เงินเยียวยาเกษตรกร
ธ.ก.ส. พร้อมจ่ายเงินเยียวยาเดือนที่ 2 แก่เกษตรกรกว่า 7.14 ล้านราย เริ่ม 15 มิ.ย.นี้ ธ.ก.ส. เตรียมจ่ายเงินเยียวยาเดือนที่ 2 ให้กับเกษตรกรที่ได้รับโอนเงินในเดือนแรกไปแล้วจำนวนกว่า 7.14 ล้านราย วงเงินกว่า 35,000 ล้านบาท โดยเริ่มโอนเงินเข้าบัญชีเกษตรกรโดยตรงตั้งแต่วันที่ 15-21 มิ.ย. 63 นี้ วันละ 1 ล้านราย ส่วนเกษตรกรที่อยู่ระหว่างการอุทธรณ์ การตรวจสอบข้อมูลสถานะและเลขที่บัญชี ธ.ก.ส. พร้อมโอนเงินต่อเนื่องทันทีเมื่อได้รับข้อมูลที่ผ่านการตรวจสอบแล้วจากกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ นายกษาปณ์ เงินรวง รองผู้จัดการธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) เปิดเผยว่า ธ.ก.ส. พร้อมจ่ายเงินช่วยเหลือเยียวยาเกษตรกรที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส โควิด-19 ตามมติคณะรัฐมนตรี ในเดือนที่ 2 (มิถุนายน 2563) จำนวน 5,000 บาท แก่เกษตรกรที่ได้รับโอนเงินในเดือนแรกไปแล้ว โดยจะทำการตรวจสอบสถานะการมีชีวิตอีกครั้ง จากนั้นจะทยอยโอนเงินเข้าบัญชีเกษตรกรโดยตรงตั้งแต่วันที่ 15-21 มิถุนายน 2563 ต่อเนื่องทุกวันไม่เว้นวันหยุด วันละประมาณ 1 ล้านราย สำหรับเกษตรกรที่อยู่ระหว่างการยื่นอุทธรณ์กับกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (กษ.
ธ.ก.ส. เตือนเกษตรกรอย่าหลงเชื่อ SMS หลอกลวงโอนเงิน เมื่อวันที่ 17 พ.ค. นายอภิรมย์ สุขประเสริฐ ผู้จัดการธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) เปิดเผยว่า สืบเนื่องจาก ในเดือน พ.ค. ธนาคารมีการจ่ายเงินตามมาตรการต่างๆ มากมาย เช่น การจ่ายเงินเยียวยาเราไม่ทิ้งกัน การจ่ายเงินเยียวยาเกษตรกร 15,000 บาท เดือนละ 5,000 บาท 3 เดือน การจ่ายเงินเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ การจ่ายเงิน อสม. และการจ่ายเงินประกันรายได้ปาล์มน้ำมัน ซึ่งอาจเป็นช่องทางให้มิจฉาชีพใช้เหตุดังกล่าวหลอกลวง แอบอ้าง เพื่อหาประโยชน์ให้ตนเอง ด้วยการส่ง SMS แจ้งการโอนเงินผิดบัญชีแล้วระบุบัญชีให้เกษตรกรลูกค้าและประชาชนทั่วไปโอนเงินคืน การจัดส่ง SMS ขอหมายเลขบัตรประชาชน ขอเลขที่บัญชีเงินฝาก ขอรหัส OTP หรือแม้กระทั่งการขอรหัสบัตร ATM ซึ่ง ธ.ก.ส. ขอ ย้ำ! ว่าธนาคารไม่มีนโยบายส่ง SMS ให้กระทำการดังกล่าวและขอให้เกษตรกรลูกค้าและประชาชนทั่วไป อย่าหลงเชื่อโอนเงินหรือให้ข้อมูลอื่นใดเด็ดขาด หากพบเห็นการกระทำความผิดในลักษณะดังกล่าว โปรดเก็บข้อมูล วิธีการหลอกลวง แจ้งมายังธนาคาร หรือ โทรศัพท์สอบถามพนักงานธนาคารที่ท่านคุ้นเคย หรือแจ้งข้อมูลให้กับ Ca
เกษตรกรมีเฮ! กระทรวงเกษตรฯ เตรียมจ่ายเงินเยียวยา รอบแรก 15 พ.ค.นี้! เงินเยียวยาเกษตรกร – เว็บไซต์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เผยแพร่ข่าว กระทรวงเกษตรฯ ยืนยัน จ่ายเยียวยาเกษตรกรรอบแรก 15 พ.ค. พร้อมเผย มีการส่งข้อมูลทะเบียนเกษตรกรกลุ่มแรกให้ ธ.ก.ส. แล้ว และตั้งศูนย์อุทธรณ์ร้องทุกข์ให้ความเป็นธรรมเกษตรกรทุกราย โดย นายอลงกรณ์ พลบุตร ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า จากการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เมื่อวันที่ 28 เมษายน 2563 มีมติเห็นชอบการดำเนินโครงการช่วยเหลือเกษตรกรที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ซึ่งการช่วยเหลือตามโครงการในครั้งนี้ เป็นการช่วยเหลือ เยียวยาและบรรเทาความเดือดร้อนของเกษตรกรและครอบครัว ถือว่ามีความจำเป็นเร่งด่วนตามนโยบายของ ดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และยังเป็นการเพิ่มสภาพคล่องทางเศรษฐกิจ เกษตรกรจะได้รับเงินช่วยเหลือ รายละ 5,000 บาทต่อเดือน เป็นระยะเวลา 3 เดือน ตั้งแต่เดือนพฤษภาคม–กรกฎาคม 2563 รวมวงเงินของโครงการ 150,000 ล้านบาท นั้น “ขอรายงานความก้าวหน้าโครงการดังกล่าว ในส
ทางเพจเฟซบุ๊ก “ประชาสัมพันธ์ กรมส่งเสริมการเกษตร” ได้รวม 5 คำถามยอดฮิตที่มีคำตอบเคลียร์ชัด “การตรวจสิทธิ์เพื่อรับเงินเยียวยา เกษตรกรครัวเรือนละ 15,000 บาท” ใครมีสิทธิ์ได้รับเงินเยียวยาเกษตรกร 15,000 บ้าง คำตอบ : เกษตรกรทุกกลุ่ม พืช ประมง และปศุสัตว์ ที่ขึ้นทะเบียนเป็นเกษตรกร กับหน่วยงานนั้นๆ และได้ปรับปรุงทะเบียนปี 62/63 2.สิ่งที่ต้องทำสำหรับเกษตรกรเพื่อได้รับสิทธิ์เงินเยียวยา มีอะไรบ้าง คำตอบ : เกษตรกรทุกราย ให้ไปเช็กรายชื่อที่ติดประกาศของหมู่บ้าน, เกษตรกรที่ขึ้นทะเบียน และปรับปรุงทะเบียนเกษตรกร ปี 2562/63 หากพบรายชื่อในประกาศแล้ว ให้รอกระทรวงการคลังพิจารณาจ่ายเงินผ่านธนาคาร ธ.ก.ส. หรือธนาคารอื่นใดก็ได้ สามารถตรวจสอบได้ที่ www.เยียวยาเกษตรกร.com 3.เกษตรกรที่ขึ้นทะเบียนและปรับปรุงทะเบียนเกษตรกรก่อนปี 2562 แต่ไม่ได้แจ้งปรับปรุงทะเบียนเกษตรกรต้องทำอย่างไรบ้าง คำตอบ : สำหรับเกษตรกรที่ขึ้นทะเบียนเกษตรกรไว้ก่อนปี 2562 และยังทำการเกษตรอยู่ แต่ไม่ได้มาปรับปรุงทะเบียนเกษตรกร ให้ทำตามขั้นตอนดังนี้ ให้ไปตรวจสอบรายชื่อที่ติดประกาศภายในหมู่บ้าน (ตามที่ตั้งแปลงปลูก), หากพบรา
ธ.ก.ส. พร้อมโอนเงินเยียวยา 5,000 เข้าบัญชีเกษตรกร 15 พ.ค. นี้ ธ.ก.ส. พร้อมโอนเงินบรรเทาความเดือดร้อนจากผลกระทบของโควิด-19 ให้กับเกษตรกร 10 ล้านราย รายละ 5,000 บาทต่อเดือน เป็นเวลา 3 เดือน รวมวงเงิน 150,000 ล้านบาท ตามฐานข้อมูลทะเบียนเกษตรกรจากกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ที่ผ่านการตรวจสอบแล้ว โดยโอนเงินเข้าบัญชีโดยตรงทั้งบัญชีเงินฝากที่มีกับ ธ.ก.ส. หรือบัญชีที่มีกับธนาคารอื่น คาดเริ่มทยอยโอนได้ตั้งแต่ 15 พ.ค.นี้ ประมาณ 1 ล้านคนต่อวัน นายอภิรมย์ สุขประเสริฐ ผู้จัดการธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) เปิดเผยว่า ตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 28 เมษายน 2563 เห็นชอบให้ดำเนินมาตรการช่วยเหลือเยียวยาเกษตรกรที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรน่า (COVID-19) โดยจ่ายเงินให้แก่ครัวเรือนเกษตรกรที่ขึ้นทะเบียนเกษตรกรกับหน่วยงานของรัฐ รายละ 5,000 บาท เป็นระยะเวลา 3 เดือน (พ.ค.–ก.ค. 63) จำนวน 10 ล้านราย วงเงินงบประมาณจำนวน 150,000 ล้านบาท ซึ่งขั้นตอนการจ่ายเงินดังกล่าว ธ.ก.ส. จะรับข้อมูลผู้ขึ้นทะเบียนที่ผ่านการตรวจสอบแล้วจากกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และดำเนินการโอนเงินเข้าบัญชีเกษตรกรโดยตรง
“สวนดุสิตโพล” เปิดผลสำรวจ ความพอใจของประชาชนที่มีต่อรัฐบาลช่วงโควิด-19 “สวนดุสิตโพล” เปิดผลสำรวจความพึงพอใจของประชาชนที่มีต่อรัฐบาล ในช่วงโควิด-19 จำนวน 1,801 คน (สำรวจทางออนไลน์) ระหว่างวันที่ 27-30 เมษายน 2563 ผลสรุปมี ดังนี้ 1. “มาตรการรับมือโควิด-19” ของรัฐบาลที่ประชาชนพึงพอใจ คือ 1. คุมเข้มกักตัวผู้โดยสารเดินทางเข้าไทย 14 วัน 94.18% พึงพอใจมากที่สุด 2. ห้ามเครื่องบินเข้าสู่ไทยชั่วคราว 92.55% พึงพอใจมากที่สุด 3. อสม.แต่ละพื้นที่ตรวจติดตามคนในชุมชน 89.03% พึงพอใจมาก 4. กักตัว “อยู่บ้าน หยุดเชื้อ เพื่อชาติ” 88.01% พึงพอใจมาก 5. การตรวจหาเชื้อกลุ่มเสี่ยง 87.08% พึงพอใจมาก 6. ล็อกดาวน์กรุงเทพฯ และจังหวัดต่างๆ 85.45% พึงพอใจมาก 7. เคอร์ฟิว 22.00-04.00 น. 85.40% พึงพอใจมาก 8
คนขับตุ๊กตุ๊กตัดพ้อรายได้หาย 90 เปอร์เซ็นต์ แถมไม่ได้เงิน 5,000 บาท ทั้งที่มีประวัติกับกรมการขนส่งทางบก นายบุญมี วงษ์จันทร์ คนขับตุ๊กตุ๊กย่านตลาดโบ๊เบ๊ สะพาน 3 ถูกรัฐปัดเป็นเกษตรกร ทั้งที่วิ่งตุ๊กตุ๊กมาถึง 20 ปี ยอมรับเสียความรู้สึก เพราะเห็นบางคนได้ แต่ทำไมตนเองไม่ได้ “อยากให้รัฐทำระบบคัดกรองให้ดีกว่านี้ ยอมรับแม้พ่อแม่จะเป็นเกษตรกร แต่ตัวเองย้ายมาอยู่กรุงเทพฯ นาน 20 ปีแล้ว ขับรถตุ๊กตุ๊กอย่างเดียวเลย” ด้านคุณบรรลุ เนื่องพงษ์ ขับตุ๊กตุ๊กมานานกว่า 24 ปี ตอนนี้เดือดร้อนมาก จากเคยมีรายได้วันละ 1,000 กว่าบาท เหลือวันละไม่ถึง 100 บาท ตอนนี้ใช้เงินเก็บดูแลครอบครัวอยู่ “ใจจริง อยากกลับบ้านต่างจังหวัด แต่รัฐบาลขอความร่วมมือไม่ให้เดินทาง แล้วจะจ่ายเงินเยียวยาให้ ก็เลยไม่กลับ และรู้ว่ากลับไปต่างจังหวัดก็ต้องกักตัว 14 วัน เพื่อนๆ ที่ขับตุ๊กตุ๊กในวิน มีความหวังกับเงิน 5,000 บาท มาก แต่ผลที่ออกมา เพื่อนในวินมี 10 คน ได้เงินเพียง 3 คน ที่เหลือไม่ได้” ผู้ขับรถตุ๊กตุ๊กทั้ง 3 คน ต่างบอกเป็นเสียงเดียวกันว่า อยากบอกรัฐบาลให้ไปเช็กกับกรมการขนส่งทางบก มีข้อมูลพวกเราทุกอย่าง ไม่ต้อง