เลี้ยงจิ้งหรีด
สร้างรายได้เกือบล้าน ใน 1 เดือน! คุณพ่อวัย 38 ปี เลี้ยงจิ้งหรีดขาย ฟาดรายได้แซงงานประจำ เรื่องราวของ Jeff Neal (เจฟฟ์ นีล) คุณพ่อวัย 38 ปี ที่ต้องการช่วยลูกสาวดูแลสัตว์เลี้ยง อย่าง Bearded Dragon หรือ มังกรเครา ซึ่งกินจิ้งหรีดเป็นอาหาร และเพื่อเป็นการประหยัดค่าใช้จ่าย เขาจึงลองเริ่มต้นเพาะจิ้งหรีดเป็นอาชีพเสริม แต่งานนี้กลับกลายเป็นธุรกิจที่ประสบความสำเร็จอย่างรวดเร็ว โดยสามารถทำรายได้ถึง $27,000 หรือประมาณ 900,000 กว่าบาท ภายในเดือนเดียว! เจฟฟ์ นีล มีอาชีพหลักเป็นพนักงานขายชิ้นส่วนและบริการเครื่องจักรอุตสาหกรรมให้กับโรงงานผลิตต่างๆ ในรัฐเพนซิลเวเนีย แลได้เริ่มต้นเพาะเลี้ยงจิ้งหรีดเป็นอาชีพเสริม ภายใต้ชื่อ Critter Depot ซึ่งตั้งอยู่ที่เมืองแลงคาสเตอร์ “ในปี 2016 ลูกสาวผมเลี้ยงสัตว์ Bearded Dragon หรือ มังกรเครา เธอรักมันมาก ผมเลยอยากช่วยดูแลมัน แต่การซื้อจิ้งหรีดเป็นอาหาร ค่อนข้างมีราคาแพง ผมเลยเริ่มหาข้อมูลวิธีเพาะเลี้ยงจิ้งหรีด มันง่ายมากเพราะจิ้งหรีดขยายพันธุ์ได้รวดเร็ว และผมรู้ว่ามีตลาดขายออนไลน์ ผมเลยเริ่มประกาศตามกลุ่มเลื้อยคลานออนไลน์ ว่าผมมีจิ้งหรีดขาย ก็มีคนสนใจติดต่อเข้
สร้างอาชีพแก้จน ด้วย จิ้งหรีด แมลงทำเงินยุคใหม่ ลงทุนน้อย ขายได้กำไรงาม ศูนย์ส่งเสริมและฝึกอบรมการเกษตรแห่งชาติ NAETC จัดงานเฉลิมฉลองครบรอบ 40 ปี ศูนย์ส่งเสริมและฝึกอบรมการเกษตรแห่งชาติ และสำนักส่งเสริมและฝึกอบรม กำแพงแสน ด้วยกิจกรรมอบรมออนไลน์ดีๆ ที่สามารถนำไปต่อยอดสร้างอาชีพ เพิ่มรายได้ ด้วยการ เลี้ยงจิ้งหรีดขาย โดย คุณสมเกียรติ คนเชื้อ และ คุณวร บุญตา เกษตรกรฟาร์มจิ้งหรีด ใน ตำบลหนองงูเหลือม จังหวัดนครปฐม โดยวัสดุและอุปกรณ์ในการเลี้ยง มีดังนี้ 1. บ่อสำหรับให้จิ้งหรีดอยู่ (จะเป็นทรงกลมหรือสี่เหลี่ยมก็ได้) 2. แผงไข่ 3. ท่อน้ำ PVC 4. อาหารสำหรับเลี้ยงจิ้งหรีด (อาหารสำเร็จ สามารถซื้อได้ที่ร้านขายอาหารสัตว์) รวมถึง ผักปลอดสาร เช่น ต้นกล้วย (หยวกกล้วย) ใบเตย ผักขม ใบหม่อน ใบดอกรัก (สามารถนำมาให้จิ้งหรีดกินได้) ส่วนสายพันธุ์จิ้งหรีดที่ใช้เลี้ยง จะเป็น สายพันธุ์ ทองดำ ทองแดง และ ทองดำล้วน ที่เกษตรกรฟาร์มจิ้งหรีดจะนิยมเลี้ยงกัน โดยสามารถหาซื้อไข่จิ้งหรีดมาจากฟาร์มจิ้งหรีดทั่วไปได้โดยตรง โดยคุณสมเกียรติซื้อมาในราคาขันละ 50 บาท วิธีเลี้ยง 1. เมื่อได้ไข่จิ้งหรีดมาแล้ว ต้องมาทำการเรียงรังไข่ก่อน
มกอช.-ปศุสัตว์ หนุนเกษตรกร เลี้ยงจิ้งหรีด ป้อนตลาดใน-นอกประเทศ เพจ ไทยคู่ฟ้า เผยแพร่ข่าวอ้างอิงถึง องค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) ได้วางแผนส่งเสริมแมลงให้เป็นอาหารทั่วโลก เพราะแมลงเป็นแหล่งโปรตีน มีไขมันต่ำ และไฟเบอร์สูง กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้เล็งเห็นประโยชน์ที่จะเกิดขึ้นกับเกษตรกรผู้เลี้ยงแมลงโดยเฉพาะ “จิ้งหรีด” ปัจจุบันมีเกษตกรเลี้ยงจิ้งหรีดเป็นจำนวนมาก จึงให้สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ (มกอช.) และกรมปศุสัตว์ ร่วมกันส่งเสริมและยกระดับมาตรฐานฟาร์มเลี้ยงจิ้งหรีด ทั้งสายพันธุ์ทองดำ ทองแดง และสะดิ้ง มีกำลังการผลิตจิ้งหรีดรวมมากกว่า 7,000 ตันต่อปี เพื่อป้อนตลาดทั้งภายใน และต่างประเทศ นอกจากนี้ ยังได้ส่งเสริมให้เกษตรกรรวมตัวกันเป็นกลุ่มแปลงใหญ่ผู้เลี้ยงแมลงโดยเฉพาะจิ้งหรีด ปัจจุบันมีแปลงใหญ่ทั้งหมดจำนวน 11 แปลง พื้นที่รวมประมาณ 848.5 ไร่ ใน 10 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดกาฬสินธุ์ ขอนแก่น นครพนม บุรีรัมย์ พิจิตร พิษณุโลก มหาสารคาม ลพบุรี สระแก้ว และสุโขทัย ที่มีกำลังการผลิตรวมกว่า 1.1 พันตัน ต่อปี ที่สำคัญ ได้พัฒนาคุณภาพผลผลิตจนได้รับการรับรองการปฏิบัติทางการเกษตรท
ยังสมาร์ทฟาร์มเมอร์ จังหวัดกาฬสินธุ์ หัวก้าวหน้านำชุมชนเลี้ยงจิ้งหรีด ผลิตแหล่งอาหารโปรตีน ปลอดสารพิษสู่ผู้บริโภค เพิ่มความมั่นคงทางอาชีพการเกษตร สร้างรายได้เดือนละล้านสู่ชุมชน โดยยึดหลักการดำรงชีวิตภายใต้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง คุณอรวรรณ วอทอง ยังสมาร์ทฟาร์มเมอร์ อยู่บ้านเลขที่ 42 หมู่ที่ 2 ตำบลยางตลาด อำเภอยางตลาด จังหวัดกาฬสินธุ์ เปิดเผยถึงความเป็นมาว่า ก่อนที่จะมายึดอาชีพด้านการเกษตรนั้น ทำงานโรงงานที่กรุงเทพฯ ตั้งแต่ปี 2550 ต่อมาโรงงานได้ลดพนักงานโดยได้จ้างตนออกจากงาน จึงได้กลับบ้านที่กาฬสินธุ์มายึดอาชีพการเกษตร เริ่มจากการปลูกผักขายในปี 2551 คุณอรวรรณ วอทอง จากนั้น หันมาทดลองเลี้ยงจิ้งหรีดเป็นอาชีพเสริม เนื่องจากการเลี้ยงจิ้งหรีดนั้นเป็นแมลงที่เลี้ยงง่าย โตไว เป็นแหล่งโปรตีนชั้นดี มีไฟเบอร์สูง แปรรูปได้หลากหลาย ใช้แรงงานน้อย ใครๆ ก็เลี้ยงจิ้งหรีดได้ ในพื้นที่สภาพแห้งแล้งก็เลี้ยงได้เพราะใช้น้ำน้อย ระยะเวลาการเลี้ยงประมาณ 40 วัน ก็จับขายได้เงิน ต้นทุนการเลี้ยงต่ำ “เริ่มต้นเลี้ยงด้วยเงินทุน 5,000 บาท โดยทำกล่องเลี้ยงจิ้งหรีดขนาด 2×4 เมตร จำนวน 2 กล่อง เลี้ยงจิ้งหรีดได้ 60 กิโลกรัม ขาย
วันที่ 7 ธันวาคม 2559 จากการที่จังหวัดหนองคาย อุณหภูมิลดลงต่อเนื่องมาหลายวัน ส่งผลให้อากาศเย็นสบาย ไม่ร้อน ไม่หนาว และไม่ชื้น อุณหภูมิเฉลี่ย 20 – 25 องศาเซลเซียส นอกจากจะส่งผลดีกับพืชผลการทางการเกษตร และสัตว์เลี้ยงขนาดใหญ่แล้ว ยังส่งผลดีกับจิ้งหรีดที่เกษตรกรบ้านโพนงาม ต.วัดธาตุ อ.เมือง จ.หนองคาย เลี้ยงง่าย โตเร็ว อัตราการตายน้อยกว่าทุกช่วงที่ผ่านมา ประกอบกับช่วงนี้จิ้งหรีดราคาดีถึงกิโลละ 150 บาท ไม่เพียงพอกับความต้องการของตลาด ทั้งในจังหวัดหนองคายและ สปป.ลาว ส่งผลให้เกษตรกรมีรายได้สูงขึ้น และเกษตรกรได้ขยายพื้นที่เลี้ยงเพิ่มขึ้นเพื่อให้เพียงพอกับความต้องการของตลาด อีกทั้งเกษตรกรผู้เลี้ยงจิ้งหรีดยังไม่ประมาทกับอากาศที่จะหนาวจัดที่จะกระทบกับการเลี้ยงจิ้งหรีด โดยได้มีการเตรียมความพร้อมของโรงเรือนที่ใช้เลี้ยงให้มิดชิด และเตรียมหลอดไฟที่จะสร้างความอบอุ่นให้กับจิ้งหรีด อีกทั้งได้มีการปรับเปลี่ยนสายพันธุ์ให้มีความแข็งแรงทนทานต่อทุกสภาพอากาศมากขึ้น และมีอัตราการตายน้อย นายบุญร้อย โพชราช สองสามีภรรยา เกษตรกรกลุ่มผู้เลี้ยงจิ้งหรีดบ้านโพนงาม ตำบลวัดธาตุ อ.เมือง จ.หนองคาย บอกว่า ช่วงนี้อากาศดี ไม่ร
ท่ามกลางวิกฤตราคาสินค้าเกษตรข้าวตกต่ำลงอย่างน่าใจหาย รัฐบาลงัดสารพัดรูปแบบเพื่อช่วยเหลือเกษตรกร ยังมีอีกอาชีพแนวใหม่ที่ขณะนี้กระทรวงเกษตรฯ ผลักดันเปิดตลาดให้เป็นที่รู้จักไปทั่วโลก โดย สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ (มกอช.) รับหน้าที่รับรองมาตรฐานเร่งติวเข้มผู้ผลิตและผู้ส่งออกสินค้าแปรรูปจิ้งหรีดไปยังตลาดสหภาพยุโรป (อียู) พร้อมส่งเจ้าหน้าที่ลงตรวจสอบตลอดห่วงโซ่ ก่อนอียูไฟเขียวเปิดตลาดอย่างเป็นทางการต้นปี”61 “จิ้งหรีด” อาหารโปรตีนที่มีจำกัด ข้อมูลจากองค์การอาหารและการเกษตร ระบุไว้ว่า อนาคตการเพิ่มขึ้นของประชากรโลกจะมากถึง 8,000 ล้านคน ในปี 2024 และมากถึง 9,000 ล้านคน ในปี 2050 ได้มีการประเมินว่า “แหล่งอาหารและโปรตีนจะมีอย่างจำกัด” แหล่งอาหารทดแทนจึงเข้ามาแทนที่อาหารหลักเพราะประชากรที่เพิ่มขึ้นอาหารจึงไม่เพียงพอ การเลี้ยงแมลงจึงเป็น Novel Food (อาหารใหม่) ประเทศไทยซึ่งเป็นแหล่งผลิตพืชผลทางการเกษตร ระบบนิเวศอันสมบูรณ์ จึงเป็นเป้าหมายของทางเลือกผู้บริโภคทั่วโลก ขณะเดียวกันก็เป็นโอกาสของเกษตรกรไทยรวมถึงผู้ประกอบการสามารถเพิ่มช่องทางตลาดนวัตกรรมอาหารใหม่ ดังนั้น จึงเป็นโจทย์สำคัญข
สำหรับจิ้งหรีด ในอดีตเราอาจจะมองว่าเป็นแมลงตามท้องไร่ท้องนา ที่หลายคนมองเป็นเพียงแมลงตามธรรมชาติอย่างหนึ่งเท่านั้น ที่บางครั้งก็จะเป็นแมลงศัตรูคอยทำลายต้นพืชผักของเราในระยะต้นอ่อนด้วยซ้ำ แต่จิ้งหรีดในวันนี้ ได้กลับกลายมาเป็นแมลงเศรษฐกิจที่สร้างเงินสร้างรายได้ให้กับหลายคนที่ได้เห็นมาเพาะเลี้ยงอย่างจริงจัง จนสร้างตลาดการค้าได้อย่างต่อเนื่อง เป็นอีกเส้นทางเลือกหนึ่งสำหรับสร้างอาชีพ สร้างรายได้ นายสุวิทย์ เพชรประไพร อยู่บ้านเลขที่ 82/2 บ้านห้วยบง ต.หนองบัว อ.เมือง จ.หนองบัวลำภู เจ้าของฟาร์มจิ้งหรีด “นิวแต๊งค์ฟาร์ม” ได้ย้อนเล่าถึงชีวิตของตนเอง ก่อนที่จะมาทำอาชีพเลี้ยงจิ้งหรีด ว่า ชีวิตก่อนที่จะมาจับงานเลี้ยงจิ้งหรีดอย่างจริงจังนั้น ได้เคยทำมาแล้วหลายอาชีพ ตั้งแต่จบ ม.3 ที่จังหวัดชัยนาท แล้วก็ออกมาสู้ชีวิต ให้น้องเรียนต่อ เนื่องจากแม่ต้องหาเงินสร้างรายได้เพียงลำพังคนเดียว ส่วนตัวเองจึงได้เดินทางเข้ากรุงเทพฯ ทำหลายอย่าง อาชีพสุดท้ายก็ขับรถส่งสินค้าตามห้างใหญ่แห่งหนึ่ง ทำให้ได้ไปพบเห็นการเลี้ยงจิ้งหรีดของเพื่อน เมื่อสอบถามแล้วก็เห็นว่า น่าจะเป็นงานที่ตนเองพอทำได้ จึงได้ทำการศึกษาหาความรู้จากสื