เงินล้าน
วัยรุ่นสองอาชีพ! วิศวกรโยธาปลูกผักขาย ทำตลาดยังไง ให้จับเงินเฉียดแสน ในปัจจุบันการมีอาชีพเดียวคงไม่เพียงพอ หลายๆ คนจึงเลือกมองหาอาชีพเสริม แม้ต้องแลกมากับการจัดสรรเวลาให้ดี แต่อย่างน้อยก็คุ้มค่ากับการมีรายได้เพิ่ม เพียงพอต่อการนำไปใช้จ่ายในส่วนต่างๆ เช่นเรื่องราวของ คุณเติ้ล-วิภู กรอบบาง วัย 26 ปี แม้มีการงานอาชีพมั่นคง เป็นถึงวิศวกรโยธาเกี่ยวกับรถไฟฟ้า แต่เขายังแบ่งเวลา 1 ชั่วโมงหลังเลิกงาน และวันอาทิตย์ซึ่งเป็นวันหยุดวันเดียวมาปลูกผักขาย อีกทั้งยังต่อยอดขายสลัดผัก รวมถึงชุดทดลองปลูก จนสามารถสร้างรายได้เดือนละเกือบแสนบาท “ทุกคนถามแบบนี้ มีงานดีอยู่แล้ว ทำไมยังต้องหางานเพิ่ม ผมคิดว่าถ้าเราสามารถหาเวลาเพิ่มสักนิดแล้วได้เงินเพิ่ม ผมว่าก็ควรทำ เพราะอาชีพเดียวตอนนี้อยู่ไม่ค่อยได้จริงๆ” คุณเติ้ล เล่าให้ฟังถึงเหตุผลในการทำ “ผักบ้านน้องอีฟ” มานานเกือบ 1 ปี และว่า “ก่อนหน้านี้ผมไม่เคยสนใจเลย เห็นพ่อปลูก ยังถามอยู่เลยว่าปลูกทำไมเลอะเทอะใหญ่แล้ว แต่พอพ่อปลูกแล้วทำเงินได้จริงๆ ผมก็อยากลองปลูกบ้าง ให้พ่อช่วยสอน เราปลูกแบบไฮโดรโปนิกส์ ระบบน้ำนิ่ง ใช้กล่องโฟมเป็นภาช
ในพื้นที่อำเภอธวัชบุรี จังหวัดร้อยเอ็ด แม้จะเป็นแหล่งแดนดินถิ่นอีสาน ที่เคยได้ชื่อว่าแห้งแล้งเหลือเกินนั้น ยังมีเรื่องของการเลี้ยงปลา ซึ่งต้องอาศัยแหล่งน้ำ และยึดการเลี้ยงปลาเป็นอาชีพทำกิน สร้างรายได้ให้กับครอบครัวมหาศาล คุณวิลัย แพงคำแสน วัย 56 ปี เจ้าของ “สมโชคพันธุ์ปลา” ตั้งอยู่เลขที่ 65 หมู่ที่ 5 บ้านนิคม ถนนแจ้งสนิท ตำบลนิเวศน์ อำเภอธวัชบุรี จังหวัดร้อยเอ็ด ผู้มีงานประจำทำหน้าที่เป็นพนักงานขับรถยนต์ ของศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงน้ำจืดร้อยเอ็ด คุณวิลัย เล่าย้อนให้ฟังว่า งานในหน้าที่คือพนักงานขับรถยนต์ ช่วงว่างช่วยงานด้านการผสมเทียมปลา เลี้ยงปลา จนเกิดความชำนาญระดับผู้เชี่ยวชาญด้านการผสมเทียมปลาน้ำจืดทุกชนิด เช่น ปลาดุกบิ๊กอุย ปลาดุกรัสเซีย ตัวละ 1 บาท ปลานิลจิตรลดา ถุงละ 100 บาท ปลาทับทิมใหญ่ ตัวละ 2 บาท ปลาหมอเทศ 80 ตัว 100 บาท ปลาตะเพียน ถุงละ 100 บาท ปลาแรด ตัวละ 5 บาท ปลากดเหลือง ตัวละ 1 บาท ปลากระโห้ ตัวละ 1 บาท ปลาสวายบิ๊กโพ ตัวละ 2 บาท ปลาจาระเม็ด ตัวละ 2 บาท ปลาไน ถุงละ 100 บาท ปลาบึก ตัวละ 200 บาท ปลานิลหมัน ตัวละ 2 บาท และปลาสลิด 80 ตัว 100 บาท “ผมสามารถเพาะพันธุ์โดยวิธีการ
ได้รับฉายาจากคนในวงการปลากัด ว่าเธอคือ “เจ้าแม่ปลากัดเงินล้าน” สำหรับ สุวรรณีย์ แสงดี หรือ “เจ๊แอน” หญิงสาวกตัญญูสู้ชีวิตที่เจ้าตัวก็ไม่เคยคาดคิดว่าปลากัดตัวเล็กๆ สีสวยๆ ที่เลี้ยงในขวดโหล จะสามารถเปลี่ยนชีวิตให้สามารถลืมตาอ้าปากได้ เพราะจากที่เคยต้องกินข้าวคลุกน้ำปลา ไม่มีเงินขึ้นรถประจำทาง ทุกวันนี้กลายเป็นเจ้าของฟาร์มปลากัดมีเงินหมุนเวียนปีละล้าน ชีวิตเหมือนได้เริ่มต้นใหม่ ได้รับฉายาจากคนในวงการปลากัด ว่าเธอคือ “เจ้าแม่ปลากัดเงินล้าน” สำหรับ สุวรรณีย์ แสงดี หรือ “เจ๊แอน” หญิงสาวกตัญญูสู้ชีวิตที่เจ้าตัวก็ไม่คาดคิดว่าจะมีทุกวันนี้ เจ๊แอน เล่าว่า ไม่เคยคาดคิดว่าปลากัดตัวเล็กๆ สีสวยๆ ที่เลี้ยงในขวดโหล จะสามารถเปลี่ยนชีวิตให้สามารถลืมตาอ้าปากได้ เพราะจากที่เคยต้องกินข้าวคลุกน้ำปลา ไม่มีเงินขึ้นรถประจำทาง ทุกวันนี้กลายเป็นเจ้าของฟาร์มปลากัดมีเงินหมุนเวียนปีละล้าน ชีวิตเหมือนได้เริ่มต้นใหม่ เพราะยึดหลัก 3 ข้อ คือ ซื่อสัตย์ ไม่หมิ่นเงินน้อย และรักในอาชีพ สำหรับจุดเริ่มต้น เจ๊แอน เท้าความว่า ย้อนกลับไปเมื่อ 7 – 8 ปีที่แล้ว ยึดอาชีพขายอาหารตามสั่งและทำเบเกอรี่ สามีซ่อมมอเตอร์ไซค์ แต่แล้ว
ข้าวเม่า มีลักษณะเฉพาะตัวที่มีความหอม มีสีเขียวธรรมชาติของเมล็ดข้าว คุณค่าทางอาหารคล้ายกับข้าวกล้อง เป็นข้าวที่ยังไม่สีเอารำออก จึงมีสารอาหารที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกายอยู่ครบถ้วน เป็นอาหารพื้นบ้าน ชนิดที่สามารถนำมาผสมนมสด รับประทานเช่นเดียวกับอาหารเช้าที่นำเข้าจากต่างประเทศ มีกลิ่นหอมรสชาติอร่อย และคุณค่าทางโภชนาการสูง โดยเฉพาะวิตามินบี ธาตุเหล็ก และฟอสฟอรัส ส่งผลดีต่อสุขภาพทำให้สุขภาพจิตดี มีความตื่นตัว มีสมาธิสูง ช่วยปรับระดับกลูโคสและสารอาหารรองในสมอง ช่วยให้ระบบการทำงานของสมองดี ก่อนที่ขนมโบราณชิ้นนี้จะถูกลืม ยังมีคนกลุ่มหนึ่งที่คงสืบทอดภูมิปัญญานี้ไว้เรื่อยมา หนึ่งในนั้นคือ “กลุ่มแม่บ้านเกษตรกรบ้านห้วยไม้ซอด” อำเภอปากคาด จังหวัดบึงกาฬ ที่ยังคงผลิตข้าวเม่าอย่างต่อเนื่องหลายทศวรรษ ซึ่งนับเป็นเรื่องที่น่ายินดีที่การแปรรูปจากข้าวเมนูนี้ยังคงอยู่ บ้านห้วยไม้ซอด เป็นหมู่บ้านเล็กๆ กลางท้องทุ่งในอำเภอปากคาด จังหวัดบึงกาฬ ที่ขึ้นชื่อในการผลิต”ข้าวเม่า”มานาน เรียกได้ว่าเป็นชุมชนผลิตข้าวเม่ารายใหญ่แห่งดินแดนอีสาน กลุ่มแม่บ้านเกษตรกรบ้านห้วยไม้ซอด ตั้งอยู่เลขที่ 57 หมู่ที่ 9 ตำบลปากคาด อำเภอ
อดีตผู้แทนยาสาวสวย ภญ.โสภา พิมพ์สิริพานิชย์ หรือ “โซอี้” ที่แต่ละวันต้องรอพบคุณหมอเพื่อพรีเซ้นต์และอัพเดทข้อมูลยา นับเป็นงานที่สร้างรายได้ค่อนข้างสูง กระทั่งวันหนึ่งเธอป่วยเป็นซีสต์ เลยตัดสินใจลาออกไปสร้างธุรกิจส่วนตัวด้วยการขายผ้าพันคอ ในโลกออนไลน์ จากกิจการเล็กๆ ที่ใช้เวลาขายเพียงวันละ 1 ชั่วโมง ระยะเวลาเพียง 3 ปี ปัจจุบันสามารถเปิดช็อปในห้างหรู ตลอดจนส่งขายต่างประเทศ รายได้ปี 58 ทะลุ 100 ล้านบาทเลยทีเดียว คุณโซอี้ เล่ากับเส้นทางเศรษฐีออนไลน์ว่า ทำงานเป็นผู้แทนยาได้ 4 ปี หลังจากป่วยเป็นเนื้องอก ก็เลือกกลับไปรักษาตัว จากนั้นไม่นานนักแต่งงานมีครอบครัว พอจะมีเวลาว่างเลยสร้างอาชีพเสริมด้วยการขายผ้าพันคอ “โซอี้สคาร์ฟ”ออกแบบเอง ขายในโซเซียลมีเดีย ทั้งเฟสบุ๊ค อินสตาแกรม และไลน์ อาศัยซื้อโฆษณาผ่านเฟสบุ๊ค ลูกค้าเลยรู้จัก ด้วยดีไซน์และสีสันของผ้าพันคอที่โดดเด่น สามารถประยุกต์เข้ากับเสื้อผ้าได้หลายสไตล์ ใช้ได้บ่อยตามที่สาวๆ ต้องการ เลยทำให้ได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นอย่างล้มหลาม “โดยส่วนตัวเป็นคนรักงานศิลปะ เลยนำศิลปะมาอยู่ในรูปแบบของผ้าพันคอ สาเหตุที่เลือกผ้าพันคอ เพราะเป็นแอกเซสซอรีคู่กายของส
ลืมตาอ้าปากได้ ก็เพราะอาชีพเลี้ยงจิ้งหรีด สำหรับชาวบ้าน ต.บัวใหญ่ อ.น้ำพอง จ. ขอนแก่น เพราะประชากรของหมู่บ้านนี้มี 99 ครัวเรือน ยึดอาชีพเลี้ยงจิ้งหรีดจำนวน 66 ครัวเรือน มีเงินสะพัดในหมู่บ้านแห่งนี้เดือนละกว่า 1.6 ล้านบาท โดยผู้ที่นำจิ้งหรีดมาเลี้ยงคนแรก คือ ผู้ใหญ่บ้าน “เพ็ชร วงศ์ธรรม” ซึ่งทุกๆ 45 วันเขาจะเก็บจิ้งหรีดขาย มีรายได้แสนกว่าบาทเลยทีเดียว เพ็ชร วงค์ธรรม ผู้ใหญ่บ้านวัย 53 ปี อดีตเคยขับสองแถวตั้งแต่อายุ 23 ปี ต่อจากนั้นหันมาเลี้ยงหมู เลี้ยงได้ 3 ปี ราคาหมูตกต่ำ หันมาเลี้ยงนกกระทา เลี้ยงได้ 2 ปีต้องยุติเพราะประสบปัญหาไข้หวัดนก ในที่สุดมาเพาะถั่วงอก แต่แล้วเจอภัยแล้ง เพาะถั่วงอกได้ 6 ปี สุดท้ายมาเลี้ยงจิ้งหรีดในปี 2550 จวบจนปัจจุบัน “ผมเริ่มเลี้ยงจิ้งหรีดตอนอายุ 44 ปี หรือประมาณ 9 ปีที่แล้ว สาเหตุที่เลี้ยงจิ้งหรีด เพราะเพื่อนที่อำเภอกัณทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม มาแนะนำวิธีการเลี้ยงพร้อมทั้งแนะนำตลาดให้ เลยซื้อไข่จิ้งหรีด ขันละ 100 บาท มา 600 ขัน มีจิ้งหรีดทั้งหมดราว 42,000 ตัว เป็นเงิน 60,000 บาท และค่าอุปกรณ์ 70,000 บาท รวมครั้งแรกลงทุนเบ็ดเสร็จ 130,000 บาท” ผู้ใหญ่บ้าน เลี้ยงจิ
ติดทำเนียบผักขายดี ร้านก๋วยเตี๋ยวทุกร้านจำเป็นต้องใช้ทุกวัน สำหรับ “ถั่วงอก” พืชราคาไม่สูงมากแต่อุดมด้วยไปคุณค่าทางโภชนาการ แถมปลูกง่าย โตไวทำเงินดี ไม่ต้องเป็นเกษตรกรก็สามารถปลูกได้ เฮียเอี่ยม หรือคุณวันทัสน์ รติขจรพันธุ์ ชายหนุ่มวัย 59 ปี ยึดอาชีพเพาะถั่วงอกขายมาตลอดทั้งชีวิตปัจจุบันเพาะถั่วงอกปลอดสารบนเนื้อที่ 400 ตารางวา ย่านคลอง 13 หนองจอก กรุงเทพมหานคร เก็บผลผลิตส่งขายตลาดทุกวันราว 2 – 3 ตัน มีรายได้วันละ 20, 000 บาท โดยเฉลี่ยยังไม่หักต้นทุน จะมีรายได้เดือนละ 1 ล้านบาท เฮียเอี่ยม เท้าความกับเส้นทางเศรษฐีออนไลน์ว่า เกิดและเติบโตมาในครอบครัวคนจีนที่มีอาชีพเพาะถั่วงอกขาย เดิมรุ่นพ่อแม่เพาะถั่วงอกอยู่ที่ย่านดินแดงนาน 20 ปี จนกระทั่งกรมทรัพยากรน้ำสั่งห้ามใช้น้ำบาดาลเลยย้ายมาอยู่ย่านคลอง 13 หนองจอก เนื่องจากมีน้ำให้ใช้ตลอดทั้งปี “ตอนเพาะถั่วงอกอยู่ที่ดินแดงใช้น้ำบาดาล ประกอบกับท่อน้ำบาดาลแตก กรมทรัพยากรน้ำ สั่งห้ามใช้น้ำบาดาล เลยย้ายมาอยู่คลอง 13 ย่านหนองจอก เนื่องจากมีน้ำให้ใช้ตลอดทั้งปี เป็นน้ำคลองชลประทานที่ไหลมาจากเขื่อนจังหวัดชัยนาท ก่อนนำมาใช้รดถั่วงอ
ได้รับฉายาจากคนในวงการปลากัด ว่าเธอคือ “เจ้าแม่ปลากัดเงินล้าน” สำหรับ สุวรรณีย์ แสงดี หรือ “เจ๊แอน” หญิงสาวกตัญญูสู้ชีวิตที่เจ้าตัวก็ไม่คาดคิดว่าจะมีทุกวันนี้ เจ๊แอน เล่าว่า ไม่เคยคาดคิดว่าปลากัดตัวเล็กๆ สีสวยๆ ที่เลี้ยงในขวดโหล จะสามารถเปลี่ยนชีวิตให้สามารถลืมตาอ้าปากได้ เพราะจากที่เคยต้องกินข้าวคลุกน้ำปลา ไม่มีเงินขึ้นรถประจำทาง ทุกวันนี้กลายเป็นเจ้าของฟาร์มปลากัดมีเงินหมุนเวียนปีละล้าน ชีวิตเหมือนได้เริ่มต้นใหม่ เพราะยึดหลัก 3 ข้อ คือ ซื่อสัตย์ ไม่หมิ่นเงินน้อย และรักในอาชีพ สำหรับจุดเริ่มต้น เจ๊แอน เท้าความว่า ย้อนกลับไปเมื่อ 7 – 8 ปีที่แล้ว ยึดอาชีพขายอาหารตามสั่งและทำเบเกอรี่ สามีซ่อมมอเตอร์ไซค์ แต่แล้วแม่สามีล้มป่วยด้วยโรคอัลไซเมอร์และกระดูกสะโพกแตก จำต้องหยุดทำทุกอย่าง เพราะต้องดูแลแม่ ทำให้รายได้ทั้งหมดก็ขาดไป แต่โชคดีมีพี่น้องช่วยเหลือบ้าง ช่วงนั้นชีวิตลำบากมาก มีลูกเล็กด้วย บ่อยครั้งต้องกินข้าวคลุกน้ำปลา ทุกอย่างที่ดูมืดมน แต่แล้วโอกาสที่ทำให้คุณแอนได้ก้าวต่อไปก็มาถึง เมื่อหญิงสาวตัดสินใจผันตัวไปขายปลากัด ซึ่งมีจุดเริ่มต้นมาจากพี่ชายสามี ซึ่งเป็นนักเดินสายประกวดปลากัด