เศรษฐกิจไทย
‘สุวัจน์’ ยก ‘อีสาน’ มีความพร้อม ครบ 10 จุดแข็ง กอบกู้เศรษฐกิจไทย วันที่ 20 ธันวาคม 2565 ที่งานสัมมนา ‘ISAAN NEXT พลิกเศรษฐกิจไทย ฝ่าวิกฤตโลก’ นายสุวัจน์ ลิปตพัลลภ นายกสภามหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา กล่าวเปิดงานในหัวข้อ ‘เปิดอีสาน เปิดประตูสู่เวทีโลก’ ว่า สถานการณ์เศรษฐกิจขณะนี้เชื่อว่าประชาชนลุ้นให้เศรษฐกิจดี โดยมี 2 ปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจ คือ ปัจจัยภายนอกและปัจจัยภายใน สำหรับปัจจัยภายนอก เชื่อว่าทุกประเทศทั่วโลกอยู่ภายใต้ปัจจัยนี้ โดยมีด้วยกัน 5 ปัจจัยย่อย ปัจจัยที่หนึ่ง การเปลี่ยนแปลงด้านภูมิรัฐศาสตร์ ตั้งแต่สงครามการค้าและสงครามจริงๆ ทำให้เกิดการจับขั้วกันใหม่ของมหาอำนาจทางเศรษฐกิจของโลก ทำให้เขตภูมิรัฐศาสตร์ของโลกเปลี่ยนแปลงไป ส่งผลกระทบต่อการค้า การลงทุน การย้ายฐานการผลิต ทำให้เศรษฐกิจโลกเกิดความผันแปรสูง ปัจจัยที่สอง ผลกระทบจากโควิด เพราะช่วงที่เกิดการระบาด ทุกประเทศทั่วโลกใช้จ่ายเงินจำนวนมากเพื่อแก้ปัญหา ทำให้มีการกู้หนี้ยืมสิน และทำให้เกิดเงินเฟ้อทั่วโลก นำไปสู่มาตรการการขึ้นดอกเบี้ยของธนาคารต่างๆ ทั่วโลก เพื่อกดเงินเฟ้อให้ต่ำ เมื่อดอกเบี้ยทั่วโลกสูง จึงส่งผลกระทบต
ปี 2025 ถ้า “เขา” มา เศรษฐกิจไทย-ใต้เงาทรัมป์ จะเกิดอะไรบ้าง ดร.อมรเทพ จาวะลา ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ ผู้บริหารสำนักวิจัย ธนาคาร ซีไอเอ็มบี ไทย เปิดเผยว่า การเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯ วันที่ 5 พ.ย. 2024 กำลังจะส่งผลให้เกิดความผันผวนและความเปลี่ยนแปลง สำนักวิจัยฯ ประเมินฉากทัศน์ที่ประธานาธิบดีทรัมป์ได้รับการเลือกตั้งใหม่ เพราะหากรองประธานาธิบดีแฮร์ริสชนะ คงเห็นการเปลี่ยนแปลงไม่มาก เนื่องจากมีความเป็นไปได้สูงที่จะดำเนินนโยบายต่อเนื่องจากประธานาธิบดีไบเดน ดังนั้น หากทรัมป์ชนะการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯ เศรษฐกิจไทยปี 2025 จะเต็มไปด้วยทั้งโอกาสและความท้าทาย ด้านบวก (1) เศรษฐกิจโลกจะรอดจากภาวะถดถอย เพราะมาตรการลดภาษีนิติบุคคลจะกระตุ้นให้ธุรกิจในสหรัฐฯ เพิ่มการจ้างงานและปรับขึ้นค่าแรง ส่งผลให้เศรษฐกิจสหรัฐฯ เติบโตขึ้น (2) ราคาน้ำมันดิบโลกจะลดลงจากนโยบายส่งเสริมการผลิตน้ำมันในสหรัฐฯ และการทำข้อตกลงที่เป็นประโยชน์กับประเทศในตะวันออกกลางและรัสเซีย เป็นผลดีต่อประเทศที่นำเข้าพลังงานอย่างไทยและจะช่วยลดค่าครองชีพของคนในประเทศ และ (3) มีการย้ายฐานการลงทุนมาไทยเพิ่มขึ้น เพราะภาษีการค้าที่กำหน
หอการค้า เผย บรรยากาศเศรษฐกิจไทยแย่สุดในรอบ 2 ปี การแจกเงิน 10,000 ไม่ช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจ ปชช. ไม่ใช้จ่ายเท่าที่ควร เพราะกังวลเรื่องอนาคตมากขึ้น แนะ รัฐบาลควรออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจเพิ่มเติมในช่วงปลายปี เมื่อวันที่ 10 ตุลาคม นายธนวรรธน์ พลวิชัย อธิการบดีมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย และประธานที่ปรึกษาศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ เปิดเผยว่า ผลสำรวจความเชื่อมั่นของผู้บริโภคไทย เดือนกันยายน 2567 จากประชาชน 2,243 คน พบว่า ดัชนีความเชื่อมั่นทุกรายการลดลง ต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 7 นับตั้งแต่เดือนมีนาคม 2567 โดยดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคโดยรวม อยู่ระดับ 55.3 ลดลงจากเดือนสิงหาคม ที่อยู่ระดับ 56.5 ทำระดับต่ำสุดรอบ 14 เดือน นับตั้งแต่เดือนสิงหาคม 2566 ขณะที่ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคในปัจจุบัน และในอนาคต ลดลงจาก 40.4 และ 64.3 มาอยู่ระดับ 39.0 และ 63.1 ตามลำดับ ดัชนีความเชื่อมั่นเกี่ยวกับเศรษฐกิจโดยรวม ดัชนีความเชื่อมั่นเกี่ยวกับโอกาสหางาน ดัชนีความเชื่อมั่นเกี่ยวกับรายได้ในอนาคต ลดลงจากสิงหาคม ที่ 50.2, 53.9 และ 65.6 มาอยู่ระดับ 48.8, 52.7 และ 64.4 ตามลำดับ นายธนวรรธน์ กล่าวว่า ปัจจัยลบต่อความ
เศรษฐกิจไทย เหมือน “สายรุ้ง” ก่อสร้างโตช้า ภาคผลิตติดลบ ธนาคาร ซีไอเอ็มบี ไทย จัดสัมมนาใหญ่ประจำปี 2567 ‘Navigating the Future : A Holistic Approach to Global Economic Dynamics’ ให้ลูกค้าธุรกิจ พันธมิตร และบริษัทขนาดใหญ่ เริ่มจาก พอล วอง ชี คิน กรรมการผู้จัดการใหญ่และประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กล่าวเปิดงาน กระตุ้นให้ผู้ร่วมงานทุกคนสอบถามสิ่งที่อยากรู้ และเก็บเกี่ยวข้อมูลให้เต็มที่ทั้งจากวิทยากร ผู้บริหาร และเจ้าหน้าที่ CIMB Thai ทุกคนในงาน วิทยากรคนแรก ดร.อมรเทพ จาวะลา ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ ผู้บริหารสำนักวิจัย ธนาคาร ซีไอเอ็มบี ไทย กล่าวว่า โจทย์เศรษฐกิจปีหน้า มีความท้าทายอยู่ที่ผลการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯ ส่งผลกระทบไทยอย่างเลี่ยงไม่ได้ หากแฮริสชนะ คาดว่าดอลลาร์จะอ่อนค่า bond yield ลดลงแบบค่อยเป็นค่อยไป และ ธปท. จะลดดอกเบี้ยแบบค่อยเป็นค่อยไป ด้านนโยบายแฮริส จะดูแลคนรายได้ระดับกลาง ปรับขึ้นภาษีภาคธุรกิจ ส่งเสริมพลังงานสะอาด และเดินหน้าสงครามการค้ากับจีนเหมือนเดิมเพิ่มเติมคือ Tech War ขณะที่ ถ้าทรัมป์ ชนะเลือกตั้ง ดอลลาร์อาจกลับมาแข็งชั่วคราว เพราะคนวิ่งไปหาสินทรัพย์ปลอดภัย และ
เศรษฐกิจไทย ฟื้นแล้ว ม.ค. 67 ปรับตัวดีขึ้น จากท่องเที่ยว-บริโภคเอกชน-ส่งออก วันที่ 28 ก.พ. 2567 นายพรชัย ฐีระเวช ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สคร.) เปิดเผยถึงภาวะเศรษฐกิจการคลังประจำเดือน ม.ค. 2567 ว่า สถานการณ์เศรษฐกิจไทยมีสัญญาณปรับตัวดีขึ้นจากการขยายตัวของภาคการท่องเที่ยว โดยมีนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติที่เดินทางเข้าไทยรวม 3.04 ล้านคน คิดเป็น 41.5% จากช่วงเดียวกันปีก่อน ส่วนใหญ่เป็นนักท่องเที่ยวจากจีน มาเลเซีย เกาหลีใต้ รัสเซีย และอินเดีย รวมถึงการบริโภคภาคเอกชนที่มีสัญญาณปรับตัวดีขึ้นจากเดือนก่อนหน้า สะท้อนจากปริมาณจำหน่ายรถยนต์นั่ง ขยายตัว 2.4% จากช่วงเดียวกันปีก่อน รายได้เกษตรกรที่แท้จริง เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันปีก่อนที่ 0.6% รวมถึงดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ระดับ 62.9 จากระดับ 62.0 ในเดือนก่อน ซึ่งเป็นการปรับตัวเพิ่มขึ้นต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 6 และสูงสุดในรอบ 47 เดือน สะท้อนความเชื่อมั่นของผู้บริโภคต่อภาวะเศรษฐกิจที่ปรับตัวดีขึ้นต่อเนื่อง นอกจากนี้ ยังมีปัจจัยเสริมจากการส่งออกสินค้าที่ขยายตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 6 โดยมีมูลค่าการส่งออกสินค้าร
ภัยแล้ง จากเอลนีโญ ความท้าทายเศรษฐกิจครึ่งปีหลัง 2566 กระทบหลายอุตสาหกรรม หนึ่งความท้าทายของเศรษฐกิจไทยในปี 2566 คือ การที่ประเทศไทยและทั่วโลก กำลังเผชิญกับสภาวะโลกร้อน หรือ Climate Change ที่ส่งผลให้เกิดปรากฏการณ์เอลนีโญ โดยประเทศไทยได้เริ่มเข้าสู่ปรากฏการณ์เอลนีโญแล้วตั้งแต่เดือนพฤษภาคม 2566 ที่ผ่านมา ซึ่ง ณ ขณะนี้ยังไม่สามารถคาดการณ์ได้ว่าจะเกิดขึ้นต่อเนื่องจนถึงเมื่อไหร่ แต่สิ่งที่ประเทศไทยกำลังจะเผชิญในอนาคตอันใกล้ คือ เรื่องของภัยแล้ง ที่อาจจะรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ จากข้อมูล ณ ขณะนี้ ปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้ำที่ประสบกับสถานการณ์น้ำที่อยู่ในเกณฑ์น้อย หรือน้อยจนเข้าขั้น ได้แก่ ภาคกลาง และภาคตะวันออก ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ได้ประเมินผลกระทบในขั้นแรก คาดว่าจะกระทบต่อผลผลิตทางการเกษตรอาจคิดเป็นมูลค่าราว 4.8 หมื่นล้านบาทในปี 2566 ส่วนผลกระทบต่อภาคอุตสาหกรรม หลักๆ จะกระทบกับอุตสาหกรรมอโลหะ เช่น แก้ว กระเบื้อง และซีเมนต์ ขณะที่อุตสาหกรรมที่จะได้รับผลกระทบอีก 2 อุตสาหกรรม ได้แก่ อุตสาหกรรมแปรรูปผลิตภัณฑ์เกษตรหรืออาหาร และอุตสาหกรรมสิ่งทอ ซึ่งถ้าหากประเทศไทย เผชิญภาวะขาดแคลนน้ำรุนแรง รัฐบาลอาจจะต้องพ
เศรษฐกิจไทย ไตรมาส 3 เต็มไปด้วยโอกาส และความท้าทาย ดร.อมรเทพ จาวะลา ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ ผู้บริหารสำนักวิจัย และที่ปรึกษาการลงทุน ธนาคาร ซีไอเอ็มบี ไทย เปิดเผยว่า เศรษฐกิจไทยไตรมาส 3 มีโอกาสจะขยายตัวได้ 3.0% เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน และมองว่าไตรมาส 4 มีโอกาสจะเติบโตเฉียด 5% เพราะฉะนั้น มองภาพเศรษฐกิจไทยน่าจะฟื้นตัวได้อย่างชัดเจนในช่วงครึ่งหลังของปี ปัจจัยสนับสนุนเศรษฐกิจไทยให้เติบโตเร่งแรง มาจาก 3 ปัจจัย 1. จำนวนนักท่องเที่ยวที่คาดว่าจะฟื้นเร็วกว่าที่คาด และฟื้นเร็วกว่าที่เห็นช่วงครึ่งแรกของปี ไม่ว่าจะเป็นหลายประเทศที่เริ่มกลับมามีจำนวนนักท่องเที่ยวใกล้เคียงกับช่วงก่อนโควิด ไม่ว่าจะเป็น มาเลเซีย อินเดีย เกาหลีใต้ ยุโรป รัสเซีย อย่างไรก็ดี ต้องรอจำนวนนักท่องเที่ยวจีนให้มากกว่านี้ แต่ก็เชื่อว่าโอกาสที่จะกลับมามีมากขึ้น ผลดีน่าจะมีต่อธุรกิจบริการกลุ่มโรงแรม ร้านอาหาร ขนส่ง (สายการบิน) ค้าปลีก โดยเฉพาะตลาดบน เช่น โรงแรมขนาด 4 ดาวขึ้นไป และน่าจะเห็นการกระจายตัวมากกว่าในกรุงเทพฯ และภูเก็ต ออกไปเมืองท่องเที่ยวอื่นๆ เช่น พัทยา สมุย กระบี่ เป็นต้น 2. ภาคการส่งออกที่น่าจะพลิกกลับมาเป
โอกาส และความท้าทาย ของเศรษฐกิจไทย ไตรมาสสอง ดร.อมรเทพ จาวะลา ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ สำนักวิจัย และที่ปรึกษาการลงทุน ธนาคาร ซีไอเอ็มบี ไทย เปิดเผยว่า ได้ปรับประมาณการเศรษฐกิจไทยปีนี้ใหม่ จากเดิมคาดว่าจะขยายตัว 3.4% เป็น 3.3% หลังจากที่เศรษฐกิจไทยปีก่อนขยายตัวต่ำเพียง 2.6% แม้ปีนี้น่าจะสามารถเร่งขึ้นมาได้จากการท่องเที่ยวแต่ก็ต้องเผชิญความผันผวนจากเศรษฐกิจและการเงินโลกที่กระทบการส่งออก กำลังซื้อในประเทศน่าจะขยายตัวได้ดีตามการใช้จ่ายของนักท่องเที่ยว ในกลุ่มโรงแรม ร้านอาหาร อาหารและเครื่องดื่ม ขนส่ง และค้าปลีกค้าส่ง แต่หากเป็นกลุ่มที่เกี่ยวข้องกับกำลังซื้อคนไทยทั่วไป เช่น เสื้อผ้า รองเท้า เฟอร์นิเจอร์ การศึกษาและสุขภาพ อาจเติบโตได้แต่ไม่โดดเด่น นอกจากนี้ ให้รอดูยอดการขายรถยนต์ที่หดตัวในปีก่อนว่าจะฟื้นขึ้นได้มากน้อยเพียงไร สำนักวิจัยฯ ตั้งข้อสังเกตว่า การบริโภคภาคเอกชนขยายตัวต่ำกว่า GDP มาโดยตลอด มาปีนี้น่าจะขยายตัวได้ 3.5% สะท้อนว่าการใช้จ่ายของครัวเรือนจะกลับมาเป็นแรงขับเคลื่อนเศรษฐกิจ จากภาคการท่องเที่ยวที่สนับสนุนภาคบริการ แต่ไม่สามารถคาดหวังมากกับกำลังซื้อระดับล่าง เพราะรายได้ภาคเ
11 เดือนที่ผ่านมา มีธุรกิจจัดตั้งใหม่ 72,480 ราย รับอานิสงส์ การท่องเที่ยว เศรษฐกิจฟื้นตัว วันที่ 26 ธันวาคม 2565 นายทศพล ทังสุบุตร อธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้า เปิดเผยว่า การจดทะเบียนธุรกิจประจำเดือนพฤศจิกายน 2565 มีผู้ประกอบธุรกิจยื่นขอจดทะเบียนจัดตั้งห้างหุ้นส่วนบริษัทใหม่ทั่วประเทศ จำนวน 5,773 ราย เทียบกับเดือนตุลาคม 2565 ลดลง 2% และเทียบกับเดือนพฤศจิกายน 2564 เพิ่มขึ้น 2% มีมูลค่าทุนจดทะเบียนจำนวน 20,069 ล้านบาท ประเภทธุรกิจที่จัดตั้งใหม่สูงสุด 3 อันดับแรก ได้แก่ ธุรกิจก่อสร้างอาคารทั่วไป ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ และธุรกิจภัตตาคาร ร้านอาหาร ที่ติดอันดับ 3 ต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 10 ติดต่อกัน ตามการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ การท่องเที่ยว และการเปิดประเทศ ส่วนธุรกิจเลิกประกอบกิจการ มีจำนวน 2,684 ราย เมื่อเทียบกับเดือนตุลาคม 2565 เพิ่มขึ้น 36% เทียบกับเดือนพฤศจิกายน 2564 ลดลง 7% มีมูลค่าทุนจดทะเบียนเลิกจำนวน 9,417.60 ล้านบาท โดยประเภทธุรกิจเลิกประกอบกิจการสูงสุด 3 อันดับแรก ได้แก่ ธุรกิจก่อสร้างอาคารทั่วไป ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ และธุรกิจภัตตาคาร ร้านอาหาร ทั้งนี้ ยอดรวมการจดทะเบียนตั้งใหม่ 11 เดือ
เปิด 5 เรื่องฮิต เศรษฐกิจไทย ที่คนพูดถึงมากที่สุด ในปี 2565 ก่อนก้าวเข้าสู่ปีใหม่ มาดูกันว่าในปี 2565 คนไทยพูดถึงเศรษฐกิจไทยเรื่องไหนกันบ้าง โดย เพจธนาคารแห่งประเทศไทย ได้สรุป 5 เรื่องฮิต เศรษฐกิจไทย ไว้ดังนี้ 1. เงินเฟ้อ เงินเฟ้อไทยปีนี้ (2565) เกิดจากปัจจัยด้านอุปทาน (Cost-push) ตามราคาน้ำมันที่ปรับสูงขึ้นจากสงครามรัสเซีย-ยูเครน ซึ่งเป็นปัจจัยภายนอกที่การขึ้นดอกเบี้ยนโยบายไม่สามารถจัดการได้โดยตรง แต่หากเงินเฟ้อยังสูงต่อเนื่องเป็นเวลานาน จะทำให้คนเริ่มคาดว่าเงินเฟ้อจะสูงต่อไปเรื่อยๆ ยากที่จะลดลง ลูกจ้างจะขอขึ้นค่าแรงเพื่อรองรับค่าใช้จ่ายที่สูงขึ้น ธุรกิจปรับขึ้นราคาสินค้าและบริการต่อเนื่อง ซึ่งจะเป็นอันตรายต่อเศรษฐกิจ แบงก์ชาติจึงปรับขึ้นดอกเบี้ยนโยบาย เพื่อช่วยดูแลเงินเฟ้อในภาวะเศรษฐกิจไทยเริ่มฟื้นตัวชัดเจนขึ้นจากโควิดแล้ว ซึ่งการขึ้นดอกเบี้ยจะทำแบบค่อยเป็นค่อยไป 2. เงินสำรองระหว่างประเทศ มีไว้เพื่อเป็นกันชนรองรับความเสี่ยงด้านต่างประเทศ เช่น กรณีเงินทุนไหลออกจำนวนมาก หรือตลาดการเงินขาดสภาพคล่องเงินตราต่างประเทศเฉียบพลัน หากประเทศมีเงินสำรองเพียงพอ จะสร้างความเชื่อมั่นให้กับนักลงทุน