เมล่อน
ตำบลแจงงาม อำเภอหนองหญ้าไซ จังหวัดสุพรรณบุรี มีเนื้อที่ทั้งหมด 34,022 ไร่ ชาวบ้านมีอาชีพทำไร่ ทำนา มีพื้นที่ปลูกอ้อย 2.8 หมื่นไร่ ปลูกข้าวเกือบหมื่นไร่ ที่นี่ขาดแคลนแหล่งน้ำชลประทาน ปลูกข้าวได้แค่ปีละครั้ง ชาวบ้านส่วนใหญ่มีรายได้น้อยและฐานะยากจน หมดฤดูทำนา หนุ่มสาวมักอพยพไปรับจ้างในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา สิงห์บุรี และชัยนาท เพื่อนำรายได้มาเลี้ยงครอบครัว ทิ้งเด็กเล็กคนแก่ไว้เฝ้าบ้าน ปลูกเมล่อน “แก้จน” ปี 2549 กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย เล็งเห็นปัญหาที่เกิดขึ้น จึงร่วมมือกับ บริษัท เจียไต๋ จำกัด ดำเนิน “โครงการนำร่องภาคธุรกิจ ช่วยเหลือคนจน จังหวัดสุพรรณบุรี” โดยส่งเสริมชาวบ้านปลูกเมล่อนเป็นรายได้เสริมเลี้ยงดูครอบครัว ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) อำเภอหนองหญ้าไซ สนับสนุนเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำเพื่อลงทุนให้กับเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการ รายละ 450,000 บาท ป้าเกษร มหาพล คัดผลและแขวนลูกเมล่อน เจียไต๋สนับสนุนองค์ความรู้เรื่องการปลูกเมล่อน และรับซื้อผลผลิตคืนจากเกษตรกรในราคาประกัน และส่งนักวิชาการเจียไต๋มาให้คำแนะนำการผลิตตั้งแต่เริ่มเพาะต้นกล้า การใส่ปุ๋ย การกำจัดแมลงศัตรูพืช แล
เกษตรกรสระบุรี แนะปลูกเมล่อนด้วยวิธีง่ายๆ ทำกินเองก็ได้ ที่เหลือขายสร้างเงิน คุณสำราญ หน่อนาคำ เป็นเกษตรกรอยู่ที่ตำบลพระยาทด อำเภอเสาไห้ จังหวัดสระบุรี เล่าให้ฟังว่า สมัยก่อนเขาได้เริ่มทำงานเกี่ยวกับด้านเกษตรเมื่อครั้งยังเป็นวัยรุ่น ต่อมาจึงได้นำวิชาความรู้ที่มีมาเปิดร้านขายอุปกรณ์เกี่ยวกับการเกษตรอย่างครบวงจร “พอมาเปิดร้านเริ่มมีเงินทุนมากขึ้น เราก็เริ่มขยายพื้นที่บริเวณที่อยู่ใกล้ร้านเรา เป็นแหล่งเรียนรู้เพื่อให้ความรู้ด้านเกษตร ไม่ว่าจะเป็นพืชผักปลอดสารพิษ ไม้ดอกไม้ประดับ หรือแม้แต่เมล่อนที่คนมองว่าปลูกยาก เราก็มาแนะนำบอกสอนด้วยวิธีง่ายๆ สามารถทำเองที่บ้านได้ ซึ่งเราจะเน้นให้ตรงคอนเซ็ปต์ที่ว่า การเกษตรไม่ได้กินเฉพาะทางปากเพียงอย่างเดียว แต่จะให้ความสุขทั้งทางสายตาและสมองด้วย จึงทำให้จิตใจมีความสุข ซึ่งที่นี่ก็จะสอนความรู้แบบครบวงจร สามารถนำไปทำเองที่บ้านได้” คุณสำราญ กล่าวถึงที่มา ซึ่งคุณสำราญ ได้แนะนำวิธีการปลูกเมล่อนแบบง่ายๆ ไว้กินเองที่บ้านว่า ขั้นตอนแรกหากระถางขนาด 12 นิ้วหรือภาชนะที่ไม่ใช้งานแล้ว มาใส่วัสดุปลูกจำพวกกาบมะพร้าวสับ ดินใบก้ามปู และแกลบหยาบ ผสมกันในอัตราส่วน 1 ต่อ 1
หลังลาออกจากงานประจำ กลับมาช่วยครอบครัวขายวัสดุก่อสร้างที่ฉะเชิงเทรา ‘ฉัตรชัย ล้อมสุขวัฒนา’ อดีตพนักงานบริษัทเอกชนก็เริ่มสนใจเกษตร ครั้งแรกปลูกเมล่อน บนพื้นที่ 2 งาน รอบแรกขายได้ 250 ลูก ราว 400 กิโลกรัม คิดเป็นเงิน 48,000 บาท ต่อมาเดือนเมษายน ปี 49 เมล่อนราคาตกฮวบ ชายหนุ่มไหวตัวทันหันปลูก ‘ฟักทองบัตเตอร์นัท’ พืชทางเลือกใหม่ รูปทรงแปลกตา ปลูกง่าย รสชาติดี ทำได้หลายเมนู ลงทุนครั้งแรก 12,000 บาท กำไร 40,000 บาท คุณฉัตรชัย ในวัย 32 ปี เล่าว่า หลังจบการศึกษาจากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ วิทยาเขตปราจีนบุรี สาขาเทคโนโลยีสารสนเทศ ทำงานวางระบบเครือข่ายโทรศัพท์มือถือ 2 ปี หลังจากนั้นลาออกมาช่วยกิจการครอบครัวขายวัสดุก่อสร้างที่จังหวัดฉะเชิงเทรา ช่วงที่มีเวลาว่างเริ่มสนใจเกษตร ไปลงเรียนคอร์สไม้ผลที่มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน ในปี 2555 ที่คุณฉัตรชัยกลับมาช่วยงานที่บ้าน เขาบอกว่า นำระบบคอมพิวเตอร์มาช่วยบริหารจัดการร้าน เช่น ระบบบาร์โค้ด ระบบบิล ทำให้ร้านขายวัสดุก่อสร้างดำเนินงานง่าย โดยที่เจ้าของไม่ต้องนั่งเฝ้าร้านทั้งวัน ดังนั้นจึงมีเวลาว่างมากขึ้น “ผมอาศัยอยู่ในอำเภ
หลังลาออกจากงานประจำ กลับมาช่วยครอบครัวขายวัสดุก่อสร้างที่ฉะเชิงเทรา ‘ฉัตรชัย ล้อมสุขวัฒนา’ อดีตพนักงานบริษัทเอกชนก็เริ่มสนใจเกษตร ครั้งแรกปลูกเมล่อน บนพื้นที่ 2 งาน รอบแรกขายได้ 250 ลูก ราว 400 กิโลกรัม คิดเป็นเงิน 48,000 บาท ต่อมาเดือนเมษายน ปี 49 เมล่อนราคาตกฮวบ ชายหนุ่มไหวตัวทันหันปลูก ‘ฟักทองบัตเตอร์นัท’ พืชทางเลือกใหม่ รูปทรงแปลกตา ปลูกง่าย รสชาติดี ทำได้หลายเมนู ลงทุนครั้งแรก 12,000 บาท กำไร 40,000 บาท คุณฉัตรชัย ในวัย 32 ปี เล่าว่า หลังจบการศึกษาจากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ วิทยาเขตปราจีนบุรี สาขาเทคโนโลยีสารสนเทศ ทำงานวางระบบเครือข่ายโทรศัพท์มือถือ 2 ปี หลังจากนั้นลาออกมาช่วยกิจการครอบครัวขายวัสดุก่อสร้างที่จังหวัดฉะเชิงเทรา ช่วงที่มีเวลาว่างเริ่มสนใจเกษตร ไปลงเรียนคอร์สไม้ผลที่มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน ในปี 2555 ที่คุณฉัตรชัยกลับมาช่วยงานที่บ้าน เขาบอกว่า นำระบบคอมพิวเตอร์มาช่วยบริหารจัดการร้าน เช่น ระบบบาร์โค้ด ระบบบิล ทำให้ร้านขายวัสดุก่อสร้างดำเนินงานง่าย โดยที่เจ้าของไม่ต้องนั่งเฝ้าร้านทั้งวัน ดังนั้นจึงมีเวลาว่างมากขึ้น “ผมอาศัยอยู่ในอำเภ
นครราชสีมา – กลุ่มส่งเสริมอาชีพปลูกผัก ผลไม้ ปลอดสารพิษ บ้านราษฎร์บำรุง หมู่ที่ 3 ตำบลบ้านราษฎร์ อำเภอเสิงสาง จังหวัดนครราชสีมา เป็นหนึ่งในหมู่บ้านที่ได้รับการสนับสนุนงบประมาณ จำนวน 250,000 บาท จากโครงการยกระดับศักยภาพหมู่บ้าน เพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจพื้นฐานตามแนวทางประชารัฐของรัฐบาลมาขับเคลื่อนจนเริ่มประสบความสำเร็จเป็นรูปธรรม สินค้าเด่นของที่นี่นอกจากจะเป็นผักปลอดสารพิษหลากหลายชนิดแล้ว ยังมีเมล่อนปุ๋ยชีวภาพ รสชาติหวานฉ่ำที่คัดพันธุ์มาจากประเทศญี่ปุ่น ออกสู่ท้องตลาดในรูปของผลิตภัณฑ์ชุมชนหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง ได้รับความนิยมจากผู้บริโภคที่สั่งจองจนผลิตไม่ทัน แม้ราคาขายจะสูงถึงกิโลกรัมละ 100 บาท ทั้งนี้ ด้วยสรรพคคุณความหวานที่มีค่าความหวานสูงสุดถึง 20 องศาบริกซ์ จากสูตรปุ๋ยชีวภาพที่ทางกลุ่มคิดค้นขึ้น ทำให้กลายเป็นผลิตภัณฑ์ที่ขึ้นชื่ออีกอย่างหนึ่ง ขอบคุณข้อมูลจากข่าวสด
คุณประเสริฐ บางแดง เจ้าของสวนเมล่อน “น้ำเพชรฟาร์มเมล่อน” อยู่บ้านเลขที่ 3/3 หมู่ที่ 7 ตำบลเนินปอ อำเภอสามง่าม จังหวัดพิจิตร โทร. (089) 641-5176, (061) 469-8262 จากมนุษย์เงินเดือนหันมาปลูกเมล่อนในโรงเรือน ปลูกแบบลงดิน สามารถสร้างรายได้จากเมล่อน 30,000-40,000 บาท ต่อรุ่น ทีเดียว คุณประเสริฐ บางแดง เล่าย้อนกลับไปว่า ก่อนหน้าที่จะมาปลูกเมล่อน ตนเองก็อาจจะเหมือนท่านอื่นๆ ที่ทำงานเป็นมนุษย์เงินเดือน ทำงานเป็นผู้จัดการปั๊มน้ำมันแห่งหนึ่งมานานพอสมควร ไม่ได้มีความรู้เรื่องการเกษตรเลย หลังจากอิ่มตัวก็ออกจากงานแล้วไปเปิดเช่าแผงผลไม้ที่ตลาดไท เพราะมีน้องที่รู้จักกันชักชวน ก็เอาแคนตาลูปมาขายที่แผง ขายดีมาก แต่แคนตาลูปมักจะไม่พอขาย ขาดตลาดอยู่บ่อยๆ ตอนสินค้าขาดตลาดก็ต้องวิ่งซื้อหา ทำให้ราคาขึ้นลงไม่แน่นอน ทำให้นำมาขายต่อได้ลำบาก ไม่เหมือนพ่อค้าแผงอื่นๆ ที่จะมีลูกไร่ปลูกส่งเข้ามาที่แผง มีการรับซื้อแคนตาลูปจากลูกไร่ในราคาที่แน่นอน ทำให้นำมาขายต่อที่แผงราคาค่อนข้างนิ่งกว่าเราที่ต้องวิ่งออกหาซื้อจากชาวสวน หรือช่วงที่แคนตาลูปจากลูกไร่ขาดช่วงก็หาของมาขายได้ยากมาก จึงมองเห็นว่าผลไม้อย่าง แคนตาลูป ยังมีความ
เมล่อน เรียกได้ว่าเป็นพืชที่ต้องใช้ฝีมือในการปลูกและการยืนหยัดอยู่ในวงการ เพราะความสำเร็จในการปลูกเมล่อนทุกรอบ ทุกครั้ง ไม่ใช่เรื่องที่จะเกิดขึ้นได้ง่ายๆ เลย ดังนั้น วงการนี้จึงมีทั้งคนที่เข้ามาและคนที่พับเสื่อไปอยู่ตลอดเวลา วันนี้เรามีโอกาสได้มาเยือนสวนเมล่อนของ คุณมิตร รุ่งเรือง ชาวสวนเมล่อนมืออาชีพที่ยึดอาชีพปลูกเมล่อนมานานกว่า 10 ปี จนวันนี้นอกจากจะปลูกเองแล้ว คุณมิตร ยังส่งเสริมเกษตรกรปลูกเมล่อนเพื่อป้อนตลาด ซึ่งความที่เขาผลิตเมล่อนคุณภาพมาตรฐาน GAP จึงทำให้เมล่อนที่นี่เป็นที่ต้องการของแม่ค้าที่ซื้อขายกันมานาน และวันนี้คุณมิตรยังก้าวไปอีกขั้นด้วยการปลูกเมล่อนในโรงเรือนกว่า 24 โรงเรือน เพื่อป้อนตลาดบนที่ต้องการเมล่อนคุณภาพสูง ซึ่งแม้จะลงทุนค่อนข้างสูงในส่วนของโรงเรือนเมื่อเทียบกับการปลูกกลางแจ้ง แต่การปลูกในโรงเรือนก็มีข้อดีตรงที่สามารถควบคุมปัจจัยภายนอกต่างๆ ได้เป็นอย่างดี สามารถลดความเสี่ยงจากโรคและแมลงได้ระดับหนึ่ง จึงสามารถลดต้นทุนการใช้สารเคมีและปัจจัยการผลิตอื่นๆ ได้อีกด้วย คุณมิตร รุ่งเรือง (คนที่ 4 จากซ้าย) กับเกษตรจังหวัดนครปฐม และเกษตรอำเภอกำแพงแสน อีกทั้งยังความเสียหายจา
ที่ตำบลท้อแท้ อำเภอวัดโบสถ์ จังหวัดพิษณุโลก ได้มีเกษตรกรคนรุ่นใหม่ทำฟาร์มปลูกเมล่อนจนประสบผลสำเร็จ โดยเกษตรกรรุ่นใหม่คนนี้คือน.ส.สุดาวัลย์ ทองเลิศล้ำ อายุ 34 ปี เจ้าของ “Porsche Melon Farm” ตำบลท้อแท้ อำเภอวัดโบสถ์ จังหวัดพิษณุโลก จากการสอบถามน.ส.สุดาวัลย์ทราบว่า ตนเคยเป็นพนักงานประจำตำแหน่งเจ้าหน้าที่ฝ่ายการตลาด ดูแลลูกค้า แบงค์ชื่อดังแห่งหนึ่งในจังหวัดพิษณุโลก แต่อยากกลับบ้านมาใช้ชีวิตที่เรียบง่าย ดูแลแม่และลูกสาว ที่ตำบลท้อแท้ อำเภอวัดโบสถ์ พร้อมต้องการเดินตามรอยวิถีปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ของพ่อหลวง รัชกาลที่ 9 จึงตัดสินใจลาออกเมื่อกลางปี 2559 มาเปลี่ยนทุ่งนาพื้นที่บ้าน ลงทุนสร้างโรงเรือนปลูกเมล่อนญี่ปุ่น ด้วยงบประมาณที่ตนเองมีอยู่ 200,000 บาท และเรียนรู้เองจาก Google ศึกษาลองผิดลองถูก ประมาณครึ่งปี และถ้ามีใครถามว่า ตอนนี้ตนเองเดินมาได้ถึงจุดไหนแล้ว บอกได้เต็มปากเลย ว่าประสบความสำเร็จในการใช้ชีวิตเกษตรกรได้อย่างภาคภูมิใจ เพราะเรียนรู้เองไม่ได้มีใครสอน ใช้เวลาเพียงครึ่งปี ก็สามารถมีผลผลิต ออกสู่ท้องตลาดได้ และเป็นที่น่าพอใจ น.ส.สุดาวัลย์ กล่าวว่า ลูกค้าส่วนใหญ่ก็จะรู้ว่าที่นี่ ปลูกเม
คุณอุเชนทร์ พุกอิ่ม บ้านเลขที่ 35 หมู่ที่ 7 บ้านคลองเขาควาย ตำบลวังสำโรง อำเภอตะพานหิน จังหวัดพิจิตร โทร. (098) 803-0107 เจ้าของสวนเมล่อนในโรงเรือน “ไร่ถุงทองฟาร์ม” การให้ปุ๋ยเมล่อนในโรงเรือน ก็จะให้ปุ๋ยทางรากและทางใบ อย่างทางรากก็จะให้ปุ๋ยผ่านระบบน้ำ ปุ๋ย A (จะมีธาตุอาหารหลัก N-P-K), ปุ๋ย B (จะมีธาตุอาหารรอง) ตามสูตรตามระยะการเจริญเติบโต ก็จะให้วันละประมาณ 5 ครั้ง เน้นการให้น้อยแต่บ่อยครั้ง โดยแบ่งเวลาให้ เริ่มให้ตั้งแต่ เวลา 07.00 น. 09.00 น.11.00 น. 13.00 น. และ 15.00 น. การให้ปุ๋ย A จะต้องละลายปุ๋ยในน้ำสะอาดเอาไว้ในถัง เช่นกัน ปุ๋ย B จะต้องละลายในน้ำสะอาดมีค่าความเป็นกรด-ด่าง (PH) เป็นกลางหรือกรดอ่อน คือ PH ประมาณ 6-7 อีก 1 ถัง ซึ่งตอนปล่อยเข้าระบบน้ำจะต้องให้ปุ๋ย A และปุ๋ย B จะส่งเข้าระบบน้ำพร้อมๆ กัน ในอัตราที่เราจะคำนวณเอาไว้ในแต่ละช่วงอายุของการเจริญเติบโต วิธีใช้ ปุ๋ย A และ ปุ๋ย B เบื้องต้น นำปุ๋ยมาละลายน้ำเพื่อเตรียมเป็นปุ๋ยสต๊อกก่อน 100 ลิตร จำนวน 2 ถัง ปุ๋ย A จำนวน 100 ลิตร และ ปุ๋ย B จำนวน 100 ลิตร แล้วนำแม่ปุ๋ยนั้นไปผสมน้ำเจือจาง ตามค่า EC ที่เหมาะกับพืช เช่น ผัก ค่าที่ 1
“เมล่อน” เป็นพืชตระกูลแตง จะมีโรคและแมลงศัตรูที่มากพอสมควร ดังนั้น จึงมีการใช้สารป้องกันกำจัดโรคและแมลงมากพอสมควร โดยเฉพาะปลูกแบบกลางแจ้งหรือสภาพไร่ ซึ่งเกษตรกรบางท่านจึงจำเป็นต้องมีการเช่าที่เพื่อหลีกเลี่ยงการระบาดของโรคและแมลง ซึ่งการปลูกเมล่อนในโรงเรือนเป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่จะช่วยได้มากในเรื่องของการป้องกันแมลงศัตรูขนาดเล็กไปจนถึงขนาดใหญ่ ทำให้การใช้สารป้องกันกำจัดโรคและแมลงน้อยลงมากจนเกือบจะไม่ได้ใช้เลยทีเดียว อีกหนึ่งตัวอย่างสวนเมล่อนที่ปลูกเมล่อนในระบบโรงเรือน โดยประกอบเป็นอาชีพเสริมจากงานประจำ สร้างรายได้เป็นอย่างดีให้กับครอบครัว คุณอุเชนทร์ พุกอิ่ม หรือ คุณน้อย อายุ 42 ปี อยู่บ้านเลขที่ 35 หมู่ที่ 7 บ้านคลองเขาควาย ตำบลวังสำโรง อำเภอตะพานหิน จังหวัดพิจิตร โทร. (098) 803-0107 เจ้าของสวนเมล่อนในโรงเรือน “ไร่ถุงทองฟาร์ม” คุณอุเชนทร์ เล่าให้ฟังว่า ตนเป็นคนพิจิตร ไปทำงานอุตสาหกรรมเกี่ยวกับเลนส์สายตา ที่จังหวัดชลบุรี นานกว่า 20 ปี ที่หันมาปลูกเมล่อนในโรงเรือนเป็นอาชีพเสริม เนื่องจากการทำงานก็เริ่มอิ่มตัว คิดว่าอนาคตอยากกลับมาทำการเกษตรที่บ้านเกิด ด้วยแนวคิดที่ว่าอยากสร้างพื้นฐานไว้ล