เงินทุน
เจาะลึกที่มาเงินทุน กทปส. พร้อมเปิดกรอบการจัดสรรทุน ปี 2567 เตรียมทุ่ม 1.5 พันล้าน หนุนภารกิจสร้างประโยชน์สู่สาธารณะ จากความมุ่งมั่นที่จะพัฒนากิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม ให้ช่วยยกระดับและพัฒนาคุณภาพชีวิตประชาชน สร้างประโยชน์สู่สังคม และส่งเสริมการพัฒนาประเทศ กองทุนวิจัยและพัฒนากิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม เพื่อประโยชน์สาธารณะ หรือ “กทปส.” จึงได้มีการจัดสรรเงินทุนปีละนับพันล้านบาทเพื่อส่งเสริมและสนับสนุนงานวิจัยและพัฒนาที่เกี่ยวเนื่องกับกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม ที่สร้างประโยชน์สู่สาธารณะมาอย่างต่อเนื่อง โดยตลอด 12 ปี นับตั้งแต่ก่อตั้งกองทุนจนถึงปัจจุบัน กทปส. ได้จัดสรรเงินทุนสนับสนุนไปแล้วมากกว่า 500 โครงการ มูลค่ารวมกว่า 57,000 ล้านบาท ครอบคลุมทั้งโครงการด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม สำหรับในปี 2567 นี้ กทปส. ได้กำหนดกรอบการจัดสรรเงินกองทุน โดยแบ่งเป็นทุน 3 ประเภทคือ ทุนประเภทที่ 1 ทุนแบบเปิดกว้าง กรอบวงเงิน 300 ล้านบาท ทุนประเภทที่ 2 เป็นทุนตามนโยบายคณะกรรมการบริหารกองทุน แบ่งเป็น 2 ประเภท ได้แก่ ทุนมุ่งเป้า
LINE BK เจาะกลุ่มผู้มีรายได้ตั้งแต่ 5 พันบาท ผุด วงเงินให้ยืมนาโน ช่วยคนสร้างอาชีพ ลดการพึ่งเงินกู้นอกระบบ ธนา โพธิกำจร ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท กสิกร ไลน์ จำกัด เปิดเผยว่า ท่ามกลางการแพร่ระบาดของโควิด-19 ระลอกใหม่และเศรษฐกิจที่ชะลอตัว อาจส่งผลกระทบต่อปัญหาสภาพคล่องทางการเงินของประชาชน LINE BK เข้าใจความต้องการขอสินเชื่อในเวลานี้ พร้อมเพิ่มโอกาสให้คนไทยเข้าถึงแหล่งเงินได้ง่ายขึ้น ผ่านผลิตภัณฑ์สินเชื่อรายย่อยเพื่อการประกอบอาชีพ “วงเงินให้ยืมนาโน” (Nano Credit Line) ออกแบบมารองรับความต้องการทางการเงินสำหรับเจ้าของธุรกิจขนาดเล็ก และพนักงานรายได้ประจำที่ต้องหาแหล่งเงินทุนเพื่อเริ่มต้นธุรกิจเป็นรายได้เสริม โดยเป็นการสมัครและรับผลอนุมัติผ่านช่องทางดิจิทัล บน LINE BK ในแอพพลิเคชั่น LINE ซึ่งสามารถทำได้สะดวก รวดเร็ว ไม่จำเป็นต้องเดินทางไปยังสาขาเพื่อขอพิจารณาอนุมัติสินเชื่อเหมือนดังแต่ก่อน วงเงินให้ยืมนาโน จะเป็นอีกหนึ่งทางเลือกในการเข้าถึงแหล่งเงินทุนของคนไทย โดยจุดเด่นของวงเงินให้ยืมนาโน คือ เป็นสินเชื่อผ่านช่องทางดิจิทัลที่เปิดโอกาสให้ผู้ที่มีรายได้ขั้นต่ำ 5,000 บาทต่อเดือน สามารถขอส
ธปท. เปิดตัว โครงการให้สินเชื่อใหม่ โดยใช้ใบแจ้งหนี้เป็นหลักประกัน หนุน SMEs เข้าถึงแหล่งทุนมากขึ้น เว็บไซต์ มติชนออนไลน์ เผยข่าว นางสาวพีรจิต ปัทมสูต ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายกลยุทธ์สถาบันการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า ธปท. เล็งเห็นถึงความสำคัญของสินเชื่อที่ใช้ใบแจ้งหนี้ดิจิทัล และรายรับอันเกิดจากใบแจ้งหนี้ (อินวอยซ์) เป็นหลักประกัน (Digital Factoring) ในการเป็นเครื่องมือที่จะช่วยให้ผู้ประกอบการขนาดเล็กและกลาง (เอสเอ็มอี) ที่มีอยู่กว่า 2.9 ล้านรายในระบบ ซึ่ง ธปท. มุ่งเน้นไปที่กลุ่มไมโครเอสเอ็มอี หรือกลุ่มผู้ประกอบการขนาดเล็ก ที่มีมูลค่าธุรกิจต่ำกว่า 100 ล้านบาท ที่มีประมาณ 2-3 แสนราย ให้สามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุน เพื่อให้มีสภาพคล่องเพิ่มขึ้นได้ “ปัจจุบันการทำสินเชื่อโดยมีใบแจ้งหนี้เป็นหลักประกัน ยังไม่เป็นที่แพร่หลายโดยเฉพาะในกลุ่มเอสเอ็มอีรายย่อย ที่ไม่ได้เป็นคู่ค้าตรงกับลูกหนี้การค้า ที่เป็นบริษัทขนาดใหญ่ เนื่องจากผู้ให้บริการสินเชื่อโดยมีใบแจ้งหนี้เป็นหลักประกัน มีความกังวลเรื่องปัญหาการปลอมแปลงเอกสารใบแจ้งหนี้ เพื่อมาขอเงินกู้และการยื่นขอสินเชื่อซ้ำซ้อน ธปท. จึงเริ่มโคร
บสย. เปิดทริก “เงินทุน” แบ่งอย่างไร ให้ธุรกิจงอกเงย ประสบความสำเร็จ บสย. – ในการทำธุรกิจ นอกจากจะมีใจรัก ความอดทน ผลิตภัณฑ์ต้องโดดเด่นแล้ว “เงินทุน” ก็เป็นอีกหนึ่งปัจจัยสำคัญในการลงทุนทำธุรกิจ ซึ่งผู้ประกอบการส่วนมาก มักจะทุ่มเงินลงทุนไปกับสินค้าหรือบริการ จนไม่มีเงินเหลือไว้ทำอย่างอื่น เพจ บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม หรือ บสย. ได้แนะนำทริกดีๆ ในการแบ่งเงินทุนเพื่อประกอบธุรกิจสำหรับผู้ประกอบการต่างๆ เอาไว้ ดังนี้ 1.เงินทุนสำหรับสินค้า หรือ บริการ -เงินทุนสำหรับสินค้าหรือบริการ เป็นเงินส่วนแรกที่ต้องแบ่งวางเอาไว้ เพื่อเป็นการสำรวจว่า สินค้าหรือบริการของเรา ต้องใช้เงินทุนมาก-น้อยเท่าใด ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับขนาดของธุรกิจที่ต้องการจะทำเช่นกัน 2.เงินทุนสำหรับการทำตลาด -เพราะสินค้าหรือบริการ ไม่ได้มีแค่คุณภาพที่ทำให้สามารถขายได้ แต่จะต้องมีการสื่อสารการตลาดที่ดีด้วยเพราะการสื่อสารประชาสัมพันธ์สินค้า ถือเป็นสิ่งที่สินค้าใหม่พึงกระทำ เพื่อทำให้ผู้บริโภคเกิดการรับรู้ในตลาดนั่นเอง 3.เงินทุนด้านการดำเนินการ -หรือก็คือเงินค่าใช้จ่ายต่างๆ อาทิ ค่าเช่าที่ ค่าน้ำ
เมื่อวันที่ 5 ก.ย. ณ ห้องวิภาวดีบอลรูม C โรงแรมเซ็นทารา แกรนด์ แอท เซ็นทรัลพลาซา ลาดพร้าว คุณประภัสรา เนาวบุตร ผู้ช่วยผู้อำนวยการฝ่ายกิจการสาขา บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.) กล่าวตอนหนึ่งในงานสัมมนา “ทางเหลือ-ทางรอด SMEs ยุค 4.0” ซึ่งจัดโดย “เส้นทางเศรษฐี” นิตยสารรายเดือน เฟซบุ๊กแฟนเพจ และเว็บไซต์ เพื่อผู้ประกอบการขนาดกลาง และขนาดย่อม ว่า บสย. มีการค้ำประกันสินเชื่อตั้งแต่ผู้ประกอบการรายย่อย ไปจนถึงรายใหญ่ โดยกลุ่มที่ ค้ำประกันให้มากที่สุดคือกลุ่มพ่อค้า แม่ค้า ที่เป็นรากฐานเศรษฐกิจสำคัญของไทย การสนับสนุนให้ผู้ประกอบการรายย่อยเข้าถึงแหล่งเงินทุนถือเป็นภารกิจที่ บสย. มีความมุ่งมั่น อย่างไรก็ตามจากการศึกษาวิจัยที่ผ่านมา ยังพบว่า มีกลุ่มผู้ประกอบการรายย่อยส่วนใหญ่กู้ยืมนอกระบบ เพราะไม่มีความพร้อม ในปีนี้ภาครัฐได้อนุมัติ โครงการค้ำประกันสินเชื่อ SMEs ทวีทรัพย์ เมื่อเดือน ก.ค. ที่ผ่านมา ด้วยวงเงินสนับสนุน 150,000 ล้านบาท ฟรีค่าธรรมเนียมค้ำประกัน 1 ปี