เจนวาย
เปิดพฤติกรรม “เจนวาย” ใช้เงินซื้อของฟุ่มเฟือย 1.37 ลลบ./ปี ส่วนใหญ่ฝันอยากมีบ้าน-รถยนต์ ทีเอ็มบี จับมือ ไวซ์ไซท์ เผยข้อมูลพฤติกรรมเชิงลึกทางการเงินในโซเชียลมีเดียของกลุ่มคน “GEN Y” ผ่านแคมเปญ #ของมันต้องมีก่อน 40 พบจนวาย ใช้เงินซื้อสินค้าฟุ่มเฟือย 1.37 ลลบ./ปี ส่วนใหญ่มีความฝันสร้างอนาคตที่ดีและมั่นคง อยากมีบ้าน รถ และเงินออม คุณนริศ สถาผลเดชา ผู้บริหาร TMB Analytics ให้รายละเอียดถึงผลจากการสำรวจพฤติกรรมของ GEN Y บนโซเชียล พบว่า ของที่เจนวายอยากมีก่อนอายุ 40 คือ บ้าน (48%) รถยนต์ (22%) ขณะที่อยากมีเงินออมและสินทรัพย์อื่นๆ มีไม่มาก (13%) แต่สิ่งที่เกิดขึ้นจริงกับเจนวาย เมื่อวิเคราะห์โดยใช้ข้อมูลจากการศึกษา พบว่ามียอดใช้จ่ายในกลุ่มสินค้า “ของมันต้องมี” ถึง 69% ขณะที่รายการซื้อบ้าน ซื้อรถที่เป็นความฝันมีสัดส่วนที่ลดลงมาก รวมทั้งสัดส่วนเงินออมมีไม่ถึง 10% โดยเฉลี่ยเจนวาย หมดเงินไปกับ “ของมันต้องมี” ปีละเกือบแสนหรือ 1 ใน 4 ของรายได้ต่อปี ส่วนใหญ่เป็นการซื้อโทรศัพท์ เสื้อผ้า เครื่องสำอาง อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ กระเป๋า และนาฬิกา/เครื่องประดับ และถ้าขยายภาพให้ชัดเจนในแต่ละปี กลุ่ม
สาวเจนวายตามฝัน เปิดร้านอาหาร เป็นทั้งเชฟ-เจ้าของร้าน รายได้หลักหมื่น/วัน คุณครีม-นฤภร กิจฉลอง สาวเจนวายวัย 23 ปี ผู้หลงรักในการทำงานอาหารมาตั้งแต่เด็ก ซึมซับมาจากธุรกิจโรงงานขนมหวานของพ่อแม่ เรียกว่าเกิดมาก็รู้แล้วว่าชอบอะไร หลังฝึกฝีมือที่สถาบันอาหารชื่อดัง ‘เลอ กอร์ดอง เบลอ’ และเข้าสั่งสมประสบการณ์ที่โรงแรมเลอบัวอีก 4 เดือน และด้วยแรงสนับสนุนจากทางครอบครัวอย่างเต็มกำลัง คุณครีมเลือกต่อยอดความฝัน เปิดร้านอาหารที่เจ้าตัวควบตำแหน่งเจ้าของร้านและเชฟประจำร้านได้ตั้งแต่อายุ 21 ปี โดยอาหารร้านนี้เป็นแบบฟิวชั่น นำเสนอความหลากหลายของอาหาร มีครบทั้งอาหาร เครื่องดื่ม ขนมหวาน ตั้งอยู่ย่านพุทธมณฑล สาย 7 ชื่อร้าน ‘Sumalee Pastry Cream’ ในช่วงปีแรกที่เปิด คุณครีม บอกว่า ประสบการณ์ทำงานยังน้อยมาก แต่โชคดีที่ได้พ่อกับแม่มาช่วยสอนเรื่องการบริหาร ทั้งสต๊อกของ บัญชี รวมถึงรายละเอียดยิบย่อยต่างๆ จนมีความเข้าใจมากขึ้น ในที่สุดก็ได้ดูแลร้านแบบเต็มตัวในปีที่สอง ราคาย่อมเยาจับต้องได้ แม้จะเป็นร้านอาหารฟิวชั่น แต่หน้าที่หลักของคุณครีมคือการทำของหวานโดยตรง เธอถนัดทำเค้กหลายอย่าง โดยคงคอนเซ็ปต์ว่า เค้กร
“ผักหวาน” ผักที่สามารถปรุงเป็นอาหารได้หลายเมนู มีคุณค่าทางโภชนาการสูง และถึงแม้จะใช้เวลาปลูกค่อนข้างนาน แต่เมื่อได้ผลผลิตแล้ว ก็นับว่าคุ้มค่ากับการรอคอยเลยทีเดียว คุณณัฐติกาญจน์ เจริญทรัพย์ หรือ น้ำผึ้ง หญิงสาวหน้าคมวัย 28 ปี เด็กเทคนิค จบ ปวส.จากวิทยาลัยเทคโนโลยีละโว้ จังหวัดลพบุรี เธอคือทายาทสวนผักหวานป่าเจริญทรัพย์ ที่เข้ามาสานต่อธุรกิจปลูกผักขาย ต่อจากคุณแม่ จนทำให้ตระกูลนี้ ขึ้นแท่นเศรษฐีชาวสวน น้ำผึ้ง เล่าว่า คุณพ่อเสียชีวิตตั้งแต่ยังเด็ก หลังเรียนจบสาขาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ ราว พ.ศ. 2550 มาช่วยแม่ปลูกผักหวานและพืชผักชนิดอื่น อาทิ ชะอม ถั่วพลู ข้าวโพด บนพื้นที่ 40 ไร่ ตำบลหนองบัว อำเภอบ้านหมอ จังหวัดสระบุรี แต่ทว่าตอนขาย “ผักหวาน” ได้ราคาดีที่สุด เฉลี่ยกิโลกรัมละ 70 – 80 บาท ขณะที่ข้าวโพดขายได้เพียงกิโลกรัมละ 5-6 บาท หนที่สุดเลยเลือกปลูกแต่เฉพาะผักหวานเท่านั้น คุณแม่ของน้ำผึ้ง ปลูกผักขายมานานกว่า 30 ปี กระทั่งได้ลูกสาวมาช่วยบริหาร ปัจจุบันเป็นทั้งเกษตรกรและแม่ค้าเต็มรูปแบบ กล่าวคือ ปลูกเอง ส่งขายเอง รับซื้อจากเกษตรรายอื่นมาขายต่อด้วยบวกกำไรกิโลกรัมละ 30 บาท “ดิฉันปลูกผักหวาน บนพื้นท
เห็นกันอยู่บ่อยๆ มักจะมีคนไอเดียดี นำวัสดุเหลือใช้ภายในครัวเรือนมาดัดแปลงปลูกพืชผักสวนครัว อาทิ ถังน้ำพลาสติก ขวดน้ำ ตะกร้า กะละมัง ฯลฯ วัตถุประสงค์ก็เพื่อให้เหมาะกับสภาพพื้นที่อันจำกัด ลดปริมาณขยะ บางรายก็สร้างรายได้ให้กับผู้ปลูกด้วย เฉกเช่น “พิเชษฐ์ ด้วงชู” นักศึกษาชั้น ปวช.2 สาขาพืชศาสตร์ วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีพัทลุง นำถุงกระสอบปุ๋ยไร้ค่ามาใช้ปลูกพริกเดือยไก่บนเนื้อที่ 2 งานเศษ หารายได้เสริมระหว่างเรียนได้อย่างสบาย พิเชษฐ์ ด้วงชู ชื่อเล่นแน่น เด็กใต้วัย 19 ปี เล่ากับเส้นทางเศรษฐีออนไลน์ว่า เกิดที่บ้านหนองหว้า ตำบลชุมพล อำเภอ ศรีนครินทร์ จังหวัดพัทลุง ครอบครัวเป็นเกษตรกร พ่อแม่ปลูกยางพารา บนเนื้อที่ 10 ไร่ กระทั่งเมื่อปี 2558 ไปอบรมโครงการเกษตรเพื่อชีวิต ชื่อโครงการว่า “เกษตรกรรุ่นใหม่ ใส่ใจมาตรฐาน” ที่สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ (มกอช.) และหน่วยงานในสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ร่วมกับกระทรวงศึกษาธิการ จากนั้นนำองค์ความรู้ที่ได้กลับมาทดลองทำที่บ้าน ด้วยการทดลองปลูกพริกในกระสอบปุ๋ย ผลปรากฏว่าพริกเจริญเติบโตดี สามารถเก็บขายได้ มีรายได้หลังหักค่าใช้จ่ายแ