เพาะหนูนา
นครสวรรค์ – คุณสมศักดิ์ ชื่นจิต อายุ 61 ปี อยู่บ้านเลขที่ 159 หมู่ที่ 6 ตำบลหนองเต่า อำเภอเก้าเลี้ยง จังหวัดนครสวรรค์ เจ้าของฟาร์มหนูพุก (หนูนา) เผยว่า มีความคิดจะเลี้ยงหนูนา มา 5 ปี เพราะว่าในพื้นที่หนูนาลดลงเรื่อย เนื่องจากเกษตรกรใช้ยาเบื่อหนู และใช้กระแสไฟฟ้าชอร์ตบ้าง ในขณะที่กระแสความนิยมในการบริโภคหนูนายังมีความต้องการสูง ตลาดเริ่มขาดแคลนหนูนา และมีความต้องการถึง วันละ 15 ตัน ตนจึงคิดริเริ่มทำฟาร์มเลี้ยงหนูนาขึ้น โดยนำอิฐบล็อกและสังกะสีมาทำเป็นโรงเรือน เริ่มเพาะเลี้ยงหนูนาด้วยการปูพื้นด้วยซีเมนต์ป้องกันการขุดรูหนี ก่อนนำดินลงกลบ และหาพ่อแม่พันธุ์จากแหล่งธรรมชาตินำมาปล่อยโดยใช้ปล้องไม้ไผ่ ท่อพีวีซี และฟางให้เป็นที่อาศัย และให้อาหาร เช่น ข้าวเปลือก มันสำปะหลัง และอ้อย หลังเริ่มต้นเลี้ยงจากไม่กี่สิบตัว ในเวลาไม่ถึงปีมีหนูนาเพิ่มขึ้นเป็น 200 ตัว ชาวบ้านโทรศัพท์สั่งซื้ออย่างต่อเนื่อง โดยราคาขายหนูนาอยู่ที่ กิโลกรัมละ 200 บาท ล่าสุดช่วงสงกรานต์นี้มีลูกค้าสั่งจองจำนวนมากส่งผลให้มีปริมาณหนูนาไม่พอจำหน่ายให้กับพ่อค้าในพื้นที่หมู่บ้านของตนเองและหมู่บ้านใกล้เคียง ชำแหละขายและไม่เพียงพอกับควา
เรื่อง / รูป โดย ข่าวสดออนไลน์ ชาวบ้านยางตลาด จ.กาฬสินธุ์ จับหนูนามาเพาะเลี้ยง เริ่มต้น 200 ตัว เพียง 2 เดือนขายได้เงินแล้วกว่า 4 หมื่นบาท เผยหนูนาเป็นอาหารพื้นบ้านหน้าแล้งนับวันจะหายาก จึงหาจับมาเพาะเลี้ยงจำหน่าย ปีใหม่มียอดสั่งซื้อจำนวนมาก นายชาญชัย ภูทองกลม อายุ 55 ปี อยู่บ้านเลขที่ 94 หมู่ 5 ต.บัวบาน อ.ยางตลาด จ.กาฬสินธุ์ กล่าวว่า ในช่วงหลังเก็บเกี่ยวข้าว ชาวบ้านจะพากันหาจับหนูนาตามหัวไร่ปลายนามาประกอบอาหาร นิยมนำมาย่าง ผัดเผ็ด อ่อม ซึ่งรสชาติของเนื้อหนูนาในหน้าแล้งจะนุ่ม มันดี ให้ไขมันและโปรตีนสูง โดยจะออกหาจับด้วยวิธีการต่างๆ เช่น กับดัก แร้ว ใช้พลุหรือหน้าไม้ยิง หาขุดตามรู ตามความถนัด นายชาญชัย กล่าวอีกว่า เนื่องจากระบบนิเวศเปลี่ยนไป นับวันหนูนาจะหาจับยากมากขึ้น ตามหมู่บ้านทั่วไปจึงมีธุรกิจซื้อขายหนูนาเกิดขึ้น ราคาตั้งแต่ตัวละ 80-200 บาท ตามขนาด ซึ่งตนเองก็เคยจับหนูนามารับประทานและแบ่งขายให้เพื่อนบ้าน พอมีรายได้เสริมเข้าครัวเรือนในฤดูแล้งเป็นอย่างดี ทั้งนี้ เมื่อเห็นว่ากระแสความนิยมบริโภคหนูนาสูงและราคาดี จึงเกิดไอเดียเลี้ยงหนูนาขาย เริ่มต้นโดยนำอิฐบล็อคและสังกะสีมาทำเป็น