากคุณแม่ลำพึง ของเขา “ผมโชคดีอย่างหนึ่ง คือ คุณแม่ลำพึง ท่านทำเกษตรอินทรีย์มานานเป็นสิบปีแล้ว เมื่อมาสานต่อ ก็นำความรู้จากแม่ไปศึกษาและต่อยอด เลยไปได้ไว ทำให้ทุกวันนี้ มีพืชผักที่ได้มาตรฐานอินทรีย์ พร้
เกษตรกรอินทรีย์สุรินทร์ ภูมิใจ รายได้ไม่มาก แต่ได้ส่งต่อผักปลอดภัยถึงมือผู้บริโภค “การทำเกษตรอินทรีย์ เป็นการผลิตอาหารที่ปลอดภัยจากพื้นที่ที่สภาพแวดล้อมดี ทั้งดิน น้ำ ปุ๋ย และอากาศที่สะอาด ซึ่งพื้นที่การเกษตรของเรามีความสมบูรณ์ครบทุกด้าน เพราะไม่ได้ใช้สารเคมีเลย พืชผักที่ส่งไปยังผู้บริโภคจึงมีคุณภาพ และดีต่อสุขภาพแน่นอน” คือคำบอกเล่าจาก คุณทองม้วน พวงจันทร์ รองประธานกลุ่มเกษตรอินทรีย์บ้านโนนงิ้ว ตำบลหนองสนิท อำเภอจอมพระ จังหวัดสุรินทร์ หนึ่งในเกษตรกรตัวอย่าง ที่ทำเกษตรอินทรีย์ในพื้นที่ ที่คำนึงถึงความปลอดภัยของผู้บริโภคมากกว่ารายได้ ซึ่งสอดคล้องกับแนวคิดขององค์การบริหารส่วนตำบลหนองสนิท อำเภอจอมพระ จังหวัดสุรินทร์ ที่ต้องการให้นักเรียนในพื้นที่ได้บริโภคอาหารกลางวันจากวัตถุดิบที่มีคุณภาพ ซึ่งนอกจากเนื้อสัตว์ที่ต้องสะอาดแล้ว พืชผักที่นำมาประกอบอาหารก็ควรปลอดภัย ไร้สารเคมีเช่นกัน จึงจัดทำ ‘โครงการพัฒนาศักยภาพเกษตรกรในการเพิ่มคุณภาพและมาตรฐานผลผลิตทางการเกษตร’ ขึ้น โดยทุนพัฒนาอาชีพที่ใช้ชุมชนเป็นฐาน กสศ. โดยมีคุณทองม้วน เกษตรกรอินทรีย์ต้นแบบ เข้าร่วมโครงการด้วย “เห็นว่าเป็นการสร้างโอกาสในกา