เชื้อโรค
ไบโอฟาร์ม เตือนหนาวนี้ระวังหน่อย เชื้อโรคยังอยู่ แนะป้องกันไว้ดีกว่าแก้ วันที่ 18 ตุลาคม 2565 ที่ผ่านมา บริษัท ไบโอฟาร์ม เคมิคัลส์ จำกัด บริษัทผู้นำและเชี่ยวชาญด้านเวชภัณฑ์ยาและสุขภาพของคนไทย ได้เปิดตัวโปรโมชั่นและกิจกรรมทางการตลาดออนไลน์ใหม่ สำหรับผลิตภัณฑ์ “ไบโอเฟรช” สเปรย์พ่นคอ ต้อนรับการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศและเพื่อเป็นตัวช่วยในการดูแลสุขภาพของคนไทยในช่วงฤดูท่องเที่ยวปลายปีที่กำลังจะมาถึง ด้วยสถานการณ์การระบาดของโรคโควิด-19 ที่คลี่คลายลง รัฐบาลโดยข้อเสนอฝ่ายสาธารณสุขจึงพิจารณาผ่อนคลายมาตรการควบคุมและป้องกันโรคให้สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน แต่อย่างไรก็ตาม ข้อมูลจากกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) เมื่อวันที่ 17 ตุลาคม 2565 รายงานยอดผู้ติดเชื้อโควิด-19 รายสัปดาห์ ในประเทศไทย ประจำสัปดาห์ที่ 41 ระหว่างวันที่ 9-15 ตุลาคม 2565 ระบุว่า ประเทศไทยมีผู้ป่วยรักษาตัวในโรงพยาบาล (รพ.) จำนวน 2,234 ราย หรือเฉลี่ยวันละ 319 ราย มีผู้เสียชีวิต จำนวน 53 ราย เฉลี่ยวันละ 7 ราย ในจำนวนผู้ป่วยที่รักษาตัวใน รพ. เป็นผู้ป่วยปอดอักเสบ 371 ราย และผู้ป่วยต้องใส่เครื่องช่วยหายใจ 203 ราย ทั้งนี้ ตั้งแต่ว
“ห้องน้ำสาธารณะ” แหล่งรวมเชื้อโรค เข้าอย่างไรให้ปลอดภัย? ห้องน้ำสาธารณะ – หนึ่งในสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ เมื่อใช้ชีวิตประจำวันอยู่นอกบ้าน คือ “ห้องน้ำสาธารณะ” หลายๆ คนคงทราบดีว่า ห้องน้ำสาธารณะบางที่ สภาพไม่ค่อยน่าใช้ เป็นแหล่งสะสมแบคทีเรียอย่างดี ที่สามารถก่อโรคให้กับเราได้ เพจ โรงพยาบาลศิริราช ปิยมหาราชการุณย์ ได้แชร์บทความสุขภาพเกี่ยวกับ การใช้ห้องน้ำสาธารณะอย่างไร ให้ปลอดเชื้อโรค โดยมีข้อปฏิบัติ 7 ข้อ ดังนี้ 1. เลือกห้องน้ำที่ไม่ค่อยมีคนใช้ เป็นห้องน้ำที่ไม่ได้อยู่ในแหล่งพลุกพล่าน เช่น ห้องน้ำในออฟฟิศชั้นที่มีพนักงานน้อยๆ เป็นต้น 2. อย่าสัมผัสโดยตรง ทุกครั้งที่เข้าห้องน้ำสาธารณะ ควรสัมผัสกับสิ่งต่างๆ ในห้องน้ำน้อยที่สุด เช่น เมื่อเปิดประตูเข้าไป อาจจะใช้ทิชชูวางบนลูกบิดแล้วหมุนเข้าไป เป็นต้น 3. ทำความสะอาดก่อนนั่ง ก่อนนั่งควรทำความสะอาดฝาชักโครก ด้วยกระดาษทิชชูแบบเปียกชนิดฆ่าเชื้อ หรือพกกระดาษรองนั่งไปปูบนฝาชักโครกก่อนขับถ่าย และระวังอย่าให้แผ่นรองเปียกน้ำเด็ดขาด เพราะเชื้อโรคอาจจะแทรกซึมมากับน้ำได้ 4. ใช้เวลาน้อยที่สุด ไม่ต้องถึงขั้นจับเวลา แต่ควรใช้เ
เปิด 6 ของใช้ใกล้ตัว แหล่งสะสมเชื้อโรค บางอย่างมีเชื้อโรคกว่าแสนตัว! ยิ่งช่วงโควิด-19 แบบนี้ ยิ่งต้องรักษาความสะอาด ไม่ใช่แค่เฉพาะการล้างมือป้องกันการนำเชื้อโรคเข้าปากเข้าตาเท่านั้น แต่ของใช้ในชีวิตประจำวันก็ควรได้รับการทำความสะอาดเพื่อลดการสะสมเชื้อโรคเหมือนกัน เพจ ศิริราช เผยแพร่ข้อมูลความรู้ ของใช้ 6 อย่าง ที่เป็นแหล่งสะสมเชื้อโรค ซึ่งบางอย่างเป็นของใช้ประจำวันที่มีเชื้อโรคสะสมอยู่กว่าแสนตัวเลยทีเดียว! 1.โทรศัพท์มือถือ : ของใช้ในชีวิตประจำวันที่นำโด่งมาเป็นอันดับหนึ่ง โดยเชื้อโรคก็มาจากมือของเราที่หยิบจับนี่แหละ! โดยเชื้อโรคจะอยู่ตามซอกหลืบฝ่ามือ ซึ่งเป็นจุดที่ง่ายต่อการเพาะเชื้อ นี่จึงเป็นเหตุผลที่เราควรล้างมือบ่อยๆ นั่นเอง 2.รีโมททีวี : รีโมททีวีเป็นสิ่งของในบ้านที่เราหยิบใช้กันบ่อยๆ มีการสัมผัสเปลี่ยนมือกันไปหลากหลาย ด้วยความที่มันไม่ค่อยได้รับการทำความสะอาดนี่แหละ จึงเป็นแหล่งสะสมเชื้อโรคชั้นดีอีกอย่างหนึ่งเลยแหละ 3.เหรียญและแบงก์ : ถือเป็นอีกหนึ่งของใช้ที่มีการสัมผัสผ่านมือมาหลากหลายมือ และไม่ค่อยมีคนทำความสะอาดของพวกนี้ โดยเหรียญและแบงก์ มีเชื้อโรคสะสมอยู่ราวๆ 1 แสนตัวเลยทีเดี
กรมอนามัย แนะโรงอาหาร ฟู้ดคอร์ต คุมเข้ม 3 ขั้นตอนล้างภาชนะ ด่านแรกสกัดเชื้อโรค แพทย์หญิงพรรณพิมล วิปุลากร อธิบดีกรมอนามัย เปิดเผยว่า กระบวนการที่สำคัญที่สุดที่จะทำให้ภาชนะที่ใช้ในโรงอาหาร หรือฟู้ดคอร์ต สะอาดปลอดภัย คือการล้างภาชนะให้ถูกวิธี ด้วย 3 ขั้นตอน คือ 1. ขจัดเศษอาหารและล้างด้วยน้ำผสมน้ำยาล้างจาน 2. ล้างด้วยน้ำสะอาดอย่างน้อย 2 ครั้ง และ 3. ฆ่าเชื้อโรคด้วยการทำให้แห้ง โดยตากแดดหรืออบด้วยความร้อน ส่วนวิธีการเลือกและใช้ช้อนส้อมและภาชนะให้ถูกสุขอนามัยนั้น ให้เลือกที่ทำจากวัสดุที่ไม่เป็นพิษและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม รูปทรงทำความสะอาดง่าย ทนทาน ไม่แตกหักง่าย และใช้ให้ถูกประเภทอาหาร เมื่อล้างสะอาดแล้วเก็บคว่ำให้แห้ง และต้องเก็บให้เป็นระเบียบ วางซ้อนนอนเรียงเป็นทางเดียวในภาชนะโปร่งสะอาดหรือวางตั้งเอาด้ามขึ้นในภาชนะโปร่ง สะอาด และมีการปกปิดที่มิดชิด โดยให้เก็บสูงจากพื้นอย่างน้อย 60 เซนติเมตร “ทั้งนี้ จากกรณีที่มีการนำช้อนส้อมมาจุ่มหม้อหุงข้าวเพื่อฆ่าเชื้อโรคนั้น วิธีการนี้กรมอนามัยไม่แนะนำให้ปฏิบัติ เพราะหม้อหุงข้าวไม่สามารถควบคุมอุณหภูมิความร้อนได้ และหากเป็นหม้อหุงข้าวประเภทที่เคลือบผ
กรมอนามัย แนะโรงอาหาร-ฟู้ดคอร์ต คุมเข้ม 3 ขั้นตอน ทำความสะอาดภาชนะสกัดเชื้อโรค สร้างความมั่นใจให้ผู้ใช้บริโภค กรมอนามัย – เว็บไซต์ กรมอนามัย ได้เผยแพร่ข่าว กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข แนะโรงอาหาร ฟู้ดคอร์ต คุมเข้ม 3 ขั้นตอนล้างทำความสะอาดภาชนะถูกหลักสุขาภิบาล เป็นด่านแรกสกัดเชื้อโรค สร้างความมั่นใจให้กับผู้ใช้บริโภค โดยแพทย์หญิงพรรณพิมล วิปุลากร อธิบดีกรมอนามัย เปิดเผยว่า กระบวนการที่สำคัญที่สุดที่จะทำให้ภาชนะที่ใช้ในโรงอาหาร หรือฟู้ดคอร์ต สะอาดปลอดภัย คือการล้างที่ถูกหลักสุขาภิบาล โดยล้างทำความสะอาดและผึ่งให้แห้งสนิท 3 ขั้นตอน คือ 1) ขจัดเศษอาหารและล้างด้วยน้ำผสมน้ำยาล้างจาน 2) ล้างด้วยน้ำสะอาดอย่างน้อย 2 ครั้ง และ 3) ฆ่าเชื้อโรคด้วยการทำให้แห้ง โดยตากแดดหรืออบด้วยความร้อน ส่วนวิธีการเลือกและใช้ช้อนส้อมและภาชนะให้ถูกสุขอนามัยนั้น ให้เลือกที่ทำจากวัสดุที่ไม่เป็นพิษและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม รูปทรงทำความสะอาดง่าย ทนทาน ไม่แตกหักง่าย และใช้ให้ถูกประเภทอาหาร เมื่อล้างสะอาดแล้วเก็บคว่ำให้แห้ง และต้องเก็บให้เป็นระเบียบ วางซ้อนนอนเรียงเป็นทางเดียวในภาชนะโปร่งสะอาดหรือวางตั้งเอาด้ามขึ้นใ
“7 ของใช้ใกล้ตัว” แหล่งสะสมเชื้อโรค ที่ไม่ควรมองข้าม ของใช้ใกล้ตัวสะสมเชื้อโรค – เชื้อโรค เป็นบ่อเกิดของโรคต่างๆ หลายคนมีความเข้าใจว่า เชื้อโรคมีอยู่ตามสถานที่สาธารณะ อย่าง ห้องน้ำ โรงพยาบาล หรือ รถขนส่งสาธารณะ แต่รู้หรือไม่ว่า เชื้อโรคมีอยู่ทุกที่ โดยเฉพาะในสิ่งของใกล้ตัวที่เราใช้กันอยู่ทุกวันนั้น ถือเป็นแหล่งสะสมเชื้อโรคแหล่งใหญ่เลยทีเดียว! เพจ โรงพยาบาลศิริราช ปิยมหาการุณย์ ได้เผยแพร่บทความสุขภาพเกี่ยวกับ ของใช้ใกล้มือที่สะสมเชื้อโรค โดยมีอยู่ด้วยกัน 7 สิ่ง ได้แก่ 1. โทรศัพท์มือถือ – เชื่อไหมว่า เป็นสิ่งของที่เชื้อโรคชอบมากที่สุด เพราะโทรศัพท์มีซอกหลืบและอุณหภูมิที่เหมาะแก่การเพาะเชื้อโรค ดังนั้น ควรเช็ดทำความสะอาดหลังใช้งานทุกครั้ง 2. รีโมตทีวี เป็นสิ่งที่ทุกคนในบ้านหยิบจับใช้บ่อย และไม่ค่อยได้ทำความสะอาด จึงเป็นแหล่งสะสมเชื้อโรคและแพร่เชื้อโรคได้อย่างดี ดังนั้นควรหมั่นทำความสะอาดรีโมตบ่อยๆ 3. เหรียญและธนบัตร เป็นของสาธารณะที่ผ่านการสัมผัสจากการใช้งานหลายๆ มือ ซึ่งในเหรียญหรือธนบัตร จะมีเชื้อโรคสะสมอยู่ประมาณ 135,000 ตัว! หลังจากหยิบจับแล้ว จึงควรล้างมือทุกครั้งก่อนหยิบ
แม่ค้าผัดไทย ตกใจข่าวดัง ชี้! อาจเป็นไปได้จาก 3 สาเหตุ จากกรณีที่สำนักข่าวต่างประเทศ รายงานถึงเรื่องราวของคู่รักชาวออสเตรเลีย ที่ได้รับเชื้อปรสิตที่ชื่อว่า เดนตามีบา ฟราจิลิส (Dientamoeba Fragilis) หลังจากได้ทานผัดไทย ที่ศูนย์อาหารแห่งหนึ่งในภูเก็ต ขณะเดินทางมาเที่ยวไทยเมื่อ 2 ปีก่อน ซึ่งทั้งสองคนเชื่อย่างสนิทใจว่า อาการดังกล่าวคือการได้รับเชื้อปรสิตมาจากการกินผัดไทยในประเทศไทย หลังจากที่ข่าวมีการนำเสนอออกไป พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ให้สัมภาษณ์ถึงเรื่อง ผัดไทย ว่า “ผมไม่รู้สาเหตุเกิดจากอะไรกันแน่ ก็กำลังให้ตรวจสอบอยู่ ผมก็เคยทานไม่เห็นเป็นอะไร ไม่รู้เขาไปทานที่ไหนอย่างไร เห็นแต่พูดกันในสื่อ ยังตรวจสอบอะไรไม่ได้เลย เรื่องนี้ถ้ามีข้อมูลมากพอ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะทำให้ความจริงปรากฏเอง” คุณไก่-กนกวรรณ บุตรชาติ เจ้าของร้านผัดไทย ครัวยัยไก่ ย่านคลองสามวา ให้สัมภาษณ์กับ “เส้นทางเศรษฐีออนไลน์” เกี่ยวกับกรณีข่าวที่เกิดขึ้นว่า เมื่อได้ยินข่าวครั้งแรก เธอรู้สึกตกใจและไม่น่าเชื่อว่าจะมีเหตุการณ์แบบนี้เกิดขึ้น แต่ก็มีสิทธิที่จะเกิด