เครื่องตัดหญ้า
เมื่อประมาณ 3-4 ปีที่ผ่านมา หลายท่านคงจะเห็นผลงานการดัดแปลงเครื่องตัดหญ้าแบบสะพายบ่า นำล้อเข็นเข้ามาเสริม ทำให้ตัดหญ้าด้วยวิธีเข็นไปตามพื้นราบ ไม่ต้องแบกสะพายบ่าให้เหนื่อยและเมื่อยบ่าและสันหลัง เขาคือนายกฤษณะ สิทธิหาญ หรือคนละแวกนั้นเรียกว่าช่างเอก ศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร (สับปะรด) หมู่ที่ 5 บ้านวังเลียบ ตำบลบุญนาคพัฒนา อำเภอเมือง จังหวัดลำปาง ผลงานชิ้นใหม่นี้เป็นการดัดแปลงเครื่องตัดหญ้าด้วยการใช้พลังงานแสงอาทิตย์ มีผลดีหลายประการคือ ที่ไม่ต้องแบก ไม่ต้องใช้เครื่องยนต์แบบเดิม ถือเป็นการสนองนโยบายการประหยัดพลังงาน รักษาสิ่งแวดล้อม ลดมลภาวะ ลดเสียงรบกวนจากเครื่องยนต์ อุปกรณ์ที่ใช้ ได้แก่ ถ่านลิเธี่ยมฟอสเฟต ขนาด 3.2 โวลล์ นำมาปรับสภาพให้มีประจุความแรงให้เท่ากัน จำนวน 16 ก้อน เพื่อให้ได้กำลังไฟออกมา 24 โวลล์ นำไปขับเคลื่อนมอเตอร์ให้มีกำลังไปหมุนแกนบังคับใบมีด มีพลังงานออกมามากมายที่สามารถหมุนใบมีดได้ น้ำหนักรวมทั้งเครื่องเพียง 2.5 กิโลกรัม ตัวเครื่องเบา กำลังแรงสูง ทำให้ใช้ได้ทั้งสุภาพสตรี ผู้สูงอายุ ช่างเอกบอกเพิ่มเติมว่า ชุดแรกได้ทำออกมา มีคนสั่งจองหลายราย แต่ม
เปลี่ยนเครื่องตัดหญ้าเป็นเครื่องสูบน้ำ ปลูกพืชผัก ผันเงินเข้ากระเป๋า ในฤดูแล้ง ปัจจุบัน เกษตรกรส่วนใหญ่มีพื้นที่การเกษตรอยู่นอกเขตชลประทาน ไม่มีไฟฟ้าที่จะเอื้ออำนวยต่อการสูบน้ำในการเพาะปลูกพืช จึงมักทำการเกษตรได้เฉพาะฤดูฝน และบ่อยครั้งต้องประสบปัญหาพืชขาดน้ำ และบางรายเมื่อเข้าสู่ฤดูแล้งจึงปล่อยให้พื้นที่ว่างเปล่า เพราะไม่สามารถจัดหาน้ำมาใช้เพาะปลูกพืชได้ แต่มีเกษตรกรรายหนึ่งที่ใช้ภูมิปัญญาดัดแปลงเครื่องสูบน้ำแบบสะพายให้เป็นเครื่องสูบน้ำปลูกพืชผัก ทำรายได้ในช่วงฤดูแล้งได้เป็นอย่างดี อย่างเช่น คุณวิไล นาลา อยู่บ้านเลขที่ 356 หมู่ที่ 9 บ้านนาดี ตำบลกุดธาตุ อำเภอหนองนาคำ จังหวัดขอนแก่น คุณวิไล-คุณพรรณี นาลา สองสามีภรรยา ให้ข้อมูลว่า มีอาชีพทำนา ในฤดูฝนทำนาปี ส่วนฤดูแล้งหลังจากเก็บเกี่ยวข้าวแล้วก็ปลูกพืชผักอายุสั้นหลายชนิด เช่น ข้าวโพดข้าวเหนียว แตงร้าน แตงกวา แตงไทย แตงโม ถั่วฝักยาว เมื่อเก็บเกี่ยวเสร็จแล้วก็ย้ายไปปลูกแปลงใหม่ต่อไปเรื่อย เป็นการนำปุ๋ยไปใส่นาอีกทางหนึ่งด้วย สามารถทำรายได้ให้แก่ครอบครัว วันละ 200-300 บาท โดยสูบน้ำจากสระน้ำที่ขุดไว้ จำนวน 2 บ่อ เปลี่ยนชุดตัดหญ้า เป็นหัวปั๊มสู