เปิดกลยุทธ์
เปิดกลยุทธ์ ต้นทุนวัตถุดิบสูง แต่ละภาคธุรกิจ ควรรับมืออย่างไร? ในสถานการณ์ปัจจุบัน เอสเอ็มอีต้องเผชิญกับปัญหาเงินเฟ้อ ทำให้ต้นทุนสูงขึ้น ท่ามกลางกระแสเศรษฐกิจที่ฟื้นตัวแบบไม่สมดุล finbiz by ttb จึงขอนำเสนอข้อมูลและแนวทางจาก ศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจ ทีทีบี หรือ ttb analytics เพื่อให้ผู้ประกอบการ SMEs ได้เห็นทิศทางการฟื้นตัว พร้อมทั้งกลยุทธ์ในการรักษาตลาดเดิมให้คงไว้ และบุกการเปิดตลาดใหม่เพิ่มรายได้ โดยยังสามารถควบคุมต้นทุนให้ทำกำไรได้ต่อไป และก้าวผ่านสถานการณ์นี้ไปได้อย่างราบรื่น โดยจะแบ่งภาคธุรกิจเป็น 3 ภาค ได้แก่ ภาคการผลิต ภาคการค้า และภาคการบริการ และเทียบการฟื้นตัวกับช่วงเวลาก่อนโควิด-19 หรือในช่วงปลายปี 2019 โดยในช่วงปลายปี 2019 เป็น 100% ข้อมูลจากศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจ ทีทีบี หรือ ttb analytics พบว่า ภาคการผลิตฟื้นตัวใกล้ระดับเดิมที่ 99% จากนโยบายผ่อนคลายมาตรการควบคุมการระบาด การเปิดประเทศ รวมถึงภาคการส่งออกที่กลับมาเติบโตได้ต่อเนื่อง และมีทิศทางการเติบโตในปี 2022 เพิ่มขึ้น 4-6% ในขณะที่มีโครงสร้างต้นทุนจากวัตถุดิบ 82% และ ค่าดำเนินการ 7% ภาคการค้าปรับตัวดีขึ้นตามการฟื้นตัวของเศรษฐ
แนะกลยุทธ์ จัดทำแผนส่งออกอย่างไร ให้โดดเด่นในเวทีโลก แม้ประเทศไทยยังเผชิญกับสถานการณ์โควิด-19 ที่ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทยในภาพรวม แต่ศักยภาพในการแข่งขันของสินค้าไทยในตลาดโลกยังมีแนวโน้มเติบโตได้ดี สะท้อนจากตัวเลขส่งออกของไทยที่กระทรวงพาณิชย์ประกาศล่าสุด ยังมีการเติบโตอย่างต่อเนื่อง คุณอเนก ตันตสิรินทร์ ไดเร็กเตอร์ และดีไซเนอร์ แบรนด์ Arquetype นักออกแบบชื่อดังของเมืองไทย ที่เข้าร่วมโครงการส่งเสริมนักออกแบบไทยสู่ตลาดโลก (Designers’ Room & Talent Thai Promotion 2021) ได้ให้คำแนะนำแก่นักออกแบบไทยในการเตรียมความพร้อมสำหรับการสร้างแบรนด์ เพื่อการวางแผนส่งออกสินค้าสู่ตลาดต่างประเทศ ประกอบด้วย 1. การสร้างแบรนด์เครื่องประดับสู่ตลาดโลก สิ่งสำคัญคือ การสร้างดีไซน์ ต้องมีความแตกต่าง เพื่อสร้างความจดจำให้กลุ่มลูกค้า การออกแบบบรรจุภัณฑ์ (แพ็กเกจจิ้ง) ต้องมีความสวยงาม และมีเอกลักษณ์ที่แตกต่าง 2. การจัดระบบเก็บข้อมูลทุกอย่างให้อยู่ในระบบ เพราะเป็นข้อมูลสำคัญที่จะนำมาใช้บริหารจัดการองค์กรได้ในระยะยาว 3. การจัดทำแผนการผลิตและแผนการตลาด แผนการเงิน และการตั้งเป้าหมายยอดขาย เพื่อทำให้แบรนด์สามารถ