เครื่องดื่มแอลกอฮอล์
สรรพสามิต เผยปี 63 จัดเก็บภาษีเหล้า-เบียร์ ได้ 1.4 แสนล้านบาท วันที่ 25 ก.ย. นายพชร อนันตศิลป์ อธิบดีกรมสรรพสามิต กล่าวว่า การจัดเก็บรายได้ของกรมสรรพสามิตในปีประมาณ 2563 (ต.ค.2562-ก.ย.2563) จัดเก็บได้ 5.46 แสนล้านบาท แม้ว่าจะต่ำกว่าเป้าหมายจัดเก็บที่ 5.8 แสนล้านบาท แต่จัดเก็บได้สูงกว่าเป้าหมาย หลังประเมินผลกระทบจากโควิด-19 ที่ 5.01 แสนล้านบาท โดยคาดว่าในปีงบประมาณ 2564 จะจัดเก็บได้เป้าหมายที่ 5.3 แสนล้านบาท ซึ่งปรับลดลงจากเดิมที่ 6.3 แสนล้านบาท “ค่อนข้างงง แปลกใจกับตัวเลขจัดเก็บปีนี้ เพราะเดิมที่เห็นเป้าหมายจัดเก็บใหม่ที่ 5.01 แสนล้านบาท ยอมรับว่าหืดขึ้นคอ เพราะโควิด ทำให้มีการล็อกดาวน์กิจกรรมทางเศรษฐกิจทั้งหมด แต่พอเริ่มเปิดกิจกรรมทางเศรษฐกิจ ตัวเลขจัดเก็บก็เริ่มกลับมาช่วงไตรมาส 4 ปีงบประมาณ 2562” ทั้งนี้ตัวเลขที่จัดเก็บได้สูงกว่าเป้าหมาย มาจากการจัดเก็บภาษี สุรา เบียร์ และเครื่องดื่ม ที่ไม่ต่ำกว่าคาดการณ์มากเกินไป เนื่องจากมีการเก็บภาษีจากโรงงาน และของไปค้างที่สต็อก รวมทั้งช่วงโควิด ประชาชนให้ความสนใจดื่มน้ำผสมวิตามินเป็นอย่างมาก โดยภาษีเบียร์ จัดเก็บได้ 8 หมื่นล้านบาท ต่
มาแล้ว ร่างมติเห็นชอบ “ห้ามขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ทางออนไลน์ทุกรูปแบบ!” เว็บไซต์ สำนักข่าว กรมประชาสัมพันธ์ เผยแพร่ข่าว นายสาธิต ปิตุเตชะ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข กล่าวหลังเป็นประธานการประชุมคณะกรรมการนโยบายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์แห่งชาติ ครั้งที่ 17 (ครั้งที่ 1/2563) ว่า ที่ประชุมมีมติเห็นชอบร่างประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ห้ามขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์โดยวิธีการหรือในลักษณะการขายทางอิเล็กทรอนิกส์ เนื่องจากการระบาดของโรคโควิด-19 ทำให้มีการขายเครื่องดื่มทางอิเล็กทรอนิกส์มากขึ้น โดยเฉพาะในสื่อออนไลน์ มีการขายพร้อมโปรโมชั่นพิเศษและจัดส่งให้ถึงหน้าบ้าน โดยไม่มีข้อจำกัดด้านอายุ เวลา และสถานที่ ส่งผลให้ผู้บริโภค โดยเฉพาะเยาวชน นักดื่มหน้าใหม่เข้าถึงเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ได้ง่ายยิ่งขึ้น การบังคับใช้กฎหมายตาม พ.ร.บ.ควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ.2551 ทำได้ยาก ร่างประกาศฯ ฉบับนี้ จึงห้ามขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ผ่านช่องทางออนไลน์ทุกรูปแบบ ซึ่งจะมีเวลาให้ปรับตัว 90 วัน ด้าน นพ.สุวรรณชัย วัฒนายิ่งเจริญชัย อธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าวว่า แม้ร่างประกาศฯ ฉบับนี้จะห้ามขายผ่านออนไลน์ แต่มีข้อยกเว้นสำห
กรมการแพทย์ ย้ำ ดื่มเหล้า-เบียร์-แอลกอฮอล์บริสุทธิ์ ไม่ฆ่าเชื้อโควิด-19 อันตรายถึงตาย นายแพทย์สรายุทธ์ บุญชัยพานิชวัฒนา ผู้อำนวยการสถาบันบำบัดรักษาและฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติดแห่งชาติบรมราชชนนี กล่าวว่า จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโควิด-19 ส่งผลให้ประชาชนหวาดกลัว และพยายามหาวิธีการป้องกันตนเองจากการติดเชื้อ เช่น สวมหน้ากากอนามัย ล้างมือด้วยสบู่หรือเจลแอลกอฮอล์ ไม่ไปในพื้นที่เสี่ยง เป็นต้น แต่มีบุคคลกลุ่มหนึ่งที่พยายามหาวิธีการต่างๆ ที่เชื่อว่าสามารถฆ่าเชื้อโควิด-19 ได้ ไม่ว่าจะเป็นการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ การดื่มแอลกอฮอล์บริสุทธิ์ หรือเอทิลแอลกอฮอล์ ซึ่งเป็นความเชื่อที่ไม่ถูกต้อง และอันตรายถึงขั้นเสียชีวิตได้ เอทิลแอลกอฮอล์ หรือ เอทานอล เป็นแอลกอฮอล์บริสุทธิ์ 95% ผลิตจากพืชประเภทน้ำตาลและพืชจำพวกแป้งเช่นเดียวกันกับแอลกอฮอล์ที่ผสมในเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ถึงแม้จะเป็นชนิดของแอลกอฮอล์ที่สามารถรับประทานได้ แต่ด้วยความเข้มข้นที่สูงกว่าในเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ทั่วไป ทำให้ผู้ดื่มมีภาวะแอลกอฮอล์เป็นพิษและในบางรายรุนแรงอาจถึงขั้นเสียชีวิตได้ จึงเหมาะสำหรับทำความสะอาด เช็ด ถู เพื่อฆ่าเช
เครือข่ายเฝ้าระวังสุราฯ เผยสงกรานต์นี้น่ากลัวกลุ่มธุรกิจหวังดึงยอด ปรับแพคเกจจิ้งเรียกลูกค้าเพิ่ม!! เมื่อวันที่ 7 เมษายน นายคำรณ ชูเดชา ผู้ประสานงานเครือข่ายเฝ้าระวังธุรกิจสุรา กล่าวถึงช่วงเทศกาลสงกรานต์ที่จะถึงนี้ ว่า ในช่วงเทศกาลสงกรานต์ ทางเครือข่ายฯจะดำเนินการเฝ้าระวังการจัดทำอีเว้นท์ของกลุ่มธุรกิจเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ว่ามีการลด แลกแจก แถมหรือไม่ รวมทั้งการออกแพคเกจจิ้ง หรือบรรจุภัณฑ์สำหรับใส่เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ อย่างกระเป๋าเป้ใส่น้ำแข็ง กระเป๋าเป้ใส่กระป๋องหรือขวดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เป็นต้น โดยอาจมีการทำบรรจุภัณฑ์ที่สีสันดึงดูดกลุ่มวัยรุ่น กลุ่มที่ต้องการเก็บสะสมก็เป็นได้ ซึ่งทางเครือข่ายฯก็จะเฝ้าระวังตามหัวเมืองใหญ่ เช่น เชียงใหม่ ขอนแก่น อุดรธานี และอีกหลายๆจังหวัด เป็นต้น “ที่น่าเสียดายคือ การห้ามจำหน่ายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในวันที่ 13 เมษายน ซึ่งมีข้อมูลว่าเป็นวันที่พบอุบัติเหตุ การบาดเจ็บ การเสียชีวิตจากการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในช่วงสงกรานต์มาก แต่ คณะกรรมการนโยบายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์แห่งชาติ ยังไม่ได้ประชุมหรือพิจารณาเรื่องนี้ โดยยังเลื่อนการประชุมออกไป ซึ่งก็ต้องรอรัฐ
กก.ควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ มีมติเสนอ 13 เม.ย. ทุกปี ห้ามขายเหล้า! เมื่อวันที่ 15 ก.พ. ที่กระทรวงสาธารณสุข(สธ.) นพ.สุขุม กาญจนพิมาย ปลัดกระทรวงสาธารณสุข(สธ.) เปิดเผยภายหลังการประชุมคณะกรรมการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ว่า ได้มีการพิจารณามาตรการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เพื่อลดอุบัติเหตุทางถนนในช่วงเทศกาลสงกรานต์ปี 2562 ซึ่งจากข้อมูลผู้บาดเจ็บและเสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางถนนในช่วงเทศกาลสงกรานต์ปี 2555-2559 พบว่ามีอัตราการบาดเจ็บ เสียชีวิตจากการจราจรทางถนนที่เกี่ยวเนื่องกับเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ โดยเป็นผู้ดื่ม 44,590 คน คิดเป็นร้อยละ 32.5 จากจำนวนผู้ประสบอุบัติเหตุทั้งสิ้น 137,385 คน โดยพบการบาดเจ็บ และเสียชีวิตสูงสุดในวันที่ 13 เม.ย. ซึ่งเป็นกลุ่มอายุ 15-19 ปีมากที่สุด ทั้งนี้พบปริมาณแอลกอฮอล์ในเลือดของผู้ขับขี่เกินค่า 50 มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์ ซึ่งเป็นค่ามาตรฐานที่กำหนด สูงถึงร้อยละ 80 สำหรับวันอื่นๆ ในเทศกาลสงกรานต์พบว่าอัตราการเกิดอุบัติเหตุ บาดเจ็บ และเสียชีวิตไม่ได้แตกต่างจากวันปกติ “ดังนั้น ที่ประชุมจึงมีมติให้วันที่ 13 เป็นวันงดจำหน่ายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เช่นเดียวกับการห้ามจำหน่าย