เวทีโลก
สำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษาวิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรมแห่งชาติ (สอวช.) ร่วมกับ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดตัวโครงการยกระดับเทศกาล “Pride Thailand สู่เวทีโลก : การผลักดันต้นแบบความโอบรับของเทศกาลไทยสู่สากล” โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อใช้พลังจากงานวิจัยขับเคลื่อนเทศกาลไทยสู่การยอมรับระดับสากล ดร.สุรชัย สถิตคุณารัตน์ ผู้อำนวยการ สอวช. ได้กล่าวถึงแนวคิดเศรษฐกิจสร้างสรรค์ที่ปัจจุบันได้กลายเป็นหนึ่งในยุทธศาสตร์หลักของรัฐบาล โดยเฉพาะมิติที่เชื่อมโยงกับงานเทศกาล ซึ่งไม่ได้เป็นเพียงกิจกรรมเพื่อการอนุรักษ์วัฒนธรรม แต่ยังมีศักยภาพสูงในการช่วยพัฒนาเศรษฐกิจตั้งแต่ระดับท้องถิ่นไปจนถึงระดับประเทศ เทศกาลที่ดีจึงต้องตอบโจทย์เศรษฐกิจร่วมสมัย ต้องมีการออกแบบเชิงระบบ และคำนึงถึงการใช้องค์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ควบคู่ไปกับด้านสังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์ ศิลปศาสตร์ รวมถึงใช้การอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อววน.) เข้าไปช่วยสนับสนุนให้เกิดงานเทศกาลที่ตอบโจทย์ผู้เข้าร่วมงาน และใช้ข้อมูลจากงานวิจัยมาจัดทำนโยบาย กลไกต่างๆ เพื่อพัฒนาให้เทศกาลไทยไปสู่สากลได้ ดร.สุรชัย กล่าวต่อว่า สอว
คุณสุวรรณชัย โลหะวัฒนกุล ผู้อำนวยการ สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) เปิดเผยว่า สสว. ร่วมกับกระทรวงการต่างประเทศและสถานเอกอัครราชทูตออสเตรเลียประจำประเทศไทย จัดการประชุมเชิงปฏิบัติการ หัวข้อ “อนาคตผู้ประกอบการ MSMEs ของอาเซียนในยุคดิจิทัล” ซึ่งเป็นการหารือระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียนกับออสเตรเลียและได้รับความสนใจอย่างมาก จึงเตรียมนำข้อสรุปด้านนโยบายส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลาง ขนาดย่อม และรายย่อย (Micro, Small and Medium Enterprises หรือ MSMEs) นำเสนอต่อพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี โดยกระทรวงการต่างประเทศ เพื่อเป็นข้อเสนอในการประชุม ASEAN–Australia Business Summit ณ นครซิดนีย์ ซึ่งจัดขึ้นระหว่างวันที่ 17-18 มี.ค.ที่ผ่านมา ทั้งนี้ ในที่ประชุมดังกล่าวได้ระดมความคิดเห็นว่า ประเทศในอาเซียนกับออสเตรเลีย ควรร่วมมือกันส่งเสริมผู้ประกอบการ MSMEs ภายใต้ยุคดิจิทัล มีข้อสรุป 6 แนวทาง ได้แก่ 1. การเร่งปฏิรูปกฎระเบียบและทำงานอย่างบูรณาการเพื่อสนับสนุนผู้ประกอบการ MSMEs ให้เข้าสู่เศรษฐกิจยุคดิจิทัลอย่างมีศักยภาพ 2. การลดอุปสรรคในการประกอบธุรกิจพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (E-Commerce
เสียงเข็มนาฬิกาดังเบาๆ ขณะที่กำลังนั่งจ้องมอง ‘ทวีศกดิ์ สินสำราญ’ บรรจงใช้คีมด้ามเล็กจับน๊อตตัวจิ๋วยัดใส่ตัวเรือนนาฬิกาตามมาด้วยเข็มบอกเวลา กว่ามาบรรจบที่แผ่นฝาหลังสลักอักษรภาษาอังกฤษว่า “IdeaPixel” เขาใช้เวลานับครึ่งชั่วโมงกว่าจะประกอบทุกสิ่งอย่างกลายมาเป็นนาฬิกาแฮนด์คราฟสุดเท่ห์ จากหนุ่มพนักงานออฟฟิศผู้หลงไหลในงานแฮนด์คราฟและมนต์เสน่ห์ของนาฬิกาแบบกลไก เขาใช้เวลาเรียนรู้ทุกขั้นตอนการประดิษฐ์ด้วยตนเองเมื่อเริ่มคล่องมือจึงผันตัวเองออกจากงานประจำมาทำนาฬิกาแฮนด์คราฟเจ้าแรกๆ ของเมืองไทย ชิ้นงานได้รับความนิยมทั้งคนไทยและต่างชาติมีผู้ติดต่อสั่งทำอย่างต่อเนื่อง ลิสต์รายชื่อลูกค้าที่สั่งประกอบยาวเกือบหน้ากระดาษเลยทีเดียว ไอเดียของหนุ่มมือแฮนด์คราฟรายนี้ ได้แนวคิดมาว่าต้องการมีนาฬิกาในแบบของตัวเอง โดยสะดุดตาสะกิดใจจากนาฬิกากลไกแบบโบราณจึงคิดฝันว่าวันหนึ่งจะต้องมีสักเรือนไว้ประดับบนข้อมือ กว่า 2 ปีที่ทวีศักดิ์ใช้เวลาในการลองผิดลองถูก ชิ้นส่วนนาฬิกาชิ้นแล้วชิ้นเล่าถูกโยนทิ้งลงถังขยะแต่มือแฮนด์คราฟผู้นี้ก็ไม่ยอมลดละความพยายาม จนท้ายที่สุดนาฬิกาทำมือชิ้นแรกก็ปรากฏเป็นเรือนแรกและเรือนเดียวในโ