เสื้อผ้า
“เสื้อใหม่ให้น้องใส่” เพราะแม็คห่วงใย มอบผลิตภัณฑ์ “แม็คยีนส์” แก่ชุมชนชาวไทยภูเขาและพื้นที่ห่างไกล บริษัท แม็คกรุ๊ป จำกัด (มหาชน) ร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการช่วยเหลือสังคม สนับสนุนคุณภาพชีวิตนักเรียนในพื้นที่ห่างไกล โดย นายเจมส์ ริชาร์ด อมตวิวัฒน์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร มอบผลิตภัณฑ์จำนวน 12,266 ชิ้น มูลค่า 5,134,188.66 บาท ให้แก่ นายไชยา แถวเที่ยง ตัวแทนกลุ่มฅนอาสาเพื่อแผ่นดิน เพื่อนำผลิตภัณฑ์ของ “แม็คยีนส์” ส่งมอบให้แก่เด็กนักเรียนและผู้ใหญ่ ชุมชนชาวไทยภูเขาและพื้นที่ห่างไกล 3 แห่ง ได้แก่ โรงเรียนบ้านทีกะเป่อ, โรงเรียนบ้านแม่ระเมิง และศูนย์ส่งเสริมการเรียนรู้อำเภออมก๋อย ณ แม็ค ดีไซน์เซ็นเตอร์ เพื่อให้ผลิตภัณฑ์ของแม็คยีนส์ แบรนด์ยีนส์ยอดนิยมอันดับ 1 ของไทย มีส่วนสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีให้น้องๆ และชุมชนชาวไทยภูเขา โดยการมอบผลิตภัณฑ์แม็คยีนส์ในครั้งนี้ เป็นหนึ่งในโครงการแม็คกรุ๊ป ร่วมด้วยช่วยกันสร้างสรรค์สังคม ตามนโยบายด้านความรับผิดชอบต่อสังคม ที่บริษัท แม็คกรุ๊ป จำกัด (มหาชน) ยึดมั่นและดำเนินมาอย่างต่อเนื่อง สะท้อนถึงความมุ่งมั่นของบริษัทฯ ในการดำเนินธุรกิจที่คำนึงถึงการดำเนินงานด้านความยั่
รวม 3 ไอเดีย คนรุ่นใหม่ ต่อยอดธุรกิจปัง จาก “เสื้อผ้า” เสื้อผ้า นอกจากเป็นเครื่องแต่งกายแล้ว ยังสามารถต่อยอดเป็นธุรกิจได้ด้วย ซึ่งในที่นี้มีทั้ง ธุรกิจให้เช่าชุดไทยสีพาสเทล ที่โด่งดังมากในหมู่นักท่องเที่ยว หรือสาวสวยที่ชื่นชอบการแต่งตัวไปคาเฟ่ จนปิ๊งไอเดียนำเสื้อผ้ามาปล่อยเช่า และสาววัย 27 ที่รักการแต่งตัวเป็นชีวิตจิตใจ จนสามารถต่อ ยอดอาชีพเป็นสไตลิสต์ รวมทั้งรับงานถ่ายแบบเสื้อผ้า สาวๆ ที่ทำธุรกิจจากเสื้อผ้าจะปังขนาดไหนกัน เส้นทางเศรษฐีออนไลน์ รวบรวมมาให้แล้ว ชุดไทยสีพาสเทล แหวกม่าน ชุดประจำชาติ คุณแตงกวา-ภัสราพร รัตนชาติ และ คุณโฟม-ชนิตา พลอยวิจิตร 2 เพื่อนซี้ เจ้าของร้าน SENSE OF THAI ร้านเช่าชุดไทย ที่แหวกม่านชุดประจำชาติ ด้วยดีไซน์ร่วมสมัยและสีพาสเทลไล่สี ที่มีมากกว่า 200 เฉดสี โด่งดังมากในหมู่นักท่องเที่ยว ราคาเช่าเริ่มต้น 600-900 บาท รวมทั้งมีบริการช่างถ่ายภาพ อัตราเริ่มต้น 1 ชั่วโมง 2,600 บาท พีกสุด สร้างปรากฏการณ์ชุดหมดร้าน!! อ่านต่อ คลิก หาค่าขนม จากอาชีพปล่อยเช่าชุดไปคาเฟ่ คุณเอิร์น-จิตติยาภรณ์ เชี่ยวชาญ สาวรุ่นใหม่ที่ชื่นชอบการไปเที่ยวคาเฟ่ และมักถ่ายรูปลงโซเชีย
ต่อยอดเดรสเดิมๆ ด้วย “ลายปฏิทินจีน” ไอเดียแปลกสุดเก๋ สั่นสะเทือนวงการแฟชั่น ชุดปฏิทินจีน – ไอเดียต่างๆ มักอยู่รอบตัวเรา คำพูดนี้ใช้ได้กับการทำทุกสิ่งทุกอย่าง โดยเฉพาะสายออกแบบอย่าง คุณนิ้งหน่อง – พินทุสร ฉัตรณรงค์ชัย เจ้าของเสื้อผ้า ชุดปฏิทินจีน แบรนด์ snake fish fish คนนี้ โดยเธอให้สัมภาษณ์กับ “เส้นทางเศรษฐีออนไลน์” ว่า เธอเรียนจบจาก คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยลาดกระบัง แล้วเข้าทำงานในสายงานกราฟิกตามที่ได้ร่ำเรียนมา ระหว่างนั้นก็มีโอกาสได้ทำเสื้อผ้าขายด้วย จนรู้สึกอิ่มตัวกับหน้าที่การงาน ก็กลับมาช่วยงานร้านขายยาที่บ้านอยู่สักพัก และยังคงรับออร์เดอร์ทำเสื้อผ้าขายอยู่เรื่อยๆ “เริ่มแรกก็ทำรองเท้าขายก่อนค่ะ ปรากฏว่ามันขายไม่ค่อยดี ก็หันมาทำเสื้อผ้าขาย แล้วมีวันหนึ่ง เป็นวันเกิดของช่างเย็บผ้าที่สนิทกัน หน่องคิดว่าจะทำอะไรเป็นของขวัญให้แกดี เพราะเรารู้สึกว่า ถ้าเป็นของที่ทำเองมันมีคุณค่าทางใจมากกว่า และก็อยากทำของที่ใช้งานได้ให้เขาด้วย เพราะช่างที่สนิทแกก็ค่อนข้างมีอายุ ของขวัญก็เลยค่อนข้างยากนิดหนึ่ง ก็เลยจะทำผ้าพันคอให้เขาสัก 2-3 ผืน และก็เย็
ดีไซเนอร์หนุ่ม ยกระดับ ปาเต๊ะ ผ้าพื้นบ้าน ให้กลายเป็นชุดสุดปัง ใส่ได้ทุกวัย คุณพงศ์พิวิชญ์ ทั่วไตรภพ หรือ คุณภูมิ สตาร์ตอัพรุ่นใหม่ อายุ 26 ปี เจ้าของกิจการผลิตและจำหน่ายเสื้อผ้า ภายใต้แบรนด์ “ชุดผ้าปาเต๊ะ YAYEE” จังหวัดภูเก็ต เล่าถึงจุดเริ่มต้นของธุรกิจว่า ย้อนกลับไปเมื่อต้นปี 2563 จากสถานการณ์โควิด-19 ที่แพร่ระบาดอย่างรวดเร็วในหลายประเทศ ทำให้การท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวชาวไทยและชาวต่างชาติต้องยุติลงทันที โดยเฉพาะอำเภอป่าตอง จังหวัดภูเก็ต ได้รับผลกระทบเกือบ 100% ส่งผลต่อบริษัท สิภัทรตรา จำกัด ซึ่งเป็นกิจการเดิมของครอบครัว ที่ประกอบธุรกิจผลิตและขายของที่ระลึก (Souvenir) ให้กับนักท่องเที่ยวต้องตัดสินใจปิดตัวลงและหันกลับมาปรับโครงสร้างใหม่ ยอมรับว่าเศรษฐกิจภูเก็ตเริ่มมีปัญหา จากยอดการท่องเที่ยวและนักท่องเที่ยวที่หายไป ทำให้ครอบครัวเราต้องมาวางแผนการบริหารกันใหม่ทั้งหมด และเลือกพลิกวิกฤตเป็นโอกาส จากประสบการณ์ของตัวเราเอง ที่ชื่นชอบการออกแบบและดีไซน์ ซึ่งจบการศึกษาจากคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ สาขา International in Design and Architecture (INDA) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และเข้าทำงานอยู่ในแวดวงกา
เปิดใจ แม่ค้าสาว แต่งหน้าเป็นศพ ไลฟ์ขายเสื้อผ้าคนตาย แต่งหน้าเป็นศพขายเสื้อผ้าคนตาย – การไลฟ์ขายของ ดูจะไม่ใช่เรื่องแปลกอีกแล้วสำหรับการค้าขายบนแพลตฟอร์มออนไลน์ในยุคนี้สมัยนี้ แต่เมื่อไม่กี่วันก่อน เกิดเป็นกระแสฮือฮาขึ้นบนโลกโซเชียล เกี่ยวกับการไลฟ์ขายของของแม่ค้าสาวคนหนึ่ง ซึ่งมีวิธีการขายที่แตกต่างจากพ่อค้าแม่ค้าเสื้อผ้าเจ้าอื่นๆ คือการ “แต่งหน้าเป็นศพ” แล้วไลฟ์ขาย แต่นอกจากคอสตูมชวนขนหัวลุกแล้ว เสื้อผ้าที่เธอนำมาขายก็ไม่ใช่สินค้าทั่วไป แต่เป็น เสื้อผ้ามือสองจากคนตาย แม่ค้าสาวท่านนี้ คือ คุณกุ๊ก-กนิษฐา ทองมาก วัย 30 ปี ได้เปิดใจกับเส้นทางเศรษฐีออนไลน์ว่า เธอยึดอาชีพเพ้นต์กางเกงยีนส์เสื้อผ้ามือสอง และปั้นงานเครื่องประดับโพลิเมอร์ขายมาได้หลายปีแล้ว ส่วนการขายเสื้อผ้าคนตายนั้น เพิ่งจะมาทำได้ไม่นาน “ตลาดสินค้าโดยเฉพาะเสื้อผ้ามือสอง มันก็ไม่ได้มีแค่เราที่เป็นคนขาย แล้วพอดีมีญาติเขาเอาเสื้อผ้าของคนในครอบครัวที่เสียชีวิตแล้วมาฝากเราขาย ก็ขอเขาแล้วเอามา มันก็มีขายได้บ้าง เลยมาลองไลฟ์ขายเสื้อผ้าคนตายดู แล้วที่เห็นว่าแต่งหน้าน่ากลัวๆ จริงๆ มันมีอยู่วันหนึ่งที่บ้านไฟดับ
สำรวจ “แฟชั่นเสมือน” สวมใส่ในโลกดิจิตอล ไม่ใช่ในชีวิตจริง คุณจะยอมควักเงิน 9,500 ดอลลาร์ หรือราวๆ 287,000 บาท ซื้อเสื้อผ้าที่ถูกใจสักชุดไหม ถ้าชุดนั้นสวมใส่ได้เฉพาะโลกดิจิตอล ไม่ใช่ในชีวิตจริง แต่ “ริชาร์ด หม่า” ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัทด้านการรักษาความปลอดภัย “ควอนต์แสตมป์” (Quantstamp) ในสหรัฐ ยอมจ่ายเงินจำนวนนี้ เพื่อซื้อชุดเสมือนจริงให้ภรรยา “บีบีซี” รายงานว่า ชุดดังกล่าวออกแบบโดยบริษัทแฟชั่น “เดอะ แฟบริแคนต์” (The Fabricant) โดยทาบอยู่บนภาพของ “แมรี่ เหริน” ภรรยา และถูกนำไปใช้บนสื่อสังคมออนไลน์อย่างเฟซบุ๊ก และวีแชต “หม่า” ยอมรับว่า ราคาขนาดนี้แพงมากจริงๆ ปกติเขาและภรรยาไม่ได้ซื้อเสื้อผ้าราคาแพงเป็นประจำ แต่ที่ซื้อชุดนี้เหมือนเป็นการลงทุน ที่น่าจะมีคุณค่าในระยะยาว “ในอีก 10 ปี ผู้คนอาจจะสวมใส่แฟชั่นดิจิตอลกัน นี่เป็นช่วงเวลาที่พิเศษ เป็นสัญลักษณ์ของยุคสมัย” หม่า กล่าว เดอะ แฟบริแคนต์ ออกเสื้อผ้าดิจิตอลใหม่ๆ แจกผ่านเว็บไซต์ของตัวเองทุกๆ เดือน ซึ่งคนที่สนใจจะต้องมีทักษะและซอฟต์แวร์ในการนำเสื้อผ้าเสมือนเหล่านี้ไปใส่ไว้บนรูปของตัวเอง ส่วนอีกบริษัทที่ปิ๊งไอเดียออกแบบชุดเสมือน แต่ทำ
“ผ้าทอเส้นใยสับปะรด” ผลิตภัณฑ์จากธรรมชาติ สร้างรายได้แถมช่วยลดโลกร้อน! ธุรกิจสิ่งทอ เป็นอีกหนึ่งธุรกิจที่ผู้ประกอบการไทยนิยมทำกันค่อนข้างเยอะ สิ่งที่ตามมาคือ อัตราการแข่งขันที่สูงจนหลายคนเจ็บกับการทำผ้าขายและเลิกกิจการ เพราะอยู่ไม่ได้กันไปไม่น้อยเหมือนกัน คุณธนากร พฤกษ์รัตนนภา ผู้จัดการศูนย์บ่มเพาะวิสาหกิจ มหาวิทยาลัยหาดใหญ่ วัย 57 ปี ให้สัมภาษณ์กับ “เส้นทางเศรษฐีออนไลน์” เกี่ยวกับการยกระดับผลิตภัณฑ์งานหัตถกรรม ด้วยการใช้เส้นใยสับปะรดและการย้อมสีธรรมชาติและนำมาแปรรูปเพิ่มมูลค่าสินค้าว่า โครงการนึ้มีแนวคิดเริ่มต้นมาจากปัญหา 2 ข้อคือ ใบสับปะรดที่มักถูกทิ้งโดยไม่ได้มีการลองนำมาทำประโยชน์กับภูมิปัญญาในการทอผ้าเริ่มเลือนหายไปตามกาลเวลา จากปัญหาทั้ง 2 ข้อนี้ หากสามารถแก้ไขได้ก็คงจะดี จึงเกิดเป็นโครงการวิจัยพัฒนาผ้าทอเกาะยอ โดยใช้เส้นใยสับปะรดและการย้อมสีธรรมชาติ ซึ่งถือเป็นการยกระดับงานหัตถกรรมอย่างหนึ่ง “ในภาคเกษตรกรรมของไทยมีการปลูกผลไม้จำพวกสับปะรดค่อนข้างเยอะเลยทีเดียว ซึ่งเมื่อเก็บเกี่ยวเขาก็เอาแค่เนื้อสับปะรดที่กินได้เท่านั้น ซึ่งพวกใบของมันก็กลายเป็นขยะเป็นของที่คนเขาไม่เอาแล้ว เลยมีก
พ่อค้าสุดติสต์ ปิ๊งไอเดีย เปลี่ยน “ถุงผ้าเก่า” เป็นเสื้อแฟชั่นสุดชิก ขายดีจนผลิตไม่ทัน คุณนิ – รุ่งโรจน์ จันทร์กระจ่าง เจ้าของแบรนด์เสื้อผ้า La Rocca วัย 42 ปี อีกหนึ่งผู้ประกอบการที่หยิบจับและทำธุรกิจเสื้อผ้า ซึ่งแบรนด์ La Rocca มีจุดเด่นอันเป็นเอกลักษณ์ และแตกต่างจากเสื้อผ้าแบรนด์อื่นๆตรงที่ วัสดุที่นำมาตัดเย็บเสื้อผ้านั้น มาจาก “ถุงผ้าเก่า” นั่นเอง เขาให้สัมภาษณ์กับ “เส้นทางเศรษฐีออนไลน์” ว่า ก่อนที่จะผันตัวเองมาเปิดแบรนด์เสื้อผ้าเป็นของตัวเอง เขาเคยขายเสื้อผ้ามือสองมาเกือบ 20 ปี ทำให้ต้องคอยติดตามแฟชั่นอยู่ตลอดเวลา ว่าช่วงนี้อะไรที่กำลังเป็นกระแส คนชอบอะไร จะนำอะไรมาขาย วนลูปจนบังเกิดเป็นความรู้สึกเบื่อและเริ่มหมดไฟ จึงหาจุดมุ่งหมายในชีวิตใหม่ เลยผันตัวมาเปิดแบรนด์เสื้อผ้าและตัดเย็บเองเสียเลย “โดยส่วนตัวแล้วผมไม่ใช่คนที่จะมานั่งตามแฟชั่นอะไรนะ ซึ่งมันเป็นอะไรที่สวนทางกับอาชีพขายเสื้อผ้าอยู่เหมือนกัน มันเลยทำให้เกิดความรู้สึกเหนื่อย เบื่อหน่าย จนมันหมดไฟที่จะทำ เลยมานั่งคิดกับตัวเองว่าเราจะทำอะไรดี ให้มันเป็นตัวเราเอง ไม่ต้องไปตามกระแสหรือตามใคร อีกอย่างเราก็ขายเสื้อผ้าม
ทุกวันนี้ เทคโนโลยีมีส่วนช่วยให้การใช้ชีวิตของมนุษย์ง่ายขึ้นมาก ไม่เฉพาะแต่เรื่องที่เกี่ยวกับการผลิต หรือระบบสื่อสารที่ซับซ้อน แต่ยังรวมถึงเรื่องใกล้ตัวอย่างการลองเสื้อผ้า ร้านเสื้อผ้าชื่อดังหลายแห่งหันมาใช้กระจกไฮเทค เป็นผู้ช่วยส่วนตัวคัดสรรเสื้อผ้าที่เหมาะกับลูกค้า เพราะหวังให้มียอดขายเพิ่มขึ้น จากการที่ลูกค้าสามารถหาเสื้อผ้าที่ชอบติดไม้ติดมือกลับบ้าน แทนที่จะเดินออกจากร้านมือเปล่า สำนักข่าวเอพี รายงานว่า ปัจจุบัน มีร้านเสื้อผ้าจำนวนมากติดตั้งกระจกอัจฉริยะไว้ในห้องลองเสื้อผ้า เพื่อทำหน้าที่ผู้ช่วยให้กับลูกค้าแบบส่วนตัว รวมถึงนีแมน มาร์คัส และนอร์ดสตรอม ก็ทดลองใช้กระจกไฮเทคเหล่านี้ สำหรับเทคโนโลยีที่ใช้ก็มีหลากหลาย ตั้งแต่ติดตั้งกล้องวิดีโอ 360 องศา เพื่อให้ลูกค้าเห็นภาพทุกมิติ จะได้รู้ว่าสวมกระโปรงตัวนี้แล้วทำให้ก้นดูใหญ่ไปหรือไม่ สีไหนดูเข้ากับผู้สวมมากที่สุด รวมไปถึงระบบที่สามารถแนะนำเสื้อผ้าที่น่าจะเหมาะกับลูกค้าแต่ละคน โดยอิงกับข้อมูลรูปร่างและความชอบของลูกค้า บางร้านยอมให้ลูกค้าถ่ายภาพเซลฟี่และส่งภาพวิดีโอการลองสวมเสื้อผ้าให้ด้วย บริษัท เมโมรีมิเรอร์ เจ้าของสิทธิบัตรกระจกอัจฉริย
วิทยาการใหม่ๆ เข้าไปเกี่ยวข้องกับเสื้อผ้าและแฟชั่นมากขึ้นเรื่อยๆ ล่าสุด วิศวกรจากสถาบันเทคโนโลยีแห่งแมสซาชูเสตต์ (เอ็มไอที) ประสบความสำเร็จในการพัฒนาเครื่องแต่งกายสำหรับการออกกำลังกายร่วมกับบริษัท นิวบาลานซ์ ผู้ผลิตอุปกรณ์และเสื้อผ้ากีฬาของสหรัฐอเมริกา กลายเป็นชุดออกกำลังแห่งอนาคต ที่สามารถระบายความร้อนอับชื้นให้กับผู้สวมใส่ได้ด้วยตัวเอง เสื้อผ้าแห่งอนาคตที่เอ็มไอทีพัฒนาขึ้น ทำมาจาก “ลาเท็กซ์” ที่มีช่องระบายพร้อมปีกปิด-เปิดขนาดตั้งแต่หัวแม่มือไปจนถึงปลายก้อยจำนวนหนึ่ง ปีกดังกล่าวเดิมจะปิดอยู่ แต่สามารถเปิดออกได้เองเมื่ออุณหภูมิของร่างกายสูงขึ้น สิ่งที่น่าทึ่งก็คือ กลไกการปิดเปิดดังกล่าวไม่ได้ควบคุมด้วยคอมพิวเตอร์หรือจักรกลอื่นใดทั้งสิ้น แต่ควบคุมโดยแบคทีเรีย ทีมวิจัยของเอ็มไอที นำเอาแนวคิดที่ว่าเซลล์ของแบคทีเรียตอบสนองต่อความชื้นด้วยการขยายตัวออกเมื่อความชื้นขึ้นสูง และหดตัวลงเมื่อความชื้นลดลงจนแห้ง มาใช้ในการปิดเปิดปีกปิดช่องระบายบนเสื้อผ้า การตอบสนองต่อความชื้นของแบคทีเรียดังกล่าวมากพอต่อการเปิดปิดช่องระบายในเวลาที่ร่างกายของนักกีฬาเริ่มหลั่งเหงื่อออกมาได้สมบูรณ์แบบ โดยแบคทีเรียที่ใช