เกษียณอายุ
จ่อขยายเพดานจ่ายเงินสมทบ ประกันสังคม ถึง 2 หมื่นบาท ขยับเกษียณอายุจากเดิม เป็น 65 ปี ตอบโจทย์สังคมสูงอายุ? เมื่อวันที่ 13 มีนาคม ที่กรุงโซล สาธารณรัฐเกาหลี (เกาหลีใต้) นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน พร้อมด้วย นายบุญสงค์ ทัพชัยยุทธ์ เลขาธิการสำนักงานประกันสังคม (สปส.) นายสมาสภ์ ปัทมะสุคนธ์ ผู้ตรวจราชการกระทรวงแรงงาน และผู้บริหารกระทรวงแรงงาน เข้าหารือร่วมกับบริษัทการลงทุน AllianceBernstien Asset Management (Korea) Ltd. เพื่อนำเงินกองทุนประกันสังคมไปลงทุนให้ได้ผลตอบแทนกลับเข้าสู่กองทุน นายพิพัฒน์ กล่าวว่า ปัจจุบัน สปส. ได้นำเงิน กองทุนประกันสังคม ไปลงทุนใน 8 กองทุนที่มีความมั่นคงสูง โดยบริษัท AB เป็นบริษัทจัดการบริหารกองทุนของเกาหลี โดยมีบริษัทแม่อยู่ที่ประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งทางประกันสังคมได้ลงทุนผ่านบริษัทเอเยนซีในประเทศสิงคโปร์ด้วยเงินลงทุนราว 400 ล้านเหรียญสหรัฐฯ โดยการลงทุนปีที่ผ่านมามีผลประกอบการอยู่ที่ร้อยละ 4.79 ในเป้าหมายการลงทุนร้อยละ 4 ดังนั้น ก็ถือเป็นตัวเลขที่น่าพึ่งพอใจ แต่การที่จะบริหารกองทุนประกันสังคมให้มีความยั่งยืนและหลุดออกจากการคาดการณ์ของไอแอลโอ
ประกันสังคม ไฟเขียว! ขยายอายุเกษียณ เป็น 60 ปี ชี้ ไม่กระทบ ผู้ประกันตน ใกล้เกษียณ เพจ สำนักงานประกันสังคม กระทรวงแรงงาน เผยข่าว ความคืบหน้าการดำเนินการขยายอายุผู้มีสิทธิรับประโยชน์ทดแทนกรณีชราภาพ เนื่องจากโครงสร้างประชากรที่กำลังเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ ส่งผลให้มีจำนวนแรงงานลดลง ในขณะเดียวกัน ก็ส่งผลให้มีจำนวนผู้สูงอายุและผู้รับบำนาญเพิ่มขึ้น นอกจากนี้ ระบบการแพทย์ที่ดีขึ้นและสุขภาพที่ดีขึ้น ทำให้อายุเฉลี่ยของประชากรก็เพิ่มขึ้นตามไปด้วยเช่นกัน ซึ่งทำให้ผู้ประกันตนจะได้รับบำนาญเป็นระยะเวลายาวนานขึ้น เนื่องจากบำนาญประกันสังคมเป็นการดูแลตลอดชีวิต อย่างไรก็ตาม สิทธิประโยชน์ที่เพิ่มมากขึ้นก็จะตามมาด้วยต้นทุนที่สูงขึ้น เพื่อไม่ให้ต้นทุนสูงขึ้นมากจนเกินไป ส่งผลกระทบต่ออัตราเงินสมทบที่ผู้ประกันตนและนายจ้างต้องนำส่ง สำนักงานประกันสังคม จึงมีนโยบายการปรับปรุงอายุเกิดสิทธิรับบำนาญ (หรือที่เรียกกันว่าอายุเกษียณ) เพื่อให้เกิดสมดุลกับโครงสร้างประชากรผู้สูงอายุ และควบคุมต้นทุนของระบบบำนาญให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม โดยการขยายอายุผู้มีสิทธิรับประโยชน์ทดแทนกรณีชราภาพเป็นมาตรการปกติที่ประเทศต่างๆ ทั่วโลกดำ
คนไทยอ่านหนังสือเพิ่ม 80 นาทีต่อวัน เด็กรุ่นใหม่กระเตื้อง คนไทยอ่านหนังสือเพิ่ม – สำนักงานอุทยานการเรียนรู้ (TK park) ร่วมกับ สำนักงานสถิติแห่งชาติ เปิด “ผลสำรวจการอ่านของประชากร ประจำปี พ.ศ. 2561” พบว่าคนไทยใช้เวลาอ่านเพิ่มมากขึ้นเป็น 80 นาทีต่อวัน โดยอ่านหนังสือเล่มร้อยละ 88 และอ่านบนสื่ออิเล็กทรอนิกส์มาแรงถึงร้อยละ 75.4 ซึ่งอยู่ในระดับที่ใกล้เคียงกันมากขึ้น สะท้อนว่าหนังสือเล่มยังคงอยู่เคียงคู่สื่อใหม่ ในภาพรวมมีคนไทยอ่านร้อยละ 78.8 ซึ่งหมายถึงยังมีคนไทยที่ไม่อ่านถึงร้อยละ 21.2 การแถลงที่ศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ เมื่อ 3 เม.ย. น.ส. วันเพ็ญ พูลวงษ์ รองผู้อำนวยการสำนักงานสถิติแห่งชาติ เปิดเผยภาพรวมสำรวจการอ่านของคนไทยในปี พ.ศ. 2561 ว่า คนไทยอายุ 6 ปีขึ้นไป อ่านร้อยละ 78.8 หรือคิดเป็นจำนวนประชากร 49.7 ล้านคน กรุงเทพฯ มีคนอ่านมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 92.9, ภาคกลางร้อยละ 80.4 ภาคเหนือและภาคอีสานร้อยละ 75 และ ภาคใต้ร้อยละ 74.3 ขณะที่เวลาในการอ่านสูงขึ้น พบว่าคนไทยอ่านหนังสือนานสุด 80 นาที/วัน เทียบจากปี 2558 อ่าน 66 นาที และและ 2556 อ่าน 37 นาที วันเพ็ญ พูลวงษ์ แจงสถิติ แนวโน้มการอ่านขอ