เศรษฐกิจฐานราก
ผลกระทบโควิด พึ่งส่งออกยาก ชี้ Local Economy กุญแจช่วยเศรษฐกิจระดับชาติ เมื่อเร็วๆ นี้ หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.) สำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ (สอวช.) สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) ภายใต้กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) จัดการประชุมวิชาการ Virtual Conference Transforming University for the Future : บทบาทใหม่มหาวิทยาลัยเพื่อพัฒนาพื้นที่” ผ่านระบบการประชุมออนไลน์ โดย ศาสตราจารย์พิเศษ ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) กล่าวปาฐกถาพิเศษตอนหนึ่งว่า จากการเยือน จ.พะเยา และ จ.เชียงราย เพื่อติดตามผลการดำเนินงานโครงการวิจัยและนวัตกรรมเพื่อพัฒนาพื้นที่ของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา และมหาวิทยาลัยพะเยา เรื่องการนำทุนทางวัฒนธรรมมาต่อยอดสู่การสร้างเศรษฐกิจฐานราก โดยเน้นการมีส่วนร่วมของภาคีในพื้นที่ระหว่างภาครัฐ เอกชน และประชาคมในพื้นที่ สิ่งที่ประทับใจ คือ ผลลัพธ์และกระบวนการ ที่ทำให้เห็
ดร.อัครวิทย์ กาญจนโอภาษ รองเลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการนโยบายวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมแห่งชาติ (สวทน.) กล่าวในฐานะซีอีโอโครงการเมืองนวัตกรรมอาหาร กล่าวว่า ตลอด 2 ปี ของการดำเนินโครงการเมืองนวัตกรรมอาหาร มีการพัฒนาอย่างเนื่อง นอกจากจะขยายแนวคิดเมืองนวัตกรรมอาหารสู่ภูมิภาคแล้ว ยังลงไปทำงานกับชุมชนเพื่อยกระดับเศรษฐกิจตั้งแต่ฐานรากด้วย ถือเป็นความท้าทายของการทำงานเพื่อขับเคลื่อนโครงการฯ นอกจากนี้ ยังพยายามให้ผู้เกี่ยวข้องในระบบนิเวศน์นวัตกรรมอาหาร ซึ่งมีตั้งแต่เกษตรกร ผู้ผลิตและแปรรูปอาหารทั้งรายเล็ก กลาง ใหญ่ และบริษัทข้ามชาติขนาดใหญ่ ที่มีศักยภาพสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจและการจ้างงาน สามารถที่จะได้รับประโยชน์จากเมืองนวัตกรรมอาหารได้ทั่วถึง อย่างไรก็ตาม ซีอีโอโครงการเมืองนวัตกรรมอาหาร ยอมรับว่า แม้การลงไปทำงานกับเกษตรกรและชุมชน จะไม่ใช่กลุ่มเป้าหมายหลักของเมืองนวัตกรรมอาหารก็ตาม แต่คิดว่าในส่วนนี้เป็นสัดส่วนที่ใหญ่มากที่ยังต้องมีการพัฒนา ยกระดับด้วยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม ในปีนี้จึงเริ่มกิจกรรมที่ใช้เครื่องมือในการออกแบบ การสร้างสรรค์นวัตกรรมด้วยแผนที่โอกาสกับกลุ่มเกษตรกร โดยเ