เส้นทางเศรษฐีออนไลนื
ชัยโรจน์ มหาดำรงค์กุล นักธุรกิจระดับชาติ กับบทบาท ปรมาจารย์ถ่ายภาพ พี่ชายของเพื่อนสนิทผมคนหนึ่งมีงานอดิเรกคือ การตระเวนเช่าพระ เขาบอกว่าแค่ได้นั่งส่องพระก็มีความสุขแล้ว จากงานอดิเรก จนกลายเป็นอาชีพซื้อขายพระเครื่อง แกดูพระเป็น อีกคนหนึ่ง ขออนุญาตไม่เอ่ยชื่อเหมือนคนแรก รายหลังนี้ชอบสะสมนาฬิกาเป็นงานอดิเรก เขามีนาฬิกาหลายร้อยเรือน นาฬิกาแบบโบราณก็มี ซึ่งเขาสามารถทำได้ เพราะมีเงินระดับที่เรียกว่าเศรษฐี ส่วนตัวผมเองก็วาดรูปเป็นงานอดิเรก การวาดรูปเป็นงานอดิเรกดีอยู่อย่างหนึ่งก็คือ ไม่ต้องเป็นคนรวยก็วาดรูปได้ เพราะลงทุนน้อย ค่าสี ค่าเฟรมราคาไม่แพง ส่วนงานอดิเรกของคนที่ผมจะเขียนเล่าต่อจากนี้ เป็นเรื่องของ คุณชัยโรจน์ มหาดำรงค์กุล เอ่ยชื่อนี้ ผมเชื่อว่าผู้อ่านและไม่ได้อ่านหลายคน โดยเฉพาะผู้ที่สนใจการถ่ายภาพจะต้องรู้จักดี ทั้งนี้ก็เพราะ คุณชัยโรจน์ เป็นนักถ่ายภาพที่มีชื่อเสียงทั้งระดับประเทศและระดับโลกนั่นเอง ถือเป็นปรมาจารย์ด้านถ่ายภาพของไทยก็ว่าได้ ผลงานถ่ายภาพของคุณชัยโรจน์ ที่โดดเด่นมีมากเหลือเกิน ผมได้นำมาลงประกอบเรื่องได้เพียงไม่กี่ภาพเท่านั้นแต่ละภาพสวยงามอย่างไร ดีแค่ไหน ผมยอมรับว่าอธิ
คนขายน้ำตาลปั้น อีกหนึ่งอาชีพงานฝีมือเก่าแก่ ที่ใกล้สูญหายไปตามกาลเวลา เส้นทางเศรษฐีออนไลน์ มีโอกาสได้ไปเดินเล่นหลังเลิกงานที่ ถนนคนเดินไทยช่วยไทย สถานีรถไฟบางซ่อน ไปเจอกับ ร้านน้ำตาลปั้นเล็กๆ ที่ไม่ได้เห็นมานาน คุณแสง วัย 48 ปี เล่าว่า ตนทำน้ำตาลปั้นขายมา 20 ปีแล้ว โดยก่อนหน้านี้เคยทำงานเป็นคนงานก่อสร้าง ก่อนเปลี่ยนมาขายน้ำตาลปั้น อาศัยไปเรียนการทำน้ำตาลปั้นที่โรงงิ้วที่เพื่อนทำงานอยู่ จึงได้วิชาอาชีพมาทำขายเป็นนายตัวเอง ซึ่ง อาชีพปั้นน้ำตาลขาย ถือเป็นอาชีพที่รายได้ดีอาชีพหนึ่ง ในสมัยนั้น “เมื่อก่อนออกขายตามตลาดนัดทั่วประเทศเลย ไปเหนือไปใต้ ขายดีมาก แต่สมัยนี้ ขายได้บ้างไม่ได้บ้าง วันหนึ่งก็ลงทุน 2-3 ร้อยบาท ทำเป็นรูปสัตว์รูปดอกไม้ ขายง่ายๆ มีตั้งแต่ 20 30 40 บาท แล้วแต่ความยากง่าย วันๆ หนึ่งก็ขายได้หลักพันบาท ตอนนี้ลุงก็ขายไปเรื่อย ถ้ามีงานก็ไป พวกงานวัด งานเทศกาล ถ้าไม่มีงานก็ขายตามตลาดนัด” “แต่สมัยนี้ไม่ค่อยมีคนทำน้ำตาลปั้นขายแล้ว จริงๆ มันมีคนสนใจนะ แต่หาที่เรียนทำน้ำตาลปั้นยาก แล้วอาชีพนี้ต้องใช้เวลากว่าจะทำเป็น ทำขายได้ มันดูเหมือนง่าย แต่จริงๆ ทำยากนะ น้ำตาลมั
3 เกษตรกรยุคใหม่ ผู้รักบ้านเกิด ผลักดันธุรกิจสู่ เกษตรอินทรีย์ดิจิทัล สร้างสุขยั่งยืน ดิจิทัล เป็นสิ่งที่เข้ามามีบทบาทอย่างมากต่อชีวิตมนุษย์ในทุกวันนี้ โดยเทคโนโลยีดิจิทัล เปรียบเสมือนมันสมองที่ได้เข้ามาสร้างความเปลี่ยนแปลงในทุกวงการ ไม่เว้นแม้แต่ ภาคเกษตร ซึ่งนับเป็นรากฐานหลักของประเทศไทย มีความสำคัญไม่น้อยไปกว่าภาคท่องเที่ยวและภาคอุตสาหกรรม จากข้อมูลของ สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้พูดถึงภาวะเศรษฐกิจการเกษตรในปี 64 ไว้ว่า มีการขยายตัวร้อยละ 1.5 และคาดว่าแนวโน้มเศรษฐกิจการเกษตรในปี 2565 จะขยายตัวสูงขึ้นอยู่ในช่วงร้อยละ 2.0-3.0 โดยมีภาคเกษตรเป็นกลไกสำคัญในการขับเคลื่อนให้เศรษฐกิจของประเทศเติบโต ปัจจุบันมีการนำเอาเทคโนโลยีและนวัตกรรมต่างๆ มากมาย มาใช้อำนวยความสะดวกให้กับเกษตรกรยุคใหม่ ช่วยแก้ปัญหาในด้านต่างๆ ซึ่งเราอาจเรียกสั้นๆ ว่า “เกษตรดิจิทัล” เกษตรดิจิทัล คือ การนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้ในการผลิตทางการเกษตรไปสู่ผู้บริโภค เป็นการใช้ประโยชน์จากการเก็บข้อมูลด้านการเกษตรต่างๆ ทั้ง สภาพดิน สภาพน้ำ อุณหภูมิ ความชื้น ปริมาณแสง พื้นที่เพาะปลูก การเจริญเติบโตข
กัญชา หากใช้เหมาะสม ช่วยประเทศได้มาก เปลี่ยนจากยาเสพติดเป็นพืชเศรษฐกิจ นพ.กิตติ โล่สุวรรณรักษ์ ผู้อำนวยการสถาบันกัญชาทางการแพทย์ กล่าวว่า สถาบันกัญชาทางการแพทย์ ได้หารือกับหน่วยงานหลักๆ 4 หน่วย ได้แก่ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก องค์การเภสัชกรรม (อภ.) โดยมีโจทย์สำคัญคือ ทำอย่างไรให้กัญชาเป็นพืชเศรษฐกิจชุมชน สิ่งแรกที่ทุกคนเห็นตรงกันคือ เปลี่ยนภาพกัญชาจากยาเสพติดเป็นพืชเศรษฐกิจ กัญชาไม่ได้น่ากลัวอย่างที่คิด หากใช้เหมาะสม จะช่วยเศรษฐกิจของประเทศได้มาก นพ.กิตติ กล่าวต่อว่า เรื่องของกัญชา มีประเด็นที่ต้องนำไปทำการบ้านต่อ 5 เรื่อง คือ หนึ่ง การปรับแก้กฎระเบียบ และเตรียมความพร้อมของสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข ให้มีส่วนช่วยชุมชนผู้ปลูกพืชกัญชาแปรรูปและพัฒนาผลิตภัณฑ์กัญชา โดยได้รับความร่วมมือเป็นอย่างดีจาก นพ.ภูวเดช สุระโคตร ผู้ช่วยปลัดกระทรวงสาธารณสุข ที่จะมาช่วยบริหารจัดการวางระบบ สอง การพัฒนาขั้นตอนการขออนุญาตให้ง่าย ทั้งการปลูก การอนุมัติทะเบียนผลิตภัณฑ์ มีระบบให้คำแนะนำเฉพาะราย เกษตรกรสามารถเข้าถึงได้ในพื้นที่ โดยในส่วนนี้ นพ.วิทิต สฤษฎีชัยกุล
ธุรกิจต้องปัง ในยุค นิวนอร์มอล คิดต่าง สร้างจุดเด่น ไม่มีทางล้มเหลว ผู้ประกอบการรุ่นใหม่ หอการค้ากรุงเทพ หรือ YECBK จัดเสวนาผ่านทางซูม และคลับเฮ้าส์ ในหัวข้อ ธุรกิจต้องปัง หลังนิวนอร์มอล เมื่อเร็วๆ นี้ โดย คุณวรวุฒิ อุ่นใจ อดีตประธานสมาคมผู้ค้าปลีกไทย กล่าวตอนหนึ่งว่า สมัยทำธุรกิจเครื่องเขียนและอุปกรณ์สำนักงาน ทั้ง บีทูเอส และออฟฟิศเมท เจอวิกฤตเศรษฐกิจ 3 ระลอก เริ่มตั้งแต่ต้มยำกุ้งปี 2540 จนมาถึง น้ำท่วมใหญ่ปี 2554 และเหตุการณ์ความไม่สงบในประเทศ ผ่านพ้นมาทุกวิกฤตได้ โดยการมองไปข้างหน้า คิดทุกอย่างให้ละเอียดรอบคอบ รอบด้าน และต้องมีการพัฒนาธุรกิจของตัวให้เข้ากับวิกฤต หากไม่ปรับตัว โอกาสล้มมีสูง โดยเฉพาะวิกฤตในครั้งนี้หนักหนาสาหัสที่สุด “ครอบครัวเป็นยี่ปั๊วค้าส่งเครื่องเขียน ธุรกิจใกล้ล้มละลาย จึงคิดทำระบบแค็ตตาล็อกขึ้นมา แต่เนื่องจากทุนน้อย ความรู้ไม่มาก ทำได้ดีที่สุดคือ price list แต่สามารถประสบความสำเร็จจากที่จะล้มละลายกลายเป็นธุรกิจดาวรุ่ง จากศูนย์ถึงร้อยล้านในเวลาเพียง 3 ปี แต่ก็มาเจอกับวิกฤตต้มยำกุ้ง ยอดตกลงเหลือ 20 กว่าล้าน หรือลดไปราว 80% ตอนนั้นยอมรับว่าเป็นช่วงที่ทำงานหนักที่สุ
พอเข้าหน้าแล้ง ลูกหลานพากันเข้ากรุงเทพฯ ไปรับจ้าง ส่วนพ่อ เฝ้าบ้าน เลี้ยงวัว คุณสุพิตร โคตรภักดี อายุ 56 ปี ราษฎรบ้านโนนศิลา หมู่ 9 ตำบลแวงน้อย อำเภอแวงน้อย จังหวัดขอนแก่น เล่าให้ฟัง ว่า ก่อนที่เขาจะเข้าร่วมกลุ่มเกษตรกรตามแนวทฤษฎีใหม่บ้านโนนศิลา นั้นเคยทำเกษตรเชิงเดี่ยว ปลูกข้าวบนที่นา 28 ไร่ จำหน่ายข้าวได้ปีละครั้ง รายได้มีปีละไม่เกิน 3 หมื่นบาท “สมัยก่อน พอเข้าหน้าแล้ง ลูกหลานพากันเข้ากรุงเทพฯ ไปรับจ้าง ส่วนพ่อ มีหน้าที่เฝ้าบ้าน เลี้ยงวัว สลับวนเวียนอยู่อย่างนั้น ไม่เคยปลดหนี้ปลดสินได้” คุณสุพิตร บอก แต่เพราะต้องการอยู่กันพร้อมหน้าพร้อมตา และได้เป็นนายตัวเอง ราวปี 2561 ครอบครัวของคุณสุพิตร เริ่มหันมาทำเกษตรปลูกพืชหลังนา ที่ใช้น้ำน้อย อย่าง แคนตาลูป ปรากฏทำให้มีรายได้เพิ่มหลายเท่าตัว เฉลี่ยปีละ 120,000 บาท “เห็นเพื่อนในหมู่บ้านปลูกแคนตาลูปกัน ได้ราคาดี เราอยากกลับมาอยู่บ้าน ไม่อยากเป็นลูกจ้าง เลยปลูกบ้าง ประมาณ 8 ไร่ ใช้เวลาสองเดือน เริ่มจากวันเพาะเมล็ด เก็บได้ คนมารับซื้อจะแบ่งเป็นเกรด เอ บี ซี ดี เอ กิโลละ 19 บาท บี 16 บาท ซี 12-13 บาท แบ่งตามขนาดและน้ำหนัก” คุณกนกพร หลวงพินิจ อายุ
ความเครียดคนไทยวันนี้ ของกินของใช้แพง ทุจริตคอร์รัปชั่น และ โควิด-19 สวนดุสิตโพล มหาวิทยาลัยสวนดุสิต เปิดเผยเมื่อวันที่ 20 ก.ย. เกี่ยวกับผลสำรวจความคิดเห็นของประชาชน เรื่อง ความเครียดของคนไทย ณ วันนี้ โดยสำรวจจากกลุ่มตัวอย่าง 1,358 คน สำรวจระหว่างวันที่ 16-18 ก.ย. ที่ผ่านมา พบว่า เรื่องที่ประชาชนเครียดมากที่สุดคือ ของกินของใช้แพง 67.76% รองลงมาคือ ทุจริตคอร์รัปชั่น 63.93% และโควิด-19 57.49% สิ่งที่คนอยากทำเมื่อรู้สึกเครียดมากคือ ออกไปเที่ยว ช็อปปิ้ง 51.47% เล่นเน็ต 35.35% และกิน 33.51% จากโพลดังกล่าว เห็นได้ว่าเรื่องปากท้อง ยังคงเป็นเรื่องที่ประชาชนกังวลจนส่งผลต่อความเครียดมากที่สุด เศรษฐกิจที่ย่ำแย่ เงินไม่พอใช้ เป็นหนี้ ตกงาน เป็นปัญหากระทบกับประชาชนโดยตรง เมื่อเครียดแล้วประชาชนอยากคลายเครียดด้วยการไปเที่ยว ช็อปปิ้ง ซื้อของ แต่เมื่อเศรษฐกิจยังไม่ดีขึ้น ทำให้ยังไม่มีเงินไปช็อปปิ้ง ทำให้เกิดความเครียดวนเวียนกันต่อไป ปัญหาเศรษฐกิจ จึงเป็นปัญหาที่รุมเร้าทั้งรัฐบาลและประชาชนอย่างแท้จริง
อีสาน พลิกยุทธศาสตร์ หยิบ เกษตรทฤษฎีใหม่ เป็นทางรอดสู้วิกฤต “อีสานคิดใหม่ พร้อมก้าวต่อ” สู้วิกฤตโควิต-19 ปรับโครงสร้างเศรษฐกิจมุ่งพึ่งพา 3 ปัจจัยสำคัญ เกษตร ท่องเที่ยว นวัตกรรม ผลกระทบน้อยจากท่องเที่ยวต่างชาติ เน้นคนไทย จุดขายศิลปวัฒนธรรม หาแนวพัฒนาเกษตรแบบทันสมัย ขอภาครัฐแก้ไขปัญหาน้ำช่วยสนับสนุน เยียวยาภาคแรงงานให้ถูกจุด เข้าถึงแหล่งทุนง่าย เวที “คิดใหม่ ไทยก้าวต่อ” ครั้งที่ 2 ภูมิภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่จังหวัดขอนแก่น โดยความร่วมมือระหว่าง 8 องค์กรหลัก ได้แก่ ธนาคารแห่งประเทศไทย, สถาบันนโยบายสาธารณะและการพัฒนา, สถาบันวิจัยเศรษฐกิจป๋วย อึ๊งภากรณ์, ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร, มหาวิทยาลัยมหิดล, สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ โดยมูลนิธิปิดทองหลังพระฯ และสำนักข่าวไทยพับลิก้า เป็นผู้ประสานงานโครงการ เพื่อหารูปแบบใหม่ขับเคลื่อนสังคมไทยเพื่อสู้กับวิกฤต 3 ปัจจัยส่งผลภาวะเศรษฐกิจอีสานชะลอตัว นายประสาท สมจิตรนึก ผู้อำนวยการอาวุโสธนาคารแห่งประเทศไทย สำนักงานภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กล่าวว่า ภาคอีสานมีประชากร 22 ล้านคน เป็นแรงงานนอกระบบ 6.5 ล้านคน เกษตรกร 5.6 ล้านคน พื้นที่และประชากร เป็น 1
พลิกชีวิตชาวนา! หนุ่มบุรีรัมย์ ดวงเฮง ถูกหวยรวย 12 ล้าน โร่พบตำรวจลงบันทึกประจำวัน เผยจะนำเงินไปใช้หนี้และเก็บไว้ดูแลครอบครัวให้มีความสุข ระบุจะยึดอาชีพทำนาต่อไป ถูกหวย / เมื่อวันที่ 17 มี.ค. นายพีระศักดิ์ โพธิ์วิเศษ อายุ 37 ปี ชาวจ.บุรีรัมย์ ประกอบอาชีพทำนาและรับจ้างทั่วไป ได้เดินทางพร้อมญาตินำสลากกินแบ่งรัฐบาลหมายเลข 724628 งวดประจำวันที่ 16 มี.ค.2562 จำนวน 2 ใบ ซึ่งตรงกับรางวัลที่ 1 จำนวน 12 ล้าน มาลงบันทึกประจำวันไว้เป็นหลักฐานต่อ พ.ต.ท.มติพจน์ สุธิวงศ์สารวัตร(สอบสวน) สภ.ทะเมนชัย ที่ อ.ลำปลายมาศ จากการสอบถาม นายพีระศักดิ์ กล่าวว่า ลอตเตอรี่ดังกล่าว พ่อตนได้ซื้อไว้ หลังจากทราบข่าวว่าถูก 12 ล้าน พ่อจึงมอบให้ตนไปดำเนินการแทน ส่วนเงิน 12 ล้านนั้นส่วนหนึ่งจะเอาไปใช้หนี้สินที่มีอยู่ไม่มาก และจะเก็บเงินไว้ดูแลครอบครัวให้มีความสุข โดยยังจะยังยึดอาชีพรับจ้างและทำนาต่อไป