เราไม่ทิ้งกัน
คลังเรียกคืนเงิน ผู้สละสิทธิเงินเยียวยา 5 พันบาท 7,666 ราย ที่ยังไม่ได้คืน เพจ สำนักข่าว กรมประชาสัมพันธ์ เผยแพร่ข่าว นายลวรณ แสงสนิท ผู้อำนวยการ สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) ในฐานะโฆษกกระทรวงการคลัง กล่าวถึง ข้อเท็จจริงกรณีที่ในสื่อสังคมออนไลน์ ได้มีการเผยแพร่เอกสารการเรียกคืนเงินจากกลุ่มผู้สละสิทธิมาตรการเยียวยา 5,000 บาท เราไม่ทิ้งกัน โดย ณ วันที่ 14 มิถุนายน 2563 มีผู้สละสิทธิ 10,121 ราย มีผู้คืนเงินให้กระทรวงการคลังครบถ้วนแล้ว 2,455 ราย คงเหลือผู้ที่ยังไม่คืนเงิน 7,666 ราย กระทรวงการคลังจึงได้มีหนังสือแจ้งให้กลุ่มผู้สละสิทธิมาตรการเยียวยา 5,000 บาท ดังกล่าว คืนเงินเยียวยาที่ได้รับไปแล้วทั้งหมดต่อกระทรวงการคลัง หลังจากมีหนังสือออกไปแล้ว ณ วันที่ 7 กรกฎาคม 2563 มีผู้คืนเงินเพิ่มเติม 84 ราย ดังนั้น เพื่อให้การสละสิทธิเสร็จสมบูรณ์ จึงขอความร่วมมือจากผู้แสดงความประสงค์สละสิทธิมาตรการเยียวยา 5,000 บาท คืนเงินที่ได้รับไปเต็มจำนวนให้แก่กระทรวงการคลัง โดยสามารถดำเนินการผ่านเว็บไซต์ www.เราไม่ทิ้งกัน.com ผ่าน Mobile Banking Internet Banking หรือ ATM ของธนาคารใดก็ได้ หรือนำหนังสือที่ได้รับ
ธอส. ผุด สินเชื่อบ้าน “เราไม่ทิ้งกัน” ผ่อนชำระสูงสุดกว่า 40 ปี! ธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) เตรียมวงเงิน 20,000 ล้านบาท จัดทำผลิตภัณฑ์สินเชื่อ “โครงการบ้าน ธอส. เราไม่ทิ้งกัน” อัตราดอกเบี้ย 1.99% ต่อปี คงที่นานถึง 2 ปีแรก ปีที่ 3 อัตราดอกเบี้ย 3.75% ต่อปี ปีที่ 4 อัตราดอกเบี้ย MRR-2% ต่อปี หลังจากนั้นอัตราดอกเบี้ยเป็นไปตามที่ธนาคารกำหนด เงื่อนไข คือ ให้กู้สำหรับบุคคลในครอบครัวของประชาชนที่ได้รับสิทธิ์ตามโครงการ “เราไม่ทิ้งกัน” ของรัฐบาล (มาตรการเงินเยียวยา 5,000 บาท) หรือบุคคลในครอบครัวของลูกค้า ธอส. ที่ลงทะเบียนแจ้งความประสงค์เข้าร่วมมาตรการบรรเทาผลกระทบจากปัญหาโควิด-19 ทั้ง 10 มาตรการ วงเงินให้กู้ไม่เกิน 3 ล้านบาทต่อหลักประกัน วัตถุประสงค์ของสินเชื่อ คือ เพื่อให้ซื้อ ปลูกสร้าง ต่อเติม ขยาย ซ่อมแซม และซื้ออุปกรณ์หรือสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับการอยู่อาศัย โดยธนาคารยกเว้นค่าธรรมเนียมการยื่นกู้ และคิดค่าประเมินราคาหลักประกันอัตราพิเศษ ผ่อนชำระได้นานสูงสุด 40 ปี โดยยื่นคำขอกู้และทำนิติกรรมภายในวันที่ 30 ธ.ค. 63 หรือภายใต้กรอบวงเงินที่ธนาคารกำหนด สอบถามรายละเอียดที่ศูนย์ลูกค้าสัมพันธ์ โทร. 0
คลังเปิดตัว “www. เราไม่ทิ้งกัน-ด้านการเงิน .com” รวมมาตรการการเงิน ดูแลเยียวยาผู้เดือดร้อนจาก COVID-19 ของสถาบันการเงินของรัฐทุกแห่ง เราไม่ทิ้งกัน-ด้านการเงิน – เพจ สถานีข่าวกระทรวงการคลัง เผยแพร่ข่าว รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง มอบหมายให้สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) ร่วมกับสมาคมสถาบันการเงินของรัฐ จัดทำเว็บไซต์ www. เราไม่ทิ้งกัน-ด้านการเงิน .com เพื่อเผยแพร่มาตรการเยียวยาประชาชนและผู้ประกอบการที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโรค COVID-19 เพื่อช่วยเหลือและบรรเทาความเดือดร้อน และสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้อย่างรวดเร็ว และตรงตามความต้องการ นายกมลภพ วีระพละ รองกรรมการผู้จัดการ และรักษาการในตำแหน่งกรรมการผู้จัดการ ธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) เปิดเผยว่า ตามที่ ดร.อุตตม สาวนายน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง มอบหมายให้สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) ร่วมกับ สมาคมสถาบันการเงินของรัฐ จัดทำเว็บไซต์ www. เราไม่ทิ้งกัน-ด้านการเงิน .com มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นการรวบรวม และเป็นช่องทางในการเข้าถึงข้อมูลมาตรการด้านการเงินของสถาบันการเงินของรัฐทุกแห่ง ในการช่วยเหลือและบรรเทาความเดือด
29 พ.ค. นี้ พม. พร้อมจ่ายเงินเยียวยาคนพิการ 1,000 บาท ให้คนพิการ 2 ล้านคน นายจุติ ไกรฤกษ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) เปิดเผยผ่านเพจเฟซบุ๊ก จุติ ไกรฤกษ์ รมว.พัฒนาสังคมฯ ระบุว่า ขณะนี้หน่วยงานท้องถิ่นและกรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ (พก.) ได้ส่งบัญชีของทุกคนครบถ้วนแล้ว ซึ่งจะมีการตรวจสอบความถูกต้อง หลังจากนั้นจะโอนเงินเข้าธนาคารไปยังบัญชีของแต่ละคน รวมทั้งโอนเงินสดให้กับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เพื่อจ่ายให้กับคนพิการโดยตรง ในวันที่ 29 พฤษภาคมนี้ โดยคนพิการทุกคนจะได้รับเงินเยียวยา 1,000 บาท https://www.facebook.com/110219330337879/photos/rpp.110219330337879/269740457719098/?type=3&theater
คลังแนะ 4 กลุ่มไม่จำเป็นต้องเดินทางไปร้องเรียนเงินเยียวยา 5 พัน ด้วยตนเอง วันที่ 17 พ.ค. นายลวรณ แสงสนิท ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง ในฐานะโฆษกกระทรวงการคลัง เปิดเผยถึงการเปิดช่องทางรับเรื่องร้องเรียนผ่านสาขาของธนาคารกรุงไทย ธนาคารออมสิน หรือธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ในระหว่างวันที่ 18-29 พฤษภาคม 2563 โดยขอแนะนำว่า เพื่อเป็นการอำนวยความสะดวก ประหยัดเวลาและค่าใช้จ่ายในการเดินทาง และลดโอกาสในการแพร่ระบาดของเชื้อโควิด-19 ผู้ที่ประสงค์จะร้องเรียนใน 4 กลุ่มต่อไปนี้ ไม่จำเป็นต้องเดินทางไปร้องเรียนด้วยตนเอง เนื่องจากกระทรวงการคลังได้ดำเนินการแก้ไขให้เรียบร้อยแล้วและเป็นการดำเนินการให้กับทุกคนไม่ใช่เฉพาะผู้ที่มาร้องเรียนเท่านั้น ประกอบด้วย 1. กลุ่มผู้ที่ได้รับสิทธิ แต่ชื่อบัญชีไม่ตรงกับชื่อและนามสกุลที่ลงทะเบียนไว้ ทำให้กระทรวงการคลังไม่สามารถโอนเงินให้ได้จำนวนประมาณ 1 ล้านราย ในส่วนของกลุ่มนี้ผู้ลงทะเบียนได้มีการแก้ไขเรียบร้อยแล้วและกำหนดจะโอนเงินเยียวยาในวันอังคารที่ 19 พฤษภาคม 2563 จำนวน 5.9 แสนราย ในส่วนที่ยังคงเหลืออีก 4.3 แสนราย โปรดดำเนินการผูกพร้อมเพย์ด้วยเลขบัตรประจำ
“เราไม่ทิ้งกัน” ผ่านเกณฑ์แล้ว 12.8 ล้านราย คลังเผย โอนเงินให้ผู้ได้รับสิทธิ 11 ล้านราย ใน 8 พ.ค.นี้ ส่วนที่เหลือ 1.8 ล้านราย จะดำเนินการให้เสร็จสิ้นภายในสัปดาห์หน้า เมื่อวันที่ 7 พ.ค. เพจ ไทยคู่ฟ้า เผยความคืบหน้ามาตรการเยียวยา 5,000 บาท “เราไม่ทิ้งกัน” โดยมีผู้ผ่านเกณฑ์แล้ว 12,800,000 ราย แบ่งเป็น กลุ่มผู้ที่ผ่านเกณฑ์การคัดกรองรอบแรกจำนวน 4,400,000 ราย กลุ่มที่ขอข้อมูลประกอบอาชีพเพิ่มเติมและผ่านเกณฑ์จำนวน 5,000,000 ราย กลุ่มที่ขอทบทวนสิทธิและผ่านเกณฑ์จำนวน 3,300,000 ราย โดยกระทรวงการคลังจะโอนเงินให้ผู้ได้รับสิทธิจำนวน 11,000,000 ราย ภายในวันที่ 8 พ.ค.นี้ ส่วนที่เหลือประมาณ 1,800,000 ราย จะดำเนินการให้เสร็จสิ้นภายในสัปดาห์หน้า ซึ่งการเปิดรับเรื่องร้องเรียนจากประชาชนพบว่ามี 2 กลุ่มหลักที่มีปัญหา คือ กลุ่มผู้ที่ลงทะเบียนไม่สำเร็จ เนื่องจากข้อมูลบัตรประชาชนไม่ถูกต้อง และกลุ่มที่ได้รับสิทธิ แต่ชื่อบัญชีไม่ตรงกับชื่อและนามสกุลที่ลงทะเบียนไว้ โดยสามารถเข้าไปแก้ไขข้อมูลได้ที่เว็บไซต์ www.เราไม่ทิ้งกัน.com กดปุ่มสีเหลือง “เปลี่ยนแปลงข้อมูลการรับเงิน” สำหรับกลุ่มที่ขอข้อมูลการประกอบอ
อย่าลืม! 20 เม.ย. นี้ คลัง เปิดให้ยื่นขอทบทวนสิทธิ์ “เราไม่ทิ้งกัน” เริ่ม 06.00 น. เป็นต้นไป ผ่านระบบออนไลน์เท่านั้น ที่ www.เราไม่ทิ้งกัน.com เมื่อวันที่ 18 เม.ย. นายลวรณ แสงสนิท ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง ในฐานะโฆษกกระทรวงการคลัง เปิดเผยว่า ในวันจันทร์ที่ 20 เมษายน 2563 ตั้งแต่เวลา 06.00 น. เป็นต้นไป จะเริ่มเปิดให้ผู้ที่ไม่ผ่านเกณฑ์การคัดกรองมาตรการเยียวยา 5,000 บาท ขอทบทวนสิทธิ์ได้ที่ www.เราไม่ทิ้งกัน.com โดยจะเปิดให้ขอทบทวนสิทธิ์ผ่านช่องทางออนไลน์เท่านั้น เพื่อลดความเสี่ยงต่อการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ทั้งต่อตัวผู้ประสงค์จะขอทบทวนสิทธิ์เองและต่อส่วนรวมของสังคมไทย ดังนั้น เพื่อประโยชน์ของผู้ประสงค์ขอทบทวนสิทธิ์ ขอให้ท่านรีบกรอกข้อมูลที่เว็บไซต์ www.เราไม่ทิ้งกัน.com ไม่จำเป็นต้องมาที่กระทรวงการคลัง โดยในระยะแรกนี้จะเปิดกว้างสำหรับทุกกลุ่มที่ไม่ผ่านเกณฑ์และไม่เห็นด้วยกับผลการคัดกรองครั้งก่อน และในระยะต่อไปจะขยายไปยังกลุ่มผู้ที่ได้กดยกเลิกการลงทะเบียนโดยความเข้าใจผิด ด้วยกลไกการทบทวนสิทธิ์จะดำเนินการอย่างรวดเร็ว เจ้าหน้าที่จะลงพื้นที่จริงเพื่อยืนยันตัวตนและการปร
เชื่อใคร! AI หรือ หลักฐานประจักษ์ “ไพศาล” เป็นไกด์ทั้งชีวิต แต่ SMS เป็น ผปก. “ยืนยันว่าระบบการตรวจสอบของกระทรวงการคลัง ผ่านระบบเอไอนั้น ไม่ได้มั่วอย่างแน่นอน กระทรวงการคลัง ไม่ได้ไปกำหนดว่าใครจะเป็นเกษตรกร เป็นเจ้าของกิจการ หรือเป็นนักศึกษา เพื่อไม่ให้เงินเยียวยา แต่เป็นเพราะระบบตรวจสอบเจอในฐานข้อมูลของหน่วยงานต่างๆ ดังนั้นยืนยันว่า ระบบที่วางไว้นั้นมีมาตรฐาน และพร้อมเปิดให้กลุ่มคนที่ไม่ผ่านเกณฑ์อุทธรณ์ผลการพิจารณา” คือ คำให้สัมภาษณ์หนักแน่นจาก คุณลวรณ แสงสนิท โฆษกกระทรวงการคลัง ให้ไว้ผ่านสื่อมวลชน เมื่อวันที่ 13 เม.ย.ที่ผ่านมา แต่คล้อยหลังเพียงแค่วันเดียว กลุ่มคนที่กระทรวงการคลัง ให้นิยามไว้ว่า “ผู้ที่คิดว่ามีความผิดพลาดเกิดขึ้น” ในการขอรับเงินเยียวยาตามโครงการ “เราไม่ทิ้งกัน” ก็พากันไปรวมกลุ่มประท้วงหน้าที่ทำการกระทรวงการคลัง เขตพญาไท แม้มีจำนวนแค่หลักร้อย แต่เสียงเรียกร้องจากพวกเขา ก็สั่นสะเทือนสร้างแรงกระเพื่อมได้ไม่น้อย เพราะทุกคน ต่างมีหลักฐาน ยืนยันว่ากำลังเดือดร้อนหนักจริงๆ “ร้านค้าถูกคำสั่งปิดกิจการตลาดนัด ทำให้ไม่สามารถค้าขายได้ ขาดรายได้เลี้ยงดูครอบครัว ขณะที่ไม่สามารถลงทะเ
ลงทะเบียน 5 พัน ไม่ผ่าน ฟังทางนี้! คลังเปิดให้อุทธรณ์ออนไลน์ วันที่ 19 เม.ย.นี้ ลงทะเบียน 5,000 บาท – กระทรวงการคลัง ประกาศ เปิดให้ผู้ที่ไม่ผ่านการพิจารณารับเงิน 5,000 บาท ได้ยื่นอุทธรณ์ เพื่อรับเงินเยียวยา 5,000 บาท อีกครั้ง โดยจะเริ่มเปิดให้ดำเนินการเฉพาะทางออนไลน์ ทางเว็บไซต์ “เราไม่ทิ้งกัน” เท่านั้น ในช่วงสัปดาห์หน้า คาดว่าจะประมาณวันที่ 19 เม.ย. 63 เพื่อให้เป็นไปตามมาตรฐานการป้องกันการระบาดโควิด-19 ของกระทรวงสาธารณสุข โดยระบบของเว็บไซต์ “เราไม่ทิ้งกัน” จะมีการเพิ่มปุ่มเพื่อ “อุทธรณ์” ในสัปดาห์หน้า โดยแนะนำให้ทำการอุทธรณ์ด้วยตนเองผ่านระบบ online จะถูกต้องและรวดเร็วที่สุด หากประสงค์จะร้องเรียนเกี่ยวกับมาตรการเยียวยา 5,000 บาท ขอให้ติดต่อ call center ของธนาคารกรุงไทย 02 111 1144 (ตลอด 24 ชม.) หรือ call center ของสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง 02 273 9020 (เฉพาะวันและเวลาราชการ) ที่มา : กระทรวงการคลัง, สำนักข่าว กรมประชาสัมพันธ์
เงิน 5,000 บาท กับ ความหวังของคนที่รอ “เราไม่ทิ้งกัน” เราไม่ทิ้งกัน – เข้าสู่วันที่ 6 แล้ว สำหรับมาตรการลงทะเบียนรับเงินช่วยเหลือ 5 พันบาทต่อเดือน สำหรับผู้ประกอบการที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 “เส้นทางเศรษฐีออนไลน์” เคยนำเสนอเรื่องราวในด้านของผู้ที่ได้รับเงินไปแล้ว (อ่านข่าว คลิก) วันนี้ เราจะมาดูในมุมของผู้ที่ยังไม่ได้รับเงินเยียวยากันบ้าง คุณพิชญา โชคบัณฑิต แม่เลี้ยงเดี่ยว วัย 27 ปี ให้สัมภาษณ์ว่า เธอยึดอาชีพค้าขายในตลาดนัดกับคุณพ่อและคุณแม่ ซึ่งเป็นธุรกิจครอบครัวที่ทำกันมาหลายปีแล้ว เมื่อวันที่ 20 มีนาคม ที่ผ่านมา ตลาดที่เป็นแหล่งทำมาหาเลี้ยงชีพของครอบครัวเธอได้ถูกสั่งปิด ลากยาวมาถึงวันที่ 2 เมษายน ทำให้ครอบครัวของเธอมีรายได้เท่ากับศูนย์เป็นเวลากว่า 2 สัปดาห์ “ตอนยังไม่มีโรคโควิด-19 เราออกไปขายของกับแม่ปกติ และคุณพ่อก็ไปขายอีกตลาดหนึ่ง ปกติการขายของจะต้องใช้ต้นทุน ในช่วงตลาดปิด พวกเราก็ต้องใช้เงินที่เก็บไว้ในการลงทุน พอรัฐออกมาตรการสั่งปิดตลาด เท่ากับตอนนั้นไม่มีรายได้เลยค่ะ หยุดไปครึ่งเดือนไม่มีเงินลุงทุนก็ต้องไป